“นกกระเรียนเหยียบหลังเต่า”...สื่ออะไรแก่เรา..ผู้มาเยือน


ความดี ความงาม ในวัตรปฏิบัติตามคำสอนของขงจื้อ..เป็นพื้นฐานทางจิดวิญญานของผู้คนที่นั่น..หยั่งรากลึก ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนผ่านของการเข้ายึดครองประเทศจะเปลี่ยนไปเช่นไร..


“นกกระเรียนเหยียบหลังเต่า” ….สื่อ..อะไรแก่เรา..ผู้มาเยือน

ความสงบใจกลางเมืองหลวงฮานอย  ที่นี่มีสิ่งดึงดูดให้หลายคนรวมทั้ง “ครูพื้นที่” เดินอ้อยอิ่งชื่นชมกับบรรยากาศภายใน ซึ่งเป็นสถานที่ร่มรื่น รวมถึงการจัดออกแบบ ศิลปะที่เกี่ยวข้อง และคำสอนที่เป็นอมตะของปราชญ์ ขงจื้อ (Confucius) ภายในสถานที่ที่เรียกว่า  “The temple of literature” มหาวิทยาลัยแห่งแรกของเวียดนามที่ตั้งอยู่ในกรุงฮานอย มีหอประกาศเกียรติคุณที่จารึกรายชื่อและประวัติผู้ที่สอบผ่านไว้บนแผ่นศิลาและวางไว้บนหลังเต่าขนาดใหญ่ ด้านหน้าซุ้มประตูมีรูปสัญลักษณ์ “นกกระเรียนเหยียบหลังเต่า”..

 

เมื่อเดินทอดน่องสบายๆเข้าไปที่นั่น สังเกตเห็นสัญลักษณ์ “นกกระเรียนเหยียบหลังเต่า” วางไว้ในหลายๆที่ สงสัยว่า ต้องการจะสื่ออะไรกับชาวโลก ??..เมื่อสงสัยใคร่รู้ ต้องขอร้องน้องคนเวียดนามให้ช่วยถามคนที่นั่นเพิ่มความกระจ่าง ว่ามีความหมายอะไรซ่อนอยู่  ผู้คนที่นี่น้อยคนที่จะตอบได้ มีคำถาม ชวนคิดมากมาย ก็คิดเรื่อยเปื่อยกับนกไปตามบริบท แต่คราวนี้ไม่ธรรมดา เพราะนกเหยียบหลังเต่านะซิ!!! ก็เข้าไปเดินในบรรยากาศมหาวิทยาลัยแห่งแรก เก่าแก่ของประเทศเวียดนาม ในใจกลางกรุงฮานอย บรรยากาศเลยเป็นใจ แอบได้ยินไกด์ของกลุ่มอื่นเค้าอธิบายเป็นภาษาอังกฤษก็เลยรู้เรื่องบ้าง

 

ถามทุกคนที่ไปด้วยกันก็ไม่มีใครสังเกต พอผู้คนเดินเข้าไปที่ศาลก็จะจับ ลูบหัวเต่าที่เป็นทองเหลือง สีสุกใส..อร่าม..บ่งชี้ความถี่ในการรับสัมผัส (มีความเชื่อต่อๆกันมาว่า จะได้เรียนหนังสือดี เรียนจบ สอบผ่าน เพราะมีประวัติศาสตร์มากมายในวัดแห่งนี้ซึ่งเรียกว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรก)  เต่าที่เห็นนี้ยังเป็นเต่าน้ำจืดไม่ใช่เต่าทะเลแน่ๆ  เพราะเต่าทะเล (turtle) มีขาเป็นใบพาย (flipper) ใช้ว่ายน้ำ แต่เต่าน้ำจืด (tortoise) มีเล็บที่เท้า ใช้เดินได้ สำหรับความหมายเชิงสัญลักษณ์ของนกกระเรียนเหยียบหลังเต่า มีหลากหลาย อนุมานจากการอ่านค้นคว้าหาคำอธิบาย บอกได้ว่า เป็นทั้งหยินและหยาง เป็นทั้งความเอื้ออาทรของสัตว์ที่เป็นตัวแทนของสวรรค์ชั้นฟ้าและดิน กระเรียนนำสารจากฟ้ามายังเต่าติดดิน  เป็นทั้งสิ่งที่บอกว่าสัตว์ทั้งสองมีอายุยืนยาว ซึ่งเราต่างก็รู้กันว่าในแถบเอเชียสัญลักษณ์ของเต่าบ่งบอกความมีอายุยืน ในที่นี้เชื่อกันว่าเต่าอายุ 2000 ปีในขณะที่นกกระเรียนอายุ 1000 ปี เมื่อทั้งคู่ปรากฎอยู่ด้วยกัน ก็หมายถึงขอให้สัทธิขงจื้อ หรือคำสอนต่าง ๆ ได้รับการนำไปฝึกปฏิบัติต่อไปนานๆจวบจน 2 พันปี และขอให้ผู้ที่ฝึกปฏิบัติตามคำสอนได้รับคำกล่าวถึงคุณธรรม ความดีที่สั่งสม และระลึกถึงกันไปนานพันๆปี ขจรกระจายไปทั่วทั้งชั้นฟ้าและชั้นดิน ...ความหมายดีมาก..

 

ขณะที่อยู่ที่ฮานอยในวันวิสาขะบูชา มีโอกาสเดินผ่านวัด เลยตั้งใจแวะเข้าไปสักการะ ไหว้พระก็พบสัญลักษณ์ของนกกระเรียนเหยียบหลังเต่า  ยืนขนาบศาลเป็นคู่อยู่ภายในวัดเช่นกัน จริง ๆ แล้ว นกกระเรียน (Chinese Crane) นอกจากจะมีพฤติกรรมท่าทางที่ถูกนำมาเรียนรู้ ในการฝึกมวยจีนแล้ว นกกระเรียนสายพันธุ์นี้ได้ลดจำนวนลงไปมาก ทำให้ต้องเร่งฟื้นฟูเพิ่มจำนวน ด้วยนกกระเรียนเป็นประเภทรักเดียวใจเดียว (monogamy) ซะด้วยซิ  เป็นสัญลักษณ์ของความชื่อสัตย์ต่อคู่ครองของตน จึงมีงานศิลปะ ภาพวาดเกี่ยวกับนกกระเรียนในเชิงสัญลักษณ์มีมากมาย

(อ่านบันทึกเพิ่มเติมได้ที่ http://burongtani.oas.psu.ac.th/blog/645  )


..๒ พฤษภาคม ๒๕๕๕.

..pax vobiscum..

(๙)



หมายเลขบันทึก: 486848เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 19:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2012 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

เรียนอาจารย์ ชอบนกกระเรียน กำลังภายใน

สวัสดีค่ะ บังวอญ่า ชอบอ่านและดูหนังบู๊ลิ้มโชว์ ท่านกกระเรียนเช่นกันค่ะ

สวัสดีค่ะ

ครูอ้อยเขียนโฮจิมินห์  ครูอ้อยพาไปทัศนศึกษา

คุณเขียน ฮานอย

ขอบคุณมากค่ะ

  • โอโหไปแล้วยังได้เรื่องดีมากฝากพวกเราด้วย
  • สุดยอดเลยครับ
  • เชื่อแล้วว่าอาจารย์ชอบนก
  • 555

อ. ขจิตค่ะ.... ขอบคุณที่แวะมาทักทายค่ะ.:-)) . เป็นที่น่าสังเกตนะค่ะ . นกกระเรียนตัวโตกว่าตั้งเยอะ แต่เต่าตัวน้อยกลับให้ยืนอยู่บนหลังได้นานแสนนาน เป็นภาพที่น่ารัก น่าคิดค่ะ .... ก็เลยรักทั้งนกและเต่า.... อาจารย์เห็นด้วยใช่ไหม๊ค่ะ?? กลับมาจากการทริบครั้งนั้น ได้ผลเลยค่ะ สมกับไปเที่ยวมหาวิทยาลัยเก่าแก่ หาหนังสือมาอ่านซะจุใจ จริงๆที่ีนั่นก็คล้ายๆกับบ้านเรา ที่สมัยก่อนการศึกษาเริ่มจากวัดจากการบวชเรียน หรือที่อังกฤษ/ไอร์แลนด์ก็เริ่มจาก monastery ถึงแม้เก่าๆก็ยังเก็บรักษาไว้ เพราะเป็นรากเหง้าจากบรรพชน สังเกตว่าเริ่มเรียนรู้จากภายในก่อนด้วยการมองจิตวิญญาน ส่วนที่ฮานอย บริเวณ the temple of literature มีสถาปัตยกรรมสวยงาม ตามเอกลักษณ์ ประตูเข้าออกก็ให้บุคคลผ่านได้ต่างกันระหว่าง เชื้อสายกษัตริย์ ข้าราชบริพารและลำดับรองๆลงมา พื้นที่ภายในแบ่งเป็นส่วนๆ เพื่อจุดประสงค์ต่างๆกัน และส่วนใหญ่ก็จะประดับประดาด้วยนกกระเรียนเหยียบหลังเต่า ไม่ว่าจะเป็นไม้ดัด โลหะ หรือปูนปั้น โดยเฉพาะบริเวณหอประกาศเกียรติคุณ ที่นี่เน้นการนำคำสอนของขงจื้อมาปฏิบัติ เห็นได้ชัดว่าเน้นความรู้คู่กับคุณธรรม ตามปราชญ์ขงจื้อ ทุกศาลาจะมีสัญญลักษณ์นกและเต่า ความดีที่สั่งสมก็จะได้กับการยกย่อง น่าชื่นชมค่ะ ..ส่วนเรื่องตลกๆก็มี สื่อผ่านทางตุ๊กตาของที่ระลึก ปั้นเป็นรูปต่างๆ หัวเราะ ร้องไห้ ฯลฯ เพราะแสดงออกถึงอารมณ์นั้นที่บุคคล ต้องมีความพยายาม ฝึกฝน อดทนกว่าจะผ่านการสอบ ..:-))

ยินดีที่ได้มาอ่านบันทึกของอาจารย์ ทำให้ระลึกถึงเพื่อนชาวเวียดนามที่เก่งและดีมากๆ หลายคนสมัยผมเคยเป็นเยาวชนอาเซียนวัฒนธรรมครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ (Dr. Pop)..ไหนเลยจะโชคดีมากที่มีโอกาส เรียนรู้วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของผู้คนในภูมิภาคนี้ตั้งแต่ครั้งเป็นเยาวชน สมัยก่อนเวลาใครได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการเยาวชนอาเซีีียน บ่งบอกความ "smart" ของผู้นั้น ผู้ที่ถึงพร้อมในหลายด้านโดยเฉพาะจิตใจ ..ของคุณน้องอาจารย์ก็เช่นกัน ก็เป็นทั้งเก่งและดี คล้ายๆกับเพื่อนชาวเวียดนามที่น้องรับรู้ได้ แถมยังส่งผลมาถึงปัจจุบันในการปฏิบัติงาน..พี่ได้อ่านบันทึกของอาจารย์ มีข้อคิด คำแนะนำที่น่าสนใจ นำไปปรับใช้เช่นกันค่ะ ขอบคุณค่ะ:-))

สวัสดีค่ะ

  • ขอบพระคุณเรื่องราวดี ๆ ที่แบ่งปันนะคะ

ขอบคุณค่ะ คุณครูอิงจันทร์ที่แวะมาทักทาย ..มาพร้อมกับความหอมของดอกกุหลาบใบเตยหอม...เชียวค่ะ ..ตัวแจงเองก็พยายามฝึกทำดอกกุหลาบไปพร้อมๆกับน้องๆที่เีรียนกับคุณครุนะค่ะ เป็นการเีรียนรู้ ที่มีคุณค่า คงไว้ซึ่งวิถีไทยๆนะค่ะ ชอบจังเลยค่ะ:-))

  • ทุกครั้งที่เห็นนก
  • นกนะครับ
  • ไม่ใช่น้องนก 555
  • แล้วคิดถึงอาจารย์
  • เลยเอามือปราบหอยมาฝากครับ
  • http://www.gotoknow.org/blogs/posts/255178

ขอบคุณค่ะ "แอ๊ด..แอมเอ๊ย" น่ารักเสียจน ขอเรียกอย่างงี้นะค่ะ ..แหม..ถึงแม้ว่าจะเจอ "น้องนก" แล้วคิดถึงกัน ก็โอ นะค่ะ.. ได้เข้าไปดูในลิงค์แล้วค่ะ น่าสนใจที่ช่างถ่ายรูปได้ ขณะที่นกจำนวนเยอะๆก็ไม่ได้รู้สึกว่าถูกรบกวน บินหนีไป ...มือปราบหอย..เมื่อได้รับรับผลกระทบจากสารเคมี ที่มนุษย์ไปจัดการหอย แต่เป็นหนึ่งในห่วงโซ่อาหารของนก ก็ทำให้เป็น มือปราบที่น่าสงสารนะค่ะ กรณีนกแร้งที่เคยเป็นข่าวในวงการนักอนุรักษ์ ก็เคยเป็นอุทาหรณ์ กรณีที่กินซากสัตว์ที่ถูกยาลอบวางยาเืบื่อก่อนตาย.พี่สอนวิชา ecotoxicology ก็ได้นำมาเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาวิเคราะห์กันค่ะ ที่ปัตตานีทางการร่วมกับชาวนาเก็บหอยเชอรีมาทำน้ำหมักชีวภาพและนำกลับไปใช้ในนาอีกต่อไป ดูเป็นหนทางที่เือื้อประโยชน์กันนะค่ะ.

"แอ๊ด แอมเอ๊ย" อยู่ที่ ม.เกษตร กำแพงแสน ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับชมรมดูนกที่นั่นบ้างไหม๊ค่ะ?? พี่เห็นกิจกรรมเค้าน่าสนใจนะคะ หรือว่า ได้ไปที่แก่งกระจาน เพชรบุรี ที่ยอดเขาพะเนินทุ่ง บ้างหรือยังค่ะ?? เห็นเดินทาง ทำงานเป็นวิทยากรในละแวกนั้น ที่นั่นก็เป็นแหล่งพักผ่อน และดูนกที่น่าสนใจเชียวค่ะ พี่ได้ไปหนึ่งครั้ง น้องสาวขับรถขึ้นไป ต้องเป็น 4W นะค่ะจะรู้สึกว่าไ่ม่สงสารรถ มากนัก ชอบที่นั่นมากค่ะ ไปนอนกางเต็นท์ เช้ามาก็เดินดูนกไปตาม trail . ไปช่วงปลายกุมภา ผู้คนน้อยหน่อย เลยรู้สึกว่าได้พักเต็มที่ ไม่พลุกพล่านนักค่ะ

เห็นว่าอยากไปป่าบาลา ...เอาเป็นว่าถ้าพี่มีโปรแกรมไปกับน้องๆที่นี่ จะแจ้งไปนะค่ะ เผื่อจะมาแจมกันได้ ..ว่าแต่จะปลีกตัวไหวหรือเปล่า..งานการออกจะล้นตารางชีวิต...คนเก่งๆน่ารักๆ ก็มักจะเป็นอย่างงี้หล่ะค่ะ...จิตอาสา..-))

  • มีนิสิตในโครงการมีกิจกรรมดูนกครับ
  • ในมหาวิทยาลัยมีนกหลายชนิดมากครับ
  • ที่แก่งกระจาน ไปมาแล้วครับ
  • โดยเฉพาะพะเนินทุ่ง
  • มีพี่ครู กศน แก่งกระจาน พาไป
  • เพราะไปจัดกิจกรรมที่นั่นบ่อยๆ
  • เอานกที่ ม เกษตรฯ กำแพงแสน มาฝากพี่ด้วย
  • http://www.gotoknow.org/blogs/posts/438086
  • ป่าบาลาฯ น่าไปมาก
  • มีโอกาสแจ้งกันบ้างนะครับ
  • เผื่อน้องจะได้แจม
  • ขอบคุณมากๆๆครับ

ประทับใจจังครับ...ได้รู้ถึงความหมายและความสำคัญของนกกระเรียนในเชิงสัญลักษณ์และเชิงสังคม...สวัสดีฮานอยครับ

  • สวัสดีครับ kwancha
  • ตั้งใจมาแวะเยี่ยม
  • ขอบคุณที่นำเรื่องเล่าดีๆมาแบ่งปัน

ถ้าคนเรามีนิสัยเหมือนนกกระเรียน

บ้านเมืองคงไม่วุ่นวาย

ไปด้วยเรื่องรักๆใคร่ๆนะคะ

ความรู้ใหม่จริงๆ

ต้องค้นคว้าเพิ่มเติมซะแล้วววว

ขอบคุณนะคะอาจารย์

ขอบคุณ คุณหมอ (พ่อน้อง) ทิมดาบ, คุณเขียวมรกตและ คุณมนัญญาค่ะ... เจ้ากระเรียน...น่ารักนี้ สอนอะไรมากมายเลยนะค่ะ...แต่เค้าสอนแบบให้คิด ใครชอบด้านไหนก็ดื่มด่ำไปในด้านนั้นได้ เช่นใครนิยม มวยจีน..ก็คิดฝึกท่านกระเรียน นอกจากนี้ก็ยังมีความเป็น monogamy (รักเดียวใจเดียว)..ที่เรามักจะรู้จักกัน แต่ในมิติเชิงสัญญลักษณ์ ตามคำสอนของปราชญ์ขงจื้อ ก็เพิ่งจะได้ทราบครั้งที่ไปเยี่ยมเยือนที่นั่นหล่ะค่ะ ..และที่เมืองนี้เห็นได้ชัดว่าสถานที่สำคัญทาง บ่มเพาะจิตวิญญาน ได้รับอิทธิพลจากคำสอนของขงจื้อมายาวนานจริงๆ ..หลังจากกลับมาแล้วก็อ่านหนังสือ ทำความเข้าใจเพิ่มเติม เพราะกระตุ้นความคิดเรื่องนี้ค่ะ..ขอบคุณที่แวะมาเยือนค่ะ..:-))

ตามมาขอบคุณอีกครั้ง กับคำอธิบาย นกกระเรียน

คุณมนัญญาค่ะ ขอบคุณมากเลยค่ะ แสดงว่า รักเดียวใจเดียว อย่างเช่นเจ้ากระเรียนนะค่ะ....ถ้าชอบอ่านเรื่องนี้ รบกวนเข้าไปอ่าน บันทึกฉบับเต็มที่เขียนไว้ ในเว็บบูรงตานี ซึ่งเขียนให้นักศึกษาอ่านค่ะ ตามที่ได้ระบุไว้บันทึกนะค่ะ ที่นั่นจะมีภาพประกอบมากกว่า..เพื่อฝึกให้นักศึกษา ให้มีนิสัยการอ่านมากขึ้น เลยต้องมีรูปเชิญชวนมากหน่อยค่ะ ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท