พูดอย่างไร...ให้ใครๆก็รู้เรื่อง


ใส่ลีลาแบบเราลงไป แต่ควรพูดเน้นน้ำหนักเสียงและพูดให้ช้าในเรื่องสำคัญ หยุดให้คิดตามในเรื่องที่ต้องใช้ความคิดนาน(หรือเมื่อเราเหนื่อย) ถ้าเราไม่ใช่คนตลกก็ไม่ต้องยิงมุกให้คนฟังรำคาญ แต่ถ้ายิงแล้วฮา..ก็จะช่วยให้การบรรยายน่าฟังขึ้น( สรุปว่าถ้าทำได้ดีก็ทำ ) แต่ต้องเน้นเนื้อหานะครับ ไม่ใช่ตลกกะโหลกกะลาไปเรื่อย เนื้อหาเป็นอาหารหลัก มุกฮาเป็นอาหารเสริมครับ

 

   ช่วง1-2 ปีที่ผ่านมาได้มีโอกาสได้ไปบรรยายเรื่องต่างๆในหลายๆที่ ก็มีเสียงสะท้อนจากคนฟังว่าเราพูดรู้เรื่องดี เข้าใจง่าย (ไม่ได้โม้ครับ)  ก็เลยมาลองนั่งวิเคราะห์การพูดของตัวเราเองและวิเคราะห์คนอื่นที่เราไปฟังแล้วไม่รู้เรื่องว่ามีประเด็นอะไรบ้างที่เป็นข้อแตกต่าง เลยอยากลองรวบรวมแนวการพูดของผมเองมาให้ดู ต้องขอบอกว่าอันนี้เป็นประสบการณ์ส่วนตัวล้วนๆ ไม่ได้ดูตำราที่ไหนมา ถ้าผิดหลักของตำราที่ไหนก็ต้องขออภัย  แนวทางของผมมีดังนี้

 1. เตรียมเนื้อหา ทำความเข้าใจให้ดี จุดเน้นเรื่องนี้คือ พยายามมองหาจุดที่คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจเอาไว้ หรือดูจากตัวเราก็ได้ว่าตอนแรกเราไม่ค่อยเข้าใจตรงไหน คนอื่นก็จะคล้ายๆเรานี่แหละ เอาไว้เน้นเวลาบรรยายซึ่งจะทำให้คนฟังเข้าใจได้เร็ว

2. วิเคราะห์คนฟังว่าเป็นใคร รู้เรื้่องที่เราจะพูดมากน้อยแค่ไหน อันนี้เอาไว้เพื่อดูว่าเราจะพูดละเอียดมากแค่ไหน ใช้ภาษายากง่ายแค่ไหน

3. พูดที่มาที่ไป ของเรื่องที่จะพูดก่อน โดยเฉพาะต้องแสดงให้เห็นว่ามันเกี่ยวกับตัวคนฟังหรือเกี่ยวกับงานที่เขาทำอยู่อย่างไร อันนี้จะช่วยให้เพิ่มความสนใจของคนฟังมากขึ้น ก็ธรรมดาครับ ใครจะอยากฟังเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับตัวเอง (ยกเว้นคนชอบรู้เรื่องชาวบ้าน)

4. พูดในภาพใหญ่ก่อนเพื่อให้เห็นกรอบเรื่อง แล้วก็พูดให้จบภาพใหญ่ไปก่อนแล้วค่อยลงรายละเอียด โดยเฉพาะพูดให้คนระดับบริหารฟัง เขาอาจฟังแค่ภาพใหญ่แล้วรายละเอียดให้ลูกน้องฟังต่อ  ปัญหาที่พบสำหรับคนที่บรรยายไม่รู้เรื่องคือชอบลงรายละเอียดในเรื่องที่กำลังพูดจนคนฟังสับสนว่าตอนนี้กำลังพูดอยู่ในกรอบใหญ่อะไรอยู่  แล้วถ้าคนที่ฟังจับประเด็นไม่ได้ก็หลงประเด็นไปเลย

5. ใช้ภาษาที่เหมาะสมกับข้อ 2

6. ใส่ลีลาแบบเราลงไป แต่ควรพูดเน้นน้ำหนักเสียงและพูดให้ช้าในเรื่องสำคัญ หยุดให้คิดตามในเรื่องที่ต้องใช้ความคิดนาน(หรือเมื่อเราเหนื่อย)  ถ้าเราไม่ใช่คนตลกก็ไม่ต้องยิงมุกให้คนฟังรำคาญ  แต่ถ้ายิงแล้วฮา..ก็จะช่วยให้การบรรยายน่าฟังขึ้น( สรุปว่าถ้าทำได้ดีก็ทำ )  แต่ต้องเน้นเนื้อหานะครับ ไม่ใช่ตลกกะโหลกกะลาไปเรื่อย  เนื้อหาเป็นอาหารหลัก มุกฮาเป็นอาหารเสริมครับ

7. การถามผู้ฟัง คนไทยไม่ชอบถามและไม่ชอบให้ใครถาม การถามที่ดีควรถามไปลอยๆ ไม่ระบุตัวเพื่อกระตุกให้คนฟังทุกคนคิดและเราก็อาจตอบคำถามไปเลย อันนี้จะทำให้คนฟังเข้าใจเรื่องต่างๆได้ดีขึ้น เรื่องที่เราจะถามก็คือเรื่องที่เราดูแล้วคนฟังมักจะไม่เข้าใจ (ซึ่งเราได้มาจากการเตรียมเนื้อหาในข้อ 1)

8. จบให้ตรงเวลา  อันนี้สำคัญมาก ต่อให้เนื้อหาดีแค่ไหนถ้าจบช้ากว่าเวลาคนฟังจะเริ่มเกลียดคนพูดแล้ว โดยเฉพาะใกล้เที่ยงหรือใกล้เลิกงาน เนื้อหาไม่หมดไม่เป็นไร เราบอกให้เอาสไลด์ไปดูต่อได้ อย่ากังวลเรื่องเนื้อหาไม่หมด เพราะต่อให้เราพูดที่เหลือให้หมดเขาก็ไม่ฟังแล้ว แล้วจะพูดให้เหนื่อยทำไม

   ทั้งหมดก็เป็นประสบการณ์ส่วนตัวครับ เผื่อใครเอาไปลองใช้ดู เพราะผมเห็นว่าหลายคนอาจต้องไปบรรยายที่ไหนบ้าง/

                                                            พี่ Boss

 

 

หมายเลขบันทึก: 490513เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 06:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 23:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ถ้าเขินง่าย ก็หาภาพ/วัตถุประกอบก็ช่วยได้ และการยกตัวอย่างก็สำคัญอาจจะแนวๆ ชัด เป๊ะ โดนใจ หรือขำๆ ก็ได้แต่ต้องสอดคล้องกับเนื้อหา/By Jan

ขอยืนยันเพิ่มเติมจากเสียงสะท้อนค่ะ ของเค้าดีจริงๆ ค่ะ

credit มิ.ย.55' นพ.บรรพต พินิจจันทร์ คอลัมน์ สาระแนเเชร์ความรู้ 1 คะเเนน//HUM

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท