วัยชราหลงลืมเสี่ยงป็นโรคอัลไซเมอร์ โดย รศ.พญ.วรพรรณ เสนาณรงค์


ความจำเสื่อม

 

 

   "เกิด แก่ เจ็บ ตาย " เราคง ได้อ่าน ได้ยินได้ฟัง ได้พูด  ได้เขียนฯ กันบ้างแล้ว  เราเคยสังเกตุ หรือคิดเปรียบเทียบกันบ้างไหมว่า  คนเรานั้น หากไม่เจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ เสียชีวิตก่อนวัยอันควรนั้น  

 

    ชีวิตของคนบางคนก็วนกลับมาที่เดิม เพียงแต่สภาพร่างกายต่างกัน  การดูแลเอาใจใส่ผู้วัยชรามาก ก็เหมือนดูแลทารก เราเกิดมาทำอะไรไม่ได้ ไม่ใช่ซิ เรายังกินได้ เพื่อให้โตแข็งแรง แล้วใครล่ะดูแลเรา  เช่นเดียวกับคนแก่ บางท่านที่ต้องดูแลเหมือนทารกที่ทำอะไรไม่ได้  เราก็ควรช่วยท่านเหมือนที่ท่านเคยรัก ดูแลเราฯ แต่บางครอบครัวทำให้ท่านไม่ได้  

 

     ตัวเราทุกคนอายุมากขึ้นทุกวัน ร่างกายเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เราก็อาจจะกลับวนมาเหมือนวัยทารก วัยเด็ก ก่อนวัยชราได้ ในกรณีที่ ไม่สบาย เกิดอุบัติเหตุ พิการ เป็นโรค ที่ต้องให้คนดูแลทุกๆอย่างกับร่างกาย อย่างเช่น โรคที่นำมาฝากในบันทึกนี้ 

 

คนแก่ " หลงๆลืมๆเสี่ยง" อัลไซเมอร์ "

 

 

 

   " ทุกวันนี้ประเทศไทยมีประชากรที่เป็นผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้นจนทำให้สังคมไทยก้าวเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุ" อย่างเต็มตัวไปแล้ว การที่โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงไป โดยมีผู้สูงอายุจำนวนมาก แน่นอนว่าจะมีปัญหาอื่นๆตามมาอย่างมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือ ปัญหาด้านสาธารณสุข เนื่องจากคนเราเมื่อวัยล่วงเข้าสู่ช่วง"ชราภาพ" เรื่องโรคภัยไข้เจ็บก็จะแวะเวียนเข้ามาถามหาอย่างไม่ขาดสาย

 

     ปัจจุบันโรคที่พบมากในผู้สูงอายุ นอกเหนือจากโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคเกี่ยวกับข้อและกระดูกแล้ว โรคภาวะสมองเสื่อมหรือ "อัลไซเมอร์" ก็เป็นโรคชนิดหนึ่งที่ประเทศไทยพบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกปี ตามจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น

 

    

 

   รศ.พญ.วรพรรณ เสนาณรงค์  หัวหน้าหน่วยโรคความเสื่อมระบบประสาทและพฤติกรรมประสาทวิทยา สาขาวิชาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ภาวะสมองเสื่อมเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่กว่า 70%  จะมีสาเหตุมาจากอัลไซเมอร์ 

 

   โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากการตายของเซลล์ประสาท โดยที่ไม่มีการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนส่งผลให้การทำงานของสมองเสื่อมลง โรคนี้เกิดขึ้นกับคนได้ทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่จะพบมากในคนอายุ 60 ปีขึ้นไป เพศหญิงเป็นมากกว่าเพศชาย และมีแนวโน้มพบผู้ป่วยมากขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งเมื่อเป็นโรคนี้แล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงเพิ่มมากขึ้นได้

 

 

   รศ.พญ.วรพรรณ กล่าวต่อว่า โดยปกติผู้สูงอายุอาจมีอาการหลงลืมบ้างซึ่งเป็นไปตามวัย แต่หากเป็นผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ จะมีอาการหลงลืมต่อเนื่อง และเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่สามารถจำเหตุการณ์ต่างๆที่เพิ่งเกิดขึ้น จำบุคคลใกล้ชิดไม่ได้ ประกอบกิจวัตรประจำวันพื้นฐานไม่ได้ มีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จนอาจรุนแรงถึงขั้นมีอาการทางจิต ก้าวร้าว โวยวาย หวาดระแวง เกิดภาพหลอน สติฟั่นเฟือน

 

    สำหรับผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ นั้นจะเริ่มเปลี่ยนแปลงจากที่เคยเป็นคนปกติกลายเป็น คนคิดช้า เฉยเมย สูญเสียการตัดสินใจ หรือตัดสินใจผิดพลาดบ่อยๆ เวลาพูดคุยกับคนอื่นต้องพูดถึง 3 ครั้ง ถึงจะจำได้ สูญเสียความจำที่กระทบต่อการทำงาน หรือดำรงชีวิต และบุคคลิก อารมณ์ พฤติกรรมมีการเปลี่ยนแปลงไป ฯลฯ ซึ่งผู้ป่วยบางรายต้องเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพสมอง หรือตรวจคอมพิวเตอร์สมอง เพื่อหาทางรักษาได้อย่างถูกต้อง

 

 

    การรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จะใช้วิธีการรับประทานยา ซึ่งมีทั้งชนิดน้ำและแคปซูล รวมทั้งมีแผ่นปะตามร่างกายที่มีตัวยา ช่วยไม่ให้ผู้ป่วยมีอาการย่ำแย่ลง ซึ่งการใช้ยาจะอยู่ที่ดุลพินิจของแพทย์ ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการของโรครุนแรงจนมีอาการทางจิต ก็ต้องเ้ข้ารับการรักษาทางจิตเวชควบคู่กันด้วย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยารักษาโรคนี้ยังมีราคาแพง ไม่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ เนื่องจากมีการพูดถึงเรื่องของความคุ้มค่า ทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงยาได้

 

    ทั้งนี้เมื่อครอบครัวมีผู้ป่วยที่เป็นอัลไซเมอร์แล้ว การดูแลและเข้าใจผู้ป่วย ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ดูแล เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้ต้องการดูแลอย่างใกล้ชิด และต่อเนื่อง หากผู้ดูแลไม่เข้าใจถึงภาวะของโรคนี้แล้ว ก็อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาในครอบครัวได้

 

 

     ผู้สูงอายุเมื่อเป็นโรคอัลไซเมอร์แล้ว จะมีอายุอยู่ได้เฉลี่ยประมาณ 12-15 ปีจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและถูกวิธีจากคนในครอบครัว ต้องระวังไม่ให้เกิดแผลกดทับ แผลติดเชื้อ การสำลักจากการรับประทานอาหาร และโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เพราะสิ่งเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

 

  การป้องกันไม่ให้ต้องตกเป็นเหยี่อ" อัลไซเมอร์ " รศ.พญ.วรพรรณ แนะนำว่า  เราควรป้องกันตนเองตั้งแต่อยู่ในช่วงหนุ่มสาว หรือ วัยทำงาน ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่  นอนพักผ่อนให้เพียงพอ และหากิจกรรมที่ได้ผึกสมองในการคิดบ่อยๆ ก็จะช่วยลดควาเสี่ยงในการเป็นโรคนี้เมื่อแก่ตัวลงได้

 

  ส่วนในรายที่เป็นผู้สูงอายุแล้ว ก็ต้องหากิจกรรมที่ได้ฝึกฝนสมองในการคิดและจดจำ ทำบ่อยๆ การทำกิจกรรมกับลูกหลาน การเข้าชมรมผู้สูงอายุ ได้พบปะเพื่อน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น พูดคุย ก็จะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้ "

 

ขอบคุณ ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ คอลัมน์ หมายเหตุประชาชน

ด้วยความปรารถนาดี กานดา  แสนมณี


หมายเลขบันทึก: 482223เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2012 09:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 07:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

น่าสนใจมากค่ะ..ทุกวันนี้ชอบคุยกับคนหนุ่มสาว เพื่อกระตุ้นต่อมสมองในเรื่องใหม่ๆอยู่เสมอค่ะ..

เมื่อวานก่อน ก็มีคุณปู่ท่านหนึ่งอายุ 80 (มองเผินๆ เหมือนคุณลุง)

กลัวว่า จะเป็นอัลไซเมอร์

เพราะลืมนัดมาเอายาตอนเช้า

ถามไปถามมา เพราะมีกิจกรรมหลายอย่าง ประชุมนั่น ประชุมนี่

เลยให้ความมั่นใจ..

งานยุ่งแบบนี้ อายุ 18 ก็ลืมค่ะ :)

กลัวเป็นอัลไซเมอร์

เลยต้องเข้ามาแอ่วใน gotoknow เป็นตื้อๆเจ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท