ผู้ขับเคลื่อนสื่อสารการเมืองสำคัญ


สื่อสารการเมือง, พรรคการเมือง, ผู้อำนวยการพรรค

ผอ.เลือกตั้ง..(Campaign Manager) ฉบับ Change …นายก(มือใหม่)ฯ 

                อย่างที่หลายฝ่ายเข้าใจ  ประเทศไทย กำลังเข้าสู่วิกฤตของการการเลือกตั้ง ผลการพิพากษาล่าสุดของศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดคำถามมากมายตามมา   ใครคือคนสำคัญที่สุดของกระบวนการนี้เลือกตั้งกันแน่

                ในระบอบประชาธิปไตย ก่อนที่จะลงเลือกตั้งเพื่อได้มาซึ่ง สส.  พรรคการเมือง (เชื่อกันว่า) จะมีคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัคร เพื่อคัดเลือกคนที่เหมาะสมและส่งลงรับเลือกตั้ง โดยมีคนผู้หนึ่งทำหน้าที่กุมบังเหียนเรียกว่า "ผู้อำนวยการเลือกตั้ง" และคนผู้นี้แหละ สำคัญต่อทิศทางการเมืองของ สส. เหล่านี้...     

                ในหนังทีวีเรื่อง Change นายก (มือใหม่) ฯ   ยกความสำคัญของขั้นตอนให้แก่ “...นิราซาว่า”

                “นิราซาว่า” เป็นผู้อำนวยการเลือกตั้ง ตามบทของเรื่อง... แค่ฉากเปิดตัวก็จ๊าบแล้ว...มาด้วยมาดสุดขลัง ยิ่งกว่าตอนเปิดตัวพระเอกเสียอีก...ภาพเล็ก ๆ ของ “นิราซาว่า”  ในฐานะผู้ชนะศึกการเลือกตั้งหมู่บ้านมาหมาดๆ มันเวอร์สุด ๆ จริง ๆ   (เลือกตั้งหมู่บ้านของเขาก็คงเทียบได้กับ อบต.บ้านเรา)

คน ๆ นี้เป็นผู้สำคัญที่สุด และเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ อาซาคุระ  เคตะ  ได้คะแนนเสียง ได้ฉายแววความพิเศษที่มีอยู่ในตัว  การค้นหาจุดเด่น จุดด้อย  การออกแบบการต่อสู้ กลยุทธ์การหาคะแนน   ไม่ใช่สิ่งที่จะมีในตัวใครคนใดคนหนึ่งโดยง่าย   แม้ไม่ใช่เรื่องที่จะเรียนรู้ไม่ได้ แต่ ผอ.การเลือกตั้ง ก็ต้องเป็น  “มือฉมัง”   จริง ๆ และที่สำคัญพลิกวิกฤต เป็นโอกาส จากความเก๋าเกม จากความเป็นมือฉมังนั้น  และที่สำคัญ เขาคือกุญแจสำคัญ ที่ทำให้ เคตะ มั่นใจว่า เขาเป็นผู้แทนราษฎร เป็นผู้ที่คนหนึ่งแสนกว่าคน เขียนชื่อของเขาในบัตรลงคะแนน ฝากความหวังของเขาไว้ ให้ช่วยดูแลคำมั่นสัญญา   แต่อาจไม่ใช่นักการเมืองอย่างที่คนอื่นเป็นกัน    

                บทสนทนาสั้น ๆ ในศูนย์เลือกตั้ง ที่ผู้ใหญ่ท้องถิ่นหลายคนแนะนำให้ นิราซาว่า รู้จักกับ มิยาม่า ซึ่งมาจากโตเกียว มาช่วยการเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้เชียวนะ...  มิยาม่า ออกตัวว่า  ก็แหม..เป็นการเลือกตั้งสำคัญนี่นา....แต่คำตอบที่ได้รับจาก นิราซาว่า คือ ..” มีการเลือกตั้งครั้งไหน ที่ไม่สำคัญด้วยหรือ??” 

                ฟังเผิน ๆ ก็กวนประสาทดี  แต่คิดอีกที  นักเลือกตั้งในเมืองไทย จะคิดอย่างไรกับระบบการเลือกตั้ง อบต. เทศบาล  อบจ  สส  สว  และปาร์ตี้สิลต์ ????    จะคิดเหมือน มิยาม่า หรือ นิราซาว่า กันแน่.????  

                นิราซาว่า ตามบทหนัง เขาถูกกำหนดให้มีประวัติ วางแผนการเลือกตั้งมาแล้ว ๒๐๐ ครั้ง ชนะ ๑๙๙ ครั้ง  แพ้เพียงครั้งเดียว และแพ้ในครั้งที่ ๑ เท่านั้น ด้วยประสบการณ์การวางแผนเลือกตั้ง ขนาดนี้  ถ้าทำให้ใครแล้วไม่ชนะ  ก็คงไม่ใช่ นิราซาว่า แน่ๆ  (บทหนังก็เวอร์สุด ๆ ได้เหมือนกัน...แต่..เขาจะบอกอะไรกันแน่???)

                สำหรับเมืองไทย ผอ.การเลือกตั้งของ ๒๖ พรรคในวันนี้ คือใครกัน  เขาเป็น “มือฉมัง” กันหรือไม่...

                ขณะนี้มีบางพรรคประกาศตัว ผู้อำนวยการเลือกตั้งอย่างเปิดเผย แต่บางพรรค ก็อาจยกตำแหน่งนี้ ไปให้แก่ เลขาธิการพรรค หรือหัวหน้าเขตที่ควบคุมฐานเสียง

                ระหว่างความเป็นนักวางแผนเลือกตั้งมืออาชีพอย่าง นิราซาว่า (ในหนังทีวี)  กับ ผู้อำนวยการเลือกตั้งของพรรคการเมืองไทย(ในความเป็นจริง) มีอะไรต่างกันบ้างไหม...????

๑.      นิราซาว่า สนใจเรื่องการเลือกตั้งและวิธีการต่อสู้เพื่อให้ได้คะแนนเสียงเหนือกว่าคู่แข่ง

๒.      นิราซาว่า ออกแบบความคิด กำหนดกลยุทธ์ และมีฝ่ายสนับสนุนไปร่วมกันทำให้เป็นจริง

๓.      นิราซาว่า  งานของเขาคือการเลือกตั้ง  เสร็จงานเลือกตั้ง ก็หมดหน้าที่ ตระเวณต่อไปในพื้นที่เลือกตั้งอื่น

๔.      นิราซาว่า ไม่สังกัดพรรค  เป็นมืออาชีพ พรรคไหนโทรหาก่อน ก็รับจ้างพรรคนั้นก่อน..

๕.      นิราซาว่า คิดกลยุทธ์จากข้อมูล และชั้นเชิงของการวางแผน สื่อสารไปถึงผู้ลงคะแนนกลุ่มต่าง ๆ และไม่คิดกลยุทธ์ซื้อเสียง หรือผิดกฏหมาย

๖.      นิราซาว่า ไม่ผูกพันกับพรรค ไม่มีตำแหน่งในพรรค และไม่มีบทบาทในการบริหารพรรคเสียด้วยซ้ำ

๗.      มีสัญชาตญาณของนักสื่อสารการเมือง

 

ส่วนผู้อำนวยการเลือกตั้งของพรรคการเมืองไทย

๑.      ต้องเอาชนะการเลือกตั้งให้ได้  สนใจคะแนนเสียง มากกว่าการเลือกตั้ง

๒.      ประสานผลประโยชน์ เบิกจ่าย ผลักดันกระสุน เสบียง และอุปกรณ์

๓.      งานหลักคือสร้างสัมพันธ์ ระหว่างตนเอง  พรรค และผู้สมัครรับเลือกตั้ง  

๔.      ไม่มีอำนาจสั่งการ แต่เป็นสนามทดสอบ การจัดการความสัมพันธ์ของ สส./ นโยบาย/ และผลประโยชน์

๕.       เป็นบันไดขั้นแรกของการบริหาร กลุ่ม ในพรรคการเมือง

๖.      มีสัญชาตญาณของ นักการเมือง

 

          นิราซาว่า คือผู้สวมบทนักสื่อสารการเมืองคนสำคัญ (ที่เรายังไม่เห็นในการเมืองไทย) ส่วน ผู้อำนวยการเลือกตั้งที่มีอยู่ก็คล้ายกับทำหน้าที่เป็นเพียงนักการตลาดในพรรคการเมืองเท่านั้น...ยิ่งไม่ต้องพูดถึงพรรคการเมืองไทยพรรคอื่น ๆ  ที่แม้แต่นักการตลาดในพรรค ก็ยังหาไม่เจอนะ...

          สิ้นคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ประชาชนเกือบค่อนประเทศ โล่งอก เพราะถือว่า มีความชัดเจนและเป็นบวกแก่คนทั้งหลาย..แต่น่าประหลาดที่นักการเมืองกลับ ม้งเม้ง ไม่พอใจ ด้วยประการทั้งปวง ... 

          ทำให้คิดไปว่า ผู้อำนวยการเลือกตั้ง (ผู้อำนวยการพรรค) หายไปไหน... หรือเพราะเป็นเช่นนี้ พรรคการเมืองไทยจึงมีสถานะเพียง ก๊วนนักเลือกตั้ง...ที่ไม่มีความรู้อะไรในระบบการเมือง เพียงแต่ปราศรัยดี พูดเก่ง โต้วาทีเยอะ หรือพวกเยอะ...ก็ได้เวทีไปครอง

 

          สื่อสารการเมือง ไม่ใช่เรื่องขึ้นเวที ร้องตะโกนตำหนิฝ่ายตรงข้ามอย่างเดียว ไม่ใช่เรืองประจานความล้มเหลวของอีกฝ่าย และโดยเฉพาะไม่ใช่เรืองข่มขู่ฝ่ายตรงข้ามหรือผู้ไม่เห็นด้วย...

          สื่อสารการเมืองเป็นเรื่องกลยุทธ์ที่ต้องทำอย่างจริงจัง ไม่งั้น อีกไม่เกิน ๕ ปี อาเซียนก็คงมีประเทศไทย อยู่ลำดับท้ายสุด...

 

.

หมายเลขบันทึก: 494885เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2012 17:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 ตุลาคม 2012 09:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ต้องช่วยกันทุกๆ ฝ่ายนะคะ และทำหน้าที่ ที่ตนได้รับ ทำให้ดีที่สุด เพราะทุกวันนี้ ยาบ้าเต็มบ้านเต็มเมือง ขโมยเดินเต็มถนน ลูกหลานใครไม่ดูแลให้ดี ติดยาบ้า ค้าของเถื่อน ท้องในวัยเรียน นักเลง+นักเรียน บ้านเมืองมีแต่ปัญหา น่าเหนื่อยใจ นะคะ

ขอบคุณบทความดีดีนี้นะคะ

ขอบคุณ คุณ Somsri ที่กรุณาให้กำลังใจ...

  • มาอ่านต่อจาก บันทึกที่แล้วซึ่งได้แสดงความเห็นไว่อย่างยืดยาวค่ะ
  • อ.วิรู้สึกชื่นชม "คุณเติมฝันให้ฝน" จริงๆ ค่ะ ที่มีความรู้ทั้งแนวกว้างและแนวลึกในเรื่องที่เขียน อีกทั้งยังมีความสามารถในการเขียนบทความในระดับดีเยี่ยม สามารถนำเสนอความรู้ความคิดได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญ เป็นการเขียนที่สร้างแรงบันดาลใจได้ดีเยี่ยม อย่างเช่น ข้อความทิ้งท้ายในบันทึกนี้ๆ

          "สื่อสารการเมือง ไม่ใช่เรื่องขึ้นเวที ร้องตะโกนตำหนิฝ่ายตรงข้ามอย่างเดียว ไม่ใช่เรืองประจานความล้มเหลวของอีกฝ่าย และโดยเฉพาะไม่ใช่เรืองข่มขู่ฝ่ายตรงข้ามหรือผู้ไม่เห็นด้วย... สื่อสารการเมืองเป็นเรื่องกลยุทธ์ที่ต้องทำอย่างจริงจัง ไม่งั้น อีกไม่เกิน ๕ ปี อาเซียนก็คงมีประเทศไทย อยู่ลำดับท้ายสุด..."

         อยากให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามาอ่านบทความนี้ทุกคน

         จะติดตามอ่านงานเขียนของคุณเติมฝันต่อไปนะคะ และถ้าจะขอแนะนำให้คนเข้ามาอ่าน คุณเติมฝันจะรังเกียจไหมคะ อ.วิเสียดายบทความดีๆ ที่คนควรอ่านพลาดการอ่านไปน่ะค่ะ

 

ขอบคุณ ผศ.วิไล แพงศรี

ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับ.. ยินดี และรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ อาจารย์จะกรุณา...

ขอบคุณอีกครั้ง ครับ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท