เด็ดเดี่ยว = ต่างชัด + สอดคล้อง : บทเรียนจากแดนหิน


ปีนี้ข้าพเจ้าพลาดการเข้าร่วมงาน HA forum 2012 และเครือข่ายลิขิตฯ อย่างน่าเสียดายยิ่ง ปีหน้าไม่ยอมพลาดแน่นอน..ด้วยเหตุกระชั้นชิดกับช่วงเวลากลับจากการเดินทางไกล อันเหน็ดเหนื่อย แต่ก็ได้ประสบการณ์และข้อคิดบางอย่างติดมือมาสะท้อนสู่กันฟัง
...

 การนำเสนอผลงานวิจัย ในการประชุมวิชาการ palliative care ประจำปี AAHPM 2012 ซึ่งปีนี้จัดที่ เมือง Denver , Colorado
 เช่นเดียวกับปีก่อนๆ คือ งานเน้นความเรียบง่ายรักษาสิ่งแวดล้อม
อุปกรณ์ประชุมมีแค่หนังสือพ็อคเก็ตบุคหัวข้อนำเสนอ ที่เป็นสมุดโน็ตในตัว
ไม่มีหนังสือรวบรวม abstract แต่ตั้งเครื่องพิมพ์ให้ใช้ หากต้องการ handout หัวข้อไหนจริงๆ
ไม่มีของชำร่วย กระทั่งปากกา

 

แต่ลงทุนกับสถานที่ประชุม Colorado convention center ซึ่งเป็นศูนย์กลางคมนาคม อยู่ใกล้โรงแรม และแหล่งของกิน (งานนี้ไม่มีเลี้ยงข้าวเที่ยง)

              

บรรยากาศ การนำเสนอผลงาน...
ห้องประชุม บรรจุผู้เข้าฟังประมาณ 150 คน
ได้อานิสงค์จาก ผู้นำเสนอท่านที่สอง เป็นอาจารย์ที่มีชื่อเสียงและหัวข้อวิจัยของท่านน่าสนใจมาก
ข้าพเจ้าจับพลัดจับผลูเป็นผู้นำเสนอคนแรก แต่ไม่ประหม่านัก
"เทคนิคการทำในใจ - mental rehearsal" จากท่าน อ.สกล (เคยเขียนไว้ที่นี่) ช่วยได้มาก  
วันก่อนนำเสนอจึงมายืนตรงแท่นในห้องนี้่ตอนไม่มีคน แล้วจินตนาการ..แต่ยังไม่ชัด
ขณะพูด แม้จะมีผิดบ้าง ลืมบ้าง ตามประสา โดยเฉพาะหากสังเกตอากัปกิริยาคนในห้อง ทำหน้าฉงน หรือ ขมวดคิ้ว
สิ่งที่ช่วยคือ สบตากับอาจารย์ และมองหาแต่คนที่ส่งยิ้มให้
หลังจากจบสไลด์สุดท้าย มีเสียงปรบมือ..แต่ไม่มีคำถาม (เป็นสิ่งผิดปกติของที่นี่) 
ข้าพเจ้าจึงยิ้มสยามแล้วบอก " I am glad to answer your question, however, english is not my first langauge so please speak a bit slowly"
มีเสียงปรบมือดังกว่าเดิม แต่ก็ไม่มีคำถาม
ข้าพเจ้าตีความว่า เขาอาจกลัวข้าพเจ้าหน้าแตกไม่เข้าใจคำถามก็เป็นได้
เมื่อเดินออกจากห้องประชุมมา จึงมีคนเดินตามมาสะกิดถาม
" ที่เธอว่า เมืองไทยใช้ opioid ทางการแพทย์ต่อคนต่อปี แค่ 0.6 mg  ขณะที่อเมริกาใช้ 54 mg เป็นเพราะอะไร"
-- ข้อมูลนี้ไม่เกี่ยวกับการศึกษาของข้าพเจ้า เป็นส่วนเกริ่นนำให้เห็น "ความไม่สบายใจ" การใช้ยาประเภทนี้ในบ้านเรา
...
ข้าพเจ้าระลึกถึงสิ่งที่เคยอ่านมาว่า
1. คนเรามักมีสมาธิฟังและจดจำมากทีสุดในช่วง 3 นาทีแรก 
2. สิ่งที่เป็นตัวเลขเปรียบเทียบความแตกต่าง มักดึงความสนใจได้ดี (โดยเฉพาะชาวตะวันตก)

...
บรรยากาศ การบรรยาย
มีหลายหัวข้อที่่น่าสนใจ แต่จัดทับซ้อนเวลากัน บางที 10 ห้องพร้อมๆ กันซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าซ้อนทับกันมากไปหน่อย
การบรรยายหนึ่งที่ข้าพเจ้าติดตาตรึงใจปีนี้ยกให้กับ
" Palliative care futurist : our decisive moment"
ซึ่งวิทยากรหญิงสะท้อนบุคลิกที่..
เด็ดเดี่ยว - เป้าชัดและวัดได้ - ขยายเครือข่าย - ปลุกใจมวลชน 
...
เทคนิดการพูด ใช้ตัวชี้วัดทางสุขภาพที่แตกต่าง ในการเร้าอารมณ์ร่วม
ก่อนนำสู่ " 4 สิ่งที่เราช่วยกันได้ในสัปดาห์หน้า" ดูจะได้ผลเรียกเสียงปรบมือกึกก้องทีเดียว
...
เอาใจช่วยให้การปราศรัยที่ทรงพลังนี้ จะไปถึงเป้า HP2020 

###

ความเด็ดเดี่ยว - Decisive
เริ่มต้นที่การ "เลือก" แตกต่างอย่างชัดเจน -contrast 
แต่มันก็เป็นแค่"จุด"เริ่มต้นเท่านั้น
ไม่สามารถเกิดเป็น "เส้นทาง" ให้ใครเดินตาม
หากปราศจากการ "ดำเนิน" อย่างสอดคล้อง - consistence

 

###
อนุทินและบทความ
ที่ช่วยขัดเกลาเหลี่ยมหิน..

คุณหมอ "ทิมดาบ"
"สิ่งที่ทำให้เราหมดเรี่ยวหมดแรงนั้น หาใช่ภูผาที่ตั้งตระหง่านอยู่เบื้องหน้าไม่
หากแต่เป็นทรายเม็ดเล็กๆ เม็ดหนึ่งในรองเท้าของเราเอง"
- อี้หมิง
สิ่งสำคัญที่ทำให้เราไม่สามารถไปถึงจุดหมาย คือ "ใจที่ไปพะวงยึดติดกับสิ่งอันหาสาระมิได้ - distraction" 

..
ขณะเดียวกัน 
..

อาจารย์ "wasawat"
"ทุกคนมีเป้าหมายของชีวิต แต่เราลืมอะไรระหว่างทางหรือเปล่า"
เป้าหมายที่แท้จริง คือการทำให้คนที่รักเราที่สุดมีความสุข 
.
 

หมายเลขบันทึก: 482120เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2012 05:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (30)

* ประสบการณ์ชีวิต ให้ข้อคิดดีๆมากมาย..ขอบคุณค่่ะ

* การบรรยายในที่ประชุม แล้วไม่มีคำถามจากผู้ฟัง ..น่าจะให้ความรู้สึกเดียวกับ การเขียนบันทึกเปิดทางออนไลน์ ที่ผู้อ่านผ่านเข้ามาเฉยๆ แต่ไม่ให้ความเห็นใดๆ..แปลความได้หลายอย่าง..

* ผู้เล่าหลายคนทิ้งท้ายด้วยการเปิดประเด็นให้ชวนคุยต่ออีก..เป็นการกระตุ้นต่อมโต้ตอบด้วย..

* บางรายถึงกับแจกของรางวัลแก่ผู้ถาม หรือผู้ให้ความเห็นห้าลำดับแรก เป็นต้น

* วิทยากรยอดนิยมมักทำการบ้านก่อน เช่น หาข้อมูลผู้ฟัง เพื่อจะได้พูดในสิ่งที่ผู้ฟังอยากฟัง มากกว่าพูดแต่ในสิ่งที่ผู้พูดอยากพูดเท่านั้น..

รูปของคุณหมอในบันทึกนี้

ดูเหมือนจะผอมเพรียวลงไปเยอะเลยนะครับ

สงสัยคงจะงานเยอะกระมัง? 555

การดึงประเด็นและสร้างบทสรุปจากเรื่องต่างๆของคุณหมอนี่ลึกซึ้งและสุดยอดจริงๆครับ
ทั้งในรูปของการบันทึกถ่ายทอดและการสะท้อนลงบนการถ่ายภาพ

อดเจอกันเลยครับ รางวัลจตุรพลัง จะให้รางวัลหน่วยงานที่ทำเรื่องการจัดการความรู้ดีเด่นครับ เย้ๆๆ

คุณหมอ ป.เป็นอีกท่านหนึ่งที่เขียนบันทึกทางวิชาการ แล้วน่าอ่าน และเข้าใจง่าย ครับ

ขอบคุณบันทึก ดีดี ที่คุณหมอ เขียนมาให้อ่านสม่ำเสมอนะครับ

เรียน อาจารย์หมอ ป. ที่เคารพครับ

อยากร้องตะโกนว่า คนอะไรเขียนบันทึกได้กระตุกต่อมคิด

ได้ทุกวรรคมากเลยครับ

กลมกลืนกับความเด็ดเดี่ยว = ต่างชัด + สอดคล้อง

ที่สะท้อนถึงความเป็นตัวตนมากครับ

อาจารย์คงถ่อมตัวมากเกินไปนะครับ

นำเสนอคนแรก ๆ ผู้ฟังอาจจะไม่ตั้งหลักในการจะถามคำถาม

หรือวัฒนธรรมชาวต่างแดน

เขาอาจจะไม่ชอบถามแบบเมืองไทยครับ

ผมเคยไปนำเสนองานเมืองไทย (ยิ่งเป็นเวทีวิชาการ) หรือไปนั่งฟังเวทีวิชาการอื่น ๆ

ผู้ฟังน้อยมาก มีเพียงกองเชียร์เราสองสามคน กับอาจารย์ผู้วิพากษ์

เกรงใจไม่กล้าถามผู้นำเสนอ...ทั้งที่คำถามจะสร้างประเด็นเรียนรู้ได้อีกมากมาย

ที่น่าสนใจมาก คือ

สิ่งที่เป็นตัวเลขเปรียบเทียบความแตกต่าง มักดึงความสนใจได้ดี (โดยเฉพาะชาวตะวันตก)

ที่สำหรับผมแล้ว

รอยยิ้มสยาม...และจิตวิญญาณความหมอ (เหมือนอาจารย์หมอ ป.)

จะดึงความสนใจได้ดี (โดยเฉพาะชาวตะวันตก)

และได้ดีที่สุด ก็คือ..แฟนคลับอาจารย์หมอ ป. ครับ

ข้าพเจ้าระลึกถึงสิ่งที่เคยอ่านมาว่า

1. คนเรามักมีสมาธิฟังและจดจำมากทีสุดในช่วง 3 นาทีแรก

2. สิ่งที่เป็นตัวเลขเปรียบเทียบความแตกต่าง มักดึงความสนใจได้ดี (โดยเฉพาะชาวตะวันตก)

...

ชอบตรงนี้เลยครับ

อยากเจอตัวเป็นๆ

ปีหน้าจะได้..เจอมั้ย

เจอกันสักที..เป็นไร

คนที่ให้......และให้

จินตนาการ..งานเยียวยา

...

กดดอกไม้ให้บันทึก ณ เชียงใหม่
ไม่สามารถตอบได้ ณ ตรงนั้น
เดินทางถึงแม่ลาน้อยคล้อยตะวัน
เพียงฉับพลันอ่านดูอีกรอบหนึ่ง

จุดเริ่มต้นของเส้นทางคือการเลือก
เริ่มจากเปลือกหรือภายในไปให้ถึง
จักแนบเนียนเปลี่ยนใจให้คำนึง
คุณหมอ ป. เป็นหนึ่งลึกซึ้งนัย

...

(ตอบไม่ตรงประเด็นจากแม่ลาน้อย เมืองเล็ก ๆ ของเมืองไทย)

ขอบคุณพี่ใหญ่ที่ให้เคล็ดลับ ทำให้ผู้ฟังสนใจถามค่ะ
อาจารย์คนที่สอง มั่นใจมาก
ตอนนำเสนองานวิจัย ท่านไม่ยืนตรง podium เดินไปเดินมาราวกับเดี่ยวไมโครโฟน
หันมาแหย่ผู้ฟังเป็นระยะๆ 
ตอนจบ มีคนฟังมาต่อแถวถาม 3-4 คนเลยค่ะ 

 

ขอบคุณค่ะ คุณอักขณิช ที่พูดถูกใจว่า ผอมเพรียว
คุณอักขณิชเองออกแม่ตาดบ่อยๆ ก็ดูคมเข้มขึ้นด้วยนะค่ะ :)
เรื่องงานไม่หนัก (กาย)ค่ะ
น่าจะเพราะ เบบี้แฟท หมดไปเมื่อผ่านวัยรุ่นไป -พักใหญ่ๆ แล้ว

ขอบคุณค่ะ อาจารย์วิรัตน์
ขณะเดินทางและถ่ายภาพนี้  จิตโล่งสบาย
เมื่อมองความยิ่งใหญ่ธรรมชาติยิ่งใหญ่ ช่วยทำให้เห็นปัญหาเราเล็กเหลือขี้ผงค่ะ
 

 ทำดื่มแล้วชื่นใจ ตลาดนัดเกษตรมช.น่าจะมีขายค่ะ

ขอบคุณ อ.ขจิต ที่ตามมาตอบค่ะ :)

โหวตให้ ม.เกษตร กำแพงแสนได้ไหมค่ะ 

อ่านแล้วปลื้มใจตัวลอยเลยค่ะ :)

ภาพที่นำมาลง เป็นมุมมองความสอดคล้องอย่างลงตัวในระบบนิเวศน์ ดีจังค่ะ

สุดยอดจริงๆค่ะ เเวะมาทักทาย คิดถึงอาจารย์หมอเเต้ค่ะ ไม่ได้เข้า g2k นาน วันก่อนพี่กุ้งนางไป HA FORUM เเล้วไปฟังห้อง g2k

บอกตัวเองว่าต้องกลับมาเขียนบันทึกอีก คิดถึง g2k คิดถึงอาจารย์หมอเเต้นะคะ

ขอบคุณ Facilitator แห่ง gotoknow และ R2R ค่ะ 

ตัวเองก็เป็นเช่นนี้ค่ะ

"เกรงใจไม่กล้าถามผู้นำเสนอ...ทั้งที่คำถามจะสร้างประเด็นเรียนรู้ได้อีกมากมาย"

ถามอย่างไรให้เกิดการเรียนรู้
ย้อนกลับไปอ่าน ที่ อาจารย์เอก จตุพร เขียนไว้ที่นี่

  •  เป็นคำถามเปิด ให้คิดมองภาพ เร้าให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ตอบ 

  • เป็นคำถามที่กระตุ้น ให้สามารถวางเป้าหมายระหว่างการทำงาน ในระยะสั้นและระยะยาวได้

  • เป็นคำถามที่ส่งเสริมให้มองย้อนการดำเนินงานในระยะที่ผ่านมา สามารถเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้น และปรับการดำเนินงานในระยะต่อไปได้ 
     
  • เป็นคำถามที่ไม่บีบคั้น แต่ส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้ที่ตอบ สร้างความภาคภูมิใจ ที่จะเล่า และอยากเล่า 

    "สร้างความเชื่อมั่นในการตั้งคำถามจากคำถามพื้นๆ ง่ายๆ และเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ การที่จะถามให้เป็นต้องเริ่มจากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้วยความสนใจ ใฝ่รู้ และการเป็นบุคคลเรียนรู้"

     

----------------------------------------

ค้นใน gotoknow ยังเจอที่ คุณชาตินี เขียนสรุปการตั้งคำถาม กระตุ้นการคิด ที่นี่

คำถามง่ายปูพื้น คือ ถามถึงข้อเท็จจริง
คำถามยากกระตุ้นการคิด คือ ถามให้ อธิบาบ , เปรียบเทียบ

------------------------------------------------------ 

เมื่ออ่านจากหลักการนี้
คำถามที่น่าจะสร้างบรรยากาศแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สำหรับผู้แสดงผลงานวิชาการ
น่าจะประกอบด้วย

  • เริ่มจากถาม fact ที่น่าสนใจ 
    แล้วจึงถามต่อด้วยคำถามให้อธิบาย เปรียบเทียบ
  • คาดว่าคำตอบ ช่วยชี้ทางให้เกิดการพัฒนา ปรับปรุง
  • ตั้ง mind set สงสัยใคร่รู้  ไม่ถามเพื่ออวดภูมิความรู้ตนเอง

    ขอบคุณมากค่ะ ที่ช่วยกระตุ้นให้เรียนรู้ในเช้าตรู่วันนี้ :) 

 

ขอบคุณมากค่ะ คุณบีเวอร์

เป็นหนังสือชื่อ " English for Presentation in International Conference" ของ Adrian Wallwork : Springer 2010  หน้า 122 กล่าวไว้ดังนี้ค่ะ

"...How you introduce yourself and how the audience react to your introduction determine at least 30% of the success of your presentation.

    Audience form their impression of a presenter within approximately 90 seconds.."

อีกอย่างที่หนังสือเล่มนี้แนะนำ และช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายขึ้นหากผู้พูดที่ภาษาไม่แม่น 
(ถามจากอาจารย์ที่นั่งฟัง)
คือ การเรียงลำดับเนื้อหาในสไลด์  ด้วย bullet point  3-6 อัน
เวลาเราพูด ก็เว้นวรรค และไล่ไปตามลำดับนั้น และพูดให้สั้นกระชับ
เพราะ native เขาอ่านที่เขียนในสไลด์ได้เร็วกว่าเราพูด

 

มาอ่านเอาความรู้ค่ะ

 " I am glad to answer your question, however, english is not my first langauge so please speak a bit slowly"

ต้องนำไปใช้บ้าง

การเสนอผลงานที่ ครบถ้วนหรือ ปลายปิด บางครั้งเรา(ในฐานะผู้ฟัง) ก็ไม่ถามค่ะ

กำลังคิดค่ะ ว่าเราไม่ถามเพราะอะไรอีก

สังเกตว่า ผู้เสนอผลงานคนแรกมักจะดชคดีที่ หลังนำเสนอเสร็จจะมีสมาะิฟังผู้อื่นได้อย่างสบายใจ และคนถามน้อย

 

อย่างนี้มั้ยคะ

มุมมองเฉียบอีกแล้วค่ะ จับสังเกตมาเขียนจนได้เนื้อหา อารมณ์ ความรู้สึก หลักคิดน่าสนใจจริง ๆ ค่ะ

ปีหน้าฟ้าใหม่
หวังเจอกันตัวเป็นๆ ไม่งาน HA ก็งาน APHN 2013 นะค่ะ :)

ขอบคุณอาจารย์ wasawat ผู้มีอุดมการณ์แรงกล้า

ที่ฝากดอกไม้และกำลังใจมาจากแม่ลาน้อยค่ะ

เชียงใหม่ ยามนี้ ไม่เห็นด้วงตะวัน

หมอกควันทำให้เหมือนอยู่ในความฝัน ตลอดเวลา


ขอบคุณค่ะ "หม่อนเบอรี่" ที่บ้านเคยมีสองสามต้น เคยนำผลสดๆ มาทานเล่น
พอเห็นนำ้ปั่นแบบนี้ ดูน่าอร่อยค่ะ 

คิดถึงบันทึกของพี่กุ้งนางเช่นเดียวกันค่ะ

ดีใจที่ มาถ่ายทอดลิขิตให้อ่านอีกค่ะ

ขอบคุณที่แนะนำค่ะ เสียดายที่ไม่รู้ก่อน หากมีโอกาสอีกครั้ง (ยังไม่รู้เมื่อไหร่) ก็จะไปเยี่ยมชมให้ได้ค่ะ

ขอบคุณที่ให้มุมคิดหนึ่งค่ะพี่หมอเล็ก
อย่างที่ว่าเลยค่ะ นำเสนอเสร็จก็โล่งใจ
และยังไม่เกร็ง ถ้าคนนำเสนอก่อนเขาคล่องมากๆ อีกด้วย :)

ขอบคุณค่ะ วันนี้ gotoknow โฉมใหม่มีสีสันตรงจำนวนคนอ่าน ความเห็น
ทำให้คิดถึงเวลาอ่านบันทึกคุณหมอธิรัมภา มีเน้นๆ เหมือนกัน :)

วันนี้ได้รับไฟล์ feedback การนำเสนอทางอีเมล์

เป็นเรื่องดี ที่เขามีวิธีการ ให้ผู้นำเสนอได้เรียนรู้ปรับปรุงตัวเอง

สำหรับข้าพเจ้า ส่วนมากกล่าวถึง "พูดภาษาอังกฤษเข้าใจยาก"
ซึ่งแวบแรกอ่าน ก็ค่อนข้าง ผิดหวัง เพราะก็พยายามเตรียมตัวเต็มที่แล้ว
แต่ใจหนึ่ง ก็คิดว่า ยังดีน่ะที่ตั้งใจเตรียมตัว ถ้าเราปล่อยปละละเลย แล้วมี feedback เช่นนี้จะรู้สึกแย่กว่า เพราะเกิดจากเราไม่รับผิดชอบงาน 
เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็เพียง "ยังต้องพยายามต่อไป" 

เข้ามาชื่นชมและเรียนรู้ บันทึกที่นำเสนอครบทุกขั้นจนกระทั่ง feedback ของเจ้าภาพค่ะ ดีจังเลย..ขอบคุณค่ะคุณหมอ:-))

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท