การเตรียมความพร้อมของสาขาบริการสุขภาพเพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ


สวัสดี ลูกศิษย์และชาว Blog ทุกท่าน

         วันพฤหัสบดีที 19 เมษายน 2555 ผมได้รับเกียรติจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ให้เป็นองค์ปาฐกในการสัมมนา เรื่อง การเตรียมความพร้อมของสาขาบริการสุขภาพเพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Communuty) ประมาณ 400 - 500 คน ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ

        ผมจึงขอใช้ Blog ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ

        ภาพบรรยากาศภายในงานครับ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 485530เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2012 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

ความท้าทายของกระทรวงสาธารณสุขต่อประชาคมอาเซียน

โดย ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

วันที่ 19 เมษายน 2555

 

  • ดร.จีระ ได้เน้นว่า ขอให้การเรียนรู้ในวันนี้เป็นการปะทะกันทางความคิด
  • ยกตัวอย่างประเทศไทยที่มีจุดแข็งในเรื่องที่เด่น ๆ 3 เรื่องคือ เรื่องการท่องเที่ยว การเกษตร และ Health Care   โดยเฉพาะเรื่อง Health Care ถือเป็นเรื่องที่ Challenge สำหรับประเทศไทย
  • วันนี้น่าจะมีบางประเด็นที่ทำร่วมกัน และช่วยกันคิด และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน ½ ชั่วโมง
  • อาเซียนเสรีเป็นอะไรที่ไม่แน่ใจ Unknown ดังนั้นสิ่งต้องจัดการให้ได้คือ การจัดการความเปลี่ยนแปลง และสิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือ เราไม่สามารถทายได้   สิ่งสำคัญที่สุดคือการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงให้ได้  ส่วนอีกเรื่องที่สำคัญคือการไม่อวิชา อย่างเช่น ดร.จีระ ไม่ได้เรียนแพทย์ แต่จะศึกษาเรื่องแพทย์ด้วยตนเอง เพิ่มเติม เป็นต้น
  • การจะอยู่ในโลกนี้ได้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของคน  เราควรหันมามองที่จุดแข็งของประเทศไทย  คือควรหันมาดูตัวเองว่ามีคุณสมบัติอย่างไร แล้วถ้าไม่มีก็ไขว่คว้ามาให้ได้
  • ในเรื่อง Health Care น่าจะศึกษาเรื่อง Productivity ของ Health Care เพราะจากประสบการณ์จะเห็นว่าประสิทธิภาพของไทยในเรื่องต่าง ๆ ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เช่น ในภาคการเกษตรแม้เรามีจุดแข็ง แต่ Productivity ยังต่ำอยู่
  • คนคือทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุด แม้ว่าไทยมีทรัพยากรธรรมชาติเหลือเฟือก็ตาม
  • กระทรวงสาธารณสุขต้องเริ่มเปิดโลกทัศน์ให้ Global มากขึ้น ถ้าทัศนคติพร้อมเมื่อไหร่ก็จะไปได้ดี   สิ่งที่อยากให้เสริมสำหรับกระทรวงสาธารณสุขคือ น่าจะมีเรื่อง Human Imagination, creativity และ Innovation ด้วย

วัตถุประสงค์ในวันนี้คือ

  1. สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องอาเซียนเสรี
  2. เปิดโลกทัศน์ให้ทุกท่านเห็นการเปลี่ยนแปลง
  3. สร้างแรงบันดาลใจ มองโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเข้าใจ และสนุกกับการฟังในวันนี้
  4. กระตุ้นให้ทุกท่านค้นหาตัวเองและค้นหาองค์กร ของเรา..ว่าจะปรับตัวกับการเปิดเสรีอาเซียนอย่างไร?

     ฟังและคิดไปด้วย ต้องพร้อมที่จะปรับตัวให้ทันเหตุการณ์

  1. แสวงหาโอกาสใหม่ที่จะเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน มองการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ สร้างเครือข่าย (Networks)
  2. ลดปัจจัยทางลบที่จะเกิดขึ้นกับ Health Careในอนาคต
  3. มีการแบ่งกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
  4. เนื่องจากบุคลากรใน Health Sector มีมากมาย อาจจะต้องสร้างระบบกระจายข้อมูลให้ครบทุกระดับ Training for Trainer
  5. อาจจะคิดที่จะทำวิจัย หรือ ฝึกอบรมเพื่อรองรับ AEC

...............................................................................

  • ดร.จีระ ได้นำเสนอตัวอย่างการบรรยายเรื่อง AEC  ในที่ต่าง ๆ  ที่เน้นการทำ Workshop ให้วิเคราะห์ถึง Opportunities และ Threat คืออะไร
  • สำหรับกระทรวงสาธารณสุขนี้ ถ้าจะทำอะไรกับดร.จีระ ขอให้ทำต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง
  • ประวัติศาสตร์อาเซียน คนริเริ่มคือคนไทย และจัดในเมืองไทย คือพันเอก ถนัด คอมันตร์ ในปฏิญญากรุงเทพ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510
  • ดร.จีระ ได้บอกว่า Health Care ไม่ใช่เรื่องเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องสังคม และวัฒนธรรมร่วมกัน  ดังนั้นไม่ใช่เรื่องการแข่งขันแต่เป็นเรื่องการทำร่วมกัน
  • ในเรื่องการเปิดเสรีหลัก ๆ คือภาษี แต่ที่ไม่เสรีคือ เรื่อง กฎ ระเบียบ Non Tariff Barrier ถ้ามองถึงการเคลื่อนย้ายแรงงาน เราได้เปรียบอยู่
  • ฯพณฯ นายแพทย์เกษม วัฒนชัยขอให้พูดเรื่อง Medical Hub ให้ดี โดยอยากให้ดู Consequence ต่าง ๆที่เกิดขึ้น เช็คเรื่อง Health ว่าเป็นอย่างไร
  • ดร.จีระอยากให้ลองตั้ง Challenge ว่าเราสามารถฉกฉวยเอาประโยชน์สูงสุดจาก Health Care ได้จริงหรือไม่
  • ประเทศไทยมีอยู่ 3 Sectors ที่น่าสนใจคือ การท่องเที่ยว การเกษตร และ Healthcare  ซึ่งการขยายตลาด สำหรับ Health Care เป็นเรื่องน่าสนใจ  และน่าจะมีการสำรวจทัศนคติของคนในห้องนี้ สำรวจทัศนคติของเขาต่ออาเซียนเสรีเป็นอย่างไร ให้รักษาภูมิปัญญาและรากเหง้าของตนไว้
  • เรื่องภาษา ถ้าจะมีจุดอ่อนของ Health Care น่าจะเป็นภาษาอังกฤษส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งต้องไม่ละเลยภาษาอาเซียนด้วย
  • ความใฝ่รู้ในสาขา Health Care ต้องข้ามศาสตร์มากขึ้น ให้มีความสนใจในสาขาอื่น ๆ มากขึ้น  ให้ดูทฤษฎีตัว T คือต้องมีความสมดุลในความรู้ทางการแพทย์มากขึ้น โลก Health Care ต้องสมดุลมากขึ้นในอนาคต

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภท พื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

  1. Human Capital                ทุนมนุษย์
  2. Intellectual Capital         ทุนทางปัญญา
  3. Ethical Capital                             ทุนทางจริยธรรม
  4. Happiness Capital         ทุนแห่งความสุข
  5. Social Capital                 ทุนทางสังคม
  6. Sustainability Capital      ทุนแห่งความยั่งยืน
  7. Digital Capital                             ทุนทาง IT
  8. Talented Capital            ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ
  • ทุนที่ 1 เป็นทุนมนุษย์ตัวแม่ ส่วนทุนที่ 2 – 8 เป็นทุนมนุษย์ที่พึงปรารถนา  ดร.จีระอยากให้ลองศึกษาดูว่าในกระทรวงสาธารณสุข และ Health Care ควรทุนอะไรบ้าง
  • การเปิด AEC อย่ามองแค่ปี 2015   แต่อยากให้มองว่า Health Care ในอีก 20 ปีจะเป็นอย่างไร
  • ความใฝ่รู้ และ Life Long Learning เป็นทุนที่สำคัญมากของการสร้างความยั่งยืน  ในเรื่องความยั่งยืน ต้องมองว่าการตัดสินใจวันนี้จะดีต่อวันข้างหน้า และไม่ทำลายในอนาคตข้างหน้า

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ

เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

  1. Creativity Capital          ทุนแห่งการสร้างสรรค์
  2. Knowledge Capital      ทุนทางความรู้
  3. Innovation Capital        ทุนทางนวัตกรรม
  4. Emotional Capital         ทุนทางอารมณ์
  5. Cultural  Capital            ทุนทางวัฒนธรรม

 

  • ดร.จีระเสนอว่าควรให้ทุกอย่างขับเคลื่อนโดยมี Services หรือ Product ขึ้นมา อย่างในวงการแพทย์ควรให้มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกิดขึ้นมาด้วย
  • 8K’s และ 5K’s คือเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ทำให้เรามีมาตรฐานสูงขึ้น มี Benchmark มากขึ้น อย่างไรก็ตามเราไม่ควรหยุดในการลงทุนด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • สิ่งหนึ่งที่แพทย์หรือพยาบาลควรมีมากขึ้นคือกล้าคิดให้หลุดโลก  คนคิดหลุดโลกเท่านั้นที่จะเปลี่ยนโลกได้
  • จากการวิจัยของ ก.พ.  พบว่าข้าราชการไทยต้องมี

1. Professionalism

2. Internationalism

3.  The right attitude and mindset ซึ่ง 8K’s และ 5K’s  ช่วยได้มาก

  • สิ่งสำคัญที่สุดของการเปิดอาเซียนเสรีคือความเหลื่อมล้ำของเรา
  • ถ้าจะทำเรื่องคน อย่าพูดเฉย ๆ ต้องมี Action และต้องมีคนมีประสบการณ์มาก ๆ ในการทำให้ครบวงจร การทำงานให้สำเร็จ ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมของคนให้สร้างมูลค่าเพิ่มให้ได้ ให้มีการทำวิจัยเชิงลึก บางครั้งอาจมีการทำวิจัยร่วมกับประเทศในอาเซียนด้วย เป็นต้น
    • นโยบาย Medical Hub ต้องระมัดระวังให้มากเรื่องความยั่งยืนและความเหลื่อมล้ำ
  • การผลิตบุคลากรทางการแพทย์ ในสถาบันการศึกษาของไทย ควรมีความร่วมมือระหว่างกัน และกับ AEC ด้วยกัน
  • เวลามอง Health Care อยากให้มองแบบเชื่อมโยงกับ Long Stay และการท่องเที่ยวด้วย และ การกระจายความรู้เหล่านี้ไปในมุมกว้างจากวันนี้ได้อย่างไร อยากเห็น Training for Trainer และมีการทำ E-learning เพิ่มขึ้น    สรุปในวันนี้ ความรู้ต้องกระจาย ต้องพลิกปิระมิด สังคมไทยเป็นสังคมที่ขาดโอกาส ดังนั้นควรให้เขาสนใจเรื่อง AEC

ฝากการบ้านไว้

  1. จุดแข็งของ Health Sector ต่อ AEC คืออะไร
  2. จุดอ่อน คืออะไร
  3. จะพัฒนาจุดแข็ง และลดจุดอ่อนได้อย่างไร

 

การแสดงความคิดเห็น

  1. 1.       มาจากศูนย์มะเร็ง อุบลราชธานี  ขอชื่นชมอาจารย์จีระมาก เนื่องจากได้เรียนจากสาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค ในด้านทฤษฎีการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อเปรียบเทียบทุนมนุษย์ระหว่างไทยและต่างประเทศ จึงได้ไปพบหนังสือของอาจารย์จีระ  ที่ Se-ed Book ที่สามารถตอบโจทย์ได้พอดี

ดร.จีระ ตอบ... ตอนเรียนเศรษฐศาสตร์ มีนักเศรษฐศาสตร์ชื่อ Gary Backer บอกว่าการเรียนเพิ่มขึ้นจะทำให้มีรายได้มากขึ้น เป็นการวัดจากการลงทุนเป็นจำนวนเงินและปีที่เกิดขึ้น  แต่ปัจจุบันเปลี่ยนไปแล้วคือการเรียนเท่ากันคุณภาพคนอาจไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ขอเสนอว่าการใฝ่รู้เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของทุนมนุษย์ เนื่องจากการใฝ่รู้ทำให้เกิดความแตกฉาน   อย่างการพูดในวันนี้จะใช้ทฤษฎี 2 R’s ในการหาความรู้ คือ พูดจากความจริง และตรงประเด็น  ซึ่งคนที่น่าจะพูดเรื่อง 2R’s ได้ดีที่สุดคือ Tony Buzan ผู้ที่เขียนทฤษฎี Mind Mapping  เขาเป็นคนหนึ่งที่เรียนปริญญาตรีถึง 7 ใบทั้งทางด้าน Science  & Social  เขาไม่ได้เรียนปริญญาโท หรือปริญญาเอก  ซึ่งเขาบอกว่าที่เรียนปริญญาตรี 7 ใบนี้ เพราะต้องการรู้ และเป็นการเรียนเพื่อมาทำงาน ไม่ได้เรียนเพื่อประกาศนียบัตร

สรุปคืออยากให้หมอเปิดกว้างเรื่อง Health Care เพิ่มขึ้นจะได้สามารถนำไปพัฒนาสู่ความเป็นจริงมากขึ้น

  1. 2.      มาจากศูนย์ทันตกรรมนานาชาติ  มีความสนใจ และยังไม่ได้มีประสบการณ์และความรู้เรื่อง ทุนมนุษย์เท่าไหร่ แต่จากประสบการณ์ของการทำงานจะพบปัญหาเรื่องทรัพยากรมนุษย์มาก จึงอยากอ่านจากหนังสืออาจารย์จีระที่จะได้รับในวันนี้

ดร.จีระ ตอบ Concept เรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์มี 3 อย่างคือ

      1.เรื่องการปลูก สังคมไทยควรมีปัญญามากขึ้น และกล้าออกความเห็นมากขึ้น ส่วนใหญ่บางทีไม่เข้าใจ ก็ไปพูดข้างหลังแทนที่จะให้ความสนใจ และถามมากขึ้น

  1. การเก็บเกี่ยว ให้ดูว่าอะไรคือ Motivation ที่ทำให้ Health Care เป็นเลิศ  สำหรับในปัจจุบันสิ่งสำคัญคือเรื่อง Inspiration  และ Empowering  ดังนั้นจึงควรมอบบทบาทให้คนรุ่นหลังมากขึ้น ให้เขากล้ารับอำนาจ แต่ไม่ควรให้เขาบ้าอำนาจเกินไป ทั้ง 3 ส่วนนี้ (Motivation,Inspiration,Empowering) เป็นปัจจัยที่วัดไม่ได้   แต่สามารถเกิดประโยชน์ได้  และขอเสนออีกเรื่องคือการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีที่สุด หรือเรียกว่า Relationship

3. Skill ,Knowledge ,Technology ต่อไปเท่ากันหมด แต่สิ่งที่ไม่เท่ากันคือข้างในของคน

คนไทยควรมีการปลูกก่อน แล้วค่อยมีการเก็บเกี่ยวที่หลัง  และเรียนรู้การดำรงชีวิตอย่างมีความสุข หรือที่เรียกว่าทำชีวิตให้ Happy

  1. 3.      เรียนถามประเด็นอาจารย์ว่า เราใช้คำว่าทรัพยากรหรือทุนมนุษย์ในการมองบุคคลเหมือนเป็นวัตถุหนึ่งที่ใช้ในกระบวนการผลิต แต่จากการที่อ่านหนังสืออาจารย์จีระ  อาจารย์ไม่ได้มองมนุษย์เหมือนเครื่องจักร

ดร.จีระตอบ  การเขียนทฤษฎีทุนมนุษย์ เสมือนเป็นการยกย่องคือมนุษย์ควรมี Happiness, Respect ,Loyalty และ Dignity ดร.จีระไม่ได้มองมนุษย์เป็นปัจจัยการผลิต

  1. 4.      ในการประชุมวันนี้คือทำเพื่อตอบสนองกับสิ่งที่สังคม Lead อยู่คือการเปลี่ยนแปลงสังคม การมองให้ไกลในมุมมองอาจารย์จีระมีความเห็นว่าอย่างไร

ดร.จีระตอบ  คำว่า Sustainability  มาจากแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  คำว่า Sustainability ของ Health Care คือขอให้มีความยั่งยืนในอนาคต อย่าไปทำลาย Medical Hub หรือ Health Care อย่าให้เกิด Conflict ของ Short Term และ Long Term และควรให้มี ทั้ง Health และ ความรู้ไปด้วยกัน

Short term ต้อง Consistence กับ Long Term  ดังนั้นการมอง Health Care ไม่ว่าอยู่ใน Asean เสรีอย่างไร ประชาชน และชุมชนก็ต้องสามารถอยู่รอดได้

สรุปคือทุนแห่งความยั่งยืนคือการตัดสินใจว่าระยะสั้นไม่ทำลายระยะยาว

  1. 5.      อาจารย์จีระ เป็นคนจุดพลังทางความคิดทำให้ Long Stay มีความสำคัญต่อประเทศไทย อย่างตัวเองได้มีโอกาสไป Long Stay ของญี่ปุ่น และได้มีโอกาสเรียนปรึกษาอาจารย์จีระ  ท่านช่วยให้เรามีพลังความคิดที่ดี  และเมื่อวันสงกรานต์ที่ผ่านมา ได้นำ Group ญี่ปุ่นมาศึกษาโครงการ Long Stay ในไทย ทำให้ Long stay เกิด Happiness and Healthy in Thailand

ดร.จีระตอบ ถ้า Health Care ร่วมกับที่อื่น ๆ ก็จะรอด กระทรวงสาธารณสุข จะได้ร่วมกับผู้นำทางสังคมก็จะเป็นประโยชน์มาก  ข้อสรุปในวันนี้อย่าขึ้นหิ้ง  ถ้าทำแล้วต้องกัดไม่ปล่อย  ในโลกปัจจุบันขับเคลื่อนด้วยปัญญาคือ Value Creation คือ Create Idea  โลกในอนาคต ก็คือ Create  Economy ให้นำความคิดไปต่อยอด

การใช้ทฤษฎี 4 L’s คือ

  • กระตุ้นให้คนคิด
  • มีบรรยากาศการเรียนที่สนุก
  • ปะทะกันทางปัญญา ฟัง และวิเคราะห์
  • สร้างชุมชนในการเรียนรู้

สังคมไทยเป็นสังคมที่พร้อมที่จะคิด และควรกระตุ้นให้เขาคิด โจทย์ที่เราตั้งจึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ควรตั้ง 1+ 1 = 2 แต่ให้ควร Apply ให้เข้ากับความจริง นั้นสำคัญที่สุด

  1. 6.      มาจากโรงพยาบาลกล้วยน้ำไทย ขอตอบการบ้านอาจารย์จีระ ไปเลย ทั้ง 3 ข้อ นั้น จุดสำคัญคือคน  ที่พบคือคนมีศักยภาพแต่ไม่ค่อยมีคุณภาพ จะลดจุดอ่อนเพิ่มจุดแข็งคือเปลี่ยนทัศนคติก่อน วิธีการเปลี่ยนทัศนคติคือใช้หลักการบัว 4 เหล่า ของแต่ละประเภทที่คนไม่เหมือนกัน ถ้าทำได้ทั้งบัว 4 เหล่าจะได้เป็นทุนทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ

 

ดร.จีระ สรุป

  • ดร.จีระ  บอกว่า ในวงการ Health Care จะมี Analytical Skill  Beyond Average ของสังคมไทย    สำหรับคนทั่วไปแล้ว...ถ้าตั้งใจ มีเป้าหมาย มี Goal และอะไรก็ตามจะเรียนได้  คนที่ประสบความสำเร็จจริง ๆ เป็นใคร  อย่างน้อยต้องมีปัญญา คุณธรรมจริยธรรม และความยั่งยืนจะสามารถทำให้ประสบความสำเร็จได้ 
  • 8K’s , 5K’s มาจากการที่ดร.จีระไปสอนปริญญาเอกตามที่ต่าง ๆ และได้แนะนำทฤษฎีอีก 14 ทฤษฎีที่นอกเหนือจาก 8K’s ,5K’s สามารถติดตามอ่านได้ในหนังสือ 8K’s 5K’s ด้านหลัง
  • Peter Drucker บอกว่าคน มี Integrity ,Creativity และ Innovation
  • หมอส่วนใหญ่เป็นคนที่มีคุณธรรมจริยธรรมสูง น่าจะมีบทบาทในการสอน และให้คำเตือนในสังคมมากขึ้น เพราะคำเตือนในสังคมปัจจุบันเหลือเพียงไม่กี่กลุ่ม แต่หมอในปัจจุบันอาจมีบทบาทในสังคมน้อยไปหน่อย จึงอยากให้เข้ามามีบทบาททางด้านนี้เพิ่มขึ้น

 

สรุปจากท่านอธิบดีฯ

  • เราต้องเตรียมตัวในเรื่องการปรับสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งตัวเอง และองค์กร หลายอย่างเป็นการแข่งขันกัน และหลายอย่างร่วมมือกัน  ท่านทั้งหลายที่อยู่ในห้องส่วนใหญ่เป็นผู้วางแผน เป็นเสมือนเสนาธิการ จึงควรให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างจริงจัง แล้วนำไปบอกต่อ
  • คุณธรรม นำปัญญา  เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะดำรงไว้ซึ่งความยั่งยืน

 

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท