สัมมนาความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในการให้บริการสาธารณะ


สัมมนาความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในการให้บริการสาธารณะ

สวัสดีครับชาว Blog

วันนี้ (วันอังคารที่ 19 มิถุนายน2555) ผมได้รับเกียรติจากสถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น ให้บรรยายเพื่อสร้างเสริมศักยภาพให้แก่ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในหัวข้อ "สัมมนาความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในการให้บริการสาธารณะ" ณ สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานีครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 491662เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการให้บริการสาธารณะ

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

-         ผู้นำท้องถิ่นทุนท่านกำลังอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็ว  สิ่งที่ผู้นำจำเป็นต้องมีคือ ต้อง

เป็นคนที่ทันเหตุการณ์

-         ต้องเปลี่ยนแปลงให้ทัน และต้องมีความร่วมมือกับภาคเอกชน คือ ต้องมีเครือข่ายด้วย

-         การจัดการกับการเปลี่ยนแปลง ก็ต้องใช้ทรัพยากร ดังนี้  ทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ เครื่องจักร และ เงิน

-         คนในโลกมีอยู่ 2 ชนิด คือ คนที่ชอบการเปลี่ยนแปลง และคนที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

วัตถุประสงค์หลัก คือ

  1. เพื่อจุดประกายความคิดสร้างพลังในการทำงานยุคใหม่ กระตุ้นให้ทุกท่านค้นหาตัวเอง

และค้นหาองค์กรและท้องถิ่นของเรา กับการสร้างผลงานที่มีคุณค่าต่อตัวเอง องค์กร และสังคม

  2. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่มีประโยชน์ระหว่างกันเรื่องการทำงานร่วมกับ

ภาคเอกชนเพื่อนำไปปรับใช้กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  3. เพื่อสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ และวิธีการเรียนรู้ไปสู่ Results และ Value added

-         ต้องมีการใฝ่รู้ และเป็นคนที่ต้องแสวงหาความรู้ด้วย

4.  เพื่อกระตุ้นให้เกิดพลังเพื่อเอาชนะอุปสรรค

ผู้นำท้องถิ่นที่ต้องการที่จะทำงานร่วมกับคนอื่น ก็ต้องมีนโยบาย มีการพัฒนาองค์กรให้พร้อม และต้องทำการศึกษาให้รู้เขา รู้เรา

การที่จะทำงานโดยร่วมมือกับคนอื่น ต้องให้เขา และเรา ได้รับผลประโยชน์แบบ win-win

การลงทุนในด้านทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพื่อที่จะมำให้องค์กรเป็นคนที่มีประสิทธิภาพ

คุณสมบัติของทรัพยากรมนุษย์ที่ดี คือ

  1. มีคุณธรรม และ จริยธรรม
  2. ต้องคิดเป็น และวิเคราะห์เป็น
  3. ต้องมองไกล และมองเพื่อให้เกิดเป็นความยั่งยืน
  4. ต้องมีเครือข่าย
  5. ต้องคิดนอกกรอบ
  6. ต้องทำเรื่องนวัตกรรม ทำเรื่องที่แปลกกว่าผู้อื่น
  7. ต้องมีความคิดสร้างสรรค์
  8. ต้องมีทุนทางวัฒนธรรม

วิธีการเรียนที่ดี มีดังนี้

  1. มีการเรียนรู้ที่ดี
  2. มีบรรยากาศอบอุ่นในการเรียน
  3. มีการประทะปัญญากัน

การเรียนยุคใหม่ต้อง

-         สะท้อนความจริง

-         พูดในสิ่งที่ตรงประเด็นกับเรา 

ผู้นำท้องถิ่น ถือว่าเป็นผู้นำของประชาชนในท้องถิ่น ต้องมีความรู้ทาง IT ด้วย

ผู้นำท้องถิ่น ต้องมีการจุดประกาย และมีแรงบันดาลใจด้วย

สิ่งที่สำคัญตอนนี้ คือ ประเด็นที่ว่าผู้นำท้องถิ่นมีความรู้ทางทุนวัฒนธรรมของตัวเองหรือไม่

การเรียนหนังสือ ควรลอกน้อยๆ หรือควรลอกเพื่อให้เกิดความเข้าใจ และนำมาสร้างมูลค่าเพิ่ม

ความจำเป็น และความท้าทาย

  1. การเปลี่ยนแปลง และการแข่งขัน
  2. กระตุ้นให้ท้องถิ่นมีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  3. ประเทศไทยต้องการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการบริหารจัดการท้องถิ่น
  4. สร้างทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ สร้างทุนทางปัญญา สร้างทุนทางจริยธรรม
  5. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อย่างยั่งยืน อย่างสมดุล
  6. กระตุ้นให้คนในท้องถิ่นมีความตื่นตัวที่จะเรียนรู้ ใฝ่รู้ ปลูกฝัง ส่งเสริมวัฒนธรรมในการเรียนรู้ให้กับคนในท้องถิ่น สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้
  7. ความพร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน และ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2015

ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ (อบต.) และเอกชนในการให้บริการสาธารณะที่น่าสนใจในความเห็น คือ

-         การพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์

-          การพัฒนาเทคโนโลยี / การถ่ายทอดเทคโนโลยี

-          การพัฒนานวัตกรรม / การวิจัยและพัฒนา

-          การสร้าง/ขยายตลาดสินค้าและบริการของชุมชน สร้างมูลค่าเพิ่ม

-          การสร้างและพัฒนาอาชีพ

-          การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชาชน

ปัญหา อุปสรรคของความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน คืออะไร?

  1. ขาดผู้นำ
  2. ขาดทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ - ขาดไอเดีย ขาดความคิดสร้างสรรค์ ขาดความคิดเชิงนวัตกรรม
  3. ขาดความมุ่งมั่น ขาดแรงบันดาลใจ
  4. ขาดเครือข่าย
  5. ขาดโค้ช หรือ คนกลางที่จะเข้ามาช่วยผลักดัน
  6. ขาดแรงจูงใจ
  7. ขาดความพยายามเอาชนะอุปสรรค

ทางออกของปัญหา มีดังนี้

-         ผู้นำ ต้องมี Networking

-         เน้น 8K’s + 5K’s

-         เน้น Execution

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาการเป็นผู้นำท้องถิ่น

-         ทุนมนุษย์

-          ทุนทางปัญญา

-         ทุนทางจริยธรรม

-         ทุนแห่งความสุข

-         ทุนทางสังคม

-         ทุนแห่งความยั่งยืน

-         ทุนทาง IT

-         ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ

สิ่งที่สำคัญที่สุดใน Talented Capitalคือ ทัศนคติ ต้องมีทัศนคติที่ดี

-         การร่วมมือที่สำคัญที่สุดของผู้นำท้องถิ่น คือ ต้องมีความร่วมมือกับต่างประเทศ

ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

-         ทุนแห่งการสร้างสรรค์  ต้องมีการร่วมมือกับภาคเอกชน หรือหน่วยงานต่างๆ

-         ทุนทางความรู้  ต้องมีการพัฒนาเรื่องภาษาอังกฤษ และภาษาอาเซียน

-         ทุนทางนวัตกรรม คือ การทำอะไรใหม่ๆให้สำเร็จ และมีประโยชน์

-         ทุนทางอารมณ์  ต้องมีการควบคุมอารมณ์ให้ดี ในฐานะเป็นผู้นำ ต้องมีการควบคุมอารมณ์ให้ดี

-         ทุนทางวัฒนธรรม 

วิธีการสร้างทุนทางสังคมและเครือข่าย

-         ต้องเป็นคนที่ชอบคบหาสมาคมกับคนหลายๆ กลุ่ม

-         มีโลกทัศน์ที่พร้อมจะเรียนรู้และรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น  ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

-         มีโลกทัศน์ที่กว้าง

-         มีบุคลิกที่เข้ากับคนได้ง่าย

-         เตรียมตัวศึกษาบุคคลที่เราจะเป็นแนวร่วม เช่น ศึกษาจุดอ่อน จุดแข็ง

  วิถีชีวิตของเขา

-         มีการติดตาม (Follow up) การสร้างเครือข่ายให้ได้ผลสูงสุด

-         ทำงานเป็นทีม

-         มีทัศนคติที่เป็นบวก (Positive Thinking)

-         ชอบความหลากหลายในความคิด และวิถีชีวิตต่างๆ 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Workshop

  1. ความร่วมมือระหว่างอบต. กับภาคเอกชนในการพัฒนาการให้บริการสาธารณะที่ควรจะทำในความเห็นของท่าน (3เรื่อง)
  2. หากจะต้องร่วมมือกับภาคเอกชน  ปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิด คืออะไรบ้าง สาเหตุเพราะอะไร
  3. ในฐานะของผู้นำท้องถิ่น ท่านควรจะมีบทบาทอย่างไร
  4. เสนอกรณีศึกษาความสำเร็จ หรือ ความล้มเหลวที่ผ่านมา เหตุผลเพราะอะไร

Workshop

กลุ่ม 1 ความร่วมมือระหว่างอบต. กับภาคเอกชนในการพัฒนาการให้บริการสาธารณะที่ควรจะทำในความเห็นของท่าน (3เรื่อง)

โครงการที่ 1 เพาะเห็ดหูหนูครบวงจร ตั้งแต่ เขี่ยเชื้อ เพาะเชื้อ ออกดอก และจัดจำหน่าย  ผู้ที่รับไปจำหน่าย คือ พ่อค้าคนกลาง  คนในชุมชนทำเห็ดหูหนู และประสบความสำเร็จ โดยมีการสร้างโรงเพาะเชื้อ เพื่อมีการแปรรูปเป็นข้าวเกรียบเห็ด  เห็ดสามรส และปัจจุบันมีการทำซาหริ่มเห็ดด้วย

โครงการที่ 2 จ.ประจวบ โครงการพัฒนาป่าเสื่อมโทรม ในพื้นที่มีการทำสัมปทานเหมืองแร่ พื้นที่ 4000 ไร่ มีแหล่งน้ำที่ต้องการฟื้นฟู  ส่วนพื้นที่ป่าถูกจะมีโครงการการฟื้นฟูขึ้นมา และมีการทำบ่อขยะแบบมีมาตรฐาน ที่ต้องได้รับความร่วมมือจากเอกชนที่เป็นหุ้นส่วนของมาเลเซีย และอินโดนิเซีย และหน่วยงานจากทางภาครัฐ

โครงการ 3 โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินมีพื้นที่ 4000 ไร่เช่นกัน ได้รับการคัดค้านจาก NGO เพราะกำลังเกิดความขัดแย้งว่าสร้างแล้วประชาชนจะเกิดประโยชน์ และมีข้อเสียอย่างไร

อ.จีระ โครงการที่  1 มีช่องทางที่จะทำ แต่โครงการที่ 2 และ 3 มีมูลค่าเป็นพันล้าน กฟผ. ส่วนใหญ่เป็นวิศวกร ผู้นำชุมชนต้องมองให้กว้าง  อบต.ต้องเชื่อมโยงกับองค์กรทรัพยากรธรรมชาติ และการไฟฟ้า

แนะนำให้ไปดูงานที่อเมริกา เนื่องจากมีมหาวิทยาลัย  และศูนย์เทคโนโลยีที่ทันสมัย เนื่องจากคนไทยยังขาดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

พลังงานทดแทน จาก พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ขยะ เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างเร่งด่วน เนื่องจากเป็นสิ่งที่เพิ่มมูลค่าได้มาก

กลุ่ม 2 หากจะต้องร่วมมือกับภาคเอกชน  ปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิด คืออะไรบ้าง สาเหตุเพราะอะไร

     ตัวแทนกลุ่มจากอบต. จ.ตราด

-         โครงการแรก ห่วงโซ่อาหาร ที่จะต้องปลูกป่าชายเลน ที่ถูกทำลาย 10000 ไร่ กลับมา 28000ไร่ ซึ่งประสบความสำเร็จมาก เกิดจากป่าชายเลนที่ค่อนข้างสมบูรณ์ กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติ สัมผัสกับท้องถิ่นแต่ไม่เห็นความสำคัญ  อาหารของคนเกิดจากป่าชายเลน  ห่วงโซ่อาหารระหว่างมนุษย์ กับ สัตว์ คือ ป่า

-         โครงการขยะ ต้องการเปลี่ยนความคิดของลูกบ้าน  ปัจจุบันต้องจ่ายค่าทิ้งขยะเดือนละ 36000 บาท ขออาสาสมัครจากครัวเรือน 120  ครัวเรือน ให้เปลี่ยนเป็นขยะไม่มี ทุกอย่างใช้ประโยชน์ได้หมด แยกขวดแก้ว พลาสติก แยกขยะมีพิษ หลังจากนั้นเปิดตลาดนัดขยะทุกเดือน ยอดซื้อแต่ละเดือน 40000-50000 บาท ส่วนขยะเปียกหรือเศษอาหารนำไปใส่ถัง แล้วเอาน้ำหมักชีวภาพลงไป ซึ่งใช้เวลาทั้งหมด 2 ปี ในการเปลี่ยนความคิดของลูกบ้าน

-         โครงการ พลังงานลม เนื่องจากเป็นพื้นที่ชายทะเล มีเตรียมทำสัญญาในการเช่าที่ กับการไฟฟ้าการผลิต ตอบแทนครัวเรือน 500 บาทต่อครัวเรือน  ซึ่งตอนนี้เป็นโครงการที่เริ่มทำกับบริษัท Wind one แล้วอ.จีระ ต้องไม่ให้ธุรกิจใหญ่มายึดโครงการ อบต.ต้องมีแนวร่วมเป็นนักวิชาการ ถึงจะดี  ต้องมีการยกระดับความคิดให้สูงขึ้น

ทำอย่างไรถึงจะมีเงินมาพัฒนาท้องถิ่น ปัญหา และ อุปสรรคมีดังนั้  

  1. วัตถุประสงค์ เป้าหมายระหว่างเอกชน กับอบต. เป็นคนละเรื่องกัน

แนวทางแก้ไข  ต้องปรับวัตถุประสงค์ให้เหมือนกัน ท้องถิ่นต้องทำใจให้เป็นเอกชน และต้องทำนอกกรอบบ้าง 

อ.จีระ : ต้องรู้เขา รู้เรา ด้วย  ปรับเปลี่ยนโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น

  2.  ต้องลืมกฎระเบียบ ข้อบังคับ ของกระทรวงมหาดไทย  การทำงานต้องลืมวันเสาร์ วันอาทิตย์

  3.ความไม่ต่อเนื่องของผู้บริหาร เนื่องจากการเปลี่ยนคนบริหารอยู่ตลอด

     กลุ่ม 4 เสนอกรณีศึกษาความสำเร็จ หรือ ความล้มเหลวที่ผ่านมา เหตุผลเพราะอะไร

กรณีศึกษาความสำเร็จ

อบต.จ.เลย

-   ได้รับความการบูรณาการจากจากทหาร ทุกภาคส่วน ได้แก่ สถานที่ท่องเที่ยว โรงเรียน และวัด

-    ได้รับความร่วมแรงร่วมใจจากทหารและชาวบ้าน ทางด้านการเกษตร หากหน้าแล้ง แม่น้ำจะแห้งขอด ปลาตาย เพราะเหตุนี้จึงร่วมแรงร่วมใจกันทำฝาย

กรณีศึกษาความล้มเหลว 

-     เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำพัดกระสอบทรายที่ทำฝายพังหมด จึงปรึกษาจากกระทรวงน้ำ เพราะส่งผลเสียกับการเกษตรมาก ไม่ว่าจะป็นการเลี้ยงปลา หรือทำการเกษตร จึงขอทำฝายน้ำล้นอย่างถาวร งบประมาณ 300 ล้าน ยังไม่ทราบผลว่าจะผ่านหรือไม่

กรณีศึกษาความสำเร็จ

 อบต. จ.ยโสธร

- เรื่องวัยรุ่นตีกัน  หารือกับผู้ใหญ่บ้าน และกำนัน  ซึ่งทำมา 1 ปี

วิธีแก้ไขคือ แยกเด็กเป็น 2 กลุ่ม  และหน้าเวทีเป็นผู้ใหญ่บ้าน และกำนัน

กรณีศึกษาความล้มเหลว 

-  ประกาศว่าใครตีกันจะจับและจะต้องจ่ายค่าหมอรำ แต่ปัญหาที่พบคือ วัยรุ่นไม่มีเงินจ่ายค่าหมอรำ

กลุ่ม 3 ในฐานะของผู้นำท้องถิ่น ท่านควรจะมีบทบาทอย่างไร

คุณลักษณะของผู้นำ ต้องเป็นผู้ริเริ่มแสวงหาโอกาสใหม่  กล้าเสี่ยง  มีความรับผิดชอบ  และกระหายชัยชนะ  ดูแลประชาชน ทำให้ประชาชนมีความสุข

ต้องค้นหาความรู้ใหม่  มีวินัย  มีการกระตุ้นให้เกิดพลังให้เอาชนะอุปสรรคในการทำงาน มีการเจรจาต่อรองที่ดี มีการวาวแผนอย่างเป็นระบบ มีการวางโครงสร้าง มีการวางเป้าหมายและมีการติดตามการประเมินผล

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นองค์กรอิสระ มีเป้าหมายตรงกัน คือ ทำให้ประชาชนมีความสุข

อ.จีระ  ต้องมองภาพกว้าง อย่างมองเป็นจุด ต้องเอาเป้าหมายสุดท้ายมาดู ว่าจุดไหนเป็นจุดบอด และต้องเป็นความสำเร็จแบบมีกระบวนการต่อเนื่อง ต้องมีการติดตามประเมินผล

      ทุกเช้าควรถามตัวเองว่า ยังมีเรื่องอะไรที่ยังทำไม่สำเร็จ และเรื่องอะไรสำคัญที่สุดในองค์กร  การล้มเหลวอยู่เสมอ จะเป็นแรงผลักดันทำให้เกิดความประสบความสำเร็จในภายภาคหน้า และงานที่สำคัญของอบต. คือ ทำเพื่อประชาชน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท