มะเร็งปากมดลูก ภัยเงียบของสตรี


มะเร็งปากมดลูก ภัยเงียบของสตรี

      เรื่องมะเร็งปากมดลูกกับความสำเร็จในการผลิตวัคซีนป้องกันนั้น ได้รับความสนใจจากประชาชนมากขึ้น       เนื่องจากเป็นเรื่องใกล้ตัว เปรียบเสมือนภัยเงียบของผู้หญิง

หนังสือพิมพ์ post today ฉบับวันที่ 6 กันยายน 2549 นำเสนอเรื่องนี้ด้วยการจั่วหัวคอลัมน์ ว่า “มะเร็งปากมดลูก ภาวะเร่งด่วน!” จึงนำมาฝากให้อ่านกันค่ะ

 

                    ผู้หญิงไทยเป็นมะเร็งปากมดลูก สูงเป็นอันดับ 1 รองจากมะเร็งเต้านม ผู้หญิงไม่ว่าจะแต่งงานแล้วหรือยังเป็นโสด ล้วนมีโอกาสเป็นได้ทั้งนั้น ก่อนหน้านี้ ความคืบหน้าเกี่ยวกับการรักษาโรคดังกล่าว        สำนักข่าว CNN รายงานข่าวไปทั่วโลกว่า มีการค้นพบวัคซีนป้องกันแล้ว โดยองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ได้ออกมารับรองวัคซีนตัวใหม่ ให้มีผลบังคับใช้ในสหรัฐอเมริกาแล้ว ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน ที่ผ่านมา      การค้นพบดังกล่าวเป็นความหวังใหม่ว่ามะเร็งปากมดลูกจะลดน้อยลงไปจากโลกนี้ ซึ่งในสหรัฐอเมริกาได้มีการประกาศให้เด็กหญิงตั้งแต่ 12 ปี ขึ้นไป    ฉีดวัคซีนป้องกันแล้ว สำหรับเมืองไทย ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการขออนุญาตนำวัคซีนเข้ามาใช้

                   สาเหตุของโรคเกิดจากไวรัสหูด 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งหูดชนิดนี้มีกว่า 100 ชนิด แต่ชนิดที่ตรวจพบจะเป็นชนิด 6, 11 และหูดหงอนไก่ ชนิด 16, 18 ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกสูงถึง 70 เปอร์เซ็นต์    ในชนิดนี้เพศหญิงรับเชื้อมาจากฝ่ายชายผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ โรคนี้จะไม่แสดงอาการในผู้ชาย แต่จะมีผลเมื่อฝ่ายหญิงรับเชื้อ ซึ่งใช้เวลาในการฟักตัวนานถึง 5-10 ปี

คุณผู้หญิงเคยตรวจภายในบ้างไหม...

            คำตอบที่ได้รับส่วนใหญ่คือ ไม่กล้า อาย ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ว่ายังมีผู้หญิงจำนวนมากไม่กล้ามาตรวจภายใน (โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้หญิงไทย 1 แสนคน จะเป็นมะเร็งปากมดลูก 20 คน)      น่าเสียดายที่ไม่เข้ารับการตรวจภายใน ถือเป็นการสูญเสียโอกาสที่จะค้นพบโรคมะเร็งปากมดลูก ในระยะเริ่มแรก และสามารถรักษาให้หายขาดได้

               ศาสตราจารย์นายแพทย์ฮารัลด์ ชัว เฮาเซน (Harald zur Hausen) เป็นบุคคลที่ได้รับรางวัลเจ้าฟ้ามหิดลในปี 2548  จากผลงานที่พิสูจน์ว่า ว่าไวรัสหูด หรือ Human papilloma viruses (HPV) ชนิด 16 และ 18 เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูกในสตรี นำไปสู่การป้องกันและการวินิจฉัยเพื่อรักษามะเร็งปากมดลูก รวมถึงการพัฒนาวัคซีนป้องกันด้วย ส่งผลให้หลายประเทศตระหนักถึงภัยเงียบชนิดนี้และกระตุ้นให้ตื่นตัว  ลดอัตราการเสียชีวิตของสตรีจากมะเร็งขนิดนี้ได้เป็นจำนวนมาก

 ภาพงานพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2548

พิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2548

 อ่านมะเร็งปากมดลูก

 มะเร็งปากมดลูก จาก Thai Lab Online

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย

Siamhealth.net

มะเร็งปากมดลูก โรคที่ป้องกันได้

 

                แม้ว่าขณะนี้เทคโนโลยีการแพทย์ก้าวหน้าขึ้นมากและมีวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกแล้วก็ตาม อนาคตจะทำให้ผู้ป่วยลดลงได้         แต่อย่างไรก็ตาม การนำเข้าวัคซีน หมายถึงค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ดังนั้น ก่อนที่ภัยเงียบชนิดนี้จะคุกคามชีวิต สิ่งสำคัญคือป้องกันตนเองโดยไปตรวจภายใน เพื่อจะได้รู้ตัว และรักษาตั้งแต่ระยะแรก………เพื่อมีชีวิตที่ยืนยาวต่อไป ……….

คำสำคัญ (Tags): #มะเร็งปากมดลูก
หมายเลขบันทึก: 48645เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2006 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท