วิธีการเรียนรู้ในการดูพระเครื่อง สไตล์ผมเอง แบบชีวิตจริงๆ ที่ผ่านมา


ผมจะพยายามหาครู เรียนจากครู หาพระเอง เรียนจากพระที่ได้ แยกแยะ คัดกรองหลายๆชั้น หลายๆรอบ จนมั่นใจมากขึ้น กลับไปถามหรือหาครูใหม่ แล้วมาคัดกรองรอบสุดท้ายก่อนการ "ฟันธง" ว่าใช่ไม่ใช่

ตั้งแต่เริ่มการศึกษาพระเครื่องมาเลย

ผมได้พยายามทุกรูปแบบที่จะแยกพระแท้ๆ ออกจากพระโรงงาน

ทีละองค์ ทีละเนื้อ ทีละกรุ

จากเนื้อดิน มาเนื้อชิน และเนื้อผง ตามลำดับ

ปัจจุบันผมก็ยังมาอยู่ที่เนื้อผง และเนื้อว่านนิดหน่อย ยังไม่ไปถึงเนื้อเรซิน และเหรียญเกจิอาจารย์ ที่ผมลองส่องดูแล้ว พบว่ายากมาก จึงพักไว้ก่อน

ในจำนวนชนิด และเนื้อทั้งหมดนั้น

ผมจะเริ่มด้วย

  • การพยายามหาครูที่พอจะแนะแนวทางให้ได้

พยายามที่จะเรียนทั้งพิมพ์และเนื้อจากครู

  • หาตำรามาอ่าน
  • ลองหาพระเอง

เรียนจากพระที่ได้ทั้งเก๊ (ส่วนใหญ่) และแท้ (ไม่มาก) ว่ามีอะไรแตกต่างกัน

  • ดูจากกล้องจุลทัศน์ ทำให้เห็นเนื้อชัดๆว่าการทำให้เกิดขึ้น กับธรรมชาตินั้นดูต่างกันอย่างไร

จับประเด็นทางหลักเคมี และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง

โดยการศึกษา

  • กระบวนการสร้าง
  • การเก็บรักษา
  • การแตกกรุ และ
  • การใช้ที่ผ่านมา

นำความรุ้มาทบทวนกับสิ่งที่ปรากฏบนผิวพระ

  • จัดกลุ่ม
    • ดูง่าย
    • ดูยาก
    • น่าจะแท้
    • น่าจะเก๊

แยกแยะ คัดกรองหลายๆชั้น หลายๆรอบ จนมั่นใจมากขึ้น

กลับไปถามผู้รู้ หรือหาครูคนใหม่ เพื่อการตรวจสอบความรู้

นำความรู้ที่ได้ืั้งหมดมาปรับปรุง แล้วใช้ในการมาคัดกรองรอบสุดท้าย

ก่อนการ "ฟันธง" ว่าใช่ไม่ใช่

เขียนบันทึก โชว์รูปแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อตรวจสอบความรู้ว่าจริงไม่จริง

อะไรที่มีคนติ

  • วิเคราะห์ความรู้ของเขา และ
  • ความจริงใจของเขา
  • นำมาทบทวน และ
  • คัดกรองใหม่ ตามความรู้ใหม่

ไม่มั่นใจเก็บไว้ก่อน

มั่นใจยืนยัน

แต่....ก็พยายามตรวจสอบความมั่นใจของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ

ทุกเวลา ทุกโอกาส

ผมจึงมักพกพระ และกล้องส่องไว้เสมอ เพื่อการเรียนรู้ของตัวเองเสมอๆ ครับ

นี่คือเส้นทางการพัฒนาความรู้ของผม แบบแท้ๆ จริงๆ

ฉะนั้น

ในบางครั้ง ผมก็ยังไม่ชัดและผิดพลาดบ้างเป็นธรรมดา แต่จะชัดขึ้นเรื่อยๆ แบบเรียนรู้ตลอดชีวิตครับ

ไม่สงวนลิขสิทธิ์ครับ

หมายเลขบันทึก: 494524เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 08:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 08:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท