เมื่อเป็นมะเร็งปอดระยะ๔ ตอนที่๕ เริ่มฉายแสง


          ต่อจาก เมื่อเป็นมะเร็งปอดระยะ๔ ตอนที่๔ เหตุที่เลือกรักษาแผนปัจจุบัน ในตอนที่๔นั้นผู้ป่วยได้เล่าถึงช่วงที่ได้มาพบรังสีแพทย์ครั้งแรก และเล่าถึงช่วงเวลาที่ตัดสินใจมารับการรักษาแผนปัจจุบันไปแล้ว ในตอนที่๕ นี้จะเป็นช่วงเวลาที่ผู้ป่วยได้เริ่มมาฉายแสงจริงๆ ติดตามความรู้สึกก่อนและหลังรับการฉายแสงของผู้ป่วยว่าเป็นอย่างไรค่ะ หนึ่งในฐานะที่เป็นหนึ่งในทีมสุขภาพอ่านแล้วจึงได้รู้ว่า บางครั้งการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวนั้น เราควรให้เวลาในการอธิบายผู้ป่วยแต่ละรายให้มากกว่านี้ เพราะสิ่งที่เราแนะนำผู้ป่วยไปนั้น ผู้ป่วยจะถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดจนบางทีอาจไปเพิ่มความลำบากให้แก่ผู้ป่วยได้

ตอนที่๕ เริ่มฉายแสง

          ตอนพบหมอรังสีเมื่อเดือน พ.ย.๕๔ หมอบอกว่า หมอคาดว่าจะฉายแสงให้ ๑๐ แสง ถ้าพอช่วยเหลือตัวเองได้จะให้มาฉายแสงแบบไปกลับเพราะฉายแสงแค่วันละครั้ง ครั้งละไม่นาน แต่พอมาพบหมอวันที่ ๒๘ ก.พ.๕๕ หมอบอกว่าจะฉาย ๕ แสง และให้นอนโรงพยาบาล หมอจะให้เลือดด้วยเพราะผลเลือดวันนี้ต่ำเล็กน้อย ซีด และอ่อนเพลีย เมื่อเข้ามาในตึกนอน มีผู้ป่วยที่เป็นพระภิกษุนอนอยู่ด้วย ๒ เตียง พอดีได้เอาเงินที่เตรียมมาเป็นค่าเช่าบ้าน(ทีแรกคิดว่าจะได้เช่าบ้านอยู่ใกล้ๆศูนย์มะเร็งฯแล้วค่อยมาฉายแสงแบบไป-กลับ) วันนี้ไม่ต้องเช่าบ้านจึงนำเงินส่วนนี้ถวายพระภิกษุทั้งสองรูปที่อยู่ตึกเดียวกันรูปละ ๕๐๐ บาท ได้ทำบุญเพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อท่านทั้งสองรูป

         การฉายแสง ทีแรกก็หวั่นเหมือนกันว่าจะเจ็บปวดแสบร้อนเหมือนยาเคมี แต่เมื่อฉายแล้ว "ไม่มีอะไร ผ่านฉลุย" เพราะเคยเห็นคนที่บ้านมาฉายแสงกลับไปนอนหมุนเหมือนลูกข่างอยู่กับพื้นบ้าน คิดว่าคงเป็นเพราะ "ปวด"เนื่องจากโรคมากกว่า

          ก่อนฉายแสงมีการตีเส้นทำเครื่องหมายตำแหน่งที่จะฉายแสง บางคนก็ที่ใบหน้า ที่ลำคอ ที่หน้าอก แล้วแต่จุดที่เกิดโรค ส่วนตัวผมตีเส้นที่แผ่นหลังยาวลงมาถึงสะโพกและโคนขา 

          ปัญหาของผมช่วงนี้คือ ไม่กล้านอนหงายเพราะกลัวเส้นที่หมอขีดไว้จะลบ ต้องนอนตะแคง พลิกตัวบ่อยๆ แต่เป็นปัญหาเล็กน้อยไม่เท่าช่วงที่ปวดมากๆ

          ปัญหาของผมอีกอย่างคือ "เบื่ออาหาร" บางวันได้กลิ่นอาหารร้อนๆ ถึงกับอาเจียน ผิดกับช่วงปกติ

          สิ่งที่ผมทำก่อนนอนทุกคืน คือสวดมนต์ไหว้พระ กราบหมอน ๕ ครั้ง คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ ทำให้นอนหลับไม่ฝันร้าย

ขอขอบคุณ

  • คุณอดุลย์ ศิริกันรัตน์ ผู้ป่วยที่แบ่งปันเรื่องราว
  • ภาพประกอบจาก internet
  • ทุกท่านที่ติดตามอ่าน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้กำลังใจค่ะ
หมายเลขบันทึก: 485525เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2012 10:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • มะเร็งใครไม่ได้สัมผัส ไม่รู้ว่า เครียดขนาดไหน
  • แต่หากผ่านจุดหนึ่งไปได้
  • ขอทำที่ชอบ ที่รัก เถอะ
  • อย่าว่ากัน

เห็นด้วยที่สุดกับอาจารย์เจเจค่ะ ^^

  • หนึ่งเจอหลายกรณีเหมือนกันค่ะ ว่าผู้ป่วยจะยึดถือคำแนะนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด แล้วบางครั้งการสื่อสารที่ทีมสุขภาพสื่อกับผู้ป่วยก็เข้าใจไม่ตรงกัน
  • หลังๆมาเลยต้องใช้วิธี ให้ข้อมูลไปก่อน แล้วถามผู้ป่วยและญาติทวนซ้ำอีกครั้งเพื่อความเข้าใจตรงกัน
  • การทำกลุ่มระหว่างคอร์สการฉายแสงก็ได้ผลดีค่ะ เพราะผู้ป่วยได้แลกเปลี่ยนและเหมือนได้ทบทวนวิธีปฏิบัติตัวร่วมกันด้วย
  • สัมพันธภาพระหว่างจนท.และผู้ป่วยก็เป็นส่วนเสริมช่วยให้ผู้ป่วยกล้าสอบถามมากขึ้นค่ะ 

 

มาเยี่ยมบันทึกนะครับ ;)...

สวัสดค่ะอาจารย์Wasawat Deemarn ขอบคุณค่ะ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท