นิสัย/ความสามารถ ด้านการฟัง/การอ่านของเด็กและเยาวชนไทย กับคุณภาพการศึกษาของบุคคล และของชาติ


ผู้เขียนเป็น “คนรักชาติ” ซึ่งแสดงออกโดยการพยายามทำหน้าที่ทางสังคมของตนให้ดีที่สุด หน้าที่ทางสังคมของผู้เขียน คือ การเตรียมเยาวชนออกไปทำงานและดำเนินชีวิตในสังคม “คุณภาพของคนในสังคม” นับเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของความสงบสุข ความมั่นคงและความก้าวหน้าของประเทศ

             ผู้เขียนเป็น “คนรักชาติ” ซึ่งแสดงออกโดยการพยายามทำหน้าที่ทางสังคมของตนให้ดีที่สุด หน้าที่ทางสังคมของผู้เขียน คือ การเตรียมเยาวชนออกไปทำงานและดำเนินชีวิตในสังคม  “คุณภาพของคนในสังคม” นับเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่สุด ของความสงบสุข ความมั่นคงและความก้าวหน้าของประเทศ ประสบการณ์ในภาคเรียนสุดท้าย ที่จะต้องทำหน้าที่ดังกล่าว นับว่าหนักหนาสาหัสที่สุด แต่ผู้เขียนก็ไม่ยอมแพ้ เพราะนี่เป็นโอกาสสุดท้ายที่จะได้ทำเพื่อชาติ ในบทบาทของข้าราชการ ที่ปฏิบัติงานตามรอยพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ ต่อคนไทยและชาติไทย

        “คุณนงนาท สนธิสุวรรณBlank" หรือ "พี่ใหญ่" ที่ผู้เขียนเรียกขาน ตามความรู้สึกของความผูกพันที่อบอุ่น ได้แสดงความเห็นในบันทึกล่าสุดของผู้เขียนว่า "ชื่นชมในความเป็นครูเพื่อศิษย์ของน้องผศ.วิไลอย่างยิ่งค่ะ...*เข้ามาอ่านครั้งใด เห็นความจริงใจในการถ่ายทอดสิ่งดีๆอย่างสม่ำเสมอ...น่าเสียดาย ที่ใกล้เกษียณแล้ว..แต่เชื่อว่าความเป็นครูยังเป็นอยู่ตลอดไปค่ะ

        และนี่คือส่วนหนึ่งของคำตอบ ที่ผู้เขียนได้ตอบพี่ใหญ่ไป "ขอเรียนพี่ใหญ่ว่า ความสุขของน้องในทุกวันนี้ ก็คือการได้ตอบแทนประเทศชาติ ด้วยการพยายามทำหน้าที่ "ครู" ด้วยจิตวิญญาณและความทุ่มเท เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาได้พัฒนาศักยภาพและคุณภาพของตน จะได้สำเร็จการศึกษาอย่างภาคภูมิ และออกไปเป็นกำลังสำคัญในการสร้างชาติอีกทีค่ะ พ่อใหญ่สอบ่นเสมอว่า จะเกษียณแล้วยังทำงานหนักไม่ลดละเลยนะ น้องก็เงียบแต่พูดในใจว่า ยิ่งใกล้เกษียนยิ่งต้องทำงานหนักขึ้น เพราะเหลือเวลาน้อยลงไปทุกที กับงานสร้างชาติ หลังเกษียณ ซึ่งน้องจะไปอยู่ที่ "ฟาร์มไอดิน-กลิ่นไม้" บ้านหนองฝาง น้องตั้งใจว่า จะทำโครงการเล็กๆ เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษให้กับเด็กประถมในหมู่บ้าน และเด็กมัธยมในชุมชนใกล้เคียงค่ะ ถ้าเขาสนใจจะเข้าร่วม 

      การสนับสนุนให้ นักศึกษาได้พัฒนาศักยภาพและคุณภาพของตน อย่างหนึ่ง คือ "การพัฒนาการเรียนรู้จากการฟังและการอ่าน"

         ผู้เขียนได้สรุปสาระสำคัญของ "การฟัง" จากหนังสือ "ฟัง คิด อ่าน เขียน : รวมทุกศาสตร์เพื่อให้คุณฉลาด” ไว้ในคู่มือการเรียนรู้ "รายวิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน" (วิไล แพงศรี. 2554 : 77-78; อ้างอิงจาก ฝ่ายวิชาการบิสคิต. 2548 : 9-61) มีสาระสำคัญ ดังนี้

       "การฟัง" ที่แท้จริง หมายถึง การให้ความสนใจในคำพูดของผู้พูดอย่างเต็มที่ จนเกิดความเข้าใจในความหมายทุกประการ ที่ผู้พูดสื่อออกมา ารฟัง มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์ทุกคน ทั้งนี้เพราะมนุษย์เราได้ใช้การฟังเป็น เครื่องมือหลักในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ในแต่ละวัน เราใช้เวลาที่ลืมตาตื่นไปกับการสื่อสารถึง 80 % ซึ่งในการสื่อสารทั้ง 4 ทักษะ ได้แก่ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เราใช้การฟังมากที่สุดอาจถึง 50 % ของเวลาที่ใช้ในการสื่อสาร แต่คนส่วนใหญ่มักมองข้ามความสำคัญของการฟังไป ไปให้ความสำคัญกับการอ่าน การเขียน และการพูดมากกว่า (เคยมีคนพูดว่า คนไทยเรามีปัญหาการฟังมาก น่าจะมีสถาบันฝึกการฟัง ไม่ใช่มีแต่สถาบันฝึกการพูด : ผู้เขียน) นอกจากจะมีความสำคัญ ในฐานะที่เป็นเครื่องมือหลักในการติดต่อสื่อสารของมนุษย์แล้ว การฟังยังเป็น ประตูสำคัญที่เปิดไปสู่การเรียนรู้เราได้ใช้การฟังเพื่อรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ทั้งจากการเรียนในสถานศึกษา ฟังจากสื่อสารมวลชน และจากกิจกรรมการอภิปรายบรรยาย ในการจัดอบรม สัมมนาและการประชุมต่างๆ

        สาเหตุที่คนเราฟังได้ไม่ดี เกิดจาก 1) การขาดความสนใจ เมื่อประเมินว่า เรื่องที่ฟังน่าเบื่อ ทำให้ไม่สนใจฟัง 2) การเลือกฟังเฉพาะตอนที่ตนสนใจ ก็จะทำให้ไม่ได้ฟังในบางตอนที่สำคัญ 3) ขาดสมาธิในการฟัง เพราะมักจะคิดถึงเรื่องอื่นๆ ในขณะที่ฟัง  4) เมื่อสิ่งที่ฟังขัดแย้งกับความคิดความเชื่อของตน จะมัวแต่คิดโต้แย้งในใจ 5) สนใจลักษณะของผู้พูด ได้แก่ รูปร่างหน้าตา กิริยาท่าทาง การแต่งกาย น้ำเสียง ฯลฯ มากกว่าเนื้อหาที่พูด 6) ปัญหาจากผู้พูด เช่น การใช้ศัพท์เทคนิค หรือ คำภาษาอื่นที่ไม่เป็นที่เข้าใจทั่วไป หรือการพูดวกวน สับสน จะทำให้ฟังไม่เข้าใจ 7) ปัญหาจากสิ่งรบกวน เช่น เสียงเพื่อนคุยกัน เสียงดังรบกวนนอกห้อง 8) สภาพร่างกายไม่พร้อม เช่น หิว ง่วงนอน ไม่สบาย เป็นต้น  9) ไม่ได้จดบันทึกสิ่งที่ได้ฟัง หรือเมื่อฟังไม่เข้าใจก็ไม่ได้ซักถาม และ 10) ขาดการฝึกฝนทักษะการฟัง (ผู้เขียนได้เพิ่มเติมบางข้อเข้าไปจากประสบการณ์ที่ได้พบเห็น)

         ลักษณะของนักฟังชั้นยอด ได้แก่ 1) สนใจใคร่รู้ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นประโยชน์ 2) ฟังด้วยหัวสมอง (ความคิด) และหัวใจ (ความรู้สึก) 3) ตั้งใจฟังอย่างจริงจัง ควบคุมสมาธิให้จดจ่ออยู่กับเรื่องที่กำลังฟัง 4) เปิดใจกว้างรับฟังความคิดของผู้พูด 5) ซักถามผู้พูด ในประเด็นที่ตนยังไม่เข้าใจ 6) พยายามจับใจความของเรื่องที่ฟัง และจดบันทึกสาระสำคัญ 7) ผสมผสานข้อมูลใหม่ เข้ากับความรู้และประสบการณ์เดิมของตน 8) พูดคุยกับผู้ฟังคนอื่นๆ เพื่อตรวจสอบความเข้าใจในการฟังของตน

        และได้สรุปสาระสำคัญของ "การอ่าน" ไว้ในคู่มือการเรียนรู้ "รายวิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน" (วิไล แพงศรี. 2554 : 78-81) ดังนี้

         การอ่าน คือ การแปลความหมายของตัวอักษร เครื่องหมาย สัญลักษณ์ เครื่องสื่อความหมายต่างๆ ที่ปรากฏแก่ตา ออกมาเป็นความคิด  ความเข้าใจเชิงสื่อสาร แล้วผู้อ่านสามารถนำความรู้  ความคิดหรือสาระจากเรื่องที่อ่าน ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ (ผจงวาด พูลแก้ว. 2547: 79)

        ฉวีลักษณ์ บุญกาญจน (2547: บทนำ, 89) ได้กล่าวถึง ความสำคัญของการอ่านไว้ว่า  การอ่านเป็นประตูไปสู่การเป็นอัจฉริยะของมนุษย์ ประเทศที่เจริญแล้ว ประชาชนจะอ่านหนังสือในทุกที่  แม้แต่ในขณะโดยสารรถ  เช่น  ในประเทศญี่ปุ่นและอเมริกา  ในระหว่างนั่งรถโดยสารทุกคนจะก้มหน้าก้มตาอ่านหนังสือ  หรือแม้แต่ขณะคอยขึ้นรถโดยสาร  ในสนามบิน  ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเขาฝึกฝนประชาชนของเขา ให้เป็นผู้มีนิสัยในการอ่านมาแต่เด็ก ของไทยเรานั้น สำรวจแล้วระหว่างรอรถโดยสารมีเพียง  0.2  เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่อ่านซึ่งน้อยมาก…และ การอ่านเป็นเครื่องมือสำคัญ สำหรับการศึกษาค้นคว้าในโรงเรียนและโลกภายนอก  เพราะผู้เรียนไม่ได้ประสบความสำเร็จในการเรียนโดยการสอนของครูเพียงอย่างเดียว  หากต้องหาความรู้เพิ่มเติมจากการอ่านหนังสือและตำราต่างๆ  อีกด้วย  จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ผู้เรียนและผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้า ควรจะได้มีความสามารถในการอ่าน  มิฉะนั้น  ความรู้ที่มีอยู่ในหนังสือหรือตำรา ก็จะไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนเลย  โดยการสังเกตทั่วๆ  ไปจะพบว่า  นักเรียนที่เรียนหนังสืออ่อนมักมีความสามารถในการอ่านต่ำ  ความสามารถในการอ่านนี้ เป็นทักษะที่สำคัญซึ่งจำเป็นต่อการเรียน อันเป็นผลต่อพัฒนาการของมนุษย์ทั้งทางสติปัญญา  อารมณ์และสังคม

         ฐะปะนีย์  นาครทรรพ (2547 : 93) กล่าวถึงความสำคัญของการอ่านไว้ว่า  ในยุคข้อมูลข่าวสาร  การอ่านเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงหาความรู้ต่างๆ  จากแหล่งข้อมูล เพื่อทำให้ผู้อ่านฉลาด  รอบรู้  ทันโลก  ทันเหตุการณ์  ผู้ที่จะสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคม ได้อย่างมั่นคงและเป็นสุข จึงต้องเป็นนักอ่านและพยายามหมั่นฝึกฝนตนเองให้เป็นนักอ่านที่มีประสิทธิภาพ  คือ  สามารถทำความเข้าใจเรื่องที่อ่านได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง  จึงจะสามารถบริโภคข่าวสารและข้อมูลสมัยใหม่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ซึ่งสอดคล้องกับที่ โรซาคิส (ฝ่ายวิชาการบิสคิต. 2548: 144; อ้างอิงจาก Rozakis. 1995) ได้กล่าวไว้ว่า “ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเห็นพ้องกันว่า ร้อยละ 80-90 ของความรู้และข้อมูลที่คนเราต้องการ มักจะได้มาจากการอ่าน

        ในขณะที่การอ่านมีความสำคัญ ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่น่าเป็นห่วงว่า ประเทศไทยจะนับวันเสียเปรียบประเทศสมาชิก ASEAN อื่นๆ มากขึ้นไปเรื่อยๆ เหตุเพราะคนไทยมีอัตราการอ่านที่ต่ำมากเมือเทียบกับอีก 3 ประเทศ ดังสถิติการอ่านต่อคนต่อปี ของคนไทยในปี 2554 เมื่อเทียบกับ 3 ประเทศ ASEAN ดังภาพล่าง(http://www.gotoknow.org/blogs/posts/487729) ซึ่งนอกจากจะมีปัญหาอ่านน้อยแล้วยังมีปัญหาว่า ประเภทของหนังสือที่อ่านมักจะเป็นประเภทหนังสือบันเทิง มากกว่าหนังสือประเทืองปัญญา

        ประเทศไทย ได้ตระหนักถึงปัญหาการอ่านของคนในชาติ และได้หาทางส่งเสริมการอ่านของคนไทยด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การจัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ซึ่งได้จัดมาแล้ว 40 ครั้ง ในการจัดงาน "สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 40 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 10 (Bangkok International Book Fair 2012)” ได้ประชาสัมพันธ์ว่า "การอ่านหนังสือ เป็นวิถีสำคัญยิ่ง ที่จะเข้าสู่โลกกว้างแห่งสรรพวิทยา ทำให้เกิดปัญญา มาประยุกต์ใช้ในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ในทุกระดับ  การเป็นสังคมการอ่าน จึงเป็นพื้นฐานสำคัญเกื้อหนุนความเจริญของประเทศ ในสังคมปัจจุบันในยุคโลกาภิวัตน์ ประชาคมโลกอยู่ในสภาพเหมือนไร้พรมแดน  ข้อมูลความรู้ที่ได้จากการอ่านจากสื่อสิ่งพิมพ์ทั่วโลก  กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ช่วยให้เราก้าวทันความเปลี่ยนแปลงทั้งปวง กระทรวงศึกษาธิการในนามภาครัฐ และสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ในนามภาคเอกชน พร้อมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต่างๆ ต่างเล็งเห็นถึงความสำคัญของการอ่านหนังสือ จึงได้กำหนดจัดงาน “สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 40 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 10 (Bangkok International Book Fair 2012)” ดังภาพประชาสัมพันธ์ข้างล่าง (http://www.bangkokibf.com/)

      ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2555  สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK Park) ได้จัดการประชุมวิชาการประจำปี 2555 “TK Conference on Reading 2012” เป็นวันที่ 2 โดยมี รศ.วิทยากร เชียงกูล  คณบดีกิตติคุณ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต นำเสนอรายงาน “การรณรงค์ให้คนส่วนใหญ่รักการอ่านเพิ่มขึ้น” ความตอนหนึ่งว่า  การอ่านนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะไม่ใช่แค่ส่วนประกอบของการศึกษา  แต่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของมนุษย์ เมื่อโลกปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น  การอ่านและอ่านแบบจับใจความเท่านั้นถึงจะเข้าใจสิ่งที่ซับซ้อน  เชื่อมโยงในเรื่องต่างๆ ได้ ถ้าเราไม่สามารถปฏิรูปให้คนรักการอ่านได้  ก็จะปฏิรูปการศึกษาไม่ได้ และเมื่อปฏิรูปการศึกษาไม่ได้ ก็จะปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ  สังคมของประเทศนั้นๆ ไม่ได้เช่นกัน  เพราะไม่เคยมีประเทศไหน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้ดี  โดยไม่เริ่มจากทำให้คนรักการอ่าน ประเทศตลาดเกิดใหม่ เช่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้  เมื่อประมาณ 40-50 ปีที่แล้วก็ยากจนพอๆ กับไทย แต่เมื่อพัฒนาให้คนอ่านหนังสือ  พัฒนาการศึกษาได้  ทุกวันนี้ จึงประสบความสำเร็จในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมากกว่าเมืองไทย” (http://www.thaireform.in.th/index.php?option=com_flexicontent&view=items&id=7563:2012-05-12-00-01-54)

       ผู้เขียนเอง พยายามที่จะส่งเสริมทั้งนิสัยและความสามารถด้านการฟัง การอ่านและการเขียนเพื่อการเรียนรู้ ให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2-4 จำนวน 130 คน จากทุกคณะในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลฯ  ที่ได้ลงทะเบียนเรียนใน "รายวิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน" กับผู้เขียน และได้พบว่า เป็นงานที่หนักหนาสาหัสมาก เพราะผู้เขียนได้สละเวลานอนดึกบางคืนก็นอนเกือบ 04.00 น. เพื่อติดตามตรวจงานและให้ข้อชี้แนะนักศึกษา ในกิจกรรมดังภาพ       

 ซึ่งได้ให้นักศึกษาสมัครสมาชิก Weblog "GotoKnow.org" และให้ลงภาพประจำตัว ที่แสดงให้เห็นใบหน้าอย่างชัดเจน และใส่ข้อมูลในภาพ ดังตัวอย่าง

        และระบุว่า ในการกรอกข้อมูลส่วนตัว ให้ลง อาชีพ : นักศึกษา (ตำแหน่งไม่ต้องกรอก) องค์กร : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และระบุอำเภอจังหวัดที่อยู่ด้วย สำหรับประวัติให้ระบุในตอนต้นว่า เรียนในหมู่เรียนใด สาขาวิชาใด คณะใด โดยให้ใส่ชื่อสาขาเป็นภาษาอังกฤษ ไว้ในวงเล็บด้วย เช่น ศศ.บ. 3.16 สาขาวิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (Tourism Industry) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ "คติในการดำเนินชีวิต ที่ยึดถือและนำไปปฏิบัติจริง" และสามารถลงข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม

        หลังจากนั้น ก็ได้ติดตามและให้ข้อมูลย้อนกลับ โดยแสดงภาพและข้อมูลให้ดูทั้งในห้อง และใน GotoKnow ซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า ใครทำได้ถูกต้อง ใครยังไม่ถูกต้อง แต่ก็พบนักศึกษาจำนวนไม่น้อย ที่ทำราวกับไม่เคยฟัง ไม่เคยอ่าน ทั้งที่ก็เข้าเรียนและเข้าไปแสดงความเห็นในบันทึก เพราะไม่มีการแก้ไขภาพและข้อมูลให้ถูกต้อง จากวันที่ 23 มิถุนายน ที่กำหนดให้ทำ มาจนถึงวันที่ 17 กรกฏาคม

        อีกเรื่องที่เหนื่อยใจมาก คือ ผู้เขียนได้หาทางพัฒนานิสัยและทักษะการอ่าน ด้วยการสนับสนุนให้นักศึกษาเขียนบันทึกตามโครงการ "สรอ.ขอความรู้" และให้ Link ตัวอย่างบันทึกของสมาชิก GotoKnow ท่านอื่นๆ แต่พบว่านักศึกษา 130 คน เข้าไปอ่านไม่ถึง 10 คน และในการเขียนบันทึกแต่ละครั้งก็ได้ให้ข้อมูลอย่างชัดเจน เช่น ในโครงการล่าสุดได้ย้ำว่า ให้เขียนคำสำคัญให้ถูกต้อง และแสดงภาพที่มีคำสำคัญที่กำหนดให้เขียนอย่างชัดเจน  แต่จากนักศึกษาที่ลงบันทึกไป 6 คน ได้ใส่คำสำคัญไม่ถูกต้องไปถึง 4 คน ดังความเห็นของผู้เขียน ที่ให้กับผู้ผิดพลาดรายแรก รายที่สอง และรายที่สาม 

     อาจารย์เข้าไปอ่านแล้วตั้งแต่ 04.35 น. วันที่ 13 ก.ค.และติชมไปแล้วพร้อมทั้งบอกสิ่งที่จะต้องแก้ไข แต่จนวันที่ 14 ก.ค. อาจารย์เข้ามาธุระในเมือง เปิด 'net ตรวจสอบพบว่า 17.15 น.ยังไม่เข้าไปแก้ไขอีก ทั้งที่อาจารย์ก็ย้ำในชั้นเรียนและในบันทึกแล้วว่า หลังลงบันทึกแล้ว ต้องรีบเข้าไปดูข้อชี้แนะของอาจารย์ ...หนูได้รับคำชมในเรื่องความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ แต่ยังบกพร่องมากด้านการอ่าน ที่ทำให้เสียประโยชน์ เช่น การใส่คำสำคัญไม่ถูกต้อง ทั้งที่อาจารย์แจ้งไว้ในภาพทั้ง 2 ภาพว่าให้ใช้คำใด ทำให้บันทึกของตนเองไม่ได้รับการจัดเข้าในโครงการ เพราะไม่ทำตามกติกา ถ้าแก้ไขแล้วโครงการคงให้สิทธิ์ และการพิมพ์ก็ผิดถึง 5 แห่งซึ่งมี 5 คะแนน ผิด 5 แห่งก็ได้ 0 เรื่องนี้อาจารย์ย้ำแล้วย้ำอีกให้ตรวจแก้ไขให้ถูกต้อง

 สำหรับนักศึกษาคนอื่นๆ อาจารย์คงไม่ได้เข้าไปอ่านและวิจารณ์เสนอแนะในช่วงนี้ (เพราะไปดูแลคนป่วยที่ฟาร์ม และใช้ Internet ไม่ได้) ผู้ที่จะลงบันทึกหลังจากนี้ ให้ตามเข้าไปอ่านข้อวิจารณ์เสนอแนะ ที่อาจารย์ให้ไว้ในบันทึกของ...นะคะ

• หลังจากนั้น ก็พบนักศึกษาที่เขียนคำสำคัญไม่ถูกต้องอีก 2 คน ดังที่ได้แจ้งในบันทึกว่า ...พลาดเพราะมีปัญหาการอ่านเหมือนกับ...คือ ใส่คำสำคัญไม่ถูกต้อง ทั้งที่อาจารย์บอกไว้ตั้งแต่ตอนต้นของบันทึกแล้ว และแสดงไว้ให้เห็นอย่างชัดเจนในภาพทั้งสอง ดังข้อความและภาพข้างล่าง ทำให้เสียสิทธิ์ที่จะได้รับการสุ่มเพื่อรับรางวัล 2,500 บาท

 • ขณะนี้ "ดร.จันทวรรณ ปิยะวัฒน์" ได้ประกาศเชิญชวนให้สมาชิกGotoKnow เขียนบันทึกในหัวเรื่อง "การศึกษาไทยในปี 2020" แล้ว จึงขอเชิญชวนให้นักศึกษาร่วมเขียนบันทึกในหัวเรื่องดังกล่าว โดยก่อนเขียน โปรดอ่านข้อกำหนดให้ละเอียด และทำความเข้าใจให้ชัดเจนว่า การเขียนจะต้อง "ตั้งชื่อเรื่อง"ให้เกี่ยวกับอะไร จะต้อง "ตอบโจทย์"ว่าอย่างไร จะต้อง "ใส่คำสำคัญ" ใด และจะต้องลงบันทึกภายในวันที่เท่าไหร่...

         จากปัญหาดังกล่าว ทำให้ผู้เขียนนึกถึงผู้บริหารทั้งในอดีตและปัจจุบัน ที่มักจะพูดในที่ประชุมอาจารย์ว่า มหาวิทยาลัยได้รับ "ทราย" เข้ามาปั้น ไม่เหมือนมหาวิทยาลัยเก่าแก่ ที่ได้รับ "ดิน" เข้ามาปั้น การจะ "ปั้นดินให้เป็นดาว" ทำได้ไม่ยาก แต่จะให้ "ปั้นทรายให้เป็นดาว" คงทำไม่ได้ (ก็เลยไม่ต้องทำอะไรมาก สอนไปตามมีตามเกิด)  ผู้เขียนจะรู้สึกขัดใจทุกครั้ง ที่ได้ยินคำพูดดังกล่าว เพราะเชื่อว่า นักศึกษาทุกคนมีศักยภาพที่จะเรียนรู้ได้ ถ้าอาจารย์ได้ใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม เพราะแม้แต่คนปัญญาอ่อนที่หมอบอกว่า สามารถทำได้แค่ช่วยให้เขารับประทานอาหารได้เอง เข้าห้องน้ำ แต่งตัวได้เองก็พอแล้ว แต่ด้วยการไม่ยอมพ่ายแพ้ต่อโชคชะตา ของแม่และตัวเยาวชนคนนั้น ก็ทำให้เขาสามารถเรียนจนจบปริญญาตรี และเป็นที่พึ่งของเพื่อนๆ ในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ แม่ของเขาบอกว่า "เสียดายพวกที่สมองปกติแต่ไม่ได้ใช้ความพยายาม ส่วนลูกของเธอต้องใช้ความพยามมากกว่าคนสมองปกตินับร้อยนับพันเท่า จึงทำได้เช่นนี้" 

       อาจารย์อยากจะบอกกับนักศึกษาว่า เวลาพวกเราจบการศึกษาและออกไปหางานทำ ภาพลักษณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ จะได้รับการมองว่า จบจากมหาวิทยาลัยชั้นสอง ไม่มีคุณภาพทัดเทียมนักศึกษามหาวิทยาลัยเก่าแก่ อาจารย์ต้องการพัฒนานักศึกษาให้มีคุณภาพ เพื่อลบล้างภาพลักษณ์ดังกล่าว ก็ขอขอบใจนักศึกษาส่วนหนึ่ง ที่ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการพัฒนาตนเองไปสู่ "ความเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ" เพื่อ "เกียรติภูมิ" ของตน และเพื่อ "ความเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของชาติ" และได้แต่หวังว่า จะได้เห็นนักศึกษาส่วนหนึ่ง ที่ยังเดินไปในแนวทางที่ตนได้รับการสบประมาทมาแล้ว จะฮึดสู้ ดังที่อาจารย์ได้ประพันธ์เป็นกำลังใจไว้ให้ ดังนี้ 

                  ด้วยสมองและสองมือ  เธอก็คือผู้กล้าแกร่ง

             เมื่อสองขายังมีแรง          ฤาเหือดแห้งกำลังใจ

                  มีชีวีย่อมมีหวัง            มีพลังเพื่อฝันใฝ่

            มีปัญญาเป็นดวงไฟ          หนทางไกลจงฝ่าฟัน

                  แม้ล้มจงลุกยืน           แม้ค่ำคืนจะเงียบงัน

             อรุณรุ่งแห่งวารวัน           ย่อมเวียนผันมากร้ำกราย

                  เพียงเธอไม่ยอมแพ้    แหละแน่วแน่ในจุดหมาย

             อุปสรรคพลันมลาย          ฝันกำจายกำซาบทรวง

           แหล่งอ้างอิงประเภทสิ่งพิมพ์

             ฉวีลักษณ์ บุญยะกาญจน. (2547). นวัตกรรมการศึกษาชุด 

                            จิตวิทยาการอ่าน. กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี.

             ฐะปะนีย์ นาครทรรพ. (2547). หนังสือเรียน สาระการเรียนรู้

                            พื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย : ภาษาไทย

                            ม.2 ช่วงชั้นที่ 3. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

             ผจงวาด  พูลแก้ว. (2547).    แบบฝึกทักษะ  ฟัง  พูด  อ่าน 

                            เขียน.    กรุงเทพฯ  :  ชมรมเด็ก.

             ฝ่ายวิชาการบิสคิต. (2548). ฟัง คิด อ่าน เขียน : รวมทุก

                            ศาสตร์เพื่อให้คุณฉลาด. กรุงเทพฯ : บิสคิต.

            วิไล แพงศรี. (2554). คู่มือการเรียนรู้ วิชา 9012102

                           พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน : Human

                           Behaviors and Self Development.

                           อุบลราชธานี : คณะครุศาสตร์.

                           มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

         นักศึกษาที่จะเขียนบันทึกตามโครงการข้างบน อ่านรายละเอียดโครงการได้ที่ Link บันทึกที่เกี่ยวข้องเรื่องล่างสุด รวมทั้งอ่านแนวทางการศึกษาค้นคว้าประกอบการเขียน ที่อาจารย์แสดงความเห็นไว้ในบันทึกดังกล่าว หวังว่าครั้งนี้จะไม่มีใครใส่คำสำคัญผิดอีก และถ้าใครลงบันทึกไปแล้ว แต่ไม่แจ้งให้อาจารย์ทราบในช่องแสดงความเห็น อาจารย์ก็มิอาจทราบได้  และช่วงเย็นวันศุุกร์ถึง 08.00 น.วันจันทร์ ส่วนใหญ่อาจารย์จะใช้ Internet ไม่ได้ จึงไม่ควรคาดหวังที่จะให้อาจารย์ตรวจบันทึกให้ในช่วงเวลาดังกล่าว

หมายเลขบันทึก: 494964เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2012 11:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2013 09:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ที่จริง แล้วการฟังเป็นเรื่องสำคัญมากเท่าๆๆกับการพูด การเห็น การอ่าน การเขียน เราหน้าจะพัฒนาในทุกๆๆด้านไปพร้อมๆๆกันนะครับ

ผมได้อ่านแล้วครับ รู้สึกว่าตัวเองยังบกพร่องอยู่อีกมาก ต้องมีการพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นครับ

หนูอ่านแล้ว ยังรู้สึกว่าตัวเองบกพร่องอย่างมากเลยค่ะ ยังอ่านไม่พอ หนูจะพยายามน่ะค่ะ ในส่วนที่ผิดพลาด หนูจะรีบแก้ไขค่ะ

หลังจากที่ได้อ่านแล้วทำให้ได้รู้ว่าตนเองนั้นมีข้อบกพร่องอยู่มาก สำหรับการฟังและการอ่าน จะพยายามปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้นกว่านี้คะ

      จากข้อความที่อาจารย์ วิไล แพงศรี ได้บันทึกไว้ข้างต้น แสดงให้เห็นถึงการเป็นนักปราชญ์ที่ดี คือการหยิบเอาหัวใจของนักปราชญ์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้ได้มากที่สุด คือ สุ จิ ปุ ลิ ซึ่งก็หมายถึง การฟัง การคิด การถาม และการเขียน  
      จากข้อความข้าพเจ้าได้เข้าใจถึงกระบวนการการสื่อสาร  เป็นข้อความที่ดีต่อผู้ที่ได้อ่านรวมทั้งตัวข้าพเจ้าเอง ก็ยังคิดว่า ตัวของข้าพเจ้านั้น ยังมีกระบวนการการสื่อสารได้ไม่ค่อยดีนัก ข้าพเจ้าจึงขอขอบคุณท่าน อาจารย์ วิไล แพงศรี เป็นอย่างยิ่งที่ช่วยชี้แนะแนวทางในกระบวนการสื่อสาร  ส่วนตัวของข้าพเจ้าเองจะนำความรู้ที่ได้นี้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุดคะ

ผมคิดว่า การฟังเป็นสิ่งที่ดี นอกจากนี้ยังประกอบกับการบันทึก การจดบันทึกกับการฟังสองอย่างนี้ถือว่าเป็นสิ่งสำสัญเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ การอ่านนั้นเป็นการใฝ่รู้ใฝ่เรียนทำให้เกิดความรู้จากเรื่องที่อ่าน

หลังจากได้อ่านข้อความที่อาจารย์ วิไล แพงศรี ทำให้ข้าพเจ้าตระหนักถึงการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน เพราะทักษะทั้ง 4 มีความสำคัญมากในการดำรงชีวิตของมนุษย์ การฟังมีความสำคัญมากในการสื่อสารเพราะการฟังที่ดีจะทำให้เราสามารถทำงานหรือปฏิบัติงานออกมาได้ถูกต้อง และยังช่วยให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆเกิดขึ้น ขอขอบคุณอาจารย์ วิไล แพงศรี เป็นอย่ายิ่งที่ให้คำแนะนำดีๆในการสื่อสาร ส่วนตัวข้าพเจ้าจะนำความรู้ที่ได้อ่านไปปรับปรุงทักษะของตัวเองให้ดีขึ้นต่อไป

หลังจากอ่านข้อความที่อาจารย์บันทึกแล้ว พบว่าหนูยังมีปัญหาเรื่องการฟัง การอ่านอยู่มากพอสมควร แต่จากนี้จะปรับปรุงตัวให้ดีขึ้นค่ะ ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ มีประโยชน์มากค่ะ

ขอบคุณอาจาร์ย วิไล มากๆนะคะที่เขียนบันทึกดีๆให้นักเรียนนักศึกษาได้อ่านและได้นำมาคิดมาปรับปรุงตัวเอง ขอบคุณจริงๆคะ

ขอบคุณอาจารย์ครับสำหรับบันทึกดีๆ

สวัสดีค่ะอาจารย์ หลังจากที่หนูได้อ่านบันทึกนี้แล้ว ก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของด้านการเขียน การคิด การอ่านและการฟังมากขึ้น เพราะว่ากระบวนการทั้ง 4 ด้านนี้มีความสัมพันธ์ถ้าขาดหรือบกพร่องด้านใดด้านหนึ่งไปแล้วก็จะทำให้กระบวนการนั้นออกมาได้ไม่ดี ขอบคุณสำหรับบันทึกดีดีนี้นะค่ะและหนูจะนำความรู้ที่ได้ไปใช้พัฒนาปรับปรุงตนเองในด้านต่างๆให้ดีขึ้นนะค่ะ

หลังจากอาจารย์ที่ได้กล่าวเอาไว้ข้างต้นว่า สาเหตุที่คนเราฟังได้ไม่ดี เกิดจาก 1) การขาดความสนใจ เมื่อประเมินว่า เรื่องที่ฟังน่าเบื่อ ทำให้ไม่สนใจฟัง 2) การเลือกฟังเฉพาะตอนที่ตนสนใจ ก็จะทำให้ไม่ได้ฟังในบางตอนที่สำคัญ 3) ขาดสมาธิในการฟัง เพราะมักจะคิดถึงเรื่องอื่นๆ ในขณะที่ฟัง 4) เมื่อสิ่งที่ฟังขัดแย้งกับความคิดความเชื่อของตน จะมัวแต่คิดโต้แย้งในใจ 5) สนใจลักษณะของผู้พูด ได้แก่ รูปร่างหน้าตา กิริยาท่าทาง การแต่งกาย น้ำเสียง ฯลฯ มากกว่าเนื้อหาที่พูด 6) ปัญหาจากผู้พูด เช่น การใช้ศัพท์เทคนิค หรือ คำภาษาอื่นที่ไม่เป็นที่เข้าใจทั่วไป หรือการพูดวกวน สับสน จะทำให้ฟังไม่เข้าใจ 7) ปัญหาจากสิ่งรบกวน เช่น เสียงเพื่อนคุยกัน เสียงดังรบกวนนอกห้อง 8) สภาพร่างกายไม่พร้อม เช่น หิว ง่วงนอน ไม่สบาย เป็นต้น 9) ไม่ได้จดบันทึกสิ่งที่ได้ฟัง หรือเมื่อฟังไม่เข้าใจก็ไม่ได้ซักถาม และ 10) ขาดการฝึกฝนทักษะการฟัง

หนูควรจะทำสิ่งต่อไปนี้และคิดว่าทุคนน่าจะทำตามได้ -การฟังแต่ละครั้งได้อะไรจากที่ฟัง -เข้าใจสาระที่ฟังว่าเป็นอย่างไร -สรุปเนื้อหาสำคัญๆลงในสมุด เพื่อที่จะได้ไม่ลืม -หากไม่เข้าใจก็ควรถาม เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน

การฟังเป็นทักษะแรกในการพัฒนาที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ เพราะกระบวนการพัฒนาจะเริ่มเป็นขั้นตอนตั้งแต่พัฒนาการฟัง พูด อ่าน เขียน ฉะนั้นแล้วถ้าจับใจความเรื่องที่ฟังไม่ได้งานทุกอย่างก็คงสำเร็จได้ยาก และผู้อ่านจะนำไปพัฒนาตนเองให้ดีที่สุดค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ หลังจากที่ได้อ่านบันทึกแล้ว ทำให้รู้ว่าการฟังเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะถ้าเราเริ่มต้นด้วยการฟังที่ดีก็จะทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและออกมาได้ดี ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆ และข้อคิดดีๆ ค่ะ

สวัสดียามเช้สค่ะท่านอาจารย์แม่วิไล,

มาชื่นชมความเป็นครูเพื่อศิษย์ที่แท้จริงด้วยอีกคนค่ะ ชื่นชมที่ท่านอาจารย์ให้ความสำคัญกับพื้นฐานการเรียนรู้ของน้องๆค่ะ เป็นโชคดีของนักศึกษาจริงๆค่ะ

พออาจารย์พูดถึงเรื่องการฟัง ปริมนึกถึงคำพูดของผู้อำนวยการที่ที่ทำงานซึ่งบอกกับพวกเราให้ให้ความสำคัญในการฟังลูกน้องในทีมว่า การฟังต่างจากการได้ยินโดยสิ้นเชิง

ปริมชอบคำกล่าวของเซอร์วินสตัน เลโอนาร์ด สเปนเซอร์ขเชอร์ชิลล์ อดีตนายกรัฐมนตรีผู้มีชื่อเสียงของอังกฤษมากที่ท่านเคยกล่าวเอาไว้ว่า "Courage is what it takes to stand up and speak; courage is also what it takes to sit down and listen" "ความกล้าคือคุณสมบัติสำคัญที่จะทำให้คนสามารถลุกขึ้นพูดได้ และความกล้าก็ยังเป็นคุณสมบัติสำคัญที่จะทำให้คนสามารถนั่งลงฟังคนอื่นด้วยเหมือนกัน" 

ขอบคุณบันทึกดีดีนี้ค่ะ ขอให้ท่านอาจารย์แม่มีความสุขในวันทำงานวันนี้ค่ะ

เรียน อ.วิ ขออนุญาต Save ไว้ศึกษาได้ไหมสาระดีๆอย่างนี้น่าอ่าน...ผมไม่ค่อยมีเวลาเท่าไหร่นัก...Proposal "ชุมชนคน สมศ."ได้รับหรือยังครับ ถ้าได้รับตอบให้คนเมืองยศได้รับทราบด้วย..มีลุ้นเงินแสนนะ...555

สวัสดีค่ะ.....จากที่หนูได้อ่านบันทึกของอาจารย์แล้วนั้นว่า การฟังและบันทึกเป็นสิ่งที่จะทำให้เรา สามารถฝึกทักษะได้ดียิ่งๆ ขึ้น.. ค่ะ

ขอบคุณอาจารย์มากนะค่ะสําหรับบทความดีๆและหลังจากอ่านบทความแล้วทําให้รู้ความหมายของผู้ฟังที่มีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับตัวเองและสังคมอย่างมากในปัจจุบันค่ะ

หลังจากที่ได้อ่านบันทึกแล้วหนูมีความรู้สึกว่าตัวเองยังมีข้อบกพร่องในการฟัง การอ่าน เขียนอยู่เป็นมากค่ะแต่หนูก็จะพยายามพัฒนาให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆค่ะ

ขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่สื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการฟังและการอ่านที่ดี หนูเองก็ยังมีความบกพร่องในทักษะด้านนี้อยู่มาก แต่อย่างไรแล้วหนูจะพยายามฝึกฝนให้มากยิ่งขึ้นค่ะ

จากที่ได้อ่านบันทึกล่าสุดของอาจารย์แล้ว หนูคิดว่าตัวหนูควรรีบเร่งพัฒนาการอ่านและฟังให้มีศักยภาพที่ดี เพื่อจะได้จบเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ และเพื่อลบล้างคำพูดที่ว่า ''จบจากมหาวิทยาลัยราชภัฏไม่มีคุณภาพ'' และท้ายสุดนี้ ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่เสียสละเวลาส่วนตัว และทุุ่มเทกาย ใจ เพื่อหวังให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพในสัคม และขอบพระคุณอาจารย์ที่ทิ้งท้ายด้วยคำประพันธ์ที่ทำให้นักศึกษามีกำลังใจฮึดสู้ต่อไปค่ะ

ขอบคุณท่านอาจารย์วิไล มากค่ะสำหรับบทความดีๆ สำหรับตัวหนูยังมีข้อบกพร่องในเรื่องของการอ่านและการฟังอย่างที่ท่านอาจารย์ได้บอกไว้ หนูจะพยายามปรับปรุงแก้ไขในส่วนนี้ต่อไปค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ ผศ. วิไล แพงศรี ที่นำสื่อดีๆมาให้กับนักศึกษา หลังจากที่กระผมได้อ่านสื่อของอาจารย์แล้วทำให้กระผมได้รู้ถึงข้อบกพร่องหลายๆอย่าง เช่น การอ่าน การฟัง การเขียน กระผมจะนำเอาข้อบกพร่องนี้ไปพัฒนาให้ดีกว่าเดิมครับ

หลังจากที่หนูได้อ่านสื่อของอาจารย์ทำให้หนูรู้ว่ายังมีข้อบกพร่องอีกหลายเรื่อง เช่น การฟังและการเขียน หนูจะนำเอาข้อบกพร่องในส่วนนี้ไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมค่ะ

ข้อบกพร่องของผม..เยอะ!!เลยครับ

  • ขอบคุณ "หนูปริมBlank" มากค่ะที่เข้ามาให้กำลังใจ และเสริมสร้างพลังใจอาจารย์แม่ด้วยปิยวาจา "มาชื่นชมความเป็นครูเพื่อศิษย์ที่แท้จริงด้วยอีกคนค่ะ ชื่นชมที่ท่านอาจารย์ให้ความสำคัญกับพื้นฐานการเรียนรู้ของน้องๆ ค่ะ เป็นโชคดีของนักศึกษาจริงๆ ค่ะ"

  • และขอบคุณมากเลยค่ะ ที่หนูแลกเปลี่ยนประสบการณ์ว่า "พออาจารย์พูดถึงเรื่องการฟัง ปริมนึกถึงคำพูดของผู้อำนวยการที่ที่ทำงานซึ่งบอกกับพวกเราให้ให้ความสำคัญในการฟังลูกน้องในทีมว่า การฟังต่างจากการได้ยินโดยสิ้นเชิง" ใช่ค่ะ เพราะบางคนแค่่ได้ยิน (hear) ว่า มีคนพูดอะไรกับตน แต่ไม่ได้ใส่ใจฟัง (listen) ว่า คนพูดต้องการสื่อสารว่าอย่างไร มีความต้องการอะไร และเราจะตอบสนองเขาได้อย่างไร การฟังจึงมีความสำคัญมากกว่าการได้ยินมากค่ะ 

  • และขอบคุณยิ่งที่หนูนำคำกล่าวของ "เซอร์วินสตัน เลโอนาร์ด สเปนเซอร์เชอร์ชิลล์ อดีตนายกรัฐมนตรีผู้มีชื่อเสียงของอังกฤษ" มาฝาก ที่ว่า "Courage is what it takes to stand up and speak; courage is also what it takes to sit down and listen" (ความกล้าคือคุณสมบัติสำคัญที่จะทำให้คนสามารถลุกขึ้นพูดได้ และความกล้าก็ยังเป็นคุณสมบัติสำคัญที่จะทำให้คนสามารถนั่งลงฟังคนอื่นด้วยเหมือนกัน) : เห็นด้วยค่ะ ว่า เราต้องทั้งกล้าที่จะลุกขึ้นพูด (เพื่อบอกถึงความต้องการของตน) และในขณะเดียวกัน ก็ต้องกล้าที่จะนั่งลงฟัง (ความต้องการของผู้อื่น) ด้วย อยากฝากความคิดดีๆ นี้ไปยังกลุ่มเรียกร้องต่างๆ ในเมืองไทยเหลือเกินค่ะ เพราะในสังคมไทยส่วนใหญ่มีแต่คน/กลุ่มคนที่ยืนขึ้นบอกความต้องการของตน/ของกลุ่มตน แต่แทบไม่มีคนที่นั่งลงรับฟังความต้องการของคนอื่น/กลุ่มอื่น แต่บอกไปแล้วพวกเขาก็คงแค่ได้ยินแต่ไม่ยอมฟังค่ะ 

  • ตอนนี้หนูปริมคงจะกำลังหลับ (เวลาที่สิงคโปร์เร็วกว่าไทย 1 ชั่วโมงเหมือนที่ออสเตรเลียหรือเปล่าน้า) Have a good sleep. นะคะ

     

  • ขอบคุณ "ท่านผศ.เดช่าBlank" มากค่ะ ที่แวะมา เมื่อกี๊ไปคุยในอนุทินของท่านเรื่องถั่วพู (ไม่ใช่พลู) และบันทึก "การศึกษาไทย 2020" มาแล้วค่ะ ฝากคำถามไว้ด้วยนะคะ
  • ท่านส่ง Proposal ให้ทาง e-mail ใช่ไหมคะ เมื่อกี๊เข้าไปดู ยังเข้าไม่ได้ค่ะ บางครั้งก็มีปัญหาแล้วจะเข้าไปดูใหม่นะคะ
  • ยังต้องมีลุ้นด้วยเหรอคะ ก็เห็นท่านบอกว่า โครงการได้รับการคัดเลือกไปแล้วไม่ใช่เหรอคะ 

I have a theory of experiential learning (or learning by senses). In a few words: we learn better if we use more senses.

People who learn to use their customary 6 senses (eyes, ears, nose, tongue, skin and "mind") learn and know other things in terms of combinations of experiences of these senses.

In extension, we can also use 'dynamic senses' (motions, patterns, rhythms, synchronization and lead-follow interactions) in our learning.

Furthermore, sense augmenting (measuring devices) can be considered 'senses' in 'more' senses. Especially, devices that measure/indicate 'change' in our learning environment.

I think we have 3 rough categories for 'what we learn' (static, dynamic and differential). It is, however, better to learn that by ourselves. ;-)

เรื่องคำสำคัญนั้น ทางทีมงานได้เข้าไปปรับแก้ไขให้ถูกต้องให้เองด้วยค่ะ เป็นระบบ admin เบื้องหลังค่ะโดยไม่ได้เข้าไปแก้ไขเนื้อหาบันทึกค่ะ

  • My apology, "Khun SRBlank" for being so sleepy that I shut down my notebook without noticing your comment coming the same time as my  gratitude, showing to my beloved audiences, this early morning. 
  • Thank a lot for your visit with so beneficial comments related to learning theories/ideas.
  • I know somewhat about "the experiential theory of learning", for one of my graduate students under my supervisory did her research project based on the theory and got excellent evaluation.
  • The other ideas you recommended; 'dynamic senses', sense augmenting and 3 rough categories for 'what we learn' (static, dynamic and differential); I need to learn much more.
  • Thank again for your informative and worthy comments. 

     

บันทึกนี้มีประโยชน์มากๆครับ ผมจะนำความรู้ที่ได้จากการอ่านบทความนี้ไปพัฒนาข้อบกพร่องในเรื่องการฟัง การเขียนครับ

สวัสดีครับอาจารย์ จากที่ผมได้อ่านบันทึกนี้แล้วได้ตระหนักถึงความสำคัญของการฟัง การพูด การคิด ผมจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุดครับ

  • ขอบคุณ "ดร.จันทวรรณ ปิยะวัฒน์Blank" และทีมงานผู้ดูแลระบบ GotoKnow.org มากค่ะ ที่ให้บริการสุดแสนประทับใจ ดังที่ได้เข้ามาแจ้งอ.วิว่า "เรื่องคำสำคัญนั้น ทางทีมงานได้เข้าไปปรับแก้ไขให้ถูกต้องให้เองด้วยค่ะ เป็นระบบ adminเบื้องหลังค่ะโดยไม่ได้เข้าไปแก้ไขเนื้อหาบันทึกค่ะ"
  • แต่ก็อยากบอกนักศึกษาว่า "ทุกคนควรสร้างนิสัยที่จะศึกษาและฝึกที่จะทำอะไรให้ถูกต้องตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของโครงการด้วยตนเอง ไม่ใช่คอยอาศัยให้ทีมงานปรับแก้ไขให้ เพราะในการเรียน การทำงานและการดำเนินชีวิต ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตนั้น คงไม่มีใครมาคอยตามแก้ไขให้
  • จำข้อความในใบงานสัปดาห์ก่อนๆ กันได้ไหม "Success is a Habit" 

หนูได้เข้าไปแก้ไขบันทึกตามที่อาจาร์ยแนะนำแล้วคะแต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะถูกต้องรึป่าวรบกวนอาจาร์ยช่วยดูให้อีกรอบด้วยนะคะ

สวัสดีคะอาจายร์ จากที่หนูได้อ่านบันทึกนี้แล้วได้รู้ว่า ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน นั้นมีประโยชน์มากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และหนูก็จะพยายามนำความรู้นี้กับไปพัฒนาข้อบกพร่องที่มีให้ดียิ่งขึ้นคะ

  • "Blank"ดีค่ะ ที่รีบติดตามและเข้าไปแก้ไข แต่ยังไม่ถูกนะคะ 
  • หนูยังไม่ได้ให้ Link ของแหล่งอ้างอิงที่จะทำให้ผู้อ่านคลิกเข้าไปอ่านได้ ดูตัวอย่างการให้ Link ของอาจารย์ในบันทึกนี้

       ...จึงได้กำหนดจัดงาน “สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 40 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 10 (Bangkok International Book Fair 2012)” ดังภาพประชาสัมพันธ์ข้างล่าง (http://www.bangkokibf.com/)

       Link ที่ยกมาเป็นตัวอย่างก็คือ (http://www.bangkokibf.com/) ซึ่งหนูจะต้องก๊อบปี้จากข้างบนมาวาง เมื่อวางแล้วต้องตรวจสอบโดยลองคลิกดูว่าเข้าถึงแหล่งอ้างอิงได้ไหม ถ้าได้แสดงว่าูทำได้ถูกต้อง 

       และหนูใส่หมายเลขบันทึกที่เกี่ยวข้องผิดที่ ต้องใส่ไว้ท้ายบันทึก ที่มีข้อความว่า บันทึกที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ใส่ข้างบน

       ขนาดตัวอักษรส่วนที่เป็นเนื้อหา แนะนำให้ใช้ heading 4 ที่หนูและเพื่อนๆ ใช้อยู่เป็นขนาด paragraph ซึ่งเล็กสุด ผู้อ่านอ่านลำบาก ที่อาจารย์ใช้คือ heading 3

      และสีของตัวอักษร สีดำดูจะชัดกว่าสีเขียวที่หนูใช้ ถ้าต้องการเน้นควรเน้นด้วยการใช้สีพื้นหลังดีกว่านะคะ

         

จากข้อความที่อาจารย์ได้บันทึกข้างต้นนั้น ดิฉันคิดว่า เรื่องการอ่าน การฟัง การคิดและการเขียนนั้นสำคัญกับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันมากแต่ในปัจจุบันเด็กไทยไม่ค่อยจะอ่านและคิดไม่เป็นและควรจะหันมาสนใจเรื่องนี้ให้มากๆ ขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่มาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้และดิฉันจะพยายามอ่านให้มากๆค่ะ

  • ขออนุญาตนำภาพหมอกบางภาพ จากบันทึกของพี่ชาย มาตกแต่งเพื่อร่วมรำลึก ครบรอบ 1 ปีการจากไปของสมาชิก GotoKnow "คุณหนานเกียรติ ม่วงมิตร"

ขอบคุณค่ะสำหรับบันทึกดีๆที่แสดงให้เห็นความสำคัญของการฟัง เพราะการฟังเป็นรากฐานของความรู้ความเข้าใจ เมื่อเราตั้งใจฟังเราก็จะสามารถเข้าใจในเรื่องนั้นๆอย่างชัดเจนค่ะ

หนูได้อ่านบทความของอาจารย์แล้วค่ะ มีประโยชน์มากๆ เลยค่ะ เพราะการฟังถือว่าเป็นส่วนสำคัญของการเรียนรู้ หนูจะนำบันทึกนี้มาเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตค่ะ

ขอบคุณท่านอาจารย์มากน่ะค่ะที่นำความรู้ดีๆมากฝากอยู่เสมอ จากที่อ่านบันทึกนี้ทำให้รู้ว่า ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ขาดทักษะในการฟังที่ดี เวลาอาจารย์พูดมักจะไม่ค่อยมีสมาธิในการฟังสักเท่าไหร่จึงทำให้การฟังบางครั้งฟังไม่เข้าใจ ดิฉันจะพยามตั้งใจฟังเวลาอาจารย์พูด เพื่อที่จะพัฒนาการเรียนให้ดีขึ้น

จากข้อความที่อาจารย์ วิไล แพงศรี ได้บันทึกไว้ข้างต้น การฟัง การคิด การถาม และการเขียน

  ข้าพเจ้าได้เข้าใจถึงกระบวนการการสื่อสาร  เป็นข้อความที่ดีต่อผู้ที่ได้อ่าน ข้าพเจ้า ยังมีกระบวนการการสื่อสารได้ไม่ค่อยดีนัก ข้าพเจ้าจึงขอขอบคุณท่าน อาจารย์ วิไล แพงศรี ที่ได้หมอบข้อมูลที่ดี ที่จะต้องนำไปพัฒนาข้อบกพร่องของตัวข้าพเจ้าเอง เพื่อจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการใช้ชีวิตประจำวันค่ะ

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์ ดิฉันได้ทำการบันทึก ''ปัญหาเทคโนโลยีการศึกษา'' เรียนร้อยเเล้ว ดิฉันอาจจะบันทึกยังไม่ค่อยเก่งเเต่จะพยามศึกษาหาความรู้เเละทำการบันทึกให้ดีกว่านี้ ขอบคุณท่านอาจารย์มากน่ะค่ะที่สรรหาหัวข้อดีๆมาให้บันทึกอยู่เสมอ

สวัสดีค่ะอาจารย์หนูอ่านข้อความข้างบนแล้วนะค่ะทำให้เรารู้จักวีธีการฟังที่ถูกและการอ่านที่ถูกต้องเพื่อนที่จะนำไปปรับปรุงเพื่อให้เกิดประโยขน์แก่ตนเองมากที่สุดค่ะ

  • นักศึกษารายวิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน Section 02, 03, 04
  • โปรดดูภาพและข้อความข้างล่าง ที่อาจารย์แสดงไว้ในท้ายบันทึกนี้ อีกครั้ง

                         เห็นกันแล้วยังคะ ว่าอาจารย์เขียนว่าอย่างไร

    อาจารย์เขียนว่า"ผู้ที่ได้ไม่เต็ม 10 ให้แก้ไขให้ได้เต็ม 10 ก่อนค่อยแสดงตน"

    "Blank" เป็นตัวอย่างของผู้ที่มีปัญหาการอ่าน เพราะแสดงตนโดยที่ได้คะแนนแค่ 7ผิดทุกอย่าง...ตั้งแต่รหัสย่อสาขาวิชาในภาพไม่ถูกต้อง(-1) ลงประวัติไม่เป็นไปตามข้อกำหนด (-1)นอกจากนั้นยังพิมพ์ชื่อคณะไม่ถูกต้อง “คณะครุศษสตร์” (-1)พิมพ์ความเห็น …เราหน้า(น่า)จะพัฒนาในทุกๆๆด้าน(-1) รวมถูกหักแต้ม -4 ได้แต้มการแสดงความเห็น1สรุปแล้วเข้ามาครั้งนี้ ได้แต้ม (-3) ถ้าเข้ามาอีกโดยไม้แก้ไขให้ถูกต้องคะแนนก็จะติดลบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

    ส่วน "Blank" ได้คะแนนภาพ ข้อมูลและประวัติเต็ม 10 มาแล้ว จึงเข้ามาแสดงตนโดยไม่ติดลบ และได้แต้มให้ดอกไม้ 1 แสดงความเห็น 1เป็นการแสดงความเห็นมีสาระต่อยอดจากเนื้อหาในบันทึกได้แต้มเพิ่ม 1รวมเป็นเข้ามาครั้งนี้ ได้ 3 แต้ม

    เมื่อเห็นตัวอย่างการให้แต้มและหักแต้มแล้ว ก็ให้นักศึกษาลองพิจารณาดูว่า ตนเองจะปฏิบัติตนไปในทางไหน ทางที่จะถูกหักแต้มหรือได้แต้ม

    อาจารย์ขอแจ้งว่า จะตอบความเห็นนักศึกษาเท่าที่จำเป็นเท่านั้น(แต่จะประเมินให้แต้มหักแต้มทุกคนที่เข้ามาแสดงตัว)เพราะอาจารย์งานหนักมาก ต้องวิ่งรอกไปดูแลคนป่วยที่ฟาร์ม และทำหน้าที่อาจารย์ ดังภาพ วันนี้ 20 ก.ค. อาจารย์ก็มีสอน 4 คาบและมีงานเตรียมการอบรมครู

 

หนูจะนำไปปรับปรุงใช้ในชีวิตประจำวันคะ

  • นักศึกษารายวิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน Section 02, 03, 04
  • ผู้ที่เข้ามาในบันทึกนี้ที่ได้แต้มติดลบยังมีอีกไม่น้อย แต่จะยกตัวอย่างรายที่สองที่มีปัญหาทั้งการได้ยินและการมองเห็นทั้งที่ไม่ใช่ผู้พิการทางหูและทางตา "Blank" คือราวกับไม่เคยได้ยินว่า อาจารย์บอกให้ทำอย่างไร และไม่เคยมองดูว่าตัวอย่างที่ถูกต้องที่อาจารย์แสดงให้ดูนับครั้งไม่ถ้วนเป็นอย่างไร ไม่เคยเหลือบตาดูว่าเพื่อนๆ เขาทำอย่างไร อาจารย์งงมากที่ชื่อที่เธอใช้ใน GotoKnow คือ 03_0885 อรุณี CA2 ใจยาว แทนที่จะเป็น 03 อรุณี ใจยาว และตอนแรกเธอก็เข้ามาแบบมีแต่รูป พออาจารย์บอกให้ใส่ข้อมูลในภาพเธอก็ใส่ข้อมูลดังที่เห็นในภาพล่าง ลงประวัติก็ไม่ครบ เข้ามาครั้งนี้ เลยได้แต้ม -1 จากชื่อที่ใช้ไม่ถูกต้อง -1 จากข้อมูลในภาพไม่ถูกต้อง -1 จากข้อมูลประวัติไม่ครบ รวม -3 และ 1 จากให้ดอกไม้ แสดงความเห็นไม่ได้แต้ม เพราะเขียนห้วนๆ ว่า "รับทราบค่ะ" ซึ่งไม่สื่อความว่ารับทราบอะไร รวมแล้วเข้ามาครั้งนี้ได้แต้ม (-3) + (1) = -2 

  • นักศึกษารายวิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน Section 02, 03, 04
  • อาจารย์ขอชี้แจงเรื่อง "การเขียนอนุทิน" ดังนี้
  • ตามนิยามที่ปรากฏในหน้าแรกของ  GotoKnow "อนุทิน" คือ การบันทึกสั้นฉับไว เพื่อบอกเล่าว่าสมาชิกกำลังทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ...
  • ที่ "Blank" เขียนอนุทินมีข้อความว่า "โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุของการตายเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย และหลายประเทศทั่วโลก โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม เช่น การกินอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน อาการทอด ผัดที่ใช้น้ำมันมากๆ ฯลฯ แต่กินอาหารพวกผัก ผลไม้ ธัญพืช ที่มีเส้นใยน้อยเกินไป" แบบนี้ไม่ใช่อนุทิน เพราะไม่ได้เป็นการบอกว่าตนเองได้ทำอะไร ลองเข้าไปอ่านตัวอย่างของอนุทินที่มีคนเขียนมากมาย ตัวอย่างที่เพื่อนเขียนได้ถูกลักษณะเช่น "Blank" เขียนความว่า "วันพุธที่ 13 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 หลังฉันเรียนเสร็จ (เลิกเรียน) วิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น 1 เวลาประมาณ 12.00 น. ฉันกับเพื่อนก็ขับรถไปกินข้าวแถว ซอยสุขาอุปถัมถ์  (ภ์) 1 ซึ่งฉันเป็นคนขับรถจักรยานยนต์ส่วนเพื่อนเป็นคนนั่งซ้อนท้าย..." ที่อาจารย์ขีดเส้นใต้คือการใช้สำนวนภาษาที่ไม่ถูกต้องและสะกดผิด คำในวงเล็บคือที่ถูกต้อง

  • อนุทินแต่ละเรื่องคะแนนเต็ม 5 บันทึกเต็ม 20 บันทึก 1 เรื่องจึง = อนุทิน 4 เรื่อง ถ้าเขียนหลายครั้งจะคิดคะแนนจากครั้งที่เขียนได้ดีที่สุด และนับจำนวนครั้งที่เขียนเป็นคะแนนความพยายามที่จะพัฒนาตนเองด้วย  

  • นักศึกษารายวิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตนSection 02, 03, 04

  • อาจารย์ขอชี้แจงเรื่อง "การลงข้อความในภาพ" ดังนี้

  • นักศึกษารายวิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตนSection 02, 03, 04

  • อาจารย์ขอชี้แจงเรื่อง"การเขียนบันทึก"ดังนี้

  • ต้องเริ่มจากการสร้าง "สมุด" ก่อน เห็นนักศึกษาส่วนใหญ่เอาชื่อบันทึกไปเป็นชื่อสมุด ซึ่งไม่ถูกต้อง อย่างเช่น อาจารย์สร้างสมุดไว้ 5 เล่ม แต่ละเล่มใช้เขียนบันทึกที่มีเนื้อหาต่างกัน เล่มที่ 1 ชื่อ "Pridetoknow :  พฤกษานานาและการเกษตรแบบพอเพียง" เล่มที่ 2 คือเล่มที่อาจารย์ใช้เขียนอยู่นี้ชื่อ "Learntoknow : แลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ด้านการจัดการศึกษา"  สำหรับนักศึกษาให้ตั้งชื่อบันทึกโดยใช้คำที่มีรหัสประจำตัวรวมอยู่ด้วย เช่น "งานเขียนของ 02 อริษา0884 M3" และ "บันทึกของ 02 นุชนาฏ0893 M3" เป็นต้น

  • การเขียนบันทึกแต่ละครั้งต้องมีส่วนประกอบครบทั้งสามส่วน แต่ละส่วนต้องเป็นคนละย่อหน้า ส่วนแรกเป็นความนำ ต้องเขียนเองโดยเขียนไว้ในย่อหน้าแรก ส่วนที่สองเนื้อหาจะมีกี่ย่อหน้าก็ได้ ส่วนนี้อ้างอิงได้ และส่วนที่สามเป็นบทสรุปหรือบทส่งท้าย ต้องอยู่ในย่อหน้าสุดท้ายและต้องเขียนเอง บันทึกของนักศึกษาที่ยกข้อความมาจากแหล่งอ้างอิงทั้งหมด หรือไม่ทั้งหมดแต่ไม่แยกให้เห็นว่า ตรงไหนเป็นอ้างอิง ตรงไหนเป็นส่วนที่ตนเองเขียน อาจารย์จะไม่เข้าไปชี้แนะ เพราะไม่รู้จะชี้แนะอย่างไร และจะไม่ได้รับการประเมินให้คะแนนถ้าอ่างอิงจากเว็บต้องก๊อบปี้ที่อยู่มาวางให้ click เข้าไปดูได้ ถ้าอ้างอิงจากสิ่งพิมพ์ต้องใส่แหล่งอ้างอิงไว้ในในตอนท้าย ทุกอย่างที่อาจารย์อธิบายไปนั้น อาจารย์ได้ทำให้ดูเป็นตัวอย่างแล้วในบันทึกนี้

  • งานเขียนทุกครั้งต้องมีประโยคเด่น ที่นำมาจากข้อความในบันทึก และถ้าเป็นการเขียนที่เกี่ยวข้องกับบันทึกใด ต้องใส่หมายเลขของบันทึกนั้นๆ ลงไปด้วย

  • การประเมินให้คะแนนบันทึก20 แต้ม อาจารย์จะเริ่มจากการดูตามข้อความที่เขียนไว้ข้างบนและระบายสีม่วง ถ้าไม่เป็นไปตามนั้นก็จะไม่ประเมิน ถ้าเป็นไปตามนั้นจะประเมินให้คะแนนคือ ชื่อเรื่อง 2 ประโยคเด่น 2 ความนำ 3 เนื้อหา 8 บทส่งท้ายหรือสรุป 3 บันทึกที่เกี่ยวข้อง 2 ส่วนของเนื้อหาจะดูว่าตอบโจทย์ไหม เช่นครั้งนี้ต้องเสนอปัญหาด้านเทคโนโลยีและวิธีแก้ไข ถ้าไม่เขียนแนวนี้ก็จะไม่ได้แต้มเลยเพราะถือว่าไม่ได้ตอบโจทย์ นอกจากนั้นก็ดูว่าสาระเป็นประโชน์มากน้อยแค่ไหน ใช้ภาษาสื่อความเป็นอย่างไร การพิมพ์ผิดจะถูกหักแต้มคำละ 1 แต้ม

  • นักศึกษารายวิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตนS ection 02, 03, 04
  • ผู้ที่จะเขียนอนุทินและบันทึกในคราวต่อไปใ ห้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำแนะนำที่อาจารย์ให้ไว้เพิ่มเติมข้างบน
  • และศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียนได้ที่บันทึกตามชื่อเรื่องข้างล่าง ที่คาดว่าจะลงประมาณวันที่ 23-24 กรกฎาคม 2555 และอย่าลืมก่อนแสดงตนต้องตรวจสอบภาพ ข้อมูลในภาพ ข้อมูลส่วนตัวและประวัติให้ถูกต้อง 100 % ก่อน เพื่อจะได้ไม่ถูกหักแต้ม

อาจารย์หนูได้แก้ไขบันทึกแล้วนะค่ะไม่รู้ว่าถูกรึกป่าว

     ขอบคุณค่ะที่ให้คำแนะนำ

หนูชอบประโยคนี้มากเลยค่ะ "ถ้าเราไม่สามารถปฏิรูปให้คนรักการอ่านได้ ก็จะปฏิรูปการศึกษาไม่ได้ และเมื่อปฏิรูปการศึกษาไม่ได้ ก็จะปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ สังคมของประเทศนั้นๆ ไม่ได้เช่นกัน เพราะไม่เคยมีประเทศไหน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้ดี โดยไม่เริ่มจากทำให้คนรักการอ่าน"ถ้าทุกคนปฎิบัติได้ก็คงจะดีนะคะ

การคิดก่อนพูดถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าเกิดเราพูดผิดหรือพูดตกไปบางคำ อาจทำให้ประโยคนั้นไม่สมบูรณ์ เพราะฉะนั้นเราหน้าจะพัฒนาในทุกๆๆด้านไปพร้อมๆๆกันนะครับ

จากที่ข้าพเจ้าได้อ่านบันทึกที่อาจารย์ได้เขียนเพื่อแนะนำให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นสำคัญเพราะการเรียนรู้ต้องอาศัยทักษะทั้ง4ด้านไปพร้อมกันเพราะถ้าเราขาดส่งใดสิ่งหนึ่งไปก็จะทำให้เราขาดประสิทธิภาพ ซึ้งในปัจจุบันนี้นักศึกษาส่วนมากไม่ค่อยได้ให้ความสนใจนักในเรื่องนี้รวมกับตัวหนูเองด้วยเพราะสนใจแต่เรื่องที่ตนสนใจเฉพาะโดยไม่คิดและฟังความตามที่บุคคลอื่นบอกแนะนำ....หนูขอขอบคุณอาจารย์มากนะค่ะที่บอกแนะนำกับลูกศิษย์ทุกคนได้ตระหนักถึงเรื่องนี้ค่ะ

  • นักศึกษารายวิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตนSection 02, 03, 04

           สิ่งที่อาจารย์เบื่อที่สุดก็คือ การที่ต้องมาเขียนเรื่องเดิมซ้ำซากแทนที่จะได้ไปใช้เวลากับงานที่สร้างสรรค์เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติมากกว่านี้ ผู้ที่ถูกระบุชื่อในภาพโปรดดูและแก้ไขทุกอย่างให้เรียบร้อยภายในวันที่ และนักศึกษาทุกคน โปรดตรวจสอบความถูกต้องของตน ก่อนที่จะไปแสดงตนในบันทึกใหม่ของอาจารย์ซึ่งจะเป็นการประเมินครั้งสุดท้ายว่า ชื่อที่ใช้ใน GotoKnow ภาพ ข้อมูลในภาพ และประวัติของแต่ละคนถูกต้องหรือไม่ คนที่ยังทำได้ไม่ถูกต้อง 100 %และไปแสดงตนในบันทึกดังกล่าว จะได้รับการประเมินขั้นต้น"การใช้ IT เพื่อพัฒนาสมรรถภาพในการเรียนรู้ตลอดชีวิต" = 0 ซึ่งอาจารย์จะให้นักศึกษาทุกคนกรอกผลการประเมินในแบบฟอร์มการพัฒนาดังกล่าวในสัปดาห์หลังสอบกลางภาค

    วรพรตเห็นเปลี่ยนรูปภาพใหม่ เล็กกว่าเดิมอีก ในขณะที่อาจารย์ให้ใช้ภาพที่เห็นใบหน้าชัดเจน นอกจากมีปัญหาภาพ สาขาที่อยู่ในวงเล็บก็ไม่ถูกต้อง(Local Government) ไม่ใช่ Go Ve Ment ปริญญารหัสย่อสาขาที่ถูกต้องคือ SE ทิฆัมพรให้ไปเขียนประวัติใหม่ทั้งหมด ที่เขียนมาคือ"นางสาวทิฆัมพร ลาญวิชัย ศศ.บ.3.15 B.A (FINE AND APPLIED ART ) 03ทิฆัมพร 0923 AP3    (03 - ๖ SM ) เรียนคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขา ศิลปกรรม ออกแบบประยุกต์ศิล (ป์) คติ อย่าลืมแต่สิ่งที่ไม่ดี และ อย่าจำในสิ่งที่ดี" ไม่ตรงข้อกำหนด คติก็อ่านแล้วงงมากรหัสย่อสาขาที่ถูกต้องคือ FAA เคยบอกไปแล้วแต่ยังไม่ยอมแก้ไข รัตนาชื่อที่ใช้ใน GotoKnow ให้ตัด "Sect" ออก

ขอบคุณท่านอาจารย์มากน่ะค่ะ ที่ให้คำเเนะนำในการเขียนชื่อย่อสาขาให้ถูกต้อง ดิฉันจะรีบเเก้ไปตามที่ท่านอาจารย์บอกค่ะ

  • ประกาศสำหรับนักศึกษารายวิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน Section 02, 03, 04

       ตามที่อาจารย์แจ้งนักศึกษาในสัปดาห์ที่แล้ว (ที่อาจารย์ใช้เป็นสัปดาห์สอบกลางภาค เพราะจำเป็นต้องจัดสอบเอง ด้วยเหตุที่ต้องใช้ DVD เป็นสื่อในการทดสอบดังภาพข้างล่าง) คือ อาจารย์ได้แจ้งให้นักศึกษา Section 02 และ 03 กลุ่ม 4 คนที่จะออกไปสนทนากับชาวตะวันตก แสดงบทบาทสมมุติการสนทนาให้อาจารย์ดูเพื่อจะได้ให้ข้อชี้แนะ ในคาบเรียนวันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม 2555 และ Section 04 คาบเรียนวันอังคารที่ 31 กรกฎาคม 2555

       แต่เมื่อกี๊ "Blank" ได้โทรฯ คุยกับอาจารย์ว่า วันที่ 30 ก.ค. ยังมีตารางสอบอยู่ (มหาวิทยาลัยกำหนดในปฏิทินการเรียนการสอนว่า สัปดาห์ที่ 8 เป็นสัปดาห์ของการสอบกลางภาค ซึ่งอาจารย์เข้าใจว่า ช่วงสอบกลางภาคคือ จันทร์ที่ 23 ก.ค. 2555 ถึง ศุกร์ที่ 27 ก.ค. 2555 แต่มหาวิทยาลัยกลับกำหนดวันสอบเป็นวันอังคารที่ 24 ก.ค. - ศุกร์ที่ 27 ก.ค. แล้วข้ามมาวันจันทร์ที่ 31 ก.ค.อีก 1 วัน)

      เพราะฉะนั้น อาจารย์จึงขอเปลี่ยนเป็นให้นักศึกษา Section 02 จำนวน 9 กลุ่ม และ 03 จำนวน 12 กลุ่ม แสดงบทบาทสมมุติให้อาจารย์ดูในวันอังคารที่ 24  กรกฎาคม 2555 ระหว่างเวลา 10.30 - 12.00 น. ที่ห้อง 32.603 ซึ่งเป็นกำหนดเวลาและสถานที่สอบรายวิชา  HBSD ตามตาราง ส่วนนักศึกษา Section 04 ให้เป็นไปตามตารางเดิมที่กำหนดไว้ คือ แสดงในคาบเรียนวันอังคารที่ 31 กรกฎาคม 2555

        อาจารย์ขอขอบใจ "Blank" ที่มีความใส่ใจ โดยโทรฯติดต่อสอบถามอาจารย์ ทำให้อาจารย์ทราบปัญหา รวมทั้งได้เสนอแนะให้อาจารย์นัดหมายนักศึกษาในวันเวลาใหม่ ดังกล่าว

     

       หลังจากที่ได้อ่านบันทึกของอาจารย์แล้ว ก็พบว่าดิฉันเป็นคนหนึ่งที่มีข้อบกพร่องในเรื่องการฟัง

เนื่องจากจับประเด็นหรือใจความสำคํญเรื่ิองที่ได้ฟังได้ไม่ดีเท่าไหร่ค่ะ ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ สำหรับบทความดีๆที่นำมาให้อ่าน และยังสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเรียน และในชีวิตประจำวันอีกด้วยค่ะ

     สำหรับการแสดงบทสนทนาให้วันพรุ่งนั้น ดิฉันจะรีบแจ้งข่าวให้เพื่อนๆที่สามารถติดต่อได้ให้ทราบโดยทั่วกัน 

และจะไปตามเวลาที่อาจารย์วิไล นัดหมายค่ะ

  • ขอบใจมาก "Blank" หนูเรียนสาขาภาษาอังกฤษ จะต้องเป็นต้นแบบให้เพื่อนด้วยนะคะ

หนูจะพยายามเต็มที่ค่ะอาจารย์ ส่วนตัวเเล้วหนูเองก็ไม่ได้เก่งสักเท่าไหร่ ยังคงต้องฝึกฝนและพัฒนาอีกเยอะเลยค่ะ คงต้องขอคำชี้แนะและความรู้อาจารย์ด้วยนะคะ ^__^

มาเยี่ยมคุณพี่  จำได้ว่าถามปัญหาคุณพี่ ไม่รู้ว่าบันทึกไหน

เพราะมีคนให้ความเห็นเยอะเหลือเกิน หาไม่เจอ

สบายดีหรือครับ เดือนตุลาคมคงจะเกษียณใช่ไหมคุณพี่

คลิกเมาส์จนตายลายเลยครับ

ท่านอาจารย์ค่ะ หนูได้ทำการเเก้ไขข้อมูล ตัวย่อสาขา เเละทำการเเก้ไขบันทึกเพิ่มเติมตามที่อาจารย์เเนะนำเเล้วน่ะค่ะ ขอบคุณท่านอาจารย์มากน่ะค่ะที่คอยให้คำปรึกษาเเละเเนะนำการเขียนบันทึกที่ถูกต้องค่ะ

จากบทความดังกล่าว ทำให้หนูทราบว่าหนูยังมีข้อบกพร่องด้านการอ่าน การฟัง การเขียน
ซึ่งส่วนใหญ่แร้วเกิดจากการขาดสมาธิ ขดการฝึกทักษะ เพราะฉะนั้นเมื่อรู้ข้อบกพร่องแล้วก็ขอคำชี้แนะจากท่านอาจารย์ เพื่อนำไปปรับปรุงด้วยนะคะ

หลังจากที่ได้อ่านบันทึกของอาจารย์ จึงทำไห้หนูรู้ว่าหนูยังมีข้อบกพร่องอย่างงมากต่อไไปหนูจะนำความรู้ที่อาจารย์ไห้มาไปพัฒนาตนเองไห้ดีขึ้น

อาจารย์ค่ะ หนูได้แก้ไขประวัติ และรูปประจำตัวแล้วรบกวนอาจารย์ ช่วยตรวจสอบไห้หน่อยนะคะว่าถูกต้องแล้วหรือยัง ขอบคุณค่ะ

อาจารย์ค่ะ หนูได้แก้ไขรูปภาพ ตามคำแนะนำของอาจารย์แล้วน่ะค่ะ ขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำและบันทึกดีดีนี้น่ะค่ะ

ค้นหา Comment ของตัวเองไม่เจอ....คิดว่าตนเองมีอยู่นะ...หรือ สว.หลงลืม...อ.วิลองเปิดดู E-mail ด้วนะครับ สมศ.เขาเปิดรับผู้ประเมินอภิมาน.......

การฟังเป็นทักษะแรกในการพัฒนาที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ฉะนั้นแล้วถ้าจับใจความเรื่องที่ฟังไม่ได้งานทุกอย่างก็คงสำเร็จได้ยาก และผู้อ่านจะนำไปพัฒนาตนเองให้ดีที่สุดค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท