เศรษฐกิจไทยในบริบทอาเซียน


การใช้จ่ายที่ไม่ให้ผลในเชิงคุณภาพมันแปลว่าภาระ

คำบรรยายของคุณโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ เรื่อง "เศรษฐกิจไทยในบริบทอาเซียน"  สั้นๆ แต่เห็นภาพเหมือนมองจากข้างนอก  ซึ่งเรามักจะไม่ค่อยรู้ตัวว่าเราอยู่ตรงไหนเทียบกับสมาชิกอาเซียนอื่นๆ  รู้แล้วจะเตรียมตัวอย่างไรกัน  ท่านกล่าวไว้ดังนี้

เราต้องเรียนและเตรียมตัวให้พร้อม เราจะต้องเผชิญกับคู่ต่อสู้ที่อาจจะเก่งกว่าเรา ต้องเผชิญกับสภาพที่เราไม่คุ้นเคย เหมือนกับการเล่นกีฬาในสนามที่เราไม่คุ้นเคยมาก่อน อย่าง สปป.ลาว เวลาเดินตลาดจะเห็นสินค้าของไทย ถามว่าจีนเก่งไหม จะเห็นว่าทิศทางการพัฒนาของจีน ลำดับการพัฒนาของประเทศ จากอันดับ 34 เมื่อปี 2007 อีกห้าปีเขาดีขึ้นเป็น 26  ของไทยเคยอยู่ที่ 28 แต่วันนี้เราอยู่ที่ 39 ห่างจากเขา 13 ขั้น ถ้าจะไปก็ต้องไปแข่งกับเขา มันต้องเตจรียมตัวไมให้ดี ไม่อย่างนั้นอย่าไปคิดว่าจะชนะ  เรื่องอาเซียนเป็นความจำเป็นของประเทศชาติ ไม่ใช่ทางเลือก เราต้องอยู่กับอาเซียนเพื่อให้เราดีขึ้น จำเป็น เพราะเราไม่มีอะไร ตลาดเราก็จำกัด คนงานก็ไม่มี ทรัพยากรก็เกือบหมด การลงทุนจากต่างประเทศก็มีลำดับความสำคัญต่ำลง   หลายคนกลัว ก็น่ากลัว 

เราจะปรับตัวเองอย่างไร

ถ้ามองในอดีต เราก็ได้ดำเนินการปรับปรุงมาบ้าง แต่มันไม่กว้าง  ประเด็นอยู่ที่ว่าเราจะปรับตัวเองให้กว้างขวางอย่างไร  มีอยู่สองแนว

แนวที่หนึ่งคือความคิด ประเทศนี้ต้องเปลี่ยนความคิด จากความคิดเรื่องปริมาณ ไปเป็นความคิดเรื่องคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณภาพที่จะตัดสินว่าใครจะชนะในการพัฒนาประเทศคือคุณภาพการศึกษา  ทำอย่าไงรเราจะเลิกนับจำนวนหัว หรือเลิกนับปริมาณ หรือเลิกซื้อของเฉยๆ เช่น ที่จะซื้อ Tablet กันนี่ ตอบได้ไหมว่าคุณภาพการศึกษาจะดีขึ้นอย่างไร  เป็นคำถามที่จำเป็นขึ้นเรื่อยๆ เป็นคำถามที่สะท้อนความคิด

เราพูดถึงรถไฟความเร็วสูง เมื่อสามสิบปีก่อนจีนมีโครงการพัฒนาเรื่องรถไฟ เขาคิดเรื่องคุณภาพเป็นเบื้องต้น ที่จะให้รถไฟมีคุณภาพดีที่สุดในโลกแล้วเขาจะส่งออก  รถไฟไทยวันนี้ยังส่งไปไหนไม่ได้

เป้าเชิงคุณภาพกับเป้าเชิงปริมาณ คงไม่ต้องพูด ท่านเป็น expert มากกว่าผม  ใครตั้งเป้าคุณภาพแล้วทำได้ อันดับจะดีขึ้น  ใครตั้งเป้าคุณภาพแล้วทำไม่ได้ อันดับอาจจะไม่เปลี่ยน  ใครตั้งแต่เป้าปริมาณ อันดับจะตกลง

ทิศทางที่สอง เราต้องเข้าใจว่าการใช้จ่ายที่ไม่ให้ผลในเชิงคุณภาพมันแปลว่าภาระ เรามองยุโรปอเมริกา การใช้จ่ายแม้จะตั้งใจดี อยากจะให้คนจนได้โน่นได้นี่  แต่มันเป็นภาระสะสมไปเรื่อยๆ จนวันหนึ่งรับไม่ได้ เช่น กรีซ เจตนาดีที่เคยทำแล้วใช้จ่ายไปเยอะแยะ แต่ไม่ได้ผลกลับมา กลายเป็นคนที่จะต้องมารับทุกข์เป็นคนรุ่นหลังที่ตามมา คนหนุ่มคนสาวที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่  รัฐบาลต้องออกกฎหมายเพื่อลดสิทธิของประชาชน เป็นกฎหมายที่เฉลี่ยความทุกข์ จึงมีการเดินขบวนที่หน้ารัฐสภาทุกวัน เช่น ลดอัตราเงินเดือนขั้นต่ำ ลดสิทธิประโยชน์ ลดอัตราข้าราชการ  เรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะการใช้จ่ายที่ไม่มีคุณภาพ เมื่อไม่มีคุณภาพมันก็สะสม  อย่างไขมันสะสมในคนแก่ แล้วก็ไปถึงการอุดตัน ความเดือดร้อย เช่นกัน การใช้จ่ายที่ไม่มีประโยชน์ ไม่มีคุณภาพ มันสะสมไปเรื่อยๆ  เราต้องเข้าใจ วิธีการที่เราจะเข้าสู่ยุคอาเซียนเราต้องเข้าใจสองเรื่องนี้

เมื่อมันเสรี มันก็เสรีทุกอย่าง เป็นเจตนา แต่ไม่มีรายละเอียด ทุกประเทศก็ต้องปกป้องคนของตัว แต่ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ถ้าเรามีความสามารถในการแข่งขันได้ดีขึ้น คนของเราก็จะไปทำงานได้ในต่างประเทศเช่นกัน เช่น Siam Cement หลายพันคนอยู่ที่เวียดนาม อินโดนีเซีย รับคนต่างประเทศด้วย แต่ขนมมันใหญ่ขึ้นภายใต้อาเซียน มันขึ้นกับตัวเราว่าจะทำให้ขนมของเราใหญ่ขึ้นได้ไหม

ส่วนภาพเล็กคือการเรียนลูกเดียว คุณภาพการศึกษาสำคัญที่สุด มันสร้างภูมิคุ้มกันซึ่งเป็นหลักใหญ่จของเศรษฐกิจพอเพียง  เราทุกคนต้องเริ่มสร้างภูมิคุ้มกัน

คำสำคัญ (Tags): #HA Forum 2012#อาเซียน
หมายเลขบันทึก: 482196เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2012 22:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ขอบพระคุณอาจารย์นะคะที่สรุปให้ฟังอย่างละเอียด เหมือนได้ไปนั่งฟังเลยค่ะ

เเละเเวะมาขอบพระคุณอาจารย์ที่เปิดโอกาสให้ทีม หน่วยการุณรักษ์( Palliative care unit)จากโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มข.ได้มีโอกาสมานั่งเเลกเปลี่ยนในงาน HA FORUM ครั้งที่ 13 นี้ค่ะ อาจารย์ศรีเวียง ดีใจมากค่ะ มีคนเข้าฟังเยอะ

ขอบคุณอาจารย์มดและทีมงานที่มาช่วยสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ในงานเช่นเดียวกันครับ จะพยายามนำความรู้ต่างๆ มาเผยแพร่ให้มากที่สุดครับ สามารถเข้าไป download ppt ได้ที่ http://www.ha.or.th/km_f13/ppv.html

ขอบพระคุณอาจารย์หมออนุวัฒน์ค่ะที่กรุณาให้ GotoKnow ได้เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนในงาน HA Forum ในครั้งนี้ค่ะ หลังจากงานประชุมในวันนั้น GotoKnow ได้สมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นหลายท่านและสามารถกระตุ้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ออนไลน์และกระชับความสัมพันธ์ของสมาชิกเก่าๆ ได้ด้วยค่ะ

ขอบคุณ สำหรับบันทึกดีๆ ครับ ดีใจครับที่ได้เห็นการเชื่อมกันระหว่าง โกทูโนวกับ สรพ. ครับ

ขอบคุณอาจารย์มากๆครับ ที่ทำให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกครับ

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/482055

เรียนท่าน ผอ. KM4Q เราจะเดินอย่างไรครับท่าน

ใครจะตอบปัญหานี้ได้..ว่า..ทำไม ประเทศซึ่งประกอบด้วยดวงประทีปวิเศษ สามประการ คือ 1. มีพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ยาวนานที่สุด ทรงมีพระปรีชาญานและทรงงานหนักที่สุดในโลก..2.มีการดำรงอยู่ของศาสนาที่เป็นแนวทางในการดำรงชีวิตที่ดีที่สุด..และ 3.มีแผ่นดินซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่นับว่าดีเหมาะสมแก่การดำรงชีวิตดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก..จึงได้มีสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน???????..

ขอบคุณท่านอจ.หมอ อนุวัฒน์....มากค่ะ

- แนวที่หนึ่งคือความคิด ประเทศนี้ต้องเปลี่ยนความคิด จากความคิดเรื่องปริมาณไปเป็นความคิดเรื่องคุณภาพ

-  ทิศทางที่สอง เราต้องเข้าใจว่า...การใช้จ่ายที่ไม่ให้ผลในเชิงคุณภาพ...มันแปลว่าภาระ .....(ก็มีภาระเหมืนกันค่ะ....เป็นงานเชิงลึก..นะคะ)


ขอบคุณ GotoKnow ครับ ที่ให้เกียรติเวที HA National Forum อย่างมาก ข่วยกันสร้างความหลากหลายของกิจกรรมและช่องทางให้กับคนทำงานคุณภาพ

ส่วน KM4Q นั้นจะเริ่มเดินหน้าตั้่งแต่บัดนี้ครับ วันที่ 20-21 นี้จะไปที่ รพ.พุทธโสธร จ.ฉะเชิงเทรา ถ้า อจ.JJ ว่างก็เชิญนะครับ

เข้ามาเรียนรู้ รับฟังค่ะ

ต้องขอบพระคุณอาจารย์มากๆค่ะ

 

กระตุ้นต่อมคิดได้ดีมาก ขอบคุณอาจารย์มากนะคะ ที่นำมาเล่าต่อค่ะ

ปีนี้ไม่ได้ไปร่วมงาน HA forum แต่ติดตามอ่าน ได้แนวคิดดีดีมากมายค่ะ

เรียนท่านอาจารย์ อนุวัฒน์ เสียดายมาอ่านติดตามช้าไป ๒๐-๒๑ มีนาคม ติดภาระกิจ ขอเป็นคราวต่อไป ที่ใด วันไหน ครับท่าน

ขอขอบพระคุณครับอาจารย์ ทำให้ผมได้แจ้งกระจ่างขึ้นมากเลยครับ  ขอบพระคุณครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท