AIDS (โรคเอดส์)


AIDS and Quality of Life (โรคเอดส์)

AIDS and Quality of Life (โรคเอดส์)

AIDS (Acquired  Immune  Deficiency  Syndrome)

คือโรคกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันบกพร่อง  เกิดจากเชื้อไวรัส HIV  เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปทำลายเม็ดเลือดขาว  ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเสื่อมลง  เป็นผลทำให้เป็นโรคติดเชื้อต่างๆ(มักเรียกว่าโรคติดเชื้อฉวยโอกาส)  หรือเป็นมะเร็งบางชนิดได้ง่ายกว่าคนปกติ  อาการมักรุนแรง  เรื้อรัง  และเสียชีวิตในที่สุด

สาเหตุของโรค

1.การมีเพศสัมพันธ์

2.การรับเลือดและองค์ประกอบของเลือด

3.การใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาเสพติดร่วมกัน

4.จากมารดาสู่ทารก

 วิเคราะห์ด้วย PEOP

กรณีศึกษา  

นาย ก เป็นโรคAIDS  อายุ 35 ปี  มีอาชีพประจำคือ เป็นนักร้องที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง  มีงานอดิเรก/สิ่งที่ชอบคือ  การไปคอนเสิร์ต การร้องเพลง การเล่นดนตรี การเล่นกีฬาฟุตบอลกับเพื่อนๆ เป็นต้น  ปัจจุบันแต่งงานแล้วมีลูกอายุ 6 ขวบหนึ่งคน

จากการที่เป็นโรคเอดส์นาย ก เกิดความละอายใจเกินกว่าจะสู้หน้าใคร  ไม่กล้าเข้าสังคม  ไม่รู้จะปฏิบัติตนอย่างไร  จึงได้แต่วิตกกังวล  ทำให้เครียด  และรู้สึกอ่อนล้าทางจิตใจและร่างกาย  ขาดความมั่นใจในในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเป้าหมายในชีวิต   รวมถึงคิดว่าตนเองไม่มีคุณค่าที่จะใช้ชีวิตต่อไป  ไม่อยากทำกิจกรรมอะไรเลยในแต่ละวัน  มีความคิดโทษตนเองและอยากย้อนเวลากลับไปช่วงที่ยังปกติ       

Personal Factor

•  Psychological / emotion

•  Physiological

•  Spiritual

จากการประเมินจะพบว่า  นาย ก  มีภาวะอ่อนล้าทางจิตใจและทางร่างกาย  อันเป็นผลจากโรคเรื้อรัง  ทำให้เกิดความรู้สึกขาดความเชื่อมั่นและคุณค่าในตนเอง  ไม่กล้าเข้าสังคมตามปกติ  ขาดเป้าหมายในการใช้ชีวิตและในการทำกิจกรรมที่มีเป้าหมายต่างๆ ผลคือไม่อยากทำอะไรเลย

Environment  Factor 

คนในสังคมส่วนใหญ่  เมื่อได้ยินคำว่าติดเชื้อเอดส์  ก็ไม่กล้าเข้าใกล้คนๆนั้น  เพราะกลัวติดเชื้อไปด้วย  เกิดการรังเกียจ  ทั้งๆที่โอกาสติดน้อยมากเพราะการสัมผัสกันนั้นนั้นไม่มีผล  ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดในครอบครัวหรือเพื่อนฝูงของนาย ก  เราควรคุยปรับความเข้าใจกับพวกเขา  ให้ข้อมูลที่แท้จริงของโรค  เพื่อให้เขารู้วิธีป้องกันตนเอง  รู้ทักษะลดความเสี่ยง  และกล้าเข้าหานาย ก มากขึ้น  ไม่รังเกียจ  และมีทัศนคติที่ดีขึ้น

Occupation

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตต่างๆ  ส่วนใหญ่ถ้าโรคยังไม่แสดงอาการในรูปของอาการเจ็บป่วย  และภาวะสุขภาพ  ก็มักเป็นที่จิตใจ  เราควรวางแผนเป็นเป้าหมายระยะสั้น  และระยะยาว

Occupational  Performance

 นาย ก เกิดเป้าหมายและทักษะความสามารถที่จะทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น  เกิด well-being  และ quality of life  อาจทำให้นาย ก สามารถยืดเวลาใช้ชีวิตช่วงที่เหลืออยู่ได้นานขึ้น

หมายเลขบันทึก: 480186เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2012 16:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 13:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท