โรครากขาวยางพารา


ระบาดหนัก

      โรครากขาวยางพารา ที่จริงเกิดและพบมานานแล้ว แต่เกษตรกรบ้านเราไม่ให้ความสำคัญกับมันมากนัก เนื่องจากว่ามันเกิดขึ้นกับยางที่มีอายุมากหรือถ้าเป็นแปลงที่ปลูกใหม่จะเกิดตอนอายุประมาณ 4 ปีขึ้นไปและไม่แสดงอาการให้เห็น เมื่อรู้ยางใบร่วงยืนต้นตาย  เหตุผลที่เกษตรกรไม่ให้ความสำคัญ เนื่องจากว่าเกิดกับยางที่มีอายุมาก หรือยาง 3 -4  จะปลูกซ่อมก็ไม่ทัน คือต้นยางโตไม่เท่ากัน อีกอย่างวิธีการป้องกันก็ยุ่งงยากลำบาก เท่าที่รู้คือต้องขุดร่องกันเชือติดต่อระหว่างต้น เป็นวิธีการที่ยังไม่ทราบผลที่ชัดเจนว่าจะได้ผลลจริงหรือไม่ นี้เป็นความเห็นของเกษตรกร

      ที่นี้เรามารู้จักโรครากขาวของจากพารา เป็นข้อมูลของอาจารย์เสมอใจ ชื่นจิตต์ จากคณะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โรครากขาวเกิดจากเชื้อรา Rigidorus microporus  เป็นประเภท เห็ดรา เมื่อพืชเป็นโรคระยะหนึ่งก่อนหรือหลังยางตาย จะพบดอกเห็ดที่โคนต้น ดอกเป็นแผ่นครึ่งวงกลม ไม่มีก้าน ขึ้นซ้อนกันหลายชั้น ดอกอ่อนมีสีส้ม จับดูลื่นมือ ดอกแก่แข็งกระด้างสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลเหลือง ขอบดอกสีขาว ใต้ดอกมีสีส้มแดง หรือน้ำตาลเป็นส่วนที่สร้างสปอร์จำนวนมากเมื่อปลิวไปตกในที่เหมาะสมก็เจริญเป็นเส้นใยและสร้างดอกเห็ดใหม่ได้

     ลักษณะอาการ เชื้อเข้าทำลายทางรากและแทงเส้นใยเข้าไปในเนื้อเยื่อ ทำให้เซลล์รากเสียหาย การดูดน้ำ ดูดอาหารไม่เต็มที่ การสังเคราะห์แสงจึงค่อยๆลดลง พืชแสดงอาการไม่สมบูรณ์ ใบใหม่หลังจากพลัดใบในแต่ละรุ่นมีขนาดเรียวลง ทรงพุ่มเล็กลง ต้นตายในขณะที่พืชแสดงอาการใบเหลือง หากขุดหรือขูดดูบริเวณโคนต้นหรือที่รากจะปรากฏเส้นใยราสีขาวแตกสาขาเป็นระแห(rhizomorph)เจริญแนบแน่นกับรากยาง จึงเรียกโรคนี้ว่าโรคากขาว

      การป้องกัน  สถาบันยาง กรมวิชาการเกษตรและรายงานในต่างประเทศพบว่า ต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน ตั้งแต่ก่อนปลูก ระหว่างปลูกและตลอดเวลาช่วงให้ผลผลิต หลักการคือลดจำนวนเชื้อให้เหลือน้อยที่สุดหรือไม่มี ได้แก่

       1 ในกรณีที่ปลูกยางใหม่ในพื้นที่ที่มีไม้ยืนต้นรวมทั้งยางแก่ ในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง ควรขุดตอและเผาทำลายเพื่อทำลายที่อยู่อาสัยของเชื้อ

      2 หากเป็นไปได้ควรปลูกพืชคลุ่มดินแล้วไถกลบเพื่อปรับสภาพดิน

      3 การใช้สารเคมี จากการททดลองในอาหารเลี้ยงเชื้อในห้องทดลอง พบว่ามียาหลายชนิดยับยั้งโรคนี้ได้ เช่น

       - ไซโปรโคนาโซล (ชื่อสามัญ) อัลโต (ชื่อการค้า) ขุดร่องเล็กๆรอบโคนต้นกว้าง 15-20 ซม ลึกพอประมาณ เทสารเคมีในร่องรอบๆโคนต้น ทุก 6 เดือนเป็นเวลา 2 ปี

      - โปรปิโคนาโซน (ชื่อสามัญ) ทิลท์ (ชื่อการค้า)  ผสม 30 ซีซี/น้ำ3ลิตร/ต้น

      - หรือ เอนวิล คูเลเตอร์ คาลิกซิน

       4 ควบคุมโดยชีววิธี ใช้สิ่งมีชีวิตมาควบคุมเชื้อโรค วิธีการใช้นำเชื้อมาราด มาคลุกผสมในดิน เชื้อจะค่อยๆเข้าทำลายเชื้อโรค เช่น Trichoderma spp. Streptomyces spp.และ Bacillus spp.

       ตอนนี้ในพื้นที่จังหวัดยะลามีการระบาดมากพอสมควร ที่สวนผมเองปลูกยางอายุ ๔ ปี โค่นทุเรียน หลังโค่นไม่ได้เผา พื้นที่มีความชื้นสูง สภาพอาการเปลี่ยนแปลง เชื้อเจริญเติบโตดี ปรากฏว่ามียางยืนต้นตายไป 10 ต้น ทั้งที่อยู่ติดกันในแถวเดียวกันและต่างแถว อาการและเหตุผลเหมือนที่กล่าวไปแล้ว

คำสำคัญ (Tags): #โรครากขาว
หมายเลขบันทึก: 485262เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2012 10:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2012 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

หวัดดีปีใหม่ค่ะพี่บ่าวยาว

สบายดีนะคะ เคยได้ยินเหมือนกันคล้ายๆ นี้ ค่ะพี่บ่าว

แต่ไม่ค่อยรู้โรคแน่ชัด ช่วงนี้ฝนตกทุกวนฉาย ไม่ได้ตัด

ทางโน้นพรือมั่งคะ หวังว่าพี่บ่าวยาว สบายดี สุขสันต์วันหยุดค่ะ

  • สวัสดีครับพี่ไมตรี
  • โรคนี้น่ากลัวจะเกิดการระบาด
  • ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันครับ

โรคนี้เป็นโรคที่น่ากลัวโรคหนึ่งครับ ที่จ.ตรังก็เจอปัญหานี้ครับ แต่ตอนนี้ผมมีวิธีที่จะยับยั้งไม่ให้เกิดการระบาดได้อีกครับ พี่น้องเกษตรกรท่านใดสนใจ วิธีแก้ไขปัญหา เมล์มาหาผมได้โดยใช้หัวข้อว่า สอบถามวิธีการยับยั้งการระบาดของโรครากขาวได้ ครับ

ขอบคุณทีแบ่งปันความรู้และขอบพระคุณที่ให้กำลังใจค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท