ขั้นตอนการล้างเมล็ดสุกผักหวานป่า : สูตรปลูกผักหวานป่าที่ประหยัดที่สุด ตอนที่23


คุณภาพของสายพันธุ์และการเก็บรักษา เป็นหนึ่งในหลักปฏิบัติด้านความมั่นคงทางอาหาร

 

...ความมั่นคงทางอาหาร!สำหรับท่านทั้งหลายนึกถึงสิ่งใดบ้างคะ?...

 

...สำหรับดิฉันแล้วในมุมมองของความมั่นคงด้านอาหารสิ่งที่นึกถึง สิ่งแวดล้อมที่ดี(พืชพรรณที่หลากหลาย) อาหารที่ปลอดภัย(แนวทางเกษตรอินทรีย์) คุณภาพของสายพันธุ์และการเก็บรักษา(พันธุ์พืชไทยในแต่ละท้องถิ่น) ซึ่งความมั่นคงเหล่านี้สามารถสืบทอดไปถึงลูกหลานอย่างยั่งยืน ฯลฯ...


...หลังจากที่เคยนำข้อมูลเกี่ยวกับวิธีล้าง-เพาะเมล็ดผักหวานป่าไปแล้วครั้งหนึ่ง(ภาพประกอบยังไม่สมบูรณ์เท่าที่ควรเพราะเป็นภาพเก่าหลายปี)


...วันนี้ได้ภาพข้อมูลล่าสุดของปี2555 ที่เก็บได้ตรงช่วงเวลาสุกของผักหวานป่า และในช่วงนี้บางพื้นที่ยังมีเมล็ดสุกของผักหวานป่าที่ยังไม่หมดจากต้น(รุ่นสุดท้ายของสายพันธุ์ใบมน-ใบรี) และบางพื้นที่สายพันธุ์ใบแหลมพึ่งจะสุก....



1. เมล็ดสุกของผักหวานป่าที่เก็บมาจากต้น ควรเลือกผลสุกที่มีสีเหลือง(เก็บลงจากต้นภายใน7-10วันควรรีบนำลงดินเพาะ-ปลูก)...

 

 

2. คัดแยกผลสุกออกจากก้านขั้ว คัดเมล็ดอ่อนและเมล็ดที่แห้งเสียทิ้งไป...

 

 

3. ผลสุกของผักหวานป่าที่เด็ดออกจากก้านขั้วผล...

 

 

4. แช่เมล็ด(ผล)ผักหวานป่าที่คัดไว้ในน้ำ(เป็นน้ำฝนจะดี)จะมีเมล็ดบางส่วนที่ลอยน้ำให้คัดแยกไว้ต่างหาก ใส่จุลินทรีย์EMลงไปเล็กน้อยตามปริมาณของเมล็ดและน้ำที่ใช้แช่...

 

 

5. เมล็ดผักหวานป่าที่นำออกจากเปลือก...

 

 

6. นำเมล็ดผักหวานที่เอาเปลือกออกแล้วแช่ในน้ำใหม่อีก1-2น้ำ และคัดเมล็ดที่ลอยน้ำแยกออกไว้...



7. ในภาพเป็นเมล็ดผักหวานป่าที่ลอยน้ำ้ ส่วนมากจะเพาะไม่ค่อยงอกเพราะเนื้อในเมล็ดไม่สมบูรณ์เต็มเมล็ด(ฝ่อ)หรือแ้งเกินไป...

 

 

8. นำเมล็ดผักหวานป่าที่เอาเปลือกออกและทดสอบการแยกเมล็ดลอยน้ำ นำมาคลุกกับทรายแห้ง(ทรายแห้งที่นำมาคลุกหาได้จากแปลงดินหรือตามถนนโดยไม่ต้องซื้อ)...

 

 

9. เมล็ดผักหวานป่าที่คลุกเคล้ากับทราย ทรายแห้งจะช่วยดูดซับน้ำและเนื้อที่อยู่กับเมล็ดของผักหวานป่าให้หลุดแยกออกจากกัยโดยง่ายโดยไม่ต้องขัดถูให้เหนื่อย...

 

 

10. ในภาพคือเนื้อข้างในของเมล็ดผักหวานป่าที่จะพัฒนาเป็นต้นกล้าในอนาคตหากมีวัตถุดิบจำนวนมากสามรถนำมาพัฒนาแปรรูปเป็นเกษตรอุตสาหกรรมได้(เมล็ดผักหวานป่าอบกรอบสำหรับประกอบอาหารคาวหวาน เมล็ดผักหวานป่าอบกรอบเคลือบช็อคโกแลต ฯลฯ)...

 

 

11. เมล็ดสุกผักหวานป่าที่ขอซื้อมาจากสวนที่ จ.สกลนครราคา12,000บาท(นี่คือเหตุผลที่ต้องอดทนรอเพื่อให้มีแหล่งเมล็ดพันธุ์ในสวนของตัวเอง นอกจากยอดอ่อน)...

 

 

12.

13. ภาพที่11-13ขั้นตอนการล้างแบบเดียวกันเพียงแต่ปรับตามปริมาณของผลสุกผักหวานป่าที่มากหรือน้อย(หากผลสุกมากควรคัดผลที่สุกงอมทำการล้างและเพาะ-ปลูกก่อน)...

 

 

14. ลักษณะของใบผักหวานป่าสายพันธุ์ใบมน-ผักหวานโคก(สังเกตตรงส่วนปลายใบ)...

 

 

15. ลักษณะของใบผักหวานป่าสายพันธุ์ใบรี-ผักหวานโคก...

 

 

16. ลักษณะของใบผักหวานป่าสายพันธุ์ใบแหลม-ผักหวานป่า,ผักหวานดง ลักษณะของใบผักหวานป่าทั้งสามสายพันธุ์จะมีลักษณะความยาวความกว้างของใบทั้งแบบใบเล็กๆและแบบใบใหญ่ๆ (ลักษณะรูปลักษณ์ที่เล็กและใหญ่ถึงใหญ่มากๆ ที่แตกต่างกันออกไปเนื่องมาจากการปลูกด้วยเมล็ดไม่ใช่กิ่งตอน เปรียบได้กับลูกที่เกิดจากพ่อแม่เดียวกันแต่มีสีผิว ความสูงที่แตกต่างกัน)...

 

                                                    (ขอบคุณภาพจากเว็บไซต์)

 

17. ภาพนี้เป็นเมล็ดสุกผักหวานป่าแถบ จ.กาญจนบุรี(เป็นอีกจังหวัดที่มีแหล่งเมล็ดพันธุ์ผักหวานป่าจากต้นที่อยู่ในแปลงที่ดินค่อนข้างมาก) ดิฉันมองดูภาพแล้วเกิด2ความรู้สึกที่ตื่นเต้น(เยอะจัง)และเหนื่อยแทนเจ้าของ(แต่ละรอบที่เก็บมาจากต้นภายใน7-10วันจะต้องรีบล้าง-เพาะ-ปลูก เกินอายุ10วันไปแล้วอัตราการงอกลดต่ำลงเรื่อยๆจนไม่งอกเท่ากับเสียเปล่า)"เหนื่อย"เพราะต้องแข่งกับเวลาเพราะหากทำไม่ได้ตามที่ผักหวานเป็นผู้กำหนดเอง"ถึงจะมีเมล็ดสุกมากแค่ไหน?ก็เปล่าประโยชน์หากจะปลูกหรือจะขาย" หมดเวลาก็ต้องรอรอบใหม่อีก1ปี)...

 

 

                                                     (ขอบคุณภาพจากเว็บไซต์)


18. ในภาพเป็นเมล็ดผักหวานป่าที่เพาะให้ออกรากเป็นถั่วงอก เป็นการเข้าใจผิดกับผักหวานป่าที่นิยมทำกันมากหลายๆคนคิดว่าไม่ต้องกรอกถุงเพาะให้เหนื่อยหรือเพื่อความแน่ใจในสูตรปลูกด้วยเมล็ดเพราะเห็นรากงอกในทุกต้นที่ปลูก...


...หากจะเพาะต้นกล้าผักหวานป่าเพื่อปลูกควรนำเมล็ดผักหวานป่าที่คลุกทรายแล้วนำมาหยอดลงในถุงเพาะชำเลย(ถุงละ2-4เมล็ด)ซึ่งวิธีดังกล่าวนี้จะทำให้ต้นกล้าผักหวานป่ามีรากฝอยเยอะกว่าวิธีเพาะแบบถั่วงอก)...


...หากจะปลูกผักหวานป่าด้วยเมล็ด(หยอดเมล็ด)ควรนำเมล็ดผักหวานป่าที่คลุกทรายแล้วนำไปหยอด(ปลูก)ลงดินกับโคนต้นไม้พี่เลี้ยงที่เป็นร่มเงาได้เลย ซึ่งวิธีดังกล่าวนี้จะทำให้ต้นกล้าผักหวานป่าแข็งแรงและเจริญเติบโตได้ดีกว่าเพาะแบบถ่วงอก เพราะมีรากฝอยจำนวนมากและรากไม่กระทบกระเทือนรวมถึงตารากฝอยไม่ตาย...


...ความจริงหากจะเพาะ-ปลูกต้นกล้าผักหวานป่า เรามีเวลามากมายที่จะเตรียมพร้อม(365วันใช้ไม่ถึง30วัน) เหล่านี้เป็นสิ่งที่ผักหวานป่าสอนดิฉันให้เรียนรู้ การวางแผน การบริหารจัดการ การยอมรับความเป็นจริงกับสิ่งที่ธรรมชาติเป็นอยู่...


...หลายครั้งที่เกิดคำถามกับตัวเองในคำถาม คำพูดของหลายๆคนที่สื่อสารกัน อย่างเช่นผักหวานป่าต้องทำนอกฤดู(แล้วนอกฤดูหละเดือนไหน?) เพราะผักหวานป่าจะไม่ออกยอดเฉพาะในฤดูฝน(4เดือน) ที่เหลือ8เดือนก็จะออกยอด(เอาแค่6เดือนก็เพียงพอเพราะไม่ได้มีหรือกินแต่ผักหวาน)...


...หากคนเราถูกบังคับห้ามนอนหลับบ้าง! ความรู้สึกนั้นคงเช่นเดียวกันกับผักหวานและต้นไม้อื่นๆ...


...ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับผักหวานป่าที่นำมาเผยแพร่ในวันนี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์และสาระความรู้เกี่ยวกับมุมมองสำหรับพืชที่มีชื่อว่าผักหวานป่าให้กับทุกท่านนะคะ...


...สิ่งหนึ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้มาจากผักหวานป่าที่นำสะท้อนในวันนี้ คือมุมองของผักหวานป่าที่สามารถปรับใช้กับวิถี เกษรและทุกสาขาอาชีพกับการเรียนรู้ปรับสภาพกับสิ่งที่เป็นความจริงของธรรมชาติที่ปรากฎขึ้นในขณะที่ทำ...


***คงต้องขอจบบันทึกแต่เพียงเท่านี้ค่ะ อย่างน้อยสิ่งหนึ่งที่ให้เป็นของขวัญวันเกิดให้กับตัวเองในวันนี้คือการมอบความรู้ที่มีกี่ยวกับผักหวานป่าให้กับทุกท่าน และการนำพาจิตใจตัวเองให้จดจ่อ(สติ)อยู่กับผักหวานย้ำจุดยืนกับตัวเอง (อดีตก็ผักหวาน ปัจจุบันก็ผักหวาน อนาคตนั้นก็จะหวานต่อไป) "คิด พูด ทำ" *** ขอบพระคุณและสวัสดีค่ะ


...วันใหม่ใจแจ่มแจ้งราตรีสวัสดิ์ค่ะ(๒๓-๕-๒๕๒๑ ฅนปีมะ)...

 

หมายเลขบันทึก: 488979เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 01:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ผลผักหวานเหมือนลูกมะไฟ..เป็นการบอกเล่าที่ละเอียดมากค่ะ..ขอบคุณที่แบ่งปัน..

สวัสดีค่ะ

กำลังศึกษาเรื่องการปลูกผักหวานป่าพอดีค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดีนะค่ะ ไว้ลงมือทำคงจะได้รบกวนบ่อยๆ แน่ค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้านะค่ะ

 กราบนมัสการพระคุณเจ้า พระมหาแลออาสโย ขำสุข...ค่ะ

...ท่าน อ.นุ

...คุณKwancha

...ขอบพระคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจจากทุกท่านค่ะ...

 สวัสดีค่ะคุณใหญ่...ขอบพระคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ  ผลผักหวานป่ามีสีเหลืองและสุกในช่วงใบไม้สีเขียวอ่อนๆจึงสะดุดตาสวยงามเช่นเดียวกับมะไฟค่ะ...

 สวัสดีค่ะคุณกอหญ้า...ขอบพระคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ.

...ยินดีแบ่งปันสำหรับความรู้ที่มีเรื่องผักหวานป่าค่ะ...

เห็นภาพแรกแล้วคิดเหมือนคุณพี่ใหญ่ค่ะว่าคล้ายมะไฟมาก

สวัสดีค่ะคุณน้อย สบายดีนะคะ :)

สวัสดีค่ะคุณปริม...ขอบพระคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ สีเหลืองที่โดดเด่นมองทีไรก็สุขใจค่ะเพราะกว่าจะออกมาให้เชยชมค่ะ.

  • สวัสดีจ้ะคุณน้อย
  • เมื่อสมัยคุณมะเดื่อยังเด็ก ๆ แถว ๆ บ้านคุณมะเดื่อมีผักหวานป่าเยอะจ้ะ
  • เป็นชนิดใบแหลม ๆ ซะส่วนมาก  หาเก็บกินเอาเอง เอาไปขายไม่มีใครซื้อจ้ะ
  • แต่ปัจจุบันหายาก  มีชาวบ้านแถบใกล้ ๆ ตะนาวศรีเก็บมาขายเหมือนกัน แต่แพงๆๆๆๆ  จ้ะ
  • ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะจ๊ะ
 สวัสดีค่ะคุณมะเดื่อ...ขอบพระคุณที่กรุณาเข้ามาเยี่ยมชมค่ะ.

...ส่วนตัวแล้วดิฉันชอบผักหวานป่าพันธุ์ใบแหลมค่ะเพราะจะมีกลิ่นที่หอมและอ่อนนุ่มกว่าพันธุ์ใบมน-ใบรี(เปรียบได้กับข้าวจ้าวแดงกับข้าวหอมมะลิ).

...สาเหตุที่คนนิยมทานผักหวานใบมน-ใบรี เนื่องจากการแตกยอดดูสวยยอดดูน่ากิน ส่วนผักหวานป่าใบแหลมเหตุที่คนทั่วไปไม่ค่อยซื้อเนื่องจากไม่ค่อยรู้จัก(ไม่เคยเห็น)ไม่แน่ใจว่าเป็นผักหวานชนิดที่กินได้(เกษตรกรบางรายไม่รู้จักถึงกับจะตัดทิ้งก็มี).

...ในอนาคตผักหวานใบแหลมจะมีราคาแพงยิ่งกว่าพันธุ์อื่นๆเมื่อผู้คนรู้จักและได้ลิ้มลองมากขึ้น(ถึงเวลานั้นต้นพันธุ์ในธรรมชาติร่อยหรอ แถมปลูกยากกว่าชนิดอื่นๆอีกค่ะ)

 ***ขอบพระคุณสำหรับดอกไม้และกำลังใจ จากทุกๆท่านอีกครั้งค่ะที่กรุณาเข้ามาเยี่ยมชม***

ขอบคุณมากนะคะหากพบเมล็ดแก่จะลองทำดูบ้างค่ะ

เมล็ดผักหวานงอกหากไม่หวังเป็นต้น

หากนำมาทำอาหารๆนั้นคงมีประโยชน์มากนะคะ

   สวัสดีค่ะคุณกานดา...ขอบพระคุณที่กรุณาเข้ามาเยี่ยมชมค่ะ

ผักหวานป่าเป็นพืชที่เป็นยาตั้งแต่ราก เปลือก ยอด ใบ ดอก เมล็ดอ่อนและเมล็ดสุกค่ะ

เมล็ดสุกของผักหวานป่าเมื่อแกะเปล์อกชั้นในออก(รูปที่9)นำไปประกอบอาหารจะมีรสชาดหวาน มัน หอมอร่อยมากค่ะและข้างในเนื้อเมล็ดยังมีหัวใจเขียวๆคล้ายๆกับเม็ดบัวหลวงที่นำไปทำยาด้วยค่ะ

ส่วนเนื้อใต้เปลือกสีเหลืองและยางของผักหวานป่า ส่วนตัวเชื่อว่าหากมีการวิจัยเชื่อว่าจะเป็นได้ทั้งอาหาร ยาและเครื่องสำอางค่ะ

...ขอบคุณค่ะ...


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท