เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ


การพัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องเลขยกกำลัง

บทคัดย่อ

 

ชื่อเรื่อง        การพัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์  เรื่องเลขยกกำลัง

                   สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  โรงเรียนมัธยมเทศบาลเมืองทุ่งสง

ผู้วิจัย           นางสาวจรัสศรี  รัตนมาศ

ตำแหน่ง        ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองทุ่งสง  อำเภอทุ่งสง

                   จังหวัดนครศรีธรรมราช

ปีที่ทำวิจัย        ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2554

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการพัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางกาเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดฝึกทักษะ

โดยมีวิธีดำเนินการกับกลุ่มตัวอย่างที่ 1 เพื่อการทดลองใช้ครั้งที่ 1 ได้แก่ นักเรียนระดับ          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองทุ่งสง เทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช  จำนวน 3 คน กลุ่มตัวอย่างที่ 2 เพื่อการทดลองใช้ครั้งที่ 2 ได้แก่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1               โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองทุ่งสง เทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 9 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ 3 เพื่อการใช้ครั้งที่ 3 ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง ม.1/6 โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองทุ่งสง เทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย  รูปแบบการทดลองคือ  One  Group  Pretest - Posttest Design

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 16 ชุด แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องเลขยกกำลัง สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 

ผลการศึกษาพบว่า 

1.  ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 82.8/80.0 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ที่กำหนดคือ 75/75 

2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง          เลขยกกำลัง สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ต่างจากก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

3.  ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก

 

หมายเลขบันทึก: 482666เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2012 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ตุลาคม 2012 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

เรื่อง รายงานการพัฒนาและผลการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม

            เรื่องมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑  
            โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์) เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

ผู้ศึกษา เอื้อมพร ภิญโญ ปีที่ศึกษา ๒๕๕๔ บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านคลองบัว

(เอี่ยมแสงโรจน์) เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมก่อนเรียน และหลังเรียน ที่ผู้ศึกษาสร้างและพัฒนาขึ้น เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระ การเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องมาตราตัวสะกด ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่๑ ภาคเรียนที่ ๒            ปีการศึกษา ๒๕๕๔ โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์) เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร จำนวน         ๑ ห้องเรียน มีนักเรียน ๓๕ คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เนื่องจากเป็นห้องเรียนที่ผู้ศึกษารับผิดชอบสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และมีการจัดห้องเรียนแบบคละความสามารถ ใช้เวลาในการศึกษา ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ ตั้งแต่วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ถึง วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ทดลองโดยใช้รูปแบบการทดลอง (One Group Pre-test Post- test Design)
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ หนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องมาตราตัวสะกด และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยมีค่าความเชื่อมั่น KR- ๒๐ เท่ากับ ๐.๙๖ สถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การสอบค่าสถิติ t-test แบบ Dependent Samples แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด แผนการจัดการเรียนรู้ ๙ แผน ๑๘ ชั่วโมง
ผลการศึกษา พบว่า

๑. หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องมาตราตัวสะกดมีประสิทธิภาพ ๘๑.๗๑/๘๓.๙๐

๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องมาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑/๕ ที่ได้รับการสอนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่      ระดับ .๐๑

๓. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องมาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑/๕ มีความก้าวหน้าทางการเรียนสูงกว่าร้อยละ ๗๔.๐๗

  ๔. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ ๓.๘๖ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ ๐.๖๐ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความพึงพอใจตั้งแต่ระดับมากทุกข้อ ค่าความเชื่อมั่นมีค่าเท่ากับ ๐.๘๗
จากผลการศึกษาแสดงว่า หนังสืออ่านเพิ่มเติมที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้เรียนเกิด          การเรียนรู้มากขึ้น คือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในเรื่องที่เรียนจากการใช้สื่อดังกล่าว สูงขึ้นกว่าก่อนเรียน มีความสุขเกิดความพึงพอใจในการเรียน เพราะเรียนได้ตามความสามารถของแต่ละบุคคล มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นอย่างยิ่ง

ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านโนนคำแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 ผู้ศึกษา นายประกาสิทธิ์ ศรีลา ปีที่ศึกษา 2554

บทคัดย่อ

        การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ  1)  พัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป  เรื่อง  พลเมืองดีตาม         วิถีประชาธิปไตย  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  ชั้นประถมศึกษาปีที่  5   

ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโนน คำแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 25 คน จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย จำนวน 10 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และแบบ สอบถามวัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าดัชนีประสิทธิผล ( E.I )

    ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
        1.  บทเรียนสำเร็จรูป  เรื่อง  พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  ชั้นประถมศึกษาปีที่  5  ประสิทธิภาพเท่ากับ  89.52 / 86.60 

ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80 / 80 ที่กำหนด

        2.  บทเรียนสำเร็จรูป  เรื่อง  พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  ชั้นประถมศึกษาปีที่  5   ทำให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาและความก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ  74.85
        3.  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป  เรื่อง  พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ  .01
        4.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่   5  มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป  เรื่อง  พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด  (   =  4.54)  

ชื่อเรื่องการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 

ผู้ศึกษา  นางชุติมา  กำนาดี

ตำแหน่ง  ครู 

วิทยฐานะ   ครูชำนาญการ

หน่วยงาน  โรงเรียนดงสมบูรณ์ประชารัฐ

ปีที่ศึกษา  2554

บทคัดย่อ

  การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมาย1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่  3  ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80  2)  เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่  3 ที่พัฒนาขึ้น
3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียน
และหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ  กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่  3  และ4)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่  3  กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา  ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  โรงเรียนดงสมบูรณ์ประชารัฐ  อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
กาฬสินธุ์  เขต  2  ภาคเรียนที่ 
1  ปีการศึกษา 2554 จำนวน  18  คน  ได้มาโดยการเลือกอย่างเจาะจง  (Purposive Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่  แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำจำนวน 15 แผน  แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำจำนวน 15  ชุด  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ  แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ  3 ตัวเลือก  จำนวน 30 ข้อ  มีค่าความยากง่าย ตั้งแต่ 0.30  ถึง  0.65  มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่  0.35 ถึง  0.80 และ  ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ  0.81  แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  จำนวน 10 ข้อ  มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่  0.64 
ถึง  0.87  และ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ  0.83  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ การทดสอบสมมุติฐานใช้การทดสอบค่าที 
t-test แบบ  Dependent  Samples

  ผลการศึกษา  พบว่า     1.  แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ประถมศึกษาปีที่  3  มีประสิทธิภาพ  (E1/E2)  เท่ากับ 
83.74 / 82.96  สูงกว่าเกณฑ์ 
80/80  ที่ตั้งไว้  2.  ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่  3  มีค่าเท่ากับ  0.7294  หมายความว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น  0.7294  หรือคิดเป็นร้อยละ  72.94 
    3. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ  กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่  3 มีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01    4.  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่  3  โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  โดยสรุปการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ 

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่  3  มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อผู้เรียน

ทำให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้นจึงควรนำแบบฝึกทักษะการอ่าน

และเขียนคำควบกล้ำ  มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำควบ

กล้ำของนักเรียนให้สูงขึ้น



นางสุนิศา พัตรภักดิ์

ชุดการเรียน ร้อยกรองทำนองฉันท์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๖
ชุดที่ ๕

แต่งวิชชุมมาลาฉันท์ ๘
นางสุนิศา  พัตรภักดิ์
ครู  วิทยฐานะ  ชำนาญการ

โรงเรียนสุรนารีวิทยา ๒
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต ๓๑
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ


ชุดการเรียนร้อยกรองทำนองฉันท์  จัดทำขึ้นเพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ใช้ศึกษาด้วยตนเอง  ประกอบด้วยชุดย่อยจำนวน ๖ ชุด  ได้แก่ 
ชุดที่ ๑  การสรรคำ
ชุดที่ ๒ การใช้ภาพพจน์
ชุดที่ ๓  ความรู้เรื่องฉันท์
ชุดที่ ๔  ชนิดของฉันท์
ชุดที่ ๕  แต่งวิชชุมมาลาฉันท์  ๘
ชุดที่ ๖  แต่งอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
โดยชุดที่นักเรียนกำลังศึกษานี้ เป็นชุดที่ ๕ แต่งวิชชุมมาลาฉันท์ ๘  ภายในชุดการเรียนนี้  ประกอบด้วยคำแนะนำในการเรียน  สาระสำคัญ  แบบทดสอบก่อนเรียน  จุดประสงค์การเรียนรู้ 
บัตรเนื้อหา  คำชี้แจงในการปฏิบัติกิจกรรม  บัตรกิจกรรมและบัตรเฉลย แบบทดสอบหลังเรียนและบัตรเฉลย
  นักเรียนสามารถศึกษาและปฏิบัติกิจกรรมในชุดการเรียนด้วยตนเอง  โดยมีครูผู้สอน
เป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษาเมื่อนักเรียนมีปัญหาหรือต้องการคำชี้แนะ  การศึกษาโดยใช้ชุดการเรียน  จะเกิดประสิทธิผลสูงสุดได้  เมื่อนักเรียนตั้งใจศึกษาและปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดให้อย่างตั้งใจและต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองในการปฏิบัติตามขั้นตอน  เช่น ไม่เปิดดูเฉลยกิจกรรมก่อน  ที่จะทำบัตรกิจกรรม  เพื่อให้การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นไปตามศักยภาพ  รวมทั้งทราบผลการเรียน  ที่แท้จริงของนักเรียนเอง
  ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ชุดการเรียนชุดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพด้านการใช้ภาษาของนักเรียนตามสมควร

สาระสำคัญ
วิชชุมมาลาฉันท์ ๘  เป็นการร้อยเรียงถ้อยคำโดยใช้คำครุล้วน  และมีเสียงหนักซึ่งมีความหมายว่า
“ระเบียบแห่งสายฟ้า”  มีจังหวะและลีลาสั้น  กระชับ  รวดเร็ว  ซึ่งทำให้เกิดความงามทางภาษายิ่งขึ้น

จุดประสงค์การเรียนรู้
 ๑.  สรุปหลักการและองค์ประกอบในการแต่งวิชชุมมาลาฉันท์ ๘ ได้ 
 ๒. เขียนแผนผังบังคับและแต่งวิชชุมมาลาฉันท์ ๘ ได้
 ๓. เห็นคุณค่าในหลักการแต่งวิชชุมมาลาฉันท์ ๘ และนำไปใช้ในการแต่งฉันท์ได้


ชื่อเรื่อง      รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ด้วยวิธีสอนอ่านแบบบูรณาการ   ของเมอรด็อค (MIA) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4

ผู้ศึกษาค้นคว้า    นางธิดารัตน์  วิเชียรลม  ตำแหน่งครู  วิทยฐานะครูชำนาญการ โรงเรียนหนองหลวงศึกษา

ปีที่พิมพ์  2555

บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่  (1)  พัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ  เพื่อความเข้าใจด้วยวิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอรด็อค (MIA)  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  (2)  ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ  ด้วยวิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอรด็อค (MIA)  (3)  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ  ด้วยวิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอรด็อค (MIA)  (4)  ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ  ด้วยวิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอรด็อค (MIA)  ดำเนินการศึกษาโดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบ  one group pretest – posttest design  และ  มีการเก็บข้อมูลระหว่างการทดลอง  กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 โรงเรียนหนองหลวงศึกษา  อำเภอสว่างแดนดิน  จังหวัดสกลนคร  ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2555  จำนวน  25  คน  ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ในครั้งนี้  ประกอบด้วย  เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง  ได้แก่  แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ  เพื่อความเข้าใจ  จำนวน 6 ชุด  และแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ  ด้วยวิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอรด็อค (MIA)  จำนวน  6  แผน  จำนวน  18 ชั่วโมง  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ได้แก่  (1)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านแบบปรนัย  ชนิดเลือกตอบ  4  ตัวเลือก  จำนวน  30  ข้อ  มีค่าความยากง่าย  (p)  0.21– 0.65  ค่าอำนาจจำแนก  (r)  0.21– 0.54  และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.83  (2)  แบบสอบถามความพึงพอใจนักเรียน  แบบมาตราส่วนประมาณค่า  5  ระดับ  จำนวน  15  ข้อ  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ  ร้อยละ  ,  ค่าเฉลี่ย  ,  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ,  การทดสอบค่าที แบบ  Dependent  ,  ค่า  E1//E2  ผลการศึกษาพบว่า

1.  แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ  ด้วยวิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอรด็อค (MIA) มีประสิทธิภาพ  (E1/E2)  เท่ากับ  81.60 / 83.11  สูงกว่าเกณฑ์  80/80  ที่ตั้งไว้

 2.  ค่าดัชนีประสิทธิผล  (E.I.)  ของแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ  ด้วยวิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอรด็อค (MIA)  มีค่าเท่ากับ  0.6923  แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ  69.23

3.  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ  ด้วยวิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอรด็อค (MIA)  แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01

4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ด้วยวิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอรด็อค (MIA)  โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด


ชื่อเรื่อง  รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา

ผู้รายงาน  นางนิภาพร  จันมะโฮง ครูชำนาญการ  โรงเรียนคุรุประชานุกูล  อ.หนองบัวแดง สปพ.ชย1

ปีที่ศึกษา  2555

บทคัดย่อ

รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  เรื่อง การอ่านและเขียนคำตรงมาตราตัวสะกด  ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังจากการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2555 โรงเรียนคุรุประชานุกูล สำนักงานเขตพื้นที่ศึกษาการประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 จำนวน 24 คน เป็นชาย 14 คน หญิง 10 คนเครื่องมือที่ใช้คือ แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา จำนวน 9 เรื่อง  แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก  จำนวน 20 ข้อ แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples) ผลการพัฒนาปรากฏดังนี้

1. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา ที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้น  มีประสิทธิภาพ 98.17/89.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้

2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกด  ตรงตามมาตรา อยู่ในระดับมากที่สุด


พัชรินทร์ วิชาจารย์

ชื่อเรื่อง  รายงานการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง สุขภาพดี ชีวิตมีสุข

  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  (สุขศึกษา)

  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนแม่ถอดวิทยา

ชื่อผู้ศึกษา  พัชรินทร์  วิชาจารย์  ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ โรงเรียนแม่ถอดวิทยา 

  อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2)

ปีที่ทำการศึกษา  2554

บทคัดย่อ

  การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปเรื่อง สุขภาพดี ชีวิตมีสุขกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียนแม่ถอดวิทยา เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง สุขภาพดี ชีวิตมีสุข  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4  โรงเรียนแม่ถอดวิทยา  และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป  เรื่อง สุขภาพดี ชีวิตมีสุขกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษา (สุขศึกษา) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแม่ถอดวิทยา  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนแม่ถอดวิทยา อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง สุขภาพดี ชีวิตมีสุขกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  (สุขศึกษา) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  โรงเรียนแม่ถอดวิทยา  แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบบทดสอบ  วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน  แบบเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนสำเร็จรูป  เรื่อง สุขภาพดี ชีวิตมีสุขกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) สำหรับนักเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4  โรงเรียนแม่ถอดวิทยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ E1/E2  การทดสอบค่าที (t – test) การหาค่าเฉลี่ย  ([img src="file:///C:\Users\FM\AppData\Local\Temp\msohtmlclip1\10\clip_image002.gif" height="21" width="17">  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการแปรผลตามเกณฑ์มาตรฐานกำหนด

    ผลการศึกษาพบว่า

1. บทเรียนสำเร็จรูป  เรื่อง สุขภาพดี ชีวิตมีสุขกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  (สุขศึกษา)  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  โรงเรียนแม่ถอดวิทยา  มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.99 / 81.83 

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังจากเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนสำเร็จรูป  เรื่อง สุขภาพดี ชีวิตมีสุขกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  โรงเรียนแม่ถอดวิทยา  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 


นางสาวดารากร วิเศษ

ชื่อเรื่อง      รายงานผลการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุดเรียนรู้การอนุรักษ์

  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดทุ่งประดู่

ผู้รายงาน  นางสาวดารากร  วิเศษ

ตำแหน่ง  ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ

ปีที่ใช้ในการศึกษา  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2555

บทคัดย่อ

  รายงานผลการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุดเรียนรู้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดทุ่งประดู่ ในครั้งนี้ ผู้รายงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุดเรียนรู้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนวัดทุ่งประดู่ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง  การเรียน เรื่อง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดทุ่งประดู่ก่อนและหลังการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุดเรียนรู้ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดทุ่งประดู่ที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุดเรียนรู้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดทุ่งประดู่ ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2555  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1  จำนวนนักเรียน 15 คน ซึ่งเป็นประชากรทั้งหมด

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุดเรียนรู้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดทุ่งประดู่ที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุดเรียนรู้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  ([img src="file:///C:\Users\ITCS7\AppData\Local\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image002.png" height="17" width="16">) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน () ค่าความยากง่าย (p)  ค่าอำนาจจำแนก  (r)  ค่าความเชื่อมั่น KR-20  ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟา (µ) และการทดสอบค่าที (t)  ผลการศึกษา พบว่า

1.  ประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)  ชุดเรียนรู้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนวัดทุ่งประดู่ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ  85.81/84.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ  80/80 

2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดทุ่งประดู่ ที่เรียนโดยการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)  ชุดเรียนรู้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนหลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียน 

3.  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุดเรียนรู้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ([img src="file:///C:\Users\ITCS7\AppData\Local\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image002.png" height="17" width="16">=4.17)


ชื่อเรื่อง  รายงานการใช้แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 

เรื่อง  เศษส่วนและการบวก  การลบ  การคูณ  การหารเศษส่วน 

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนสุนทรวัฒนา

ผู้รายงาน  นางสุทิศา  ตอสกุล

โรงเรียน  สุนทรวัฒนา

บทคัดย่อ

  รายงานการใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง  เศษส่วนและการบวก  การลบ  การคูณ  การหารเศษส่วน  เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนสุนทรวัฒนา   มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ  เรื่อง  เศษส่วนและการบวก  การลบ  การคูณ  การหารเศษส่วน  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ให้มีเกณฑ์ประสิทธิภาพ  80/80   2)  เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ  เรื่อง เศษส่วนและการบวก  การลบ  การคูณ  การหารเศษส่วน  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนสุนทรวัฒนา

  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 6/6 โรงเรียนสุนทรวัฒนา  อำเภอเมือง  จังหวัดชัยภูมิ  ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555  มี  1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน  40  คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)  รูปแบบการศึกษาที่ใช้เป็นแบบกลุ่มเดียวโดยทำการทดสอบก่อนและหลังเรียน  (One Group Pretest Posttest Design)  เครื่องมือในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย  1)  แบบฝึกทักษะ  เรื่อง  เศษส่วนและการบวก  การลบ  การคูณ  การหารเศษส่วน  ชั้นประถมศึกษาปีที่  6  2)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และค่า  t – test  3)  แผนการจัดการเรียนรู้  เรื่อง  เศษส่วนและการบวก  การลบ  การคูณ  การหารเศษส่วน  ชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ที่ใช้แบบฝึกทักษะ

  ผลการศึกษาพบว่า

1.   ได้แบบฝึกทักษะ  เรื่อง  เศษส่วนและการบวก  การลบ  การคูณ  การหารเศษส่วน   ชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ที่มีเกณฑ์ประสิทธิภาพ  80/80

2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ  เรื่อง  เศษส่วนและการบวก  การลบ   การคูณ  การหารเศษส่วน  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  หลังการใช้แบบฝึกสูงกว่า  ก่อนการใช้แบบฝึกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ  .05


ชื่อเรื่อง  รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมการพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้ศึกษา  นางอำไพ  พิบูลย์

ที่ทำงาน  โรงเรียนบ้านโป่งกุ่ม  อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่

ปีที่ศึกษา  2554

บทคัดย่อ

  การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของ  ชุดกิจกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และเพื่อศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโป่งกุ่ม  อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชุดกิจกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่าน คิดวิเคราะห์ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ  เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าประสิทธิภาพใช้สูตร  การวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผลโดยใช้สูตร E.I. หาค่าเฉลี่ย () และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ()

ผลการศึกษาพบว่า

  1.  ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระ  การเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างกระบวนการกับผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.97/86.59 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80

  2.  ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.8091 แสดงว่านักเรียน  มีความรู้เพิ่มขึ้น 0.8091 หรือคิดเป็นร้อยละ80.91

  3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6โดยรวมมีความพึงพอใจ  อยู่ในระดับมากที่สุด  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (µ= 4.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีความ  พึงพอใจอยู่ในระดับมาก คือ ชุดกิจกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยช่วยกระตุ้นให้นักเรียนพัฒนาทักษะการคิดได้ดีขึ้น รองลงมา คือ การฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีกิจกรรมหลากหลายรูปแบบทำให้นักเรียนสนุกสนาน  กับการเรียน และนักเรียนชื่นชอบการใช้ชุดกิจกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย


รัศมี สร้อยทอง (2555). รายงานการพัฒนาและผลการใช้แบบฝึกทักษะพื้นฐานงานศิลป์ สาระทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ สำนักงานเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร.

   

บทคัดย่อ

    รายงานการพัฒนาและผลการใช้แบบฝึกทักษะพื้นฐานงานศิลป์  สาระทัศนศิลป์  ชั้นประถมศึกปีที่ 6  มีวัตถุประสงค์  1.) เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะพื้นฐานงานศิลป์  สาระทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80  2.) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะพื้นฐานงานศิลป์  สาระทัศนศิลป์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  3.) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะพื้นฐานงานศิลป์  สาระทัศนศิลป์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์  สำนักงานเขตบางเขน  กรุงเทพมหานคร  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2555  จำนวน 9 ห้องเรียน  มีนักเรียน  325  คน  ซึ่งผู้รายงานได้มาแบบเจาะจงใช้การศึกษาแบบประชากรกลุ่มเดียว  มีการทดสอบก่อนและหลังเรียน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  คือ  1.)  แบบฝึกทักษะพื้นฐานงานศิลป์  สาระทัศนศิลป์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  จำนวน 4  ชุด  2.) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน  4 ชุด  ได้แก่  ชุดที่ 1 เรื่อง ภาพสวยด้วยสีคู่ตรงข้าม  ชุดที่ 2  เรื่อง หลักการจัดภาพ  ชุดที่ 3  เรื่อง สร้างสรรค์งานศิลป์ด้วยมิติ  ชุดที่ 4  เรื่อง สนุกกับงานปั้น   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  แบบปรนัย  ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก  จำนวน 30 ข้อ  3.) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะพื้นฐานงานศิลป์  สาระทัศนศิลป์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  จำนวน 10 ข้อ  จากการพัฒนาและผลการใช้แบบฝึกทักษะพื้นฐานงานศิลป์  สาระทัศนศิลป์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  พบว่า  ประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะ มีประสิทธิภาพ 84.50/87.67  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะพื้นฐาน  งานศิลป์  สาระทัศนศิลป์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 17.97  และหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 25.17  คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ที่ระดับ .05  และความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะพื้นฐานงานศิลป์  สาระทัศนศิลป์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  อยู่ระดับมาก  โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.26 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ  0.68  แสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก   


ชื่อเรื่องแบบฝึกทักษะการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทย ชั้น ป.3

ชื่อผู้ทำ นางแสงเดือน ลาวตุม

ชื่อตำแหน่ง ครูชำนาญการ

ชื่อโรงเรียนบ้านร่องจว้า

จังหวัดพะเยา

ช่วงชั้นช่วงชั้นที่ 1 (ป.1 - ป.3)

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ลิงค์สำหรับดาวน์โหลด แบบฝึกทักษะการอ่านคำพื้นฐาน ชั้น ป.3 เล่มที่ 1 http://www.vcharkarn.com/journal/view/4498


ชื่อเรื่อง    รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดเขาบ่อพลับ

ชื่อผู้รายงาน    นายเจริญ  สุ่มศรี

ปีการศึกษา    2555


  ในการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียนของโรงเรียนวัดเขาบ่อพลับครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์  เพื่อประเมินโครงการด้านบริบท  ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลิตที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียนด้านคุณธรรมจริยธรรม  โดยใช้การประยุกต์ใช้รูปแบบซิปป์ ตามแนวความความคิดของสตัฟเฟิลบีม  กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ  จำนวน  7  คน  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน  7  คน  ผู้บริหารสถานศึกษา  จำนวน  1  คน ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 3 คน  ครูและบุคลากรทางการศึกษา  จำนวน  55555588คน  คณะกรรมการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม  จำนวน  9  คน นักเรียน  จำนวน  49  คน  ผู้ปกครอง จำนวน  49  คน ปีการศึกษา 2555  การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้  ได้แก่  ค่าร้อยละ  ค่ามัชฌิมเลขคณิต  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจากการวิเคราะห์ข้อมูล 

  ผลการประเมินโครงการสรุปได้ดังนี้

     1.  ด้านบริบทของโครงการ พบว่า โรงเรียนมีความต้องการจำเป็นและความเป็นไปได้ของโครงการ  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

    2.  ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ พบว่า โรงเรียนมีบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ ทรัพยากรที่จำเป็นในการดำเนินโครงการ และระบบการบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

    3.  ด้านกระบวนการของโครงการ พบว่า โรงเรียนมีการดำเนินงานตามแผน  ความชัดเจนของขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม และการกำกับติดตามโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

    4.  ด้านผลผลิตของโครงการ  พบว่า  โรงเรียนมีจำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมของนักเรียนด้านคุณธรรมจริยธรรมทั้ง  6  ด้าน ได้แก่  ด้านความมีวินัยและความรับผิดชอบ  ด้านความซื่อสัตย์สุจริต  ด้านความกตัญญูกตเวที  ด้านความเมตตากรุณา ด้านความประหยัดและ

ด้านความนิยมไทย  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด  และความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 

  ข้อเสนอแนะ

  1.  ควรให้มีการประเมินโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง

  2.  ควรพัฒนาให้ผู้เรียนมีมีคุณธรรมจริยธรรมอย่างยั่งยืน และเป็นนิสัยที่ถาวร

  3.  ควรคำนึงถึงความเหมาะสมของกิจกรรม และสภาพแวดล้อมของโรงเรียน


บทคัดย่อ

 

ชื่อเรื่อง            การพัฒนาความสามารถการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการกลุ่ม

ชื่อผู้รายงาน    นางอุดมลักษณ์  จูดทอง

                        การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการกลุ่มที่ผู้รายงานสร้างขึ้นตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ระหว่างก่อนกับหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการกลุ่ม  กลุ่มประชากรเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1   ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนชุมชนวัดเกาะเพชร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 15 คน โดยดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการกลุ่ม จำนวน 12 กิจกรรม แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ จำนวน 12 แผน  แบบทดสอบความสามารถการคิดแก้ปัญหาจำนวน 1ฉบับ   และแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (%)ค่าเฉลี่ย()และ  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน()

                        ผลการศึกษาพบว่า (1) กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการกลุ่มมีประสิทธิภาพ 83.66/85.00 สูงกว่าเกณฑ์ (2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1  ระหว่างก่อนและหลังการจัดประสบการณ์กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการกลุ่ม ปรากฏว่าหลังการจัดประสบการณ์มีความสามารถการคิดแก้ปัญหาสูงขึ้นก่อนการจัดประสบการณ์อย่างเห็นได้ชัดเจน

 

บทคัดย่อ

 

ชื่อเรื่อง            การพัฒนาความสามารถการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการกลุ่ม

ชื่อผู้รายงาน    นางอุดมลักษณ์  จูดทอง

                        การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการกลุ่มที่ผู้รายงานสร้างขึ้นตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ระหว่างก่อนกับหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการกลุ่ม  กลุ่มประชากรเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1   ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนชุมชนวัดเกาะเพชร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 15 คน โดยดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการกลุ่ม จำนวน 12 กิจกรรม แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ จำนวน 12 แผน  แบบทดสอบความสามารถการคิดแก้ปัญหาจำนวน 1ฉบับ   และแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (%)ค่าเฉลี่ย()และ  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน()

                        ผลการศึกษาพบว่า (1) กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการกลุ่มมีประสิทธิภาพ 83.66/85.00 สูงกว่าเกณฑ์ (2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ระหว่างก่อนและหลังการจัดประสบการณ์กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการกลุ่ม ปรากฏว่าหลังการจัดประสบการณ์มีความสามารถการคิดแก้ปัญหาสูงขึ้นก่อนการจัดประสบการณ์อย่างเห็นได้ชัดเจน

 

นางสุดาวดี เนื่องฤทธ์

บทคัดย่อ

 

 

 

ชื่อเรื่อง                 การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนเทศบาล 5

 

                         (วัดกลางวรวิหาร) สังกัดเทศบาลนครสมุทรปราการ  จังหวัดสมุทรปราการ  

 

ผู้ประเมิน       นางสุดาวดี  เนื่องฤทธิ์

 

ระยะเวลาการประเมินโครงการ   ปีการศึกษา  2555

 

 

 

                การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ  ดังนี้   1. เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ 4 ด้าน ดังนี้ ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน และผู้ปกครอง 2.เพื่อประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ครู  นักเรียน และผู้ปกครอง ที่มีต่อโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ของโรงเรียนเทศบาล (วัดกลางวรวิหาร) จำนวน 318  คน ได้จากการสุ่มจำแนกตามชั้นเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้รายงานได้ประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ โมเดล (CIPP Model)ประกอบด้วย 4 ด้าน เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ คือ สภาวะแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า  กระบวนการ และผลผลิต แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ  เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ , S.D.  และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์การประเมิน

 

                    ผลการประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนเทศบาล 5(วัดกลางวรวิหาร)  คณะกรรมการศึกษาและครูมีความเห็นว่าทั้งด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตโดยรวมมีความเหมาะสมระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินผลการประเมินความพึงพอใจ              ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผู้ปกครอง  ครู  และนักเรียนมีความพึงพอใจระดับมากผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน

 

 

 

 

 

 

 

ชื่อเรื่อง          การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนาน ของนักเรียน

                     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์  

ผู้วิจัย             นางสาวิตรี  ไมตรีแพน

ตำแหน่ง         ครู  โรงเรียนหนองบัวแดงวิทยา

อำเภอหนองบัวแดง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 30

วิทยฐานะ        ครูชำนาญการ

ปีการศึกษาที่วิจัย         2555            

 

บทคัดย่อ

 

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์  มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1. พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง เส้นขนาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2. หาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์  3. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และ 4. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์   

  ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/10 จำนวน 43 คนที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่  2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนหนองบัวแดงวิทยา  อำเภอหนองบัวแดง  จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ 1)  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเส้นขนาน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 4 ชุด  ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้จำนวน 14 เล่ม ใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เล่มละ 1 ชั่วโมง  2) แผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  จำนวน  14  แผน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) แบบทดสอบย่อยประจำเล่ม จำนวนเล่มละ 5 ข้อ คะแนนรวม 70 คะแนน 2)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก อยู่ระหว่าง 0.20-0.80 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.28 – 0.89 และมีค่าความเชื่อมั่นรายฉบับ (KR–20) เท่ากับ 0.86 และ 3)  แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์  จำนวน  20  ข้อ ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21 – 0.62 และมีค่าความเชื่อมั่นรายฉบับเท่ากับ  0.85

 

          ผลการวิจัย   พบว่า

          1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.95/81.78 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

          2.  ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เท่ากับ 0.63 นั่นคือนักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนร้อยละ 63 

          3.  นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  

 

4.  นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในระดับมาก

ผู้อำนวยการอนันต์ บรรณาลังก์

 

 

ชื่อการประเมิน    การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียน

บ้านท่ามะพร้าว  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่

ผูประเมิน              นายอนันต์  บรรณาลังก์

ปีที่ประเมิน           2555

บทคัดย่อ

                การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้าน          ท่ามะพร้าว  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทของโครงการ  ประเมินปัจจัยของโครงการ  ประเมินกระบวนการของโครงการ  และประเมินผลผลิตของโครงการ  โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์  (CIPP Model)  กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้มีจำนวนทั้งสิ้น  67  คน  แบ่งเป็น  ครูผู้สอน  จำนวน  9  คน  นักเรียน  จำนวน  49  คน  และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  จำนวน  9  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน  จำนวน  1  ฉบับ  คือ  แบบประเมินการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านท่ามะพร้าว  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่  เป็นแบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า  (Rating Scale)  5  ระดับ  จำนวน  31  ตัวชี้วัด  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย  สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และค่าร้อยละ  โดยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการประเมินสรุปไดดังนี้

1.             ผลการประเมินประเด็นบริบทของโครงการมีทั้งหมด  5  ตัวชี้วัด  พบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  ซึ่งตัวชี้วัดทั้ง  5  ตัวชี้วัด  สามารถสรุปผลการประเมินได้ดังนี้

1.1      การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

1.2      การให้ความสำคัญ และประโยชน์ของการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

1.3      กิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของโรงเรียนสอดคล้องกับนโยบายพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

1.4      ชุมชนมีส่วนร่วมสนับสนุนการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

1.5      กิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมสอดคล้องกับวัฒนธรรมโรงเรียนและท้องถิ่นพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

2.             ผลการประเมินประเด็นปัจจัยของโครงการมีทั้งหมด  5  ตัวชี้วัด  พบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ซึ่งตัวชี้วัดทั้ง  5  ตัวชี้วัด  สามารถสรุปผลการประเมินได้ดังนี้

2.1      การจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาตามแผนงานและโครงการพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

2.2      ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

2.3      วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

2.4      คณะกรรมการดำเนินงานมีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

2.5      ระบบข้อมูลเพื่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

3.             ผลการประเมินประเด็นกระบวนการของโครงการมีทั้งหมด  12  ตัวชี้วัด  พบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  ซึ่งตัวชี้วัดทั้ง  12  ตัวชี้วัด  สามารถสรุปผลการประเมินได้ดังนี้

3.1      การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

3.2      ครูมีโอกาสร่วมกำหนดแผนงานพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

3.3      โรงเรียนแต่งตั้งครู นักเรียน รับผิดชอบโครงการพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

3.4      กำหนดแนวทางปฏิบัติหน้าที่และการมอบงานที่ชัดเจนพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

3.5      การดำเนินกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนตามแผนที่กำหนดพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

3.6      ครู นักเรียน และชุมชน มีส่วนร่วมรับผิดชอบดำเนินโครงการพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

3.7      การปฏิบัติกิจกรรมดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

3.8      กิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนมีความเหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

3.9      การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

3.10     ครู นักเรียน และชุมชม มีส่วนร่วมในการประเมินโครงการพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

3.11     การจัดทำสรุปรายงาน ข้อเสนอแนะ การปฏิบัติงานตามโครงการพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

3.12     การนำผลการดำเนินงานไปใช้เป็นข้อมูล ในการพัฒนาภายหน้าพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

4.             ผลการประเมินประเด็นผลผลิตของโครงการมีทั้งหมด  9  ตัวชี้วัด  พบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  ซึ่งตัวชี้วัดทั้ง  9  ตัวชี้วัด  สามารถสรุปผลการประเมินได้ดังนี้

4.1      นักเรียนรู้จักความมีระเบียบวินัยพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

4.2      นักเรียนตระหนักถึงความซื่อสัตย์สุจริตพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

4.3      นักเรียนรู้จักปฏิบัติตนตามหลักธรรมศาสนาที่ตนนับถือพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

4.4      นักเรียนมีความสามัคคี  และรู้จักเสียสละต่อส่วนรวมพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

4.5      นักเรียนรู้จักความรับผิดชอบต่อตนเองพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

4.6      นักเรียนรู้จักรับผิดชอบต่อครอบครัว  และโรงเรียนพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

4.7      นักเรียน  ครู  และผู้ปกครอง  มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

4.8      นักเรียนอยู่ร่วมกันเพื่อน  และสังคมอย่างมีความสุขพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

4.9      โรงเรียนเป็นที่ยอมรับของชุมชนพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

5.             ผลการประเมินโครงการโดยภาพรวมของโครงการ  พบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก  ประเด็นการประเมินทั้ง  4  ประเด็น  ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด  3  ประเด็นการประเมินคือ  ประเด็นประเมินบริบท  ประเด็นกระบวนการ  และประเด็นผลผลิต  ส่วนประเด็นประเมินปัจจัยมีผลการประเมินระดับมาก  และเมื่อพิจาณาตัวชี้วัดทั้งหมดจำนวน  31  ตัวชี้วัด  ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง  31  ตัวชี้วัด  ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด  24  ตัวชี้วัด  ส่วนตัวชี้วัดที่เหลือจำนวน  7  ตัวชี้วัด  ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากได้แก่  การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน  การจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาตามแผนงานและโครงการ 

ณัฐนันท์ อินทสงค์

ผลงาน          รายงานการใช้บทเรียนสำเร็จรูป  เรื่อง  การสร้างเสริมสุขภาพ ใส่ใจสุขภาพ

   กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  ชั้นประถมศึกษาปีที่  3

ชื่อผู้ศึกษา             นางณัฐนันท์  อินทสงค์

ปีที่ศึกษา               ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2556

 

                                                                บทคัดย่อ

 

                การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบทเรียนสำเร็จรูป  เรื่อง  การสร้างเสริมสุขภาพ

ใส่ใจสุขภาพ  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  ชั้นประถมศึกษาปีที่  3  และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป  เรื่อง  การสร้างเสริมสุขภาพ

ใส่ใจสุขภาพ  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  ชั้นประถมศึกษาปีที่  3  โรงเรียนวัดไชยธารา (เกิดศิริประชาสรรค์)  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1

  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  โรงเรียนวัดไชยธารา (เกิดศิริประชาสรรค์)  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2556  จำนวน  18  คน 

ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่  บทเรียนสำเร็จรูป  เรื่อง  การสร้างเสริมสุขภาพ ใส่ใจสุขภาพ  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  ชั้นประถมศึกษาปีที่  3  และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่อง  การสร้างเสริมสุขภาพ ใส่ใจสุขภาพ  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  ชั้นประถมศึกษาปีที่  โรงเรียนวัดไชยธารา (เกิดศิริประชาสรรค์)  สำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1  เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ  มี  4  ตัวเลือก  จำนวน  30  ข้อ

วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์  โปรแกรมสำเร็จรูป  หาค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และทดสอบค่าที  (t-test)

 

                                                                ผลการศึกษา

 

                  1.  เพื่อสร้างบทเรียนสำเร็จรูป  เรื่อง  การสร้างเสริมสุขภาพ ใส่ใจสุขภาพ  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  ชั้นประถมศึกษาปีที่  3  โรงเรียนวัดไชยธารา (เกิดศิริประชาสรรค์)  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1  ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ  82.15/80.37  สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน  80/80  ที่ตั้งไว้

                 

 

                

               2.  นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปเรื่อง  การสร้างเสริมสุขภาพ ใส่ใจสุขภาพ 

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  ชั้นประถมศึกษาปีที่  3  โรงเรียนวัดไชยธารา

(เกิดศิริประชาสรรค์)  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

หลังเรียนสูงกว่า  ก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01

การพัฒนาแบบฝึกทักษะการคูณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุนทรวัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการคูณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุนทรวัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการคูณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุนทรวัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุนทรวัฒนา สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการคูณกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนสุนทรวัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 40 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้

ในการศึกษา มี 4 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การคูณ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบฝึกทักษะการคูณ แบบสอบถามความพึงใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการคูณ

ผลการศึกษาพบว่า

1) คะแนนจากการทดสอบระหว่างเรียน คิดเป็นร้อยละ 89.09 (E1) คะแนนทดสอบ หลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 90.08 (E2) ดังนั้นแบบฝึกทักษะการคูณมีประสิทธิภาพ 89.09/90.08 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80

2) ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการคูณ มีค่าเท่ากับ 0.82 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 82

3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุนทรวัฒนา มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการคูณโดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (= 4.44)

ชื่อเรื่องรายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อมประกอบการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการสืบเสาะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดทุ่งประดู่

ผู้รายงาน นางสาวดารากรวิเศษ

ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ

หน่วยงาน โรงเรียนวัดทุ่งประดู่ อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต1

ปีที่ใช้ในการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ประกอบการจัดการเรียนรู้ แบบกระบวนการสืบเสาะ เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80และค่าดัชนีประสิทธิผล 0.5 ขึ้นไปเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดทุ่งประดู่ และโรงเรียนบ้านหนองพิกุล จำนวนนักเรียน 10 คนภาคเรียนที่1ปีการศึกษา 2556การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อมประกอบการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการสืบเสาะ จำนวน17แผน2) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 6 ชุดเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน2)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล1) ค่าเฉลี่ย 2) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3)ร้อยละความก้าวหน้า

ผลการศึกษาพบว่า

  • 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมมีประสิทธิภาพ เท่ากับ86.50/ 87.66

และมีค่าดัชนีประสิทธิผล ค่าเท่ากับ0.73ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80คือสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดสามารถยอมรับได้ว่ามีประสิทธิภาพ

2 ) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรม

วิทยาศาสตร์ ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการสืบเสาะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและมีค่าเฉลี่ยคะแนนพัฒนา (d) ร้อยละ 35.00ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ (ร้อยละ 25)

3) ความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


ครูมาเลียม เพลินสุขดี

ชื่อผลงานวิชาการรายงานผลการใช้บทเรียนสำเร็จรูปรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา

และวัฒนธรรม รหัสวิชา ส14101 สาระที่ 1ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ชื่อผู้รายงานนางมาเลียมเพลินสุขดี

หน่วยงานโรงเรียนบ้านกลางคลอง 30อำเภอองครักษ์จังหวัดนครนายก

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก

ปีการศึกษา 2556

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รหัสวิชา ส14101 สาระที่ 1ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ภาคเรียน 2

ปีการศึกษา 2556มีจุดมุ่งหมายของการศึกษา คือ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รหัสวิชา ส14101 สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/802) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รหัสวิชา ส14101

สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 43) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รหัสวิชา

ส14101 สาระที่ 1ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้างกลางคลอง 30 อำเภอองครักษ์จังหวัดนครนายก และโรงเรียนวัดโพธิ์แทน อำเภอองครักษ์จังหวัดนครนาย จำนวน 42คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่1)บทเรียนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รหัสวิชา ส14101 สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4จำนวน 6เล่ม2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รหัสวิชา ส14101 สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ

4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนรายวิชาสังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม รหัสวิชา ส14101 สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4จำนวน 10ข้อ สถิติที่ใช้ในการศึกษาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบ 1) บทเรียนสำเร็จรูปรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รหัสวิชา

ส14101 สาระที่ 1ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.87/85.63 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80ที่ตั้งไว้2) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่ใช้บทเรียนสำเร็จรูป หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05เป็นตามสมมติฐานที่ตั้งไว้3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป โดยภาพรวมผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.77)

นางนิทรา ลิ้มสุเวช

ชุดการสอน เรื่อง การเพิ่มคำ จัดทาขึ้นเพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ได้ศึกษา เพื่อยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประกอบด้วยชุดย่อยจานวน ๖ ชุดได้แก่

ชุดที่ ๑ คาเลียนเสียงธรรมชาติ

ชุดที่ ๒ คาคะนองหรือคาสแลง

ชุดที่ ๓ คาที่มาจากภาษาอื่นและคาไม่ทราบที่มา

ชุดที่ ๔ คาประสม

ชุดที่ ๕ คาซ้า

ชุดที่ ๖ คาซ้อน

โดยชุดที่นักเรียนกาลังศึกษานี้เป็นชุดที่ ๑ เรื่องคาเลียนเสียงธรรมชาติ ภายในชุดการสอนนี้ประกอบด้วย คานา สารบัญ คาแนะนาการใช้ชุดการสอน บทบาทครู บทบาทนักเรียน สาระสาคัญ มาตรฐานช่วงชั้น มาตรฐานการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ ขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรม บัตรคาสั่ง แบบทดสอบก่อนเรียน บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม บัตรเฉลย แบบทดสอบหลังเรียน นักเรียนสามารถศึกษาและปฏิบัติกิจกรรมในชุดการสอนด้วยตนเอง โดยมีครูผู้สอน เป็นผู้แนะนาให้คาปรึกษา การศึกษาโดยใช้ชุดการสอนจะเกิดประสิทธิภาพเมื่อนักเรียนตั้งใจศึกษาและทากิจกรรมที่กาหนดให้อย่างมุ่งมั่นและจะต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองในการปฏิบัติกิจกรรม ไม่เปิดดูเฉลยก่อนที่จะทากิจกรรม

ผู้จัดทาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ชุดการสอนนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านการเรียนรู้ ของนักเรียนตามศักยภาพ

นางนิทรา ลิ้มสุเวช

โรงเรียนสุรนารีวิทยา ๒ อาเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๑

สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

นางอุบลรัตน์ แซ่ด่าน

ชื่อรายงาน รายงานการพัฒนาและการใช้ใบงานและเกมประกอบการเรียนการสอน

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดพระปฐมเจดีย์

ผู้รายงาน นางอุบลรัตน์ แซ่ด่าน

ปีที่ศึกษา 2554

...............................................................................................................................................

บทคัดย่อ

การรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1). เพื่อสร้างและพัฒนาใบงานและเกมประกอบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2). เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ใบงานและเกมประกอบการเรียนการสอน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

3).เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อใบงานและเกมประกอบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 โรงเรียนวัดพระปฐมเจดีย์ ปีการศึกษา 2555 จำนวน 47 คน และปีการศึกษา 2556 จำนวน 54 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย ( Simple random sampling ) โดยการจับฉลาก ทดลองใช้ในภาคเรียนที่ 1 – 2 ปีการศึกษา 2555 และ ปีการศึกษา 2556 ใช้เวลาทดลอง 36 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 6 ชั่วโมง รวม 216 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการ ได้แก่ ใบงานและเกมประกอบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 12 หน่วยการเรียนรู้ โดยเป็นใบงานจำนวน 121 ใบงานและเกมประกอบการเรียนการสอนจำนวน 54 เกม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 12 หน่วยการเรียนรู้ คู่มือการใช้และแผนการจัดการเรียนรู้ 98 แผน แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อใบงานและเกมประกอบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1 ฉบับ มี 5 ข้อ ทำการทดลองโดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน แล้วจัดการเรียนการสอนโดยใช้ใบงานและเกมประกอบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังจากนั้นจึงให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เมื่อจัดการเรียนการสอนครบทั้ง 12 หน่วยการเรียนรู้แล้ว ให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความ
พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อใบงานและเกมประกอบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 นำผลที่ได้มาเปรียบเทียบและวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของ
ใบงานและเกมประกอบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80

ผลการดำเนินการเรียนการสอน โดยใช้ใบงานและเกมประกอบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ทั้ง 12 หน่วยการเรียนรู้ กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 ในปีการศึกษา 2555 และ ปีการศึกษา 2556 ปรากฏว่า ใบงานและเกมประกอบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ทุกหน่วยการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด โดยใน 2 ปีการศึกษามีประสิทธิภาพเฉลี่ย 87.51/86.21 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ แสดงว่า ใบงานและเกมประกอบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพดีและเมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 ในปีการศึกษา 2555 และ ปีการศึกษา 2556 ปรากฏว่า มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง 2 ปีการศึกษา แสดงว่า นักเรียนมีความรู้ในการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เพิ่มขึ้นทั้ง 2 ปีการศึกษา รวมทั้งนักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้ใบงานและเกมประกอบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

นางอุบลรัตน์ แซ่ด่าน

ชื่อวิจัย การพัฒนาทักษะการคิดเลขเร็วโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตคิดเลขเร็ว

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ผู้เขียน นางอุบลรัตน์ แซ่ด่าน

ปีที่วิจัย 2554

...............................................................................................................................................

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1). เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตคิดเลขเร็ว กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2).เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตคิดเลขเร็ว
3). เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตคิดเลขเร็ว กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 4). เพื่อเปรียบเทียบเวลาเฉลี่ยในการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 5). เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตคิดเลขเร็ว กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 โรงเรียนวัดพระปฐมเจดีย์ ภาคเรียนที่ 1– 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 47 คน และภาคเรียนที่ 1 – 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 54 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) โดยการจับฉลาก ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ใช้เวลาในภาคเรียนที่ 1 – 2 ปีการศึกษา 2555 ตั้งแต่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ถึง 8 มีนาคม พ.ศ. 2556 และภาคเรียนที่ 1 – 2 ปีการศึกษา 2556 ตั้งแต่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ถึง 7 มีนาคม พ.ศ. 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบฝึกทักษะคณิตคิดเลขเร็ว กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน คู่มือการใช้แบบฝึกทักษะคณิตคิดเลขเร็วและแผนการจัดการเรียนรู้ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตคิดเลขเร็ว การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t – test dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. แบบฝึกทักษะคณิตคิดเลขเร็ว กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 – 12 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนกับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 ภาคเรียนที่ 1 – 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 47 คน และภาคเรียนที่ 1 – 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 54 คน แบบฝึกทักษะคณิตคิดเลขเร็ว มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.68/85.36 และ89.28/87.55 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 80/80

2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 ภาคเรียนที่ 1 – 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 47 คน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 ภาคเรียนที่ 1 – 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 54 คน ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตคิดเลขเร็วในการจัดการเรียนการสอน พบว่า คะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนในทุกหน่วยการเรียนรู้และทุกฉบับ ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 มีค่าเฉลี่ยของผลการพัฒนาเพิ่มขึ้น () คิดเป็นร้อยละ 70.13 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบอยู่ในระดับสูงทุกฉบับ โดยมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.71 – 0.92

3. แบบฝึกทักษะคณิตคิดเลขเร็ว กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เมื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 ภาคเรียนที่ 1– 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 47 คน และภาคเรียนที่ 1 – 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 54 คน พบว่า แบบฝึกทักษะคณิตคิดเลขเร็ว กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 – 12 มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.83 และ 0.85 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ มีค่าดัชนีประสิทธิผลตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป

4. การเปรียบเทียบเวลาเฉลี่ยในการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 – 12 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 ภาคเรียนที่ 1 – 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 47 คน และของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 ภาคเรียนที่ 1 – 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 54 คน พบว่า เวลาเฉลี่ยในการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนใช้เวลาเฉลี่ยน้อยกว่าก่อนเรียนในทุกหน่วยการเรียนรู้ โดยในปีการศึกษา 2555 มีเวลารวมเฉลี่ยในการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 – 12 เท่ากับ 7.43 นาที และเวลารวมเฉลี่ยในการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 – 12 เท่ากับ 4.10 นาที จากเวลาในการทำแบบทดสอบแต่ละฉบับที่กำหนดไว้ 10 นาที และในปีการศึกษา 2556 พบว่า เวลาเฉลี่ยในการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 – 12 เท่ากับ 6.87 นาที และเวลารวมเฉลี่ยในการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 – 12 เท่ากับ 3.69 นาที

5. การศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตคิดเลขเร็ว กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังจากที่ผู้วิจัยจัดการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตคิดเลขเร็ว หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 – 12 กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 ภาคเรียนที่ 1 – 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 47 คน และภาคเรียนที่ 1 – 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 54 คน เสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยได้ให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตคิดเลขเร็ว พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นที่ดีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตคิดเลขเร็ว และมีความพึงพอใจให้มีการใช้แบบฝึกทักษะคณิตคิดเลขเร็วในการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งสองปีการศึกษา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท