คำว่า “การคิดนอกกรอบ” มาจากคำภาษาอังกฤษว่า “Lateral Thinking” (บางแห่งใช้คำว่า “การคิดแนวข้าง”) คิดขึ้นโดย "เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน" เพื่อนำไปใช้ให้หมายถึง การแก้ปัญหาโดยวิธีการเชิงสร้างสรรค์ (Lateral thinking was a term coined by Edward de Bono, for the solution of problems through a creative approach.)…คงไม่ลืมนะคะว่า Blog นี้ ใช้เขียนบันทึกที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ภาษาอังกฤษไปด้วยกัน ระหว่างผู้เขียนกับกัลยาณมิตร GotoKnow จึงต้องมีส่วนที่เป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ แทรกอยู่ในบันทึกด้วย
ดร. เดอ โบโน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางจิตวิทยาและสรีรวิทยา จากมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด (แห่งเดียวกันกับที่อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สำเร็จการศึกษา) ปริญญาเอกทางการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ และปริญญาเอกด้านการออกแบบที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย (Dr. de Bono holds an M.A. in psychology and physiology from Oxford, a D. Phil in Medicine, a Ph.D. from Cambridge, a D. Des (Doctor of Design) from the Royal Melbourne Institute of Technology.) ท่านได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำด้านการคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และการสอนทักษะการคิดสร้างสรรค์ เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาแนวคิดและเครื่องมือในการพัฒนาการคิดนอกกรอบ ซึ่งในปัจจุบัน ได้มีการนำไปใช้เพื่อสร้างความสนุกเพลิดเพลินในการเรียนรู้ภาษาด้วย (Edward de Bono is regarded by many as the leading authority in the field of creative thinking, innovation and the direct teaching of thinking as a skill. Edward de Bono is the originator of the concept - and formal tools - of Lateral Thinking, which is now a part of language enjoying.) อาจกล่าวได้ว่า งานด้านการคิดสร้างสรรค์และด้านนวัตกรรมในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา ได้ใช้แนวคิดจากงานของโบโนเป็นฐาน (One may easily say that all the recent (past thirty years) focus on thinking, on creativity and on innovation has taken its lead from Edward de Bono's work.) (http://www.edwarddebono.com/index.php/edward-debono-biography)
ในประเทศไทย ก็มีสถาบันของเอกชน ที่เปิดให้บริการฝึกการคิดนอกกรอบสำหรับเด็กและเยาวชนตามหลักสูตรของโบโน และมีการแปลหนังสือการฝึกคิดนอกกรอบจำหน่าย แต่การคิดชนิดนี้ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก เทคนิคการฝึกคิดของโบโนที่ได้รับความนิยมในการนำไปใช้มากกว่า คือ "การคิดแบบหมวก 6 ใบ คิด 6 แบบ (Six Thinking Hats)" ดังผังมโนทัศน์ข้างล่าง http://www.fuzz2buzz.com/en/mex/mind-map/hand-drawn/154/six-thinking-hats ที่จะเห็นว่า การคิดนอกกรอบ เป็นส่วนหนึ่งของการคิดด้วยหมวกสีเขียวซึ่งเป็นการคิดสร้างสรรค์ คิดหาทางเลือกใหม่ๆ ที่เป็นไปได้ ผู้เขียนได้ให้นักศึกษาปริญญาโทสาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา นำการคิดแบบนี้ไปใช้เป็นกิจกรรมหนึ่งในชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในการทำวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับครูในโรงเรียน ในปี 2548 เป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท ของนักศึกษาที่ผู้เขียนเป็นประธานกรรมการที่ปรึกษา "การคิดแบบหมวก 6 ใบ" เหมาะที่จะนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจร่วมกันในเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน ซับซ้อนอย่างเช่น เรื่องของ "การสร้างความปรองดองในชาติ" เพราะการคิดแบบหมวก 6 ใบมีกติกาว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders) จะต้องคิดด้วยหมวกสีเดียวกัน ไปตามลำดับที่ร่วมกันกำหนด แต่ที่ผ่านมานั้น พอฝ่ายหนึ่งคิดด้วยหมวกสีเหลือง (คิดหาข้อดี : Good Points) อีกฝ่ายกลับคิดด้วยหมวกสีดำ (คิดหาข้อด้อย : Bad Points) พออีกฝ่ายคิดด้วยหมวกสีขาว (คิดตามข้อมูล : Information) อีกฝ่ายกลับคิดด้วยหมวกสีแดง (คิดตามความรู้สึก : Feeling) ...จึงนำมาซึ่งความขัดแย้ง แต่มีหรือที่นักการเมืองจะยอมใช้การคิดแบบนี้...ลิง ค่าง บ่าง ชะนี...เอ๊ย...เสือ สิงห์ กระทิง แรด กันเกือบทั้งนั้น
โดยสรุปแล้ว การคิดนอกกรอบ เป็นความสามารถในการคิดเชิงสร้างสรรค์ (Lateral thinking, is the ability to think creatively.) คือ คิดให้ต่างไปจากความคิดดั้งเดิมในแบบที่เคยคิดกันมาก่อน (leaving behind traditional modes of thought, and throwing away preconceptions.) เพื่อให้บรรลุผลในการแก้ปัญหา เพราะการติดอยู่ในกรอบความคิดแบบเดิมๆ จะทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ดังโจทย์ปัญหาข้างล่าง ที่หลายท่านอาจจะคุ้นเคย
โจทย์ปัญหา : จงลากเส้นตรง 4 เส้น ให้ผ่านทั้ง 9 จุด (ในภาพบนซ้าย) โดยมีเงื่อนไขว่า จะต้องลากทั้ง 4 เส้น ให้ต่อเนื่องกันไปโดยไม่ยกดินสอหรือปากกา (Connect the dots by drawing four straight, continuous lines that pass through each of the nine dots, and never lifting the pencil from the paper.)
โจทย์ปัญหานี้ จะแก้ได้ไม่ยาก หากเพียงแต่ผู้แก้ ได้ใช้วิธีการลากเส้นให้ออกจากกรอบสี่เหลี่ยมที่ถูกกำหนดโดยจุดทั้งเก้า ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่มาของคำว่า "การคิดนอกกรอบ [สี่เหลี่ยม]" (The puzzle is easily solved, but only if you draw the lines outside of the confines of the square area defined by the nine dots themselves. Thus, the phrase “thinking outside the box/square”.)
โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์เรามักจะถูกครอบงำจากประสบการณ์และความคิดในแบบที่เคยคิดมาก่อนโดยไม่รู้ตัว ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนจากพฤติกรรมการแก้โจทย์ปัญหาดังกล่าว อย่างเช่น ในครั้งแรกที่ผู้เขียนเห็นโจทย์ปัญหานี้ ก็จะรับรู้ (Perceive) ว่า จุดทั้ง 9 ถูกวางเรียงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า จึงนำไปสู่ความคิด (Thought) ว่า การลากเส้นตรงทั้ง 4 เส้นต้องลากตามแนวกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า (ทั้งที่โจทย์ก็ไม่ได้มีเงื่อนไขให้ทำเช่นนั้น) พอติดอยู่ในความคิดเช่นนั้นจึงไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะจะลองทำกี่ครั้งๆ ก็จะลากเส้นวนอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมนั่นแหละ (ดังภาพตรงกลาง ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งของการแก้โจทย์ปัญหา ที่ไแก้ได้ไม่ถูกต้อง เพราะมีส่วนที่ผิดไปจากเงื่อนไข นั่นคือ ลากเส้นตรง 4 เส้นแบบต่อเนื่องกันไปโดยไม่ยกปากกาตามเงื่อนไข แต่ผ่านเพียง 8 จุด ไม่ครบ 9 จุดตามข้อกำหนด) เมื่อผู้เขียนให้นักศึกษาทุกระดับการศึกษาแก้โจทย์ปัญหาดังกล่าว ทุกคนก็จะติดอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมเช่นเดียวกัน เลยทำให้ไม่มีใครสามารถแก้ปัญหาได้ สิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าวนำไปสู่คำพูดที่ว่า "If you always think the way you always thought, you’ll always get what you always got–the same old ideas.” (ถ้าคุณยังคิดในแบบเดิมๆ ที่คุณเคยคิด คุณก็จะได้รับผลของการคิดในแบบเดิมๆ ที่คุณเคยได้รับ)...ท่านที่สนใจสามารถศึกษาเกี่ยวกับการคิดนอกกรอบเพิ่มเติมได้ที่ Links ข้างล่างนะคะ
http://www.lifepositive.com/mind/personal-growth/personal-growth/lateral.asp; http://blog.commlabindia.com/elearning/vertical-vs-lateral; http://www.kent.ac.uk/careers/sk/lateral.htm; http://emptyspace8.wordpress.com/2009/07/11/lateral-thinking-research/
จากที่กล่าวมา การเตรียมเยาวชนสู่ประชาคมอาเซียน ด้านอาเซียนศึกษา หรือการให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับประเทศสมาชิก ASEAN ในรูปแบบที่หน่วยงานต่างๆ ได้ดำเนินการไปนั้น (การขึ้นป้ายแสดงข้อมูลและปักธงของประเทศสมาชิก ASEAN) ไม่ทราบว่า จะเป็นลักษณะของการติดอยู่ในกรอบความคิดเดิมๆ ซึ่งไม่นำไปสู่การสร้างความเข้าใจให้กับเยาวชนและคนในสังคม เกี่ยวกับประเทศสมาชิก ASEAN หรือไม่ เพราะอย่างที่รู้ๆ กันว่า คนไทยไม่ชอบอ่าน ดังข้อมูลที่สื่อมวลชนได้นำเสนอไปเมื่อสัปดาห์ก่อนๆ ว่า คนไทยมีสถิติการอ่านหนังสือเฉลี่ย 5 เล่มต่อคนต่อปี (รัฐบาลที่แล้วได้กำหนดให้ปี 2552-2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่านของคนไทย โดยมีเป้าหมายให้เพิ่มสถิติการอ่านเป็นเฉลี่ย 20 เล่มต่อคนต่อปี...ต้องเพิ่มถึง 4 เท่าของปัจจุบัน...ฝันกลางฤดูร้อนไปหรือเปล่าคะ) ในขณะที่ประเทศสมาชิก ASEAN อื่นๆ คือ มาเลเซียและสิงคโปร์ คนของเขาอ่านหนังสือเฉลี่ย 40 เล่มต่อคนต่อปี (มากกว่า การอ่านของคนไทยถึง 8 เท่า เรื่องอย่างนี้แหละที่ผู้ใหญ่ไทยต้องตระหนักถึงปัญหา และนำไปวางแผนและดำเนินการในการเตรียมเยาวชนสู่ประชาคมอาเซียน) และประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น อ่านเฉลี่ย 60 เล่มต่อคนต่อปี เมื่อคนไทยมีพฤติกรรมไม่ชอบอ่านดังกล่าว การที่จะหวังให้คนเดินไปอ่านในที่ๆ อ่านไม่สะดวก เช่น อ่านจากป้ายที่ติดตั้งในแนวรั้วกลางแดด (สพม.อุบลฯ อำนาจฯ ที่ให้ข้อมูลชื่อประเทศ สกุลเงิน จำนวนประชากร ภาษาที่ใช้ และระบอบการปกครอง) และที่ติดตั้งตามทางเดินเท้าเข้ามหาวิทยาลัย โดยมีรายละเอียดในป้ายเยอะมาก (มรภ.อุบลฯ) ดัง 3 ภาพข้างล่างนั้น จะหวังได้ถึง 5 % ไหมคะ (รายละเอียดว่าด้วยการเตรียมเยาวชนสู่ประชาคมอาเซียนจะกล่าวถึงในบันทึกตอนต่อไปค่ะ)
การคิดนอกกรอบนั้น นอกจากจะใช้ประโยชน์ในด้านการคิดแก้ปัญหาแล้ว ยังก่อให้เกิดการคิดริเริ่ม (Original Thinking) ใหม่ๆ ซึ่งมีทั้งที่เป็นแบบใหม่ถอดด้าม และใหม่ดัดแปลง (ซึ่งแบบหลังนี่ คนไทยเราถนัดมาก ดังจะเห็นได้จากการแต่งเพลงแปลง และการแสดงละครตลกล้อเลียนละครที่กำลังออกอากาศในแต่ละช่วงเวลา) ณ ที่นี้จะยกตัวอย่างการแต่งเพลงแปลงแบบง่ายๆ น่ารักๆ สมัยที่ผู้เขียนริเริ่มก่อตั้งโปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัยในปีการศึกษา 2538 ที่สถาบันราชภัฏอุบลฯ จะมีเพลงเด็กปฐมวัย ซึ่งเพลงต้นฉบับคือเพลง "แน่ะฟังฟ้าลั่น" ซึ่งมีเนื้อร้อง ดังนี้
แน่ะฟังฟ้าลั่น แน่ะฟังฟ้าลั่น ได้ยินไหม ได้ยินไหม เสียงฝนตกดังเปาะแปะ เสียงฝนตกดังเปาะแปะ เราเปียกปอน เราเปียกปอน
แล้วก็ได้มีผู้ดัดแปลงเป็น "เพลงนับเลข" โดยมีเนื้อร้อง ดังนี้
หนึ่ง สอง สาม สี่ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด ห้า หก เจ็ด อีกทั้งแปด และเก้า สิบ อีกทั้งแปด และเก้า สิบ นับอีกที นับอีกที
มีการดัดแปลงเป็น "เพลงผลไม้ (ภาษาไทย)" โดยมีเนื้อร้อง ดังนี้
สับปะรด เงาะ ส้ม สับปะรด เงาะ ส้ม กล้วยใบโต กล้วยใบโต โอ้โฮ! ลิ้นจี่ ดูซีฝรั่ง โอ้โฮ! ลิ้นจี่ดูซีฝรั่ง เราชอบกิน เราชอบกิน
และดัดแปลงเป็น "เพลงผลไม้ (ภาษาอังกฤษ)" โดยมีเนื้อร้อง ดังนี้
Orange, rambutan; orange, rambutan, pineapple, pineapple; guava, litchi, and banana; guava, litchi, and banana; We eat all. We eat all.
(ขออภัยค่ะ เงาะ ในภาพพิมพ์ผิดเป็น Ranbutan ที่จริงต้องเป็น Rambutan นะคะ) ถ้าครูจะทำสื่อที่มีภาพผลไม้และชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษประกอบ (ดังภาพข้างล่างที่ผู้เขียนสืบค้นภาพผลไม้แต่ละชนิดทางอินเทอร์เน็ตแล้วนำมาประกอบเป็นแผ่นภาพ) เพื่อใช้ชี้ประกอบเวลาร้องเพลงผลไม้ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ก็จะช่วยให้นักเรียนจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษได้ (และเขียนคำว่า "สับปะรด" ได้ถูกต้อง...คนมักจะเขียนผิด) และเพื่อให้มีการใช้สื่อนี้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น ก็สามารถนำไปใช้ประกอบการสนทนาเรื่อง "My Favorit Fruit" ในระดับประถมศึกษาได้ดังบทสนทนาข้างล่าง โดยให้นักเรียนจับคู่ผลัดกันถาม-ตอบ (บทสนทนานี้ นำไปใช้สนทนากับชาวต่างชาติได้ดีด้วยนะคะ)
Q : What's your favorit (kind of) fruit? (ผลไม้โปรดของเธอคืออะไร เธอชอบผลไม้ชนิดไหน)
A : My favorite fruit is........หรือ I like...........(ตามด้วยคำเรียกชื่อผลไม้ที่ชอบ)
วันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา เป็นวันคุ้มครองโลก (Earth Day) Seven Eleven ได้เปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมที่จะส่งผลถึงการช่วยคุ้มครองโลก (สมัครได้ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2555) โดยประชาสัมพันธ์ไว้ว่า "เชิญชวนร่วมประกวด วัดกึ๋น โชว์ไอเดียเจ๋งๆ ว่าถุงพลาสติกของใคร ทำเป็นอะไร เปลี่ยนเป็นแบบไหน ใช้ในชีวิตจริงได้ ในแบบที่รักษ์โลก ภายใต้แนวคิด 3Rs ลด ใช้ซ้ำ ทำใหม่ (Reduce, Reuse, Recycle) เพียงตอบคำถามง่ายๆ 3 ข้อ ผู้ผ่านรอบแรกจะได้เข้าร่วม Workshop 1 คืน 2 วัน พัฒนาไอเดียเพื่อทำเป็นคลิปวีดีโอสั้น" (ดูรายละเอียดได้ที่ http://kidtoong.cpall.co.th/) ...คำว่า "ถุ๊ง" เขียนผิดหลักภาษานะคะ เพราะอักษรสูง (ถ)ใช้กับวรรณยุกต์ตรีไม่ได้ ต้องใช้อักษรต่ำคือ "ท" แทน คือ ต้องเขียนเป็น "ทุ้ง" เรื่องวรรณยุกต์นี้ คนไทยใช้ผิดกันมาก แม้แต่ใน GotoKnow ของเรา ก็มักจะเขียนผิดเป็น "นะค่ะ" ที่ถูกต้อง ต้องไม่ใส่วรรณยุกต์เอก คือ ต้องเขียน "นะคะ" เช่น อย่าลืมนะคะ แต่ที่ต้องใส่คือ ไม่ลืมหรอกค่ะ
...ผู้ที่มีการคิดแบบนอกกรอบจะสามารถแสดงแนวคิดแปลกใหม่ในงานประกวดนี้ได้...
ผู้เขียนเอง เคยทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการพัฒนาหลักสูตร รายวิชา "การพัฒนาทักษะการคิด" ในระดับปริญญาตรี ได้รับผิดชอบสอน (จัดการเรียนรู้) และได้พัฒนาเอกสารการเรียนรู้ในรายวิชาดังกล่าว ดังเล่มล่าสุด ปี 2552 (ภาพล่างซ้าย) เป็นกรรมการ ประธานกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา ที่ทำวิจัยเกี่ยวกับการสร้างแบบวัดการคิด และการพัฒนาการคิดแบบต่างๆ ให้กับผู้เรียน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิตรวจประเมินเครื่องมือวิจัยทางการคิด และเป็นวิทยากรด้านการพัฒนาการคิดชนิดต่างๆ แต่ยังไม่เคยเขียนบันทึกใน GotoKnow เกี่ยวกับการคิดโดยตรง เพิ่งเขียนครั้งนี้เป็นเรื่องแรก จึงใคร่ขอเชิญชวนให้กัลยาณมิตรที่เข้ามาอ่าน มีส่วนร่วมโดยแจ้งว่า เมื่อท่านเห็นรูปสามเหลี่ยม (ดังภาพล่างขวา) ท่านนึกถึงอะไรเป็นสิ่งแรก ขอขอบพระคุณในความร่วมมือ (เป็นการร่วมสนุกเล็กๆ น้อยๆ โดยไม่ต้องกังวลนะคะว่า คำตอบของท่านจะผิด เพราะว่าไม่มีคำตอบที่ถูกหรือที่ผิด คำตอบจะเป็นไปตามจินตนาการของแต่ละท่านค่ะ ที่สำคัญคือ ต้องตอบภาพที่ผุดขึ้นมาในความคิดเป็นภาพแรกนะคะ)
เนื่องจากข้อมูลย้อนกลับ (Feeback) ที่ผู้เขียนได้รับจากการติดตามการมีส่วนร่วมของกัลยาณมิตรพบว่า มีบางท่านที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในกติกาการร่วมกิจกรรม ทั้งนี้เพราะผู้เขียนไม่ได้อธิบายไว้ให้ชัดเจน จึงขอเพิ่มเติมคำอธิบายพร้อมตัวอย่าง ดังนี้นะคะ
เดี๋ยวจะกลับมาตอบค่ะอาจารย์
คิดในกรอบ(รูปธรรม) : ภาพ ปิรามิด
คิดนอกกรอบ(นามธรรม) : พลังสามประสานสู่ความสำเร็จ..(ให้น้องผศ.วิไลลองทายดูว่า พลังทั้งสามคืออะไรคะ?)..
ก่อนฝันดีค่ะอาจารย์แม่
คิดนอกกรอบ ตอบโจทย์ชีวิต ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณ "คุณชลัญธร" มากค่ะที่เข้ามาอ่านและให้กำลังใจ
จะรอคำตอบนะคะ
ขอบพระคุณค่ะ "พี่ใหญ่" ที่มาเป็นกำลังใจให้น้องเสมอ
คำตอบที่ว่าเห็นเป็น "ปีรามิด"
คงเป็นภาพแรกที่เห็นนะคะ (จะคุยทีหลังค่ะ) ส่วนที่พี่ใหญ่ให้ทายว่า
"พลังสามประสานสู่ความสำเร็จ"
(ที่พี่ใหญ่มองเห็นในเชิงนามธรรม) มีอะไรบ้าง
คำตอบอาจมีหลายแนวคิดนะคะ แต่ถ้าตามแนวคิดทางจิตวิทยา
จะเป็น 1) ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ :
Emotional Quotient) 2) ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา (IQ :
Intelligent Quotient) และ 3)
ความฉลาดในการเผชิญปัญหาและอุปสรรค (AQ : Adversity
Quotient) ค่ะ
ถ้าพี่ใหญ่มีคำตอบเป็นอย่างอื่น กรุณาชี้แนะด้วยนะคะ ขอบพระคุณค่ะ
พี่ใหญ่ก็เป็นนักกิจกรรมเหมือนกันนะคะ มีปัญหามาให้แก้ด้วย ที่น้องตอบไปนั้นเป็นการคิดในกรอบนะคะ หวังว่าจะไม่ใช่ปัญหาที่ให้ตอบแบบคิดนอกกรอบนะคะ
กลับมาตอบแล้วค่ะอาจารย์ ชลัญคิดถึง 2 อย่างคือ อย่างแรก ในมุมมองของการทำงานอาชีพพยาบาล ที่ ต้องดูแลผู้ป่วยให้ครอบคลุมทั้ง 3 อย่าง กาย จิต/จิตวิญญาณ และสังคม จะถือว่าเป็นการดูแลแบบองค์รวมค่ะ
อีกอย่างที่ชลัญคิด คือเกมส์ สามเหลี่ยมพิศวง ที่เพื่อนมันเอามาทายให้ชลัญหาคำตอบ ด้วยสมองที่ไม่ค่อยได้ใช้งานคิดไม่ออกจนทุกวันนี้ เพื่อนเป็นวิศวะ มันมักจะโทรมาถากถางเจ็บใจอย่างแรง ตอนแรกถอดใจแล้ว เห็นสามเหลี่ยมอาจารย์นึกขึ้นมาได้ ใครตอบได้ช่วยบอกชลัญให้หายโง่หน่อย
ให้ใส่เลข 1-6 ลงในวงกลมโดยเลขไม่ซ้ำกัน และให้ผลรวมเท่ากันทุกด้าน ฮือ ...... ใครรู้ช่วยให้หายโง่หน่อยยอมแพ้ ใน GTK แต่ไม่ยอมแพ้เพื่อน
ได้ความรู้ การคิดนอกกรอบ แต่ยังคิดไม่ออก แต่คิดถึง "ความเหมือนที่แตกต่างกัน"
ขอบคุณ "หนูปูน้องน้ำหรือน้องฟ้า (ดีน้า) กับนายเมฆ"
นะคะ ที่เข้ามาให้กำลังใจทักทายพูดคุยกับอาจารย์แม่
ขอบคุณทั้งกำลังใจและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์/การเสนอประเด็นปัญหาจาก "อาจารย์หมอป." ค่ะ
คงต้องใช้เวลายาวในการพูดคุย จึงขอชะลอไว้ก่อนนะคะ จะกลับเข้ามาคุยใหม่ในตอนหลังค่ะ เพราะวันนี้เดี๋ยวต้องเตรียมตัวทำหน้าที่ให้บริการขับรถรับ-ส่งคนไข้ (พ่อใหญ่สอ) ที่ต้องไปรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลค่ะ และต้องทำเอกสารการอบรมครูที่ต้องทำให้เสร็จในวันนี้ค่ะ
ขอบคุณสำหรับคำตอบภาพแรกที่มองเห็นนะคะ "...สามเหลี่ยม คือสามเหลี่ยมนั่นแหละ เป็นสัญลักษณ์ ต่างๆ"different" ในโจทย์คณิตศาสตร์ ..." ขอบคุณที่ให้คำตอบที่เป็นไปตามเงื่อนไข จะแปลผลให้ฟังทีหลังนะคะ
การที่ท่านบอกว่า "ได้ความรู้ การคิดนอกกรอบ แต่ยังคิดไม่ออก แต่คิดถึง
"ความเหมือนที่แตกต่างกัน" แสดงว่า ท่านพยายามคิดหาคำตอบนะคะ
ซึ่งจริงๆแล้วกิจกรรมนี้ไม่ได้ให้หาคำตอบนะคะ
แต่ให้รายงานการรับรู้ ปกติแล้วกลไกด้านการรับรู้ของคนเราจะเร็วมาก
เริ่มจากตามองเห็นภาพ (การสัมผัส : Sensing)
แล้วส่งภาพที่มองเห็นไปให้สมองแปลความหมายว่าเป็นภาพอะไร (Perceiving)
ซึ่งจะใช้เวลาเพียง 0.5-ไม่เกิน 30 วินาทีเท่านั้น
อย่างเช่นที่ "อาจารย์หมอป." รายงานว่า มองเห็นเป็น "รูปสามเหลี่ยม
สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์" และที่ "พี่ใหญ่
" รายงานว่า เห็นเป็น "ปีรามิด" นั่นแหละค่ะ
ที่เป็นไปตามกติกา คือ เป็นรายงานการรับรู้แรกซึ่งน่าจะใช้เวลาไม่เกิน
30 วินาที ถ้าใช้เวลาเกินไปจากนั้นจะกลายเป็นความคิดไปแล้ว ล่ะค่ะ
ไม่ใช่การรับรู้
อ๊ะอ๊ะ! "คุณชลัญธร" ผิดกติกาแล้วนะคะ
กติกาคือให้รายงานการรับรู้ภาพตามที่ตามองเห็นในครั้งแรก
ซึ่งปกติจะใช้เวลาไม่เกิน 30 วินาที
แต่คุณชลัญธรเล่นใช้เวลาหลายชั่วโมง
คำตอบที่ให้มาจึงได้มาจากความคิดไม่ใช่การรับรู้
(แต่ก็ชื่นชมในการมีแรงจูงใจสูงในการร่วมกิจกรรมค่ะ)
โจทย์ปัญหาของ "เพื่อนวิดวะ" ของคุณชลัญธร นั้น เป็นตัวอย่างที่ดีตัวอย่างหนึ่งของโจทย์ปัญหาที่ต้องหาคำตอบโดยใช้ "เทคนิควิธีการคิดนอกกรอบ" ที่คุณชลัญธรยังหาคำตอบไม่ได้ก็เพราะใช้วิธีการคิดในกรอบ ลองเปลี่ยนไปใช้วิธีการคิดแบบใหม่ดูนะคะแล้วจะหาคำตอบได้ อย่าลืมนะคะ ว่า "If you always think the way you always thought, you’ll always get what you always got–the same old ideas.” (ถ้าคุณยังคิดในแบบเดิมๆ ที่เคยคิด คุณก็จะได้รับผลของการคิดในแบบเดิมๆ ที่คุณเคยได้รับ) นั่นก็คือการคิดแก้ปัญหาแบบถูกกักขังครอบงำอยู่ในกรอบเลยทำให้แก้ปัญหาไม่ได้ นั่นเองค่ะ แก้โจทย์ได้แล้วรายงานด้วยนะคะ จะมีรางวัลสำหรับการคิดนอกกรอบเพื่อแก้ปัญหาได้สำเร็จ
อาจารย์ไม่ได้คิดนานขนาดนั้หรอกค่ะพอดีกำลังจะตอบคุณสามีเรียกกลับบ้านก็เลยบันทึกไม่ทันดีใจค่ะที่ได้ร่วมคิด
สวัสดีค่ะ
เย้ๆๆๆๆๆๆๆๆ .....ขอบคุณค่ะอาจารย์ที่ชี้แนะ ....คิดออกแล้ว .....แต่ยังไม่มีเวลา post
ตามมาให้กำลังใจและรอฟังผลค่ะ และอาจารย์สรศักด์เป็นอย่างไรบ้างค่ะ
สวัสดีค่ะคุณพี่ที่ร๊าก(s)มาก(s)มาย
อ่านไปอ่านมาตาหมุนตื้ว จากโจทย์จุด 9 จุด
วางเรียงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลากเป็นสี่เหลียม ลากเส้นตัด /
ตัดออกเป็นสามเหลี่ยม มุมฉาก 2 สามเหลี่ยม
วกกลับเอาสองสามเหลี่ยมมาต่อติดกันก็กลับเป็นสี่เหลียมดังเดิม
หรือถ้าลากเส้นแบบ X ตัดสี่เหลี่ยมก็จะได้สามเหลี่ยม 4 สามเหลี่ยม
วกกลับต่อติดเป็นสี่เหลี่ยมดังเดิม เอายางลบมาลบเส้นออก
อุ๊ยตายว๊ายกรี๊ดคุณจุดๆก็หายไปโหม๊ด เหลือเพียงความว่างเปล่า
อนัตตาสาธุ
แต่ถ้าให้จุดไม่หายต้องจุดด้วยปากกาอะจิแล้วลากเส้นด้วยดินสอนะจ๊ะอิอิแล้วโจทย์จุดเก้าจุดก็ยังคงเหลือไว้ให้เวียนศีรษะเล่นกันต่อไปในอาเซี่ยนกร๊าก
มาแบบเขียดในกะลาจะถูกท่านพี่บี้ตายหยังเขียดก็คราวนี้แหละ..เอิ๊ก
กวนคนชราวันละนิดจิตเบิกบาน555
เห็นสามเหลี่ยมมหัศจรรย์ที่อาจจะทำให้คนไทยกลายพันธ์
แว็กท่านพี่มา...โกยดีกว่าเรา555 ก่อนไปขอจูจุฟก่อนสองฟอดนะคะคุณพี่ขา ชะแว๊บ---------------------------->
ดีใจมากค่่ะ ที่ "ท่านศน.ลำดวน" แวะมาอ่าน
ให้กำลังใจและยังร่วมกิจกรรมด้วย ขอบคุณมากนะคะ
ตกลงว่าเมื่อเห็นรูปสามเหลี่ยม ท่านศน. "คิดถึงความเท่าเทียมสมดุลกัน" นะคะ (ในพจนานุกรมคำว่าสมดุลไม่มีย.การันต์ค่ะ คำที่เราไม่ค่อยได้เขียนอาจจะเขียนผิดได้ จึงต้องใช้พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานประกอบการเขียนทุกครั้งค่ะ เพื่อใช้ตรวจสอบคำที่ไม่แน่ใจ)
ท่านศน.บอกว่ารูปสามเหลี่ยมเป็นรูปที่ชอบเขียนเวลาเผลอ ถ้าหาสาเหตุไม่ได้ก็จะเหมือนกับดิฉันเอง ที่มีอยู่พักหนึ่งที่เผลอๆ จะเขียนตัวพยัญชนะ "น" ทุกครั้ง ซึ่งก็หาที่ไปที่มาไม่ได้ค่ะ จึงสรุปว่า เป็นจิตไร้สำนึก (Unconscious) ที่อยู่ในอาณาเขตอวิชชา (Unknown Area) ของ Johari Window ซึ่งเป็นพฤติกรรมของเราที่ทั้งตัวเราเองและคนอื่นไม่เข้าใจค่ะ
ขอโทษท่านอาจารย์นะค่ะที่มาตอบอาจารย์หลังจากลงบันทึกของตัวเองเนื่องจากรู้สึกว่าอยากเก้บันทึกนี้ไว้ ดีใจอย่างแรงที่คิดออก แถมคิดได้เกินเพื่อน ขอบคุณ link ที่ให้ไว้ชอบมากค่ะ การคิดนอกกรอบนี่ทำให้เราได้คำตอบอะไรหลายๆอย่างที่เป็นประโยชน์ ชลัญ จะพยายามพัฒนาต่อไปค่ะ
ว่าแต่ว่า ท่านอาจารย์ "คนถางทาง" ตอนนี้จะรู้สึกคันยิกยิก หรือเปล่าน้อ เพราะเราพาดพิงท่าน อิ อิ อิ
แบบที่ 1
แบบที่ 2
ขอบคุณท่านอาจารย์อีกครั้งที่ชี้แนะ
เย้ๆๆๆได้อีกคำตอบเดี๋ยวมา post นะค่ะอาจารย์ เพื่อนวิดวะมันยังตอบไม่ได้เลย 5555 ซะใจ
ชอบมากบันทึกนี้
เรียน ผศ.วิไล คงต้องขออนุญาตท่าน Save ไว้อ่านที่ Mydoc แต่ความรู้ที่ท่านให้ไว้มากมายจริงๆครับ
ได้รางวัลแล้วก็เขียนบันทึกตามปกติครับอาจารย์แม่ น้องตูลกำลังส่งเสื้อไปให้ครับ
น้องเอ๋คุยธรรมมะด้วย 555 ขอให้อาจารย์แม่มีความสุขกับการทำงานครับ...
เมื่อคืนลูกเอ๋โทรฯ คุยด้วย คุยเรื่องลางสังหรณ์จิตนิวรณ์อะไร
ประมาณนี้ และบอกว่า "ดร.ขจิต" ไปบอกใน facebook ว่าแม่ได้รางวัล
อาจารย์แม่ไม่ได้เข้าไปใน FB เลย อยู่แต่ใน GTK
ช่วงประมาณสิบโมงวันนี้ อาจารย์แม่ก็เจออาจารย์ใหม่ที่เป็นเขยคณะครุศาสตร์ ได้สอบถามเรื่องที่ภรรยา (อาจารย์สอนภาษาอังกฤษในคณะ) จะไปเรียนต่อ บอกว่าจะไปเรียนที่ม.เกษตรฯ กำแพงแสน เลยบอกเขาไปว่าอาจารย์แม่มีลูกรักอยู่ที่ี่นั่นชื่อดร.ขจิต ฝอยทอง อาจารย์ที่จะมาเรียนชื่อสิริสุดา ทองเฉลิมค่ะ
และก่อนที่จะมาเปิดดู Blog ของตนเอง ก็ไปคุยในบันทึกของดร.จันทวรรณ เชิญชวนให้กัลยาณมิตรแยก Blog ตามขอบข่ายของเรื่องที่เขียน และขออนุญาตยกตัวอย่างว่าลูกขจิตสร้าง Blog เดียว ครั้งแรกที่อาจารย์แม่สมัครรับ Blog ลูกขจิตเขียนเกี่ยวกับบวบลูกยาว ก็เลยนำ Blog ไปเข้าใน Plannet "Green Agriculture" ตอนหลังเลยมีทั้งเรื่องค่ายภาษาอังกฤษ และจิตสาธารณะอยู่ใน Plannet เกษตรค่ะ
ที่ม.อาจารย์แม่ อาจารย์ไม่ได้ปิดภาคเรียนนะคะ ต้องเซ็นชื่อทำงานจันทร์-ศุกร์ตลอด และศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ นี้ กลุ่มจิตวิทยาฯ ก็มีอบรมค่ะ อาจารย์แม่เป็นวิทยากรครึ่งวันบ่ายพรุ่งนี้และวันอาทิตย์เต็มวันค่ะ
เวลาพักของอาจารย์แม่ก็คือขณะเดินทางค่ะ เช่น เดินทางโดยรถไฟ แต่พอเข้าไปในตู้นนอนอาจารย์แม่ก็มิวายจะหิ้ว Notebook ทำงานก่อนนอนกับไฟสลัวๆ ต้องขึ้นเครื่องถึงไม่ได้ทำค่ะ
อาจารย์แม่ยังไม่รู้เลยนะคะ ว่าที่ได้รางวัลนั้นอาจารญ์แม่จะต้องทำยังไงบ้าง และขอบคุณสำหรับเสื้อที่จะส่งไปให้นะคะฝากขอบคุณน้องตูลด้วย
การคิดแนวข้างเป็นส่วนหนึ่งของการคิดแบบหมวกหกใบแทรกอยู่ในหมวกสีเขียวค่ะ
ที่อุบลฯ ชั่วโมงที่่ผ่านมาฝนตกหนักเลยค่ะ ฟ้าร้องเปรี้ยงปร้างน่ากลัวมาก ตอนนี้ฟ้าก็ยังร้องครืนๆ และมีฝนริน
ต้องขออภัยท่านอื่นด้วยนะคะ ที่กด end เลยนึกว่ามีเฉพาะลูกขจิตที่อาจารย์แม่ยังไม่ได้ตอบ
ขอโทษค่ะที่มาตอบช้าคิดว่าอาจารย์ไม่รอแล่นะนี่ เพื่อนวิดวะมันตอบได้แค่ คำตอบเดียวเอง ชลัญ ตอบได้มากกว่า ปกตินิสัย ชลัญ จะเป็นเด็ก hyper อยากรู้อะไรต้องรู้ให้้ได้ อย่าง Joomla ที่คุณ หมอ ป.กำลังศึกษาอยู่ เมื่อ 2 ปีก่อน ชลัญ ถึงขั้นบ้าเลยล่ะค่ะ เพราะต้องศึกษาเองไม่มีใครอนุญาตให้ไปอบรมเพราะเป็นพยาบาล ก็อ่านหนังสือ ศึกษาจาก net อาจารย์ที่ปรึกษาก็ไม่มี จนได้ web รพ.พิมายมา 1 web http://www.pmh.go.th แต่ปัจจุบันใหโปรแกรมเมอร์ทำเพราะกำลังบ้าวิจัย แล้วก็ web เล่นๆ อีก 2-3 web แต่ตอนนี้เบื่อแล้ว เรียกว่ารู้แล้วเบื่อว่างั้นค่ะ อาจจะเหมือนเด็กสมาธิสั้น จะต่างตรงเด็กสมาธิสั้นมักทำงานไม่สำเร็จ แต่ชลัญ ต้องสำเร็จถึงเลิกไปทำอย่างอื่น อย่างวิจัยเขาบอกยาก ชลัญก็เอ้ายากแค่ไหนลองทำ จบแค่ ป. ตรี ไม่มีโอกาสเรียนโท เพราะโรคประจำตัวค่ะ แต่ชลัญคิดว่าชลัญทำได้ 2 ปี ได้วิจัยเล็กๆ 4 เรื่อง ก็เรียกว่าไม่กระจอกเท่าไรเพราะได้ไปนำเสนอโน่นนี่นั่นอยู่ แต่ก็รู้สึกท้อตรงทำวิจัยไม่มีที่ปรึกษานี่ยากพอควร ชลัญไม่ได้เรียนต่อสูงก็ไม่ได้รู้จักอาจารย์มากพอจะมาขอให้เป็นที่ปรึกษาน่ะค่ะ อีกอย่างเวลาทำวิจัยที ใช้งบตัวเองทั้งนั้น ไม่มีเงินจ่ายค่าที่ปรึกษา นี่ดีหน่องใช้ spss เป็น stat พอได้ ก็เลยทำเล่นสนุกๆค่ะตอนนี้กำลังจับอยู่อีก 2 เรื่อง สิ้นปี น่าจะเสร็จ เป็นแค่วิจัย r2rน่ะค่ะ
เพ้อเจ้อให้อาจารย์ฟังซะยืดยาว ตอบเพิ่มอีก 2 คำตอบค่ะ
ขอโทษด้วยนะคะลูกสาวกวนสมาธิอาจมีพิมพ์ผิดบ้างคงต้องแปลไทย เป็นไทยแล้วล่ะค่ะ
"If you always think the way you always thought, you’ll always get what you always got”
ขอบคุณมากนะครับ
555ลิงหลอกเจ้าน่ะยังน้อยไปนะเจ้าคะท่านพี่ ในโลกออนไลน์นี่น้องวิ่งไปวิ่งมาในชื่อของวิญญาณอยู่หลายที่ ยังมีอีกนะคะนางมารหน้าดำ ผีน้อยผมขาว อะไรประมาณนี้
แหะๆถ้าพิมพ์ไม่ผิดน่ะต้องยกให้ท่านพี่แล้วล่ะพะคะ ส่วนข้าเจ้าน่ะตีให้ตายก็พิมพ์ผิดอยู่นั่นแหละท่านพี่ขาสองขาสามขาอิอิ เรื่องพิสูจน์พิแสดอักษรอักสานอะไรนี่คงยากส์มากแล้วล่ะค่ะเพราะจากสองตากลายเป็นสี่ตาและได้เจ้าแว่นที่ไปลากมาจากร้านก็หนักมากค่ะวางบนดั้งนี่ดั้งแทบทรุดลงไปกองอยู่ตรงปากเลย555จะโยนทิ้งก็เสียดายเหอๆๆ
***... ขอบคุณนะคะ สำหรับ " บันทึกสร้างสรรค์ ....ที่ช่วยขยายความคิดออกไปนอกกรอบได้อย่างมากมาย
" เป็นประโยชน์จริงๆค่ะ...***
ชลัญเป็นแบบมนุษย์ประหลาดห้ามลอกเรียนแบบ น่ะค่ะ สมัยเป็นนักศึกษา นั้น เวลาขึ้นฝึกปฏิบัติงานในตึกผู้ป่วย นั้น จะต้องรับผิดชอบผู้ป่วย ไว้ในการดุแล เพื่อนๆส่วนใหญ่ เขาจะเลือกคนไข้ไม่หนักมากเพราะเขากลัวการดูแลผู้ป่วย แต่สำหรับชลัญ Case นั้นต้องมีเฟอร์นิเจอร์ครบ ทั้งน้ำเกลือ ให้เลือด ท่อช่วยหายใจ เจาะปอด แผล สวนปัสสาวะ ถ้าไม่หนักไม่สมศักดิ์ศรีชลัญ แต่คุ้มนะค่ะเพราะเวลาที่มีอะไรให้ศึกษามากนี่ มันไม่ต้องศึกษาหลายครั้งเรียกว่า รายเดียวจบ เวลาสอบ เพื่อนเขาอ่าหนังสือสอบชลัญ เล่นเกมส์ในคอม เขาเครียดกันหน้าห้องสอบ ชลัญนั่งร้องเพลงสบายใจ ก็มันศึกษาจาก case หมดแล้วเราเข้าใจก็ไม่ต้องอ่านมาก เพราะปกติชลัญขี้เกียจอ่านหนังสือ
แต่ยังไงต้องกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ มากค่ะ ให้เกียรติชลัญมาก นานๆเพิ่งมีคนยกให้เป็น idol เขิน จัง ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ
สวัสดีค่ะอาจารย์ แนวคิดในบันทึกนี ได้นำไปใช้ในงานห้องสมุดที่ได้รับมอบหมาย ทันทีที่อ่านจบเลยค่ะ การคิดนอกกรอบ จะเกิดความแปลกใหม่ที่พลิกผันกรอบเดิมๆที่มี กิจกรรมส่งเสริมการอ่านงานห้องสมุดที่คิดไว้อันดับแรก คือต้องให้ความรู้อาเซียนก่อน แล่วระดมความคิดนักเรียนให้ออกมาในรูปแบบการ REVIEW หนังสือ ห้องสมุดต้องมีส่วนสำคัญในการช่วยส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้กับเด็กๆ ใช้สื่อสิ่งพิมพ์อย่างเดียวก็จะเจออุปสรรค เรื่องการไม่มีนิสัยรักการอ่าน คงต้องคิดสื่อบริบท สื่อการแสดงเพี่อให้สอดคล้องกับบางวิถีไทย ที่แก้ไข และสร้างเสริมแสนจะยาก ก็คงต้องลองหลายๆวิธีนะคะอาจารย์
ขอบพระคุณมากค่ะที่ท่านได้นำการคิดสู่อาเซียนมาแบ่งปัน หนูกำลังเรียนรู้การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แต่ทำยังไงจะนอกกรอบได้อย่างฉลุยน้อๆๆ จะขอแบ่งปันแต่เฟชเป็นของลูกชาย น้องwin นะคะ
สพฐ.จับมือ TK park
เร่งพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตอย่างต่อเนื่อง
หลังมีเด็กเข้ามาใช้ห้องสมุดเพิ่งขึ้นถึง 100%
โดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่ไม่เคยเข้าห้องสมุดมาก่อน นางวีณา อัครธรรม ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.กล่าวว่า การพัฒนาห้องสมุดนั้นมีบทบาทสำคัญต่อการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ที่ต้องการให้คนไทย รักการอ่าน และการเรียนรู้ตลอดชีวิต และห้องสมุด ซึ่งเป็นหัวใจ ที่จะช่วยให้เด็กหันมารักการอ่านได้ รองจากบ้าน โดยครูจะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เด็กอยากอ่านหนังสือและสามารถปลูกฝังให้เด็กรักการอ่านได้ สพฐ.ร่วมมือกับ TK park มาตั้งแต่ปี 255 (?) จนถึงปัจจุบัน เพื่อจุดประกายการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตให้กับโรงเรียน เพราะ TK park ถือเป็นต้นแบบห้องสมุดมีชีวิตที่ทันสมัย |
||||
|
เรียน ผศ.วิไล อย่างว่าแหละท่าน.... สว.มันก็มีหลงๆนะ...อย่าถือสาเลย
อาจารย์แม่สบายดีนะครับ....
เรียนอาจารย์ น้องวิไล ภาพนี้ได้มาจากตลาดน้ำหัวหิน จิตกรนิรนาม รับจ้างวาด
แต่วันนั้นคุยกันหลายเรื่องที่คุยถูกใจมากคือเรื่องวรรณกรรม เรื่อง"ก่อนโลกจะขานรับ"
ให้กำลังใจจิตกรในการทำงาน แล้วท่านก็ อภินันทนาการภาพนี้มา
จึงนำมาเป็นภาพในบันทึก เช่นนี้แล....
เรียนท่าน ผศ.วิไล -เห็นรูปสามเหลี่ยมแล้วสมองสั่งให้คิดถึงโต๊ะสนุกเกอร์ 555 -เมื่อกี้นี้โทรฯถามน้องที่ท่องเที่ยวแล้วว่าเห็นจดหมายผมไหม...เขาตอบว่ามี..แสดงว่าเมล็ดไก่ฟ้ามาแล้วประเดี๋ยวจะไปเอามานะ -ภารกิจท่านมากเหลือเกินนะ....ท่านผศ.สุรศักดิ์ไปกทม.คนเดียวหรือครับ..ใครจะดูแลท่านละ...แล้วผศ.วิไลทำไมไม่ไปเป็นเพื่อน -ไปอุบลฯเที่ยวนี้อดไปเยี่ยมฟาร์มไอดินฯเพราะท่านผศ.ไม่อยู่ -ท่านผศ.วิไลเปิดดูmailบ้างไหม
เรียนท่าน ผศ.วิไล ผมได้รับเมล็ดไก้ฟ้าพญาลอแล้ว.......ขอบคุณครับ