ขออีกสักบันทึกกับ "R2R"


ผู้เขียนเกรงใจจังเลยค่ะ แต่ความคิดกำลังโลดแล่นไปไกลเกินกว่าจะ ฉุดรั้ง...ไว้ได้ เลยอยากจะขอต่ออีกสักบันทึกเกี่ยวกับ "R2R" ค่ะ ....

ผู้เขียนจำได้ว่าหลังจากผลงานชิ้นแรก ได้รับการตีพิมพ์ ตัวเองก็เริ่มติดใจในการทำวิจัยมาตั้งแต่นั้น เพราะมันไม่ได้ยากอย่างที่คิด  แต่มันยากตรงที่เราตีกรอบ ปิดกั้นความคิดของตัวเองเอาไว้ต่างหาก ด้วยเหตุผลหลาย ๆ ประการ เป็นต้นว่า...

  •  "ไม่รู้จะทำเรื่องอะไร?"  เพราะส่วนใหญ่พอคิดจะเริ่มต้น เท่าที่ได้ยินได้ฟังมา  ไม่ว่าใครต่อใครดูเหมือนเหตุผลจะคล้ายกันไปหมด
  • แค่เอ่ย "วิจัย" ก็ส่ายหน้าหนี คิดว่า "เป็นเรื่องยากและ เป็นเรื่องใหญ่" แถมเป็น "เรื่องไกลตัว"
  • การเขียน "เขียนไม่ได้" แถมยังต้องเขียน "abstract" ภาษาอังกฤษ อีกต่างหาก
  • "ไม่มีเวลา" งาน routine ก็เต็มไปหมด

ผู้เขียนเห็นด้วยมาก ๆ เลยที่ว่า "วิจัย" กับ "ใจ" ต้องเป็นสิ่งที่คู่กัน หากเราฝ่าฟันมันไปได้ ด้วยการผ่านพ้นดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น เริ่มจากการมอง "หาเรื่อง" เป็นอันดับแรก โดย.....
- เริ่มจากความ "สนใจ" อะไรเป็นพิเศษ 
- งานที่เรา "ทำบ่อย  ๆ" ใน "งานประจำ" แต่ยังพบ "ปัญหา" อะไรอีกมั๊ย? ที่เราอาจ "มองข้าม"
-มีความ "สงสัย" หรือ "อยากรู้" อะไรบ้าง
-ลอง "อ่าน" ให้เยอะๆ  หาอ่าน paper ให้ตรงกับสายงาน หรือแม้แต่ต่างสายงาน ก็ยังจะอาจช่วยให้ "จุดประกาย" ความคิดเราได้

พูดถึงการอ่าน paper บางคนบอกมีปัญหาเรื่องการอ่าน paper ภาษาอังกฤษ (ไม่ get , ไม่แตก) อันนี้ผู้เขียนก็เป็นค่ะ ยอมรับว่าอ่อนหัดนักกับภาษาอังกฤษ แต่......ผู้เขียน มีวิธี.....

เดี๋ยวนี้นับว่าเราโชคดี  ที่มีระบบ internet ให้ค้น แถมเลือกได้อีกต่างหาก จะค้นไทย หรืออังกฤษ ถ้าเราไม่แตกฉานภาษาอังกฤษ ผู้เขียนก็จะใช้วิธีค้นหา paper ไทยเรื่องคล้าย  ๆ กัน อ่านให้แตกฉานแล้วค่อย ๆ ไปอ่านภาษาอังกฤษ  รับรองว่า มันก็ไม่แตกต่างกัน.......

{แต่ได้ข่าวแว่ว ๆ มาว่า พี่โอ๋ จะเขียนบันทึก "วิธีการอ่าน paper ภาษาอังกฤษ ได้อย่างรวดเร็ว" ให้พวกเรา ๆ ได้อ่านกันในเร็ว  ๆ นี้ แล้ว}

เพราะฉะนั้น เราจะทำอย่างไรให้คำว่า "วิจัย" หรือ "R2R" เป็น "เรื่องใกล้ตัว"  ที่ใคร  ๆ ก็ "สามารถ" "จับต้อง" และ "เอื้อมถึงได้อย่างง่ายดาย"

หมายเลขบันทึก: 48646เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2006 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
    แทงใจดำอีกแล้วค่ะคุณศิริเท่าที่เห็นบันทึกที่ทะยอยออกมาโชว์ใน Gotoknow วันละหลายๆ เรื่องแต่ถึงลูกถึงคนทุกเรื่องโดยเฉพาะเรื่องนี้มันโดนใจแบบต้องทำให้ได้อย่างคุณศิริแล้วหละค่ะ  

คุณศิริคะ...

บันทึกนี้มีคุณค่ามากเลยนะคะ...กะปุ๋มอยากให้เล่าไปเรื่อยๆ...เพราะเป็น Best Practice ของผู้ที่ผ่านการปฏิบัติจริง...ด้วย Learning by Doing .... อย่างเนื้อแท้...น่าจะเกิดประโยชน์อย่างมากต่อผู้ที่เริ่มจะทำ R2R...

....

ขุดออกมาเยอะๆ เลยนะคะ...สำหรับสิ่งที่เป็นความรู้ฝังลึก กะปุ๋มรออ่านด้วยจิตที่จดจ่อ...เพราะมีคุณค่าทางปัญญาและจิตใจมากคะ

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

 

อ่านตามคุณศิริไปเรื่อยๆ เกิดเลือดนักสู้...ขึ้นมา...ขออีกสัก 2 บันทึกนะคะคุณศิริ ...พี่กำลังคล้อยตามแล้วค่ะ....จะได้เป็น "ชำนาญการซะที" เส้นผมบังภูเขา  "วิจัย" กับ "ใจ" ต้องเป็นสิ่งที่คู่กัน.....
คุณ Love ค๊ะ ผู้เขียนจะมีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย (แทงใจดำ)รึเปล่า เนี่ย!! --ว่าแต่คุณ Love ไม่ได้ดำสักกะหน่อย คุณ Ka-poom ค๊ะ --ผู้เขียนตามเก็บรอยไม่ทันแล้วค่ะ เรียนคุณเมตตา ---ผู้เขียนเกรงใจคนอ่านอย่างแรงค่ะ และจะเป็นกำลังใจให้คุณเมตตา ไปถึง "เชี่ยวชาญ" เลยค่ะ
พักนี้   ความคิดคุณศิริโลดแล่น...จังเลย
เล่น "ถอย.." บันทึกออกมาวันละหลาย   จนแทบอ่านไม่ทัน      เขียนได้คมๆๆๆ  คมจน "คุณ love"   นิ่งอยู่เฉยๆ   ไม่ได้แล้ว    ต้องออกมาให้ความคิดเห็น...

ยอดๆๆๆ...

คุณ nidnoi ค๊ะ งั้นผู้เขียนขอยื่นใบลาพักผ่อน (เขียนบันทึกสักเดือน ซะแล้วกระมังค๊ะ)

เรื่อง R2R นี้ทางสายสังคมก็ทำอยู่เหมือนกันค่ะ เช่น ที่ คณะวจก. จะมีงานวิจัยที่ทางสายสนับสนุนทำขึ้นเพื่องานด้านการพัฒนาวินัยนักศึกษา หรือ เพื่อศึกษาคุณสมบัติของนศ.ที่ผู้ว่าจ้างต้องการ เป็นต้นค่ะ
อ.จันทวรรณ ค๊ะ น่าสนใจค่ะ สำหรับตัวเองเท่าที่ผ่านมาทำเกี่ยวกับ Lab. ก็วิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ ความแตกต่างซึ่งเป็นตัวเลขค่ะ แต่ข้อมูลแบบอาจารย์ก็น่าสนใจค่ะ วันนี้คุยกับคน wawa คิดกันว่าจะนำปัญหาที่พบจากการส่งสิ่งส่งตรวจ มาเขียนยังไงให้เป็นวิจัย ก็อาจจะเป็นวิจัยในเชิงการศึกษา หรือนำปัจจัยมาศึกษาค่ะ ขอบคุณอาจารย์ค่ะ เพราะผู้เขียนพอเริ่มเค้ารางของ Idea อยู่รำไร
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท