๒๔๖.เสวนา "ภาวะผู้นำทางการเมืองไทย" ภาค ๒


เราถูกปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มานาน ดังนั้นจึงเกิดระบบอุปถัมภ์ขึ้นจริง และยังคงมีอยู่ ชนิดที่ว่า "ตัวเป็นไทย-ใจเป็นข้า"

    

นายรัชตะ พันแสง อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

     เสนออีกว่า หากเทียบผู้นำเหมือนคนขับรถเมล์ ซึ่งมีขั้นตอนในการจอดรับผู้โดยสารก็คือการ input โดยผ่านกระบวนการ และมีการ output ตามทฤษฎีระบบ อยากถามว่าเมื่อคนจะลงจากรถเมล์แล้วคนจะชื่นชมได้อย่างไร?

 

นายศรายุธ กัลยา นายกเทศบาลเมืองพะเยา

     ถ้ากระจายอำนาจให้ท้องถิ่นจริง ๆ จะก้าวหน้าดีมาก แต่ถ้าส่วนกลางยังควบคุมอยู่ก็ลำบากเพราะยังกั๊กบางสิ่งบางอย่าง เช่น ผลประโยชน์ เงิน ฯลฯ เอาไว้อยู่

     เราถูกปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มานาน ดังนั้นจึงเกิดระบบอุปถัมภ์ขึ้นจริง และยังคงมีอยู่ ชนิดที่ว่า "ตัวเป็นไทย-ใจเป็นข้า"

     การใช้เทคดนโลยีนั้นดีหากใช้ให้เกิดคุณ แต่ถ้าใช้ในการทำลายล้างไม่ดีจะแย่กว่าเดิม

     ระบบการปกครองท้องถิ่นยังมีการสั่งการมาจากข้างบน ยังไม่ได้มอบหมายให้อย่างแท้จริง

 

นายจีรเดช ศรีวิราช  นายกเทศมนตรีเมืองดอกคำใต้

     การมีระบบตัวแทนเข้าไปจัดสรรอำนาจ ผลประโยชน์ ทรัพยากรเพื่อตัวเอง หรือเพื่อส่วนรวม ดังนั้นการเข้าไปมีอำนาจที่ส่วนกลางแล้ว แบ่งอำนาจให้ท้องถิ่น การแบ่งรายได้ แม้จะดูมากแล้วก็ตาม แต่อีกส่วนมากยังหวงเอาไว้ หากเทียบกับประเทศที่เจริญแล้วอย่างอเมริกา และญี่ปุ่น

     เช่น กรณีนายกเทศมนตรี ออกนอกพื้นที่จังหวัด ต้องขออนุญาตผู้ว่าฯ ซึ่งขัดกับ พร.บ.๒๕๔๒ หรืออย่างเช่นเรื่องรายได้ ระบุว่าท้องถิ่นต้องได้ ๓๕% แต่ยังเหมือนเดิมคือ ไม่เกิน ๒๖ % แต่ก็มีนโยบาย หรือการสั่งการให้จ่ายตามนโยบายของรัฐบาล เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นต้น

     ในขณะที่ได้เข้าร่วมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และในฐานะประธานสันนิบาตเทศบาลจังหวัดพะเยา ก็พยายามต่อสู้ในประเด็นดังกล่าวนี้อยู่ แต่ใช้เวลานานมาก เนื่องจากรัฐบาลต้องการใช้ท้องถิ่นเป็นเครื่องมือให้รัฐ ดังนั้นดูเหมือนว่ารัฐบาลเองก็ไม่ต้องการให้ท้องถิ่นโตเกินไปด้วยซ้ำ ปัจจุบันท้องถิ่นทำได้จริงแค่ ๑๔ เรื่อง วันนี้ท้องถิ่นต้องหาพื้นที่หรือเวทีในการต่อสู้เรียกร้องจากภาครัฐอีกหลายประเด็น

 

นายรัชตะ พันแสง

     การขับรถ ถ้าคนขับๆ ไม่เป็น หรือคนขับใช้น้ำมันมาใช้ผิดประเภทกับชนิดของรถ อะไรจะเกิดขึ้น กรณีนี้กลไกในการขับเคลื่อนองค์กรของท่านมีปัญหาอย่างไร?

 

นายศรายุธ กัลยา นายกเทศบาลเมืองพะเยา

     กรณีกว๊านพะเยา เมื่อเทศบาลจะดำเนินการเพื่อพัฒนาจะต้องอนุญาตกรมประมงก่อน ว่าทำได้หรือไม่ ดังนั้น ประเทศไทยมีกฏหมายมากมาย แต่อยู่คนละกระทรวง ซึ่งแต่ละทบวง กรม ต่างก็มีกฏหมายเป็นของตนเอง ไม่ประสานกัน เกิดความขัดแย้งกันอยู่มาก

 

นายรัชตะ พันแสง อาจารย์สาขาวิชารัฐศาสตร์ ม.พะเยา

     น่าจะออกกฏหมายให้เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด หรือไม่ก็ให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มาจากประชาชนสามารถสั่งย้ายผู้ว่า นายอำเภอที่มาจากรัฐได้

 

นายจีรเดช ศรีวิราช นายกเทศบาลเมืองดอกคำใต้

     แต่ความเป็นจริง ผู้ว่าฯ สามารถสั่งปลดนายกฯ ในจังหวัดได้ ทั้ง ๆ ที่มาจากประชาชน

     ระบบทุกวันนี้ ล้มเหลว สิ่งที่ควรมีคือการมีส่วนร่วมของประชาชน เพราะแท้ที่จริงแล้ว ผู้ว่าฯ ที่ผ่านการเลือกตั้ง แม้จะเป็นเจ้าพ่อมา แต่เป็นเจ้าพ่อได้แค่ ๔ ปีเท่านั้น จะกลัวไปทำไม (ประชาชนเขาฉลาดมาก)

     ในความคิดผม การปฏิวัติมีอยู่ครั้งเดียว แต่เราไปเข้าใจอะไรเกี่ยวกับรัฐประหาร? ถ้าประชาชนยังเหมือนเดิม ปัญหาก็ยังคงอยู่ แต่ถ้าให้ความรู้ที่ถูกต้องตั้งแต่หมู่บ้าน ชุมชนขึ้นมา สิ่งต่างๆ จะเปลี่ยนไป

     กฏหมายรัฐธรรมนูญ แก้หรือไม่แก้ ไม่ใช่สาระ แต่ถ้าประชาชนเข้มแข็ง รู้สึกเป็นเจ้าของอำนาจ รู้รับผิดชอบการเป็นพบลเมือง ระบบจะเปลี่ยนเอง

     ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องดูเป็นข้อ ๆ ให้ชัดเจน เช่น กฏหมายยุบพรรค ผมไม่เห็นด้วย อะไร? ห้ามสามเณรดูหนัง พวกสามเณรพากันปืนกำแพงวัดไปดู ถึงกับสั่งปลดเจ้าอาวาส (หรือยุบวัดเลยหรือ?) ดังนั้นจะเอารัฐธรรมนูญฉบับ ๒๕๔๐ หรือ ฉบับ ๒๕๕๐ ไม่ขอวิจารณ์ แต่ต้องมีที่มาจากประชาชน

 

คำถามจากนิสิตชั้นปีที่ ๓ : ปัจจุบันระบอบการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย แต่ทำไมนักการเมืองใหญ่ ๆ ยังเข้ามาครอบงำท้องถิ่นอยู่อีก?

     นายรัชตะ-เนื้อหาสาระการปกครอง เปิดโอกาสให้ข้างบน ลงมาครอบงำได้ จึงทำให้เกิดช่องโหว่เปิดให้แทรกแซง ดังนั้น จึงมีการต่อรองเรื่องผลประโยชน์ เหมือนหัวปลาหมึก หนวดเป็นแขนขา เชื่อมโยง network นักรัฐศาสตร์จึงกล่าวว่า ถ้าเราควบคุมหัวมันได้ แขนขาที่ไปสู่ท้องถิ่นก็สามารถควบคุมได้ ระบบมันเอื้อ ผลก็คือผู้นำจากข้างบนสามารถล้วงลูกได้

 

คำถามที่ ๒ กรณีการแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้าน ก่อนมีการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง แต่ปัจจุบัน ใช้วิธียั่งเสียง จะแก้อย่างไร?

     นายรัชตะ-มีตัวอย่าง องค์กรท้องถิ่น มีมติไม่ให้เก็บภาษีรถอีแต่น แต่มติรัฐมนตรี ให้เก็บ จึงขึ้นไปสู่ศาลปกครอง เหตุเกิดที่จังหวัดสุโขทัย ข้อบัญญัติท้องถิ่นชนะมติคณะรัฐมนตรี และสามารถเข้าชื่อ ๒ หมื่นเพื่อยื่นเสนอได้

     ด้วยเวลาที่จำกัด จึงขอหยุดการสัมมนาด้วยเวลาเพียงเท่านี้ และขอสรุปว่า ความรู้ ความเข้าใจที่ได้ ให้นำไปประยุกต์ใช้ และสามารถถ่ายทอดไปสู่สังคมต่อไป

    

หมายเลขบันทึก: 480191เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2012 17:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ได้รับหนังสือ ๔ เล่ม ที่ท่านพระครูส่งไปให้แล้วนะครับ 
  • ขอบพระคุณมากครับ
  • ยังไม่มีเวลาส่งไปให้อาจารย์วิรัตน์เลยครับ เดี่ยวจะส่งไปให้ท่านในโอกาสต่อไป
  • เห็นแนวการทำสื่อชุมชนของท่านพระครูแ้ล้ว จะขอก้าวเดินตามท่านบ้าง แต่ไม่รู้ว่าจะ้เกิดขึ้นได้เมื่อไหร่เหมือนกันครับ

                            
                            

นมัสการท่าน ได้หนังสือแบบท่านหมาแลแล้วครับ เอาไปให้นิสิตตามที่ท่านแจ้งแล้ว ขอบพระคุณมากครับ

มีอะไรพอช่วยเหลือได้ยินดีนะครับ

นมัสการครับ หลวงพ่อมหาแล

ว่าง ๆ วิจารณ์งานเขียนให้ด้วยเผื่อได้ปรับปรุงครับ

ช่วงนี้ กระผมมีงานวิจัย-งานเขียน-งานบรรยาย-งานที่ปรึกษา ฯลฯ เข้ามา เลยไม่ค่อยมีเวลาเขียนบันทึก

แต่จะพยายามร่วมกิจกรรมกับชาว gotoknow.org ครับ

เจริญพรท่านอาจารย์ขจิต

มีเรื่องให้ช่วยคืออ่านงานของอาตมาแล้ววิจารณ์มาให้หน่อย

เผื่อปรับแก้ในโอกาสต่อไป

คำว่า "ได้หนังสือแบบท่านหมาแลแล้วครับ" ข้างบน อาตมาขออนุญาตแก้เป็น "มหาแล" เด้อ....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท