KM ที่รักตอนที่ 61 "ท่าทีที่เปลี่ยนไป....ต่อนโยบายรัฐ ของชาวบ้าน


บนเรียนจากวัวพลาสติกทำให้.....ชาวบ้านเกิดดารเรียนรู้อย่างไร?

         การสัมภาษเชิงลึกเป็นกิจกรรมหนึ่ง( การบ้าน) ที่ได้รับมอบหมายในการทดลองการเก็บข้อมูลเพื่อค้นหาความชัดเจนของโจทย์วิจัยเพื่อตอบคำถามว่าปัญหาและข้อติดขัดที่แท้จริงที่เกิดกับชาวบ้านจากนโยบายของภาครัฐที่พยายามเข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านในรูปของโครงการต่างๆ

          วันนี้เป็นเรื่องนโยบายเกี่ยวกับโครงการโคล้านตัวที่ต่อเนื่องมาจากโคอีสานเขียวจากการให้ข้อมูลของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการพบว่า

           ในประเด็นเชิงบวก

               1.เกษตรกรได้เรียนรุ้ว่าการเลี้ยงวัวมีหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิดของสายพันธุ์วัวและวัตถุประสงค์

                2.ได้ทราบว่าอาหารวัวไม่ใช่หญ้าอย่างเดียว ยังมีอาหารข้น อาหารเสริมซึ่งตอนนั้นไม่มีความรู้เลย

                3.ได้เรียนรู้ในการที่จะตัดสินใจเข้าราวมกับโครงการของรัฐ ว่าจะต้องเตรียมตัวเองอย่างไร

                4.ได้เพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุข และเห็นใจซึ่งกันและกัน

          ประเด็นเชิงลบ

                 1.มีความรู้สึกไม่ดีและไม่เชื่อในโครงการที่รัฐจะเข้ามาช่วยเหลือ

                 2.ติดหนี้สินและล้มเหลว เพราะรู้ไม่เท่าทันและมัดมือชกทำสัญญา

                 3.รัฐไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่พูดไว้กับเกษตรกร

                 4.เกษตรกรที่ผ่านโครงการมีความกลัวและเป็นตราบาปไม่เข้าไปใกล้และเกี่ยวข้องกับเรื่องวัวๆ อีก

            จากการรับฟังเกษตรกรพยายามสื่อถึงความรู้สึกที่มีต่อโครงการของรัฐ ดูเหมือนว่าเกษตรกรที่ตั้งใจจริง ลงทุน ลงแรงและเต็มที่กับอาชีพการเลี้ยงวัว จะไม่สนใจกับฌครงการที่รัฐจะมาช่วยเหลือ( โคล้านตัว) เลย   โดยบอกว่าไม่มีประโยชน์และไม่สามารถช่วยเขาได้ ตัวเขาเองและการรวมตัวของชาวเกษตรกรเองน่าจะมีพลังมากกว่า

           ท่าทีของชาวบ้านเปลี่ยนไปจากเดิม จากที่ทำตามเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยละม่อม ให้ทำอะไรก็ทำ โดยเชื่อความเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่หลังจากได้ประสบการณ์ของรัฐที่ผ่านมา ทำให้ชาวบ้านมีมุมมองมากขึ้น ระมัดระวังตัวมากขึ้นที่จะเข้าร่วมกับโครงการของรัฐ

          จน ณ ปัจจุบันนี้ ชาวบ้านส่วนหนึ่งได้ปฏิเสธการเข้าร่วมโคล้านตัวแล้ว โดยให้เหตุผลว่า"เสียเปรียบรัฐบาล" เป็นความกล้าที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านตัวจริงเสียงจริงแล้ว

 

หมายเลขบันทึก: 49367เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2006 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
     ผมชอบใจมากครับที่ชาวบ้านท่านกล้าให้ข้อมูลตรง ๆ ออกมา ผมเองก็จะเจอบ่อยมาก ล่าสุดเพิ่งไปเจอการจัดงานสืบสานวัฒนธรรมสองฝั่งคลองที่ทะเลน้อย เพื่อนต่างวัยของผมบ่นให้ฟังว่าตอนทำ ท่านนายอำนาจ... บอกให้เราทำ ช่วยกัน แต่พอเอาเข้าจริงจะช่วยก็ไม่เห็นช่วยอะไร แต่พอตอนแถลงข่าวบอกท่านเป็นจัดงาน... กำนันผู้ใหญ่บ้าน และตัวแกเอง เดินกลับกันทันทีที่สิ้นสุดเสียงให้สัมภาษณ์ จนโฆษกประกาศให้กลับมาช่วยกัน ทุกคนบอกว่าหากพูดว่าชาวบ้านร่วมกันทำ ท่านสนับสนุน จะไม่มีใครว่าอะไรเลย...นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เกิดบ่อยเช่นกัน
     โครงการของรัฐมักจะเข้าไปทำร้ายชาวบ้าน ด้วยแนวคิดการสงเคราะห์ ไม่ใช่แนวคิดการส่งเสริมให้เขาพึ่งตนเอง ภูมิใจในตนเอง พอเขาทำท่าว่าจะพึ่งตนเองได้ ด้วยความภูมิใจของเขาเอง ก็ไปชิงเอาหน้าเขาเสียอีกครับ

ขอมองต่างมุมกับคุณชายขอบเพื่อให้ได้อรรถรสทางความคิดนะครับ ไม่มีอะไรมาก

ทำไมเรามองรัฐเป็นผู้ร้ายตลอดเวลา มองเป็นตัวละครธรรมดาตัวหนึ่งได้ไหม เราจะได้เข้าใจระบบอย่างไม่มีอคติ เพราะพวกเราหลายๆคนก็เป็นส่วนหนึ่งของรัฐ หรือมีคนรู้จักหรือญาติพี่น้องที่เป็นส่วนหนึ่งของรัฐ เราเคยมองคนเหล่านั้นเป็นผู้ร้ายหรือเปล่า ส่วนใหญ่เราก็มองเขาอย่างเป็นคนธรรมดาคนหนึ่งที่ต้องดิ้นรนทำงานอย่างดีที่สุดเท่าที่กำลังความสามรถจะพอมี ผมมีอายุมาถึงกว่าครึ่งศตวรรษนี้ ผมได้รับข้อสรุปอันหนึ่งว่า "ไม่มีใครเลยที่ตั้งใจจะเป็นคนเลว" ส่วนใหญ่ก็พยายามทำดีที่สุด แต่ด้วยสถานการณ์บีบบังคับ (โดยรวม และจากใครก็ไม่รู้ และจากความรู้ไม่พอใช้) ทำให้ต้องทำในสิ่งที่บางคนบอกว่าเลว และก็ถูกมองว่าเป็นผู้ร้าย เราอยู่ในสังคมพุทธ ใช้หลักบัวสี่เหล่ามองคนน่าจะดีนะครับ อย่าไปมองว่าเขาเป็นดอกอุตตพิษเลย ยังไงเราก็หนีกันไม่พ้นอยู่ดี

ค้วยความเคารพในความคิดของท่านครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท