ลงไปออกแบบการทำงานในพื้นที่ร่วมกับชุมนาบ่อคำ(ตอน๑)


เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อวางแผนการปฏิบัติงานด้านลดต้นทุนการผลิตข้าว ของตำบลนาบ่อคำ เวลา ๑o .oo น. ณ.ห้องประชุมของอบต.นาบ่อคำ
วันนี้( ๒ พค.๕๕)ผม พร้อมด้วยคุณสิงห์ป่าสัก(อ.วีรยุทธ์ สมป่าสัก)และคุณภูมิรพี ขัดเกลา(นักส่งเสริมการเกษตรที่รับผิดชอบตำบลนาบ่อคำ)อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ได้นัดหมายผู้นำกลุ่มอาชีพประกอบด้วยประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำหนองปิ้งไก่(นายชวน แพงดา ) กลุ่มผู้ผลิตข้าวปลอดภัยศูนย์ข้าวชุมชนหนองปิ้งไก่(นายทศภาค ตาลาน) และกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านหนองกอง(นายทองดี งามเสริฐ) และนายมูล นาระต๊ะ ปราชญ์ชาวบ้านหมู่๒ ต.นาบ่อคำ และท่านฤทธิ์รงค์ เปรมศรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาบ่อคำ โดยกำหนดจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อวางแผนการปฏิบัติงานด้านลดต้นทุนการผลิตข้าว ของตำบลนาบ่อคำ เวลา ๑o .oo น. ณ.ห้องประชุมของอบต.นาบ่อคำ

 

 
             ก่อนที่จะถึงเวลานัดหมายการแลกเปลี่ยนฯ ผมพอมีเวลาได้ลงไปสำรวจเก็บข้อมูลในภาพรวมของบางหมู่บ้านที่อยู่ในเขตกลุ่มผู้ใช้น้ำคลองสวนหมาก  เป็นที่น่าดีใจแทนเกษตรกรในเขตชลประทานคลองสวนหมาก เห็นพืชที่ปลูกได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์(ปลูกพื้นที่นา) อ้อยโรงงานและบางส่วนกำลังเตรียมดินเร่งหว่านข้าวกันอีกรอบแล้ว แต่ก็จะมีพื้นที่บางหมู่บ้านที่ประสบภาวะภัยแล้งเหมือนกันที่อยู่นอกเขตคลองชลประทานได้แก่มันสำปะหลังและอ้อยโรงงานในพื้นที่ดอน

 

 

             ยางพารา

      สวนปาล์มน้ำมัน

 

 

       ข้าวโพดปลูกในพื้นที่นา

 

 

  

               เตรียมดินทำนาครั้งใหม่

 

 

          มันสำปะหลังที่ปลูกในที่ดอน

 

             เราลองมาดูข้อมูลเชิงคุณภาพที่เก็บด้วยการถ่ายภาพ เพื่อที่จะนำข้อมูลมาตั้งเป็นคำถามหลัก คำถามรอง เพื่อที่จะได้นำมาเป็นประเด็นนำเข้าสู่บทเรียนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการออกแบบการทำงานด้านการวางแผนการปฏิบัติงานการลดต้นทุนการผลิตข้าวฤดูนาปี ๒๕๕๕นี้  ลองมาชมภาพที่ผมสำรวจมาเบื้องต้นนะครับว่าสภาพพื้นที่การทำนาในรอบนี้ ฤดูนาปี ๒๕๕๕นี้ ก็ต้องดีใจกับเกษตรกรที่อยู่ในเขตชลประทานคลองสวนหมาก เพราะมีน้ำตลอดฤดูทำนา ในขณะเดียวกันบางรายยังมีสระเก็บน้ำตามไร่นา หากสังเกตดูยังมีปริมาณในสระให้เห็นสำหรับปลูกข้าวและพืชไร่ในพื้นที่นาครับ
 

 

  อยู่ระหว่างเตรียมดินทำนารอบใหม่

 

 

            แหล่งเก็บน้ำในนา

 

          หลังจากที่ผม ได้ลงสำรวจพื้นที่ของชุมชนพอสังเขปแล้ว ก็คิดในใจแล้วว่า จะต้องแลกเปลี่ยนกับปราชญ์ชาวบ้านด้านเกษตรสาขาต่างๆที่เราได้นัดหมายเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในวันนี้ ในขณะเดียวกันเราต้องสืบค้นหาปราชญ์ชาวบ้านที่เขามีความรู้และอยู่ในหมู่บ้านชุมชนต่างๆของตำบลนาบ่อคำ

 

 

 

           สำหรับบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมการแลกเปลี่ยนข้อมูลในกระบวนการผลิตข้าวของตำบลนาบ่อคำ และขั้นตอนของกิจกรรมการลงทุนต่อไร่โดย รวมทั้งการคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายรวมทั้งคัดเลือกกลุ่มและเกษตรกรเป้าหมาย ที่จะดำเนินการเก็บข้อมูลด้านการลดต้นทุนการผลิตข้าว การจัดเวทีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (การถอดบทเรียน) รวมการหาโจทย์การทำการวิจัยแบบPAR  เพื่อพัฒนาและยกระดับขององค์ความรู้เชิงประสบการณ์ จะนำเสนอในตอนต่อไปครับ
 
เขียวมรกต
๓ พค.๕๕
 
 
หมายเลขบันทึก: 486943เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 17:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 23:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียนท่านเขียว ไปประชุมเรื่องกลุ่มเกษตรกับการเตรียมตัวสู่ประตูอาเซี่ยน ขอเชิญแวะไปแลกเปลี่ยนประเด็นกันครับ

  • ขอบคุณท่านวอญ่า
  • ที่แวะมาทักทายและให้กำลังใจกันเสมอมา
  • เห็นด้วยอย่างยิ่ง
  • แต่ต้องเร่งสร้างความเข้าใจให้แก่เกษตรกร
  • การเกษตรของบ้านเรา มักจะมีความเสี่ยงด้านภัยพบัติที่เกิดขึ้นเป็นประจำ
  • หน่วยงาน ภาคี ที่เกี่ยวข้องจะต้องออกแรงมากว่านี้อีกมาก
  • อาจจะรวมถามถึงความเข้มแข็งของกลุ่มอาชีพทางการเกษตรที่มีอยู่ด้วย
  • คงจะต้องทำการศึกษาว่าคงจะมีอีกหลายปัจจัยเข้ามามีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมนะครับ
  • รวดเร็วดีแท้
  • ขอบคุณครับ

 

  • ขอบคุณอ.สิงห์ป่าสัก
  • ที่มาเยือน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท