พัฒนาบุคคลในองค์กรด้วย 6ส.


การ upgrade software โดยไม่คำนึงถึงความสอดคล้องหรือความเหมาะสมของ hardware ที่มีอยู่

เมื่อกล่าวถึงการบริหารทรัพยากรมนุษย์ องค์กรก็ต้องการให้บุคลากรสามารถดำรงอยู่กับองค์กรได้อย่างยาวนาน และให้บุคลากรสามารถสร้างสรรค์ผลลัพธ์ที่เป็นเลิศให้กับองค์กร ดังนั้นผู้บริหารจึงพยายามหาเครื่องมือต่างๆ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างสม่ำเสมอๆ ซึ่งในปัจจุบันมีแนวคิดมากมายสำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดทางด้านตะวันตก หรือแนวคิดทางด้านตะวันออกที่จะให้ผู้บริหารนำมาปฏิบัติ หรือประยุกต์ใช้กับทรัพยากมนุษย์ในองค์กรของตน ซึ่งเครื่องมือสำหรับการพัฒนา ได้แก่ การสอนงาน การฝึกอบรม การให้บุคลากรได้ศึกษาต่อ เป็นต้น แต่การพัฒนาส่วนใหญ่จะเป็น “การจับใส่” ความรู้ต่างๆ ให้กับบุคลากร เปรียบเทียบได้กับการ upgrade software โดยไม่คำนึงถึงความสอดคล้องหรือความเหมาะสมของ hardware จึงไม่สามารถลดช่องว่างระหว่างความต้องการในผลลัพธ์ขององค์กร กับความสามารถของบุคลากรในการปฏิบัติ

การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรมีเป้าหมายเพื่อให้บุคลากรได้เพิ่มพูนความรู้ความสามารถทั้งในงาน และนอกงานที่ปฏิบัติ องค์กรจึงควรมีระบบการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม และสามารถให้บุคลากรมีส่วนร่วม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบ 6 ส. มีวัตถุประสงค์ให้ผู้บริหารสามารถพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ และเข้าถึงบุคลากรภายในองค์กรทุกระดับ โดย 6 ส. ประกอบด้วย 1) สำรวจ 2) สอนสั่ง 3) สนับสนุน 4) ใส่ใจ 5) ส่วนร่วม และ6) สนุกสนาน

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบ 6 ส.

1. สำรวจ คือ สำรวจว่าภายในองค์ประกอบด้วยบุคลากรที่มีอายุการปฏิบัติงานเท่าไหร่บ้าง เพราะอายุการปฏิบัติงานบ่งบอกถึงความรู้ความสามารถในงานและองค์กรมาในระดับหนึ่ง โดยอาจจะแบ่งเป็นกลุ่ม เช่น กลุ่มที่มีอายุงาน แรกเข้า – 3 ปี, มากกว่า 3 ปี – 5 ปี, มากกว่า 5 ปี – 10 ปี หรือ 10 ปีขึ้นไป ตลอดจนสำรวจว่าบุคลากรต้องการพัฒนาความรู้ในเรื่องใด

การสำรวจจะป็นการตรวจสอบข้อมูลพื้นฐานของบุคลากรในองค์กร

2. สอนสั่ง คือการพัฒนาความรู้ความสามารถ ได้แก่เรื่องโครงสร้างขององค์กร สายการบังคับบัญชา วัฒนธรรมองค์กร ความรู้ในเนื้องานที่จะต้องปฏิบัติ เหมาะสำหรับกลุ่มบุคลากรที่มีอายุการปฏิบัติงาน แรกเข้า – 3 ปี เนื่องจากกลุ่มนี้จำเป็นจะต้องเรียนรู้พื้นฐานในเรื่องต่างๆ ขององค์กร

3. สนับสนุน เป็นการให้ความรู้ใหม่ๆ ที่นอกเหนือจากข้อที่ผ่านมา เช่นความรู้ในการคิดนวัตกรรม ความรู้ในการทำวิจัย เหมาะสมสำหรับกลุ่มบุคคลที่มีอายุการปฏิบัติงาน มากกว่า 3 ปี – 5 ปี เนื่องจากกลุ่มนี้ผ่านการทำงานได้ระยะหนึ่ง และเป็นกลุ่มที่ในอนาคตจะต้องเป็นหัวหน้าหรือผู้จัดการ การเตรียมการในด้านความคิดการสร้างสรรค์ หรือการประยุกต์ เป็นสิ่งที่จำเป็น

4. ใส่ใจ เป็นการให้ความมั่นคงในงานหรือความก้าวหน้าในอาชีพที่บุคคลนั้นรับผิดชอบ เช่นความรู้ในด้านการบริหาร ความรู้ในการเป็นผู้นำ เหมาะสมสำหรับกลุ่มบุคคลที่มีอายุการปฏิบัติงาน มากกว่า 5 ปี – 10 ปี เนื่องจากลุ่มนี้ส่วนมากจะเป็นหัวหน้างานหรือผู้จัดการ องค์กรจำเป็นต้องเพิ่มพูนความรู้ต่างๆ ที่นอกเหนือจากงานที่ปฏิบัติเดิม

5. ส่วนร่วม เป็นการเปิดโอกาสการเรียนรู้ให้แต่ละบุคคลในองค์กรสามารถเข้าร่วมในแต่ละ ส. ข้างต้น เนื่องจากความรู้ความสามารถต่างๆ ไม่ควรจะปิดกั้นสำหรับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ในบางครั้งการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อาจจะเพิ่มความสัมพันธ์อันดีระหว่างหัวหน้างานกับผู้ใต้บังคับบัญชา ระหว่างเพื่อนร่วมงานด้วยกันในการร่วมกันเรียนรู้

6. สนุกสนาน องค์กรจำเป็นต้องพัฒนาความรู้ความสามารถในเรื่องต่างๆ ด้วยความสนุกสนาน เพราะความสนุกสนานจะเป็นการดึงดูดให้บุคลากรมีความตั้งใจในการรับความรู้ความสามารถในเรื่องต่างๆ

การกำหนดเป้าหมายในแต่ละ ส. จะต้องมีความชัดเจน เพื่อจะได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ โดยอาจจะเอาอายุการปฏิบัติงานเป็นตัวชี้วัดเชิงปริมาณ หรือความรู้ความสามารถที่ได้รับหลังจากการพัฒนาเป็นตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

หมายเลขบันทึก: 494529เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 09:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท