โครงการเมธาจารย์ มหาวิทยาลัยชีวิต


โครงการเมธาจารย์ ม.ชีวิต เป็น การแสดงความนับถือในภูมิปัญญา และการคิดอิสระของผู้นำชุมชนจากทั่วประเทศ

โครงการ “เมธาจารย์ ม.ชีวิต”

 

 

หลักการและเหตุผล

 

          สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชนจัดการศึกษาที่เชื่อมโยงกับชีวิตและชุมชน กระบวนการเรียนรู้จึงไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียน แต่ออกไปสัมพันธ์กับชีวิตจริง ปัญหาจริง ไปเรียนรู้กับผู้รู้ ปราชญ์ในท้องถิ่น ซึ่งหลายคนแม้อาจจะไม่ได้เรียนถึงระดับอุดมศึกษา แต่ก็มีความรู้จากประสบการณ์ที่มีคุณค่าสูงจนเป็นที่ยอมรับจากสังคมทั่วไป

          การจัดกระบวนการเรียนรู้ในปัจจุบัน ยังไม่มีการแต่งตั้งหรือมอบตำแหน่งเป็นทางการให้กับบุคคลหรือปราชญ์เหล่านี้ ดังนั้น เพื่อให้เป็นเกียรติและเพื่อการสร้างมาตรฐานเทียบเทียง (benchmark) ให้กับสถาบันอุดมศึกษาเพื่อชุมชน  สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชนจึงควรกำหนดให้มี “ตำแหน่ง” ทางการและแต่งตั้งบุคคลในตำแหน่งดังกล่าว โดยให้ชื่อว่า “เมธาจารย์มหาวิทยาลัยชีวิต”  หรือ “เมธาจารย์ม.ชีวิต” ซึ่งแสดงถึงการยอมรับของสถาบันเอง พร้อมกับขอให้ท่านเหล่านี้เป็น “อาจารย์พิเศษ” ให้กับสถาบันตามสถานะ ศักยภาพและความรอบรู้ของแต่ละท่าน

วัตถุประสงค์

  1. ดำเนินการตั้งคณะทำงานพิจารณาโครงการ หลักเกณฑ์ พร้อมกับคัดสรรบุคคลเพื่อรับตำแหน่งนี้ โดยการรวบรวมข้อมูลประวัติ ผลงาน
  2. เสนอเพื่อการพิจารณาโดยสภาวิชาการพิจารณาก่อนนำเสนอการแต่งตั้งจากสภาสถาบัน
  3. เสนอมูลนิธิพลังงานยั่งยืนเพื่อการตอบแทนรายเดือนให้บุคคลที่เป็น “เมธาจารย์ม.ชีวิต"         

คุณสมบัติของ “เมธาจารย์ม.ชีวิต”

  1. มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์อย่างโดดเด่น เป็นที่ยอมรับของชุมชนและสังคมทั่วไปในเรื่องประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวิถีชุมชนและการพัฒนาท้องถิ่น
  2. เป็นผู้มีคุณธรรมและเป็นแบบอย่างชีวิตที่ดี
  3. มีความสามารถในการถ่ายทอดและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การให้คำแนะนำในเรื่องที่ตนเองมีความรู้ความชำนาญ
  4. ยังมีชีวิตอยู่ โดยไม่จำกัดเพศ วัย คุณวุฒิทางการศึกษา

วาระการดำรงตำแหน่ง

  1. ถึงแก่กรรม
  2. ยกเลิกตำแหน่งโดยสภาสถาบันถ้ามีความประพฤติไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันและแก่สังคม

บทบาทหน้าที่

  1. ทำหน้าที่เป็น “อาจารย์พิเศษ” ให้สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน รับเชิญไปบรรยาย สอน จัดการเรียนรู้ในศูนย์เรียนรู้ต่างๆ หรือที่บ้านที่ทำการของตนเอง
  2. ให้คำปรึกษาแก่ศูนย์เรียนรู้ของชุมชนเครือข่ายมหาวิทยาลัยชีวิต (ศรช.) และศูนย์การเรียนรู้เพื่อปวงชน (ศรป.) ต่างๆ และให้แก่นักศึกษาหรือกลุ่มนักศึกษาในการเรียนรู้

การตอบแทน

  1. ได้รับเข็มเมธาจารย์ม.ชีวิตจากพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
  2. ได้รับเงินตอบแทนรายเดือนๆ ละ 5,000 บาท ตลอดชีวิต
  3. ตอบแทนการเป็นวิทยากรในแต่ละครั้งที่ได้รับเชิญทำหน้าที่

ตัวอย่างบุคคลที่ควรเสนอเพื่อการพัฒนา

๑.    (ภาคกลาง) วิบูลย์ เข็มเฉลิม, โชคชัย ลิ้มประดิษฐ์, อดิศร พวงชมพู, มณี ชูตระกูล, ทองเหมาะ แจ่มแจ้ง, เดชา ศิริภัทร, สมทรง แสงตะวัน, สุรจิต ชิรวิทย์

๒.    (ภาคใต้) พระครูพิพัฒนโชติ, ชบ ยอดแก้ว, ลัภท์ หนูประดิษฐ, เคล้า แก้วเพชร, อัมพร ด้วงปาน, ประยงค์ รณรงค์, บรรยง นันทโรจนาพร

๓.    (ภาคเหนือ) พระครูพิทักษ์ นันทคุณ, จอนิ โอ่โดเชา

๔.   (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เชียง ไทยดี, เล็ก กุดวงศ์แก้ว, ประมวล เจริญยิ่ง, ทองคำ แจ่มใส,    มาร์ติน วีเลอร์

๕.   (ทั่วไป) คำสิงห์ ศรีนอก, เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, ชินกร ไกรลาศ

 

คณะทำงานคัดสรรบุคคลเป็น “เมธาจารย์ม.ชีวิต” 

อธิการบดีสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน         ที่ปรึกษา

นายสุรเชษฐ เวชชพิทักษ์                          ประธาน

นายพนัส พฤกษ์สุนันท์                              กรรมการ

นายณัฐวุฒิ ภาษยะวรรณ                 กรรมการ

นายสามารถ จันทรสูรย์                             กรรมการ

นายบุญมาก ปุราสะเก                     กรรมการ

นางสาวสุมาลี สุนทรพิจพาณิชย์                  กรรมการ

นายสมพงศ์ ตันติวงศ์ไพศาล            กรรมการเลขานุการ

โดยมีหน้าที่ คือ

  1. ทำบัญชีรายชื่อของผู้มีศักยภาพที่จะเป็น “เมธาจารย์ม.ชีวิต”
  2. รวบรวมประวัติ-ผลงานของบุคคลเหล่านี้
  3. จัดทำเกณฑ์และตัวชี้วัดเพื่อประเมินแต่ละคน
  4. นำเสนอบุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งต่อสภาวิชาการ
หมายเลขบันทึก: 485256เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2012 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 05:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
เครือจรรย์ เรือนทองคำ

มีความรู้เกี่ยวกับต้นไผ่นำมาแปรรูป .และนวตกรรมผงถ่านไม่ฝ้ไผ่นำมาขึ้นรูป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท