KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๖๕๑. สุนทรียสนทนาฉบับ ดวงสมร บุญผดุง



          คุณดวงสมร บุญผดุง หรือ “แม่ต้อย” แห่ง สรพ. ส่งข้อเขียนข้างล่างมาให้ทาง อีเมล์ ผมเห็นว่าเป็นความรู้ที่เหมาะสมต่อการเผยแพร่แก่ผู้สนใจ KM จึงนำมาฝาก ดังต่อไปนี้


          ถ้าเราไม่ศรัทธาความดีงามเราจะไปไม่ถึงมิติของจิตใจ
          หน้าที่ของเราที่มีต่อคนอื่นคือการเป็นน้ำที่ชุมฉ่ำและแสงแดดที่อบอุ่น เพื่อให้คนที่อยู่ต่อหน้าเรามีความเบิกบาน
          การใช้สุนทรียสนทนาหรือวิถีแห่งดอกไม้บาน เป็นการพูดคุยที่มีความเป็นพิเศษไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดใด
          เราลองฟังและค่อยเปลี่ยนแปลงตัวเองtransformation. Learning. ลองฟังเสียงจากในใจของเราเอง ว่าเรารับรู้อะไร
          คำว่า Dialogue มาจากคำว่า Diaคือไหลผ่าน Logue คือความหมายของภาษา
          ดังนั้นคือการฟังเพื่อให้เกิดการไหลผ่านของกระแสแห่งความหมายและการฟังอย่างลึกซึ้ง
          การฟังแบบลึกซึ้งมีสองกลุ่มคือ ฟังเป็นกลุ่มและฟังจากในตัวตนของตนเอง
          Voice Dialogue เราต้องเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวตน คนเรามีสมองสามส่วน คือส่วนนอก ส่วนกลางและส่วนใน หรือส่วนลึก
          เราควรเปลี่ยนแปลงระดับลึกคือจิตสำนึก และเปลี่ยนแปลงความคิดในเชิงบวก
          และเราจะเปลี่ยนแปลงได้เราต้องเห็นตัวตนของเราด้วย
          เริ่มจากมองเห็น โอบกอดหรือเยียวยาและ  เปลี่ยนแปลงTransformation
          การมองเห็นคือ เห็นตัวเรา เห็นโลกภายในของเรา
          หากเราจะมองเห็นได้เราต้องเชื่อมกายและจิตหรือที่เรียกว่าBody and mind
          กายอยู่ที่ใดจิตควรอยู่ที่นั่น
          การฟังที่ดีเริ่มจากการเอาจิตไปรับรู้และสัมผัสกับร่างกายของเรา รับรู้ การเคลื่อนไหว ทุกๆครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
          การฝึกต้องไวและประณีตพอสมควร

 

เริ่มฟัง


          ระดับที่1เรายังมีความรู้เดิม มีความจำเดิมนั่นคือมีสัญญาเดิมๆ จำได้หมายรู้ เป็นการรับรู้โดยใช้สมองส่วนนอกสุด เป็นการฟังที่มักจะเกิดขึ้นในสังคมเป็นส่วนใหญ่ ฟังเพื่อผ่านไป เป็นฐานกาย
          ระดับที่สองเป็นการฟังและเริ่มมีการวิเคราะห์ข้อมูล ว่าสิ่งที่เราได้รับฟังเหมือนหรือแตกต่างจากความรู้เดิมหรือไม่ประการใด พร้อมที่จะโต้แย้ง การฟังระดับนี้ใช้สมองส่วนนอกหรือฐานกาย
          ระดับที่สาม เป็นการฟังที่ขยับขึ้นมาโดยใช้ใจเปลี่ยนจากความคิดเป็นความรู้สึก เรารู้สึกอย่างไร ประทับใจเซ็ง หงุดหงิด ในระดับนี้ขยับมาเป็นสมองส่วนกลางและฐานคิด
          ระดับที่สี่ หากมีความอดทนจะขยับมาที่ระดับที่ริวกิวมหาสมุทรแห่งปัญญาหรือฐานใจ ระดับนี้ต้องใช้พลัังงานมาก ใช้ศักยภาพที่มีทั้งหมด และใช้สมองส่วนในสุดในการรับรู้ดังนั้นเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงจะเกิดพลังและยั่งยืน

 

การเยียวยา

 

          เมื่อการฟังมีสี่ระดับก็จะเกิดการเยียวยาในสี่แบบ
          ระดับที่1หากเราฟังโดยใช้ประสบการณ์เดิมๆนิสัยเดิมๆการรับรู้เดิม เราก็จะแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการเดิม ข้อมูลชุดเดิมเท่านั้น(downloading ) แต่วิธีการนี้เหมาะสมในบางสถานการณ์ที่ไม่ต้องใช้การใคร่ครวญเช่นกรณีฉุกเฉินต่างๆ
การตัดสินใจแก้ปัญหาหรือการเปลี่ยนแปลงมีสองวิธีเท่านั้นคือ ทำ_ไม่ทำ
          ระดับที่สอง ฟังแบบวิเคราะห์ precise listening การฟังแบบนี้เราจะมีการ วิเคราะห์สังเคราะห์ และมีการโต้แย้ง การเปลี่ยนแปลงจะมีแต่ไม่มากนักเพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผิวเผินส่วนใหญ่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่กิจกรรม
          ระดับที่สามการฟังแบบเข้าใจเอาใจเขามาใส่ใจเรา หรือ Empathic listening เราจะเข้าไปในใจคนพูดได้หรือเชื่อมต่อกับความรู้สึกเขาได้Emotional connection ได้ จุดประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ เรื่องที่เขาเล่ามีความหมายและเราได้เรียนรู้จากเขา
          ระดับที่สี่การฟังโดยมาจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงlistening from source ในระดับนี้จะเกิดเมื่อเราปล่อยวางความรู้เก่าๆของเราในระดับที่1ก่อน รวมทั้งความคิดของเราในระดับที่สองด้วย และอารมณ์ต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นในระดับที่สามด้วยพร้อมๆกัน
          เป็นการฝึกที่ยากและอดทนเป็นอย่างยิ่งเพื่อที่จะให้เข้าถึงมิติจิตปัญญา
          การปล่อยวางคือปล่อยให้มันเกิด เราพร้อมที่จะปล่อยวางความคิด ปล่อยวางความรู้สึกและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ในช่วงนี้สิ่งที่เรียกว่าปัญญาญาณจะเกิด
          การจะทำหรือไม่ทำมักจะถูกต้องเสมอ

 

การเยียวยาและการเปลี่ยนแปลง


          การdialogue ทุกครั้งจะต้องมีการปะทะเสมอ อย่างน้อยปะทะกับความรู้เดิมความคิดเเและอารมณ์ สิ่งเหล่านี้คือChaos หรือแนวคิดไร้ระเบียบ
          แต่ทุกอย่างจะเข้ามาสู่สมดุลใหม่
          จึงเห็นว่าทุกครั้งที่เราใช้ ความรู้ ความคิด และอารมณ์เราจะมีแต่ความทุกข์และมากยิ่งขึ้น เราสับสนมากยิ่งขึ้น
          เราต้องมองเห็นตรงนี้จึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือtransformation

 

การเปลี่ยนแปลง


          หากเราเอาการฟังสี่ระดับมาใช้ก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มจากตัวเราเอง

" คนอื่นจะเปลี่ยน เมื่อเราเปลี่ยน"
เราสุนทรียสนทนากับตัวเราเองเพื่อเยียวยาเราเอง
เราสุนทรียสนทนากับคนอื่นๆที่อยู่ตรงหน้าเพื่อเยียวยาเขา
และพึงใช้spiritual ถักทอสิ่งอื่นๆ ถักทอ Standard. Safety. Service. Science.
เพราะนั่นคือความศรัทธาแห่งความดีงาม

 

          เป็นวิธีการเขียนเพื่อสร้างความเข้าใจเครื่องมือ สุนทรียสนทนา ในมิติทางจิตวิญญาณที่ยอดเยี่ยมมาก
 
วิจารณ์ พานิช
๑๖ มี.ค. ๕๕

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 483377เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2012 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

น่าสนใจ ใช้กับชีวิตประจำวันอย่างไรต่อ

เป็นงานเขียนที่งดงามมากครับ

ยังเหลือวิปัสนา การได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน เห็นไตรลักษณ์ของผัสสะ ด้วยการตามรู้ตามดู ไม่คิด แม้แต่คิดเชิงบวก

อาจารย์ค่ะ หัวข้อบันทึกนี้ตกตัว ง ที่นามสกุลแม่ต้อยค่ะ (บุญผดุง)

ขอบคุณค่ะ

เรียนท่าน อจ. ที่เคารพอย่างสูง

คำสอนนี้.....ดีเหลือเิกินค่ะ....หนูขออนุญาต...นำไปใช้....นำไปปฎิบัตินะคะ .... 


 ....หน้าที่ของเราที่มีต่อคนอื่นๆคือ"การเป็นน้ำที่ชุมฉ่ำและแสงแดดที่อบอุ่น"....


ขอบคุณครับ คล้ายๆ กับที่อ่านในหนังสือ Dialogue...คิดลงสู่ใจ....ไหลเป็นปัญญา โดย ดร. วรภัทร์ ภู่เจริญ

http://www.se-ed.com/eshop/Products/Detail.aspx?No=9789746603997

ขอบคุณค่ะ สำหรับข้อความดี ๆ ที่ช่วยจรรโลงใจให้มีพลังในศรัทธาแห่งความดีงาม

นางสาวปิ่นปินัทธ์ สุวรรณรัตน์

หนูน้องใหม่ค่ะอยากเยนหาความรู้เพื่ออนาคตดีๆๆ

ขอบคุณมากๆค่ะอาจารย์

ซาบซึ้งและได้ความหมายทีเดียวค่ะ

จะนำไปปรับใช้กับชีวิตค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท