การสอนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่างจากการสอนอื่นๆ อย่างไร?


การสอนในศตวรรษที่ 21 ในขั้นนิยาม ทำให้เกิดความรู้ด้านเนื้อหา ขั้นตีความทำให้เกิดความเข้าใจ ขั้นนำไปใช้ทำให้เกิดความเข้าใจหลักการและทักษะต่างๆ แต่การสอน ปศพพ. ต้องทำให้สามารถทำให้เกิด สัมปชัญญะ ถึงจะเรียกได้ว่าบรรลุเป้าหมาย

สืบเนื่องต่อจากวันที่ 10 พฤษภาคม 2555 ในที่ประชุมที่มี ท่านอาจารย์ปิยาภรณ์ นั่งเป็น Fa ผมได้เรียนรู้มากมาย จนต้องเขียนบันทึกไว้เพิ่มเติม เกี่ยวกับคำตอบของคำถามตามเนื้อชื่อข้างต้น ดังนี้ครับ

ผมตั้งคำถามกับ "วง" เองครับว่า "การสอนแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นแตกต่างจากการสอนแบบอื่นๆหรือไม่อย่างไร".... เกิดเรื่องครับ ท่านอาจารย์ปิยาภรณ์ จับเอาประเด็นนี้ทันที.... ต่อไปนี้เป็นประเด็นคำตอบคร่าวๆ ที่จับได้ครับ

  • เราอาจแบ่งการสอนเป็น 3 ขั้นให้ชัดเจน เพื่อความสะดวกในการออกแบบการเรียนรู้ และชัดเจนในการประเมินผลสัมฤทธิ์ ได้แก่ ขั้นนิยาม ขั้นตีความ และขั้นการนำไปใช้ โดยประเมินทักษะการเรียนองค์ความรู้ ทักษะการคิด และทักษะชีวิตและอื่นๆ ตามลำดับ
  • ในขั้นนิยาม การสอน ปศพพ. นั้นจำเป็น อาจเป็นรายวิชาในกลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม หรือแยกเป็นวิชานี้ต่างหาก
  • ในขั้นตีความ ครูต้องสอนแบบให้นักเรียนได้ฝึกตีความ คือฝึกคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ พิเคราะห์ด้วยเหตุด้วยผล ครูเน้นเอื้ออำนวยให้นักเรียนได้ใช้ความคิด ด้วยวิธีการถามคำถาม เพื่อกระตุ้นให้คิด เช่น ทำไม เพราะอะไร มากพอไหม น้อยเกินไปหรือไม่ ถูกหรือไม่ ควรหรือไม่ เป็นต้น วิธีการสอนที่ดีคือ การสอนโดยเอาปัญหาเป็นฐาน (PBL)
  • ในขั้นนำไปใช้ ควรสอนแบบโครงงาน (PBL) จะทำให้นักเรียนได้เกิดทักษะชีวิต ทักษะการเรียนรู้ ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการทำงานเป็นทีม และทักษะอื่นๆ ที่สำคัญสำหรับชีวิตในศตวรรษที่ 21

ในความคิดเห็นผมการสอน 3 ขั้นตอน ที่กล่าวถึงนี้ ยังไม่ได้ทำให้บรรลุเป้าหมายของการสอนแบบ ปศพพ. เพราะผมมีความเห็นอย่างนี้ครับ

  • ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ต้องฝึกให้นักเรียนคือ 1) สติ รู้ตัว ระลึกรู้ตัว....ซึ่งจะนำไปสู่การเริ่มพิจารณานำ ปศพพ. มาใช้ในขณะนั้นๆ  2) สมาธิ ความตั้งมั่น....ซึ่งจะนำไปสู่การพิจารณา ปศพพ. เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ได้อย่างรอบคอบ มีเหตุมีผล และ 3) รักษาศีล 5 เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันตนเองจากสิ่งทั้งปวง นักเรียนในโรงเรียนต้องได้รับการปลูกฝังหรือบ่มเพาะให้เห็นความสำคัญของการรักษาศีล ให้ตระหนักว่าศีลคือสิ่งที่ทำให้คนเป็นคนที่สมบูรณ์
  • การสอนในศตวรรษที่ 21 ในขั้นนิยาม ทำให้เกิดความรู้ด้านเนื้อหา ขั้นตีความทำให้เกิดความเข้าใจ ขั้นนำไปใช้ทำให้เกิดความเข้าใจหลักการและทักษะต่างๆ แต่การสอน ปศพพ. ต้องทำให้สามารถทำให้เกิด สัมปชัญญะ ถึงจะเรียกได้ว่าบรรลุเป้าหมาย
  • เป้าหมายของ สสปศพพ. คือ อุปนิสัยพอเพียง คือ มีนิสัยพอเพียงอย่างเป็นอัตโนมัติ ดังนั้น สัมปชัญญะ หรือปัญญาเบื้องต้นเกี่ยวกับความพอเพียง จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
  • ในขั้นนิยามเป็นการเรียนรู้แบบรับข้อมูลภายนอกคือจากการฟังหรือการอ่าน ขั้นตีความเป็นการเรียนรู้จากการคิดพิจารณาตามเหตุผล ขั้นนำไปใช้คือการเรียนรู้จากการปฏิบัติ... ส่วนการเรียนรู้แบบ ปศพพ. ไปไกลกว่านั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นการเรียนรู้ขั้น "ภาวนา" ......

ผมยังยืนยันว่า แนวพุทธ วิถีพุทธ สุดยอดแล้วครับ อย่าได้กลัวเกรง และปิดโอกาสลูกหลานเราที่จะได้มุ่งตรงสู่สิ่งที่ดีที่สุดนี้เลย......

ฤทธิไกร

หมายเลขบันทึก: 488329เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 18:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท