วิชญธรรม
ผศ. ดร. สิริวิชญ์ เตชะเจษฎารังษี

จุดเริ่มต้น


เมื่อ่ใดเห็นทุกข์ เมื่อนั้นเห็นธรรม

หลายต่อหลายคน รวมถึงตัวผมเอง พบว่าจุดเริ่มต้นของการเข้ามาปฎิบัติธรรม หรือเรียกกันง่ายๆว่า มา"เข้าวัด" อย่างจริงๆจังๆ ก็เพราะเราเห็นทุกข์ เป็นเรื่องแปลกว่าทั้งญาติพี่น้องชักชวน ให้เริ่มมาปฎิบัติธรรมได้แล้ว ชวนเป็นปีๆ เราก็ไม่สนใจ ไม่คิดว่าจะมีประโยชน์อะไร ไม่มีเวลา เป็นเรื่องไกลตัว แต่ทางบ้านผมโดยเฉพาะพี่ๆ ก็ไม่ได้ละความพยายาม

โดยส่วนตัวผม ถ้าไม่มีเหตุ ก็คือทุกข์ไม่เกิด เราก็คงไม่วิ่งไปหาวิธีดับทุกข์ ทุกเรื่องก็วิ่งไปสู่หนทางดับทุกข์อยู่ที่ไหน ผมเริ่มจะรู้ตัวว่าทุกเรื่องได้ถูกชี้ไว้ชัดแจ้งอยู่แล้วใน หลักธรรมะ เวลาผ่านไปวันๆเราก็มองไม่เห็น

 ถึงตอนนี้ผมก็เที่ยวบอกใครๆต่อไปว่าจะรอให้เห็นทุกข์ก่อนหรือถึงจะมาปฎิบัติธรรม มันจะสายไปไหม ผมก็เห็นความจริงอีกข้อหนึ่งคือ มันเป็น "ปัจจัตตัง" จะไปบอกใครเขาได้เน้อ ตัวเราก็ไม่รับฟังเหมือนกันเมื่อหลายปีก่อน

คำสำคัญ (Tags): #ธรรม
หมายเลขบันทึก: 490666เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2013 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ส่วนใหญ่มักเป็นเช่นนั้น ทุกข์แล้วค่อยจะนึกถึงคุณพระคุณเจ้า หากวันไหนไม่เศร้าก็ไม่มีทางที่จะยึดเอาพระธรรมคำสอนไปใช้ จุดเริ่มต้น นับว่าเป็นสิ่งสำคัญเหมือนกัน เพราะว่ามันคงจะช่วยย่นระยะทางได้มาก หากยังไม่เกิดทุกข์ คนก็ยังคงสนุก หลงระเริงในวัฎสงสารกันไปอีกนาน พระท่านถึงให้เราไม่ประมาท เร่งทำความเพียร สะสมบุญ บารมี เพื่อที่จะได้ทำจุดหมายปลายทาง(นิพพาน) ให้เป็นจริง เห็นท่านเป็นนักปฎิบัติธรรม น่าจะได้ฌานบ้างแล้ว ถึงได้บอกว่า มันเป็น ปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตน อาจเจอของจริง หรือเหตุอะไรบางอย่างที่น่า อัศจรรย์ใจ ขอบคุณบันทึกดีๆ เช่นนี้ มีคุณค่าทางจิตมาก

สำหรับชลัญที่ศึกษาธรรมนั้นไม่ใช่เพราะทุกข์ในเริ่มแรก แต่เพราะสงสัยว่า ใครๆ เวลาทุกข์ แล้วต้องวิ่งหาธรรมะ แล้วพยายามบอกคนอื่นว่า เอาธรรมะเข้าข่ม โดยการเข้าวัด นุ่งขาวห่มขาว แล้วก็ไม่เห็นจะเลิกทุกข์กันสักที ชลัญก็เลยต้องมาค้นหาว่าจริงๆ แล้ว นั้นธรรมะช่วยเราอย่างไรไม่ให้ทุกข์ หรือทุกข์น้อยต่างหาก

ขอบคุณครับ คุณ Nopparat Blank สำหรับผมยังห่างไกลกับคำว่า "ฌาน" ครับ

"ความสับสน" ทำให้การปฎิบัติไม่ก้าวหน้า แต่ก็จะรักษาแนวทางนี้ให้ตลอดครับ แล้วแต่บุญกรรมนำพา 

แต่สิ่งที่ได้พบ "ความเชื่อ ความศรัทรา" นั่น เรื่องจริง เลยเพียงอยากบอกกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด ให้เห็นตาม...... 

 

คุณชลัญ Blank คนที่มาปฏิบัติธรรม ไม่จำเป็นต้องประสบกับ "ทุกข์" มาก่อนหรอกครับ ความเห็นนี้ตอบแบบสั้นๆจะยากมาก

คนที่มีความสุข มีอะไรพร้อมทุกอย่าง บางคน เขาก็มาปฏิบัติธรรม เพราะเขาเห็นว่า หลักธรรม นั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่นตอนนี้มีความสุข หลักธรรมก็จะสอนว่า "มันไม่มีอะไรเที่ยง" สักวันเราก็จะมีทุกข์ แล้วเราจะทำตัวอย่างไร การปฏิบัติธรรมจะช่วยฝึกให้เราพร้อมเผชิญเรื่องต้อง ด้วยเหตุและผล

ไม่ใช่ทุกคนที่เข้าวัด นุ่งขาวห่มขาว จะเป็นนักปฏิบัติธรรมที่ดี แต่โดยมากนักปฏิบัติธรรมที่ดี ผมเห็นเขาเข้าวัด และนุ่งขาวห่มขาว  

ครูบาอาจารย์จะสอยเสมอว่า "เข้ามา ปฏิบัติธรรม (จะที่บ้านก็ได้) ไม่ต้องไปมองคนอื่น มองที่ตัวเราเอง" ท่านย้ำ "มองที่ตัวเราเอง เราสอน เรารู้ เราเปลี่ยนตัวเราเองได้ แต่เราไปสอน คนอื่น ให้รู้ ให้เปลี่ยนไม่ได้"  นั้นคือ "ปัจจัตตัง"

 

การนุ่งขาวห่มขาว เพียงเพื่อความสุภาพ สะอาดตา และทำให้พระ หรือญาติ จับหัวใช้ได้สะดวก เท่านั้นเองครับ ไม่จำเป็นต้องการนุ่งขาวห่มขาว เมื่อ(เพื่อ)ต้องการปฏิบัติธรรม ไม่สำคัญ สำหรับผม ตอนนี้ถ้าเข้าวัดจะนุ่งขาว เพราะเสือ้ผ้าชักเองง่าย แห้งง่าย ไม่เปลืองแรงขยี้...อิอิ เมื่อใส่ขาวผมคิดว่ามันเป็นอุบายให้ เราเพิ่มความระมัดระวังตัว ในการปฏิบัติเพื่อรู้ธรรม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท