กฏหมายเวปไซด์


กฏหมายที่ผู้ใช้ควรรู้เกี่ยวกับเวปไซด์

กฎหมายสำหรับเวปไซด์

 ความจำเป็นในการมีข้อกฎหมาย (terms and conditions) สำหรับการใช้เวปไซด์

วัตถุประสงค์ก็เพื่อจำกัดความรับผิดทางกฎหมาย ที่อาจเกิดขึ้น จากการใช้เวปไซด์ของผู้เยี่ยมชม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเวปไซด์ของท่านมีลักษณะล่อแหลมต่อการละเมิดกฎหมาย ทั้งนี้โดยพิจารณาจากเนี้อหา, รูปแบบของธุรกรรม และ ลักษณะการให้บริการหรือธุรกิจของท่าน ที่ให้บริการผ่านทางเวปไซด์เวปไซด์ที่มีความเสี่ยงต่อการละเมิดกฎหมายเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีข้อกฎหมายไว้ป้องกัน หรือ จำกัด ความรับผิดของตน (แต่อย่างไรก็ตาม ข้อกฎหมายไม่สามารถจำกัดความรับผิดได้ทุกกรณี)

ท่านมีความรับผิดชอบต่ออะไรก็ตามที่ท่านเผยแพร่ในเวปไซด์ถ้าหากว่าผู้เยี่ยมชมสามารถเข้าถึงได้ทางอินเทอร์เน็ต ความรับผิดทางกฎหมายนี้มีตั้งแต่ การละเมิดลิขสิทธิ์, การติดข้อความอันเป็นการหมิ่นประมาท, หรือ เนื้อหาไม่เป็นความจริง ผู้ประกอบกิจการทางเวปไซด์อาจต้องรับผิดทางกฎหมาย หากกิจการนั้นต้องได้รับอนุญาตจากทางการ (having a licence) เช่น การประกอบกิจการธนาคาร หรือ การค้าหลักทรัพย์ ฯลฯ

เนื้อหาของข้อกฎหมายนั้นอาจจะบอกถึงการจำกัดประเภทของผู้สามารถเข้าเยี่ยมชม หรือ ใช้บริการผ่านเวปไซด์ของท่าน เช่น หากท่านต้องการให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์เฉพาะลูกค้าในประเทศไทย ข้อกฎหมายในเวปไซด์ของท่านก็ควรบอกกล่าวว่า ไม่รับลูกค้าที่อยู่ในต่างประเทศ ทั้งผู้ที่ซื้อหลักทรัพย์ หรือหุ้นผ่านเวปของท่านได้ต้อง ให้ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ ที่ติดต่อกลับได้ในประเทศไทย ตรงนี้แม้ว่า ชาวอเมริกันใช้ชื่อและที่อยู่ปลอมเพื่อที่จะซื้อหุ้นจากเวปของท่าน แล้วคณะกรรมการหลักทรัพย์ของ U.S.A. หรือ SEC จะกล่าวหาว่าท่านทำการค้าหลักทรัพย์ในสหรัฐ โดยไม่ได้รับอนุญาต ก็คงไม่ถนัด เพราะข้อกฎหมาย(terms and conditions) ในเวปไซด์ของท่าน ได้เป็นพยานหลักฐานอย่างดีว่า กิจการออนไลน์ของท่านมีขอบเขตการให้บริการแค่ไหน ดังนี้แล้ว ความรับผิดทางกฎหมายจากการทำธุรกกรรมใด ๆ ทางเวปไซด์ก็น่าจะเป็นสิ่งที่คาดเห็นได้ ถ้ามีการติดข้อกฎหมายที่มีรายละเอียด และขอบเขตการให้บริการที่ชัดเจน

  การแจ้ง หรือทำให้ผู้เยี่ยมชมรู้ถึงการมีอยู่ของข้อกฎหมายในเวปไซด์

ข้อกฎหมาย (terms and conditions) รวมทั้งข้อปัดป้องความรับผิด(disclaimers) ควรติดในเวปไซด์ของท่านในลักษณะที่จะก่อให้เกิดผลทางกฎหมาย และต้องทำให้ผู้เยี่ยมชมสามารถที่สังเกตเห็นได้ อันจะนำมาซึ่งผลผูกพันต่อผู้เยี่ยมชมนั้น อย่างไรก็ตาม หากว่าข้อกฎหมายในเวปของท่าน ปฎิเสธความรับผิดที่มีความเป็นไปได้ว่าน่าจะเกิดขี้นจากลักษณะการให้บริการ ก็เป็นไปได้ว่า ข้อกฎหมายนั้นอาจไม่มีผลผูกพันผู้เยี่ยมชม เช่น หากเวปไซด์ของท่านให้บริการ เป็นที่แลกเปลี่ยนไฟล์เพลง mp3 ระหว่างสมาชิก เหมือนกรณีของ Napster แล้วท่านติดข้อกฎหมาย เพื่อป้องกันความรับผิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์จากบริษัทเพลง ว่า "ทางเวปไซด์ไม่มีส่วนรู้เห็น หรือการกระทำใด ๆ ระหว่างสมาชิก อันอาจนำมาซึ่งความรับผิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์ ในงานอันมีลิขสิทธิ์ ดังนั้น เวปไซด์จะไม่รับผิดจากกระทำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของสมาชิก" กรณีนี้ ถ้าหากบริษัทเพลงที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์ฟ้องเจ้าของเวปไซด์ในฐานะผู้ร่วมกระทำความผิด เจ้าของเวป รายนี้คงยกข้อกฎหมายปฏิเสธความรับผิดน่าจะฟังไม่ขึ้น เพราะข้อกฎหมายไม่ผูกพันผู้ถูกละเมิด

การทำให้ข้อกฎหมายของท่านมีผลผูกพัน หรือมีผลบังคับทางกฎหมายต่อผู้ใช้บริการเวปไซด์ของท่าน

ทำให้ข้อกฎหมายของท่านเป็นที่สังเกตได้โดยผู้ใช้บริการ หรือผู้เยี่ยมชม
อาจทำได้โดยวิธีต่อไปนี้:

·         ทำลิงค์ (link) ในตอนท้ายของเวปเพจ โดยเรียกว่า ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการใช้เวป (Legal notices)

·         การทำ pop-up หรือจอเวปเพจโผล่ขึ้นมาตอนเข้าสู่เวปไซด์โดย ป๊อปอัพ สกรีนนี้จะแสดงข้อกฎหมาย และรายละเอียด ที่ท่านต้องการจะจำกัดความรับผิดไว้

·         การทำให้จอหน้าแรกแสดงข้อกฎหมายอัตโนมัติทุกครั้ง ที่มีการเรียกข้อมูลจากเวปไซด์มาดูเป็นครั้งแรก เรียกว่า ผู้ชมจะต้องผ่านหน้าเวปไซด์ที่แสดงข้อกฎหมายนี้ก่อนไปสู่หน้าอื่นๆ ของเวปเพจ

การติดข้อกฎหมายในเวปไซด์ ดังสามวิธีข้างต้นนี้ เป็นวิธีที่ใช้ในกรณีทั่วไป เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เยี่ยมชมเวปไซด์ได้สังเกตเห็นข้อกฎหมายดังกล่าว การติดข้อกฎหมายในลักษณะนี้ใช้กับการติดข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับ เงื่อนไขการใช้เวปไซด์(general conditions of use), ลิขสิทธิ์ และ นโยบายเกี่ยวกับสิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy policies)

 อย่างไรก็ตาม วิธีการนำเสนอข้อกฎหมายข้างต้นไม่ควรนำมาใช้กับกรณีการทำธุรกรรมออนไลน์ หรือการอนุญาตให้ลูกค้าใช้ข้อมูล หรือ ดึง (upload) ข้อมูลมาดู ทั้งนี้เพราะลูกค้าอาจปฏิเสธได้ว่าข้อกฎหมายดังกล่าวไม่มีผลผูกพันตนเอง เพราะไม่มีอะไรแสดงว่าลูกค้าแสดงเจตนาตกลงผูกพันในธุรกรรมออนไลน์นั้น เพียงแค่ทำให้ลูกค้าสังเกตเห็น หรือ อ่านข้อตกลง หรือสัญญาออนไลน์ใด คงไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดความผูกพันทางกฎหมาย ดังนั้น ในกรณีของการทำให้ข้อกฎหมายมีผลผูกพัน หรือใช้บังคับได้ (enforceable) ในการทำธุรกรรมออนไลน์นั้น วิธีที่แนะนำ ก็คือ การทำข้อตกลงในรูปแบบกดปุ่ม หรือที่เรียกกันว่า click wrap agreement นอกจากนี้ยังอาจจะมีการนำกลไก ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ด้วยก็ได้ ส่วนรายละเอียดของการใช้เทคนิค click wrap agreement และ digital signature นั้นผู้เขียนจะได้นำเสนอในบทความหน้า
คำสำคัญ (Tags): #rsu#it#ima
หมายเลขบันทึก: 49537เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2006 16:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 11:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ใช่ครับเพราะการที่มีกฏหมายหรือข้อบังคับทำให้คนที่คิดจะทำผิดเกรงกลัวกฏหมายเพราะถ้าไม่มีกฏหมายคนที่ทำผิดก็จะไม่กลัวและทำผิดต่อไป

ก็เห็นด้วยนะ เกี่ยวกับกฏหมายข้อบังคับ จะได้ทำให้คนที่เข้าใช้เว็ปไซต์ต่างๆได้รับรู้บ้างว่า ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนเค้าก็มีกฏหมายไว้คุ้มครองป้องกันเหมือนกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท