การบริหารจัดการ


การบริหารจัดการกับการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม
การบริหารจัดการกับการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม (Managing Change and Innovation) การเปลี่ยนแปลง หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในเรื่องของคน โครงสร้าง หรือเทคโนโลยี หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย งานของผู้บริหารจะง่ายมาก เช่น การวางแผนกลยุทธ์ต่างจะเหมือนเดิม วันพรุ่งนี้เหมือนวันนี้ แต่ในความเป็นจริง การเปลี่ยนแปลงในองค์การย่อมเกิดขึ้นเสมอ การเข้าไปจัดการกับการเปลี่ยนแปลงอย่างถูกต้องจะเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้บริหาร การเปลี่ยนแปลงองค์การ (Changing an organization)เป็นกระบวนการปรับเปลี่ยนองค์การที่กำลังดำเนินอยู่ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลขององค์การ ปัจจัยที่สำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 1. แรงผลักดันจากภายนอก  การปรับกลยุทธ์ทางการตลาดของบริษัทคู่แข่ง  การแก้ไขกฎหมายของรัฐบาลซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์การ  การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในกระบวนการผลิต ทำให้ต้องลดจำนวนคนงานลง  ตลาดแรงงานต้องการผู้ชำนาญเฉพาะด้าน ส่งผลให้นายจ้างต้องวางแผนการบริหารใหม่เพื่อรักษาพนักงานดังกล่าวไว้  การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีงบประมาณจำกัด อัตราดอกเบี้ยที่ไม่แน่นอน ซึ่งส่งผลกระทบให้องค์การต้องทำการปรับเปลี่ยน 2. แรงผลักดันจากภายในองค์การ  การปรับกลยุทธ์ขององค์การ โดยมีการนำอุปกรณ์เครื่องจักรใหม่มาใช้ ทำให้ต้องทำการออกแบบระบบงาน และจัดการฝึกอบรมการทำงานให้กับพนักงานใหม่ การเพิ่มภาระงานให้พนักงานดังกล่าว อาจส่งผลให้ทัศนคติของพนักงานเปลี่ยนแปลงไป ก่อให้เกิดปัญหาการขาดงาน การลาออก หรือการหยุดงาน เจ้าของธุรกิจกับบทบาทการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง  เจ้าของธุรกิจมีบทบาทหลายอย่างในการทำงาน การเป็นตัวแทนของการเปลี่ยนแปลงเป็นภารกิจสำคัญอย่างหนึ่ง  เจ้าของธุรกิจต้องสวมบทบาทการเป็นผู้นำของการเปลี่ยนแปลง ดูแลขั้นตอนการเริ่มต้นและช่วยคลี่คลายปัญหาการต่อต้านซึ่งต้องอาศัยความพยายามและการสนับสนุน  การลดการต่อต้านอาจทำได้โดยใช้ความยืดหยุ่น การโน้มน้าวให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้วยการใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การทำการสื่อสารกับพนักงานให้เข้าใจ เชิญชวนพนักงานให้มีส่วนร่วม  เจ้าของธุรกิจเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเองเพราะการใช้บริการจากภายนอกอาจมีค่าใช้จ่ายสูง และเจ้าของธุรกิจต้องการจะเป็นผู้ให้แนวทางการเปลี่ยนแปลงโดยตนเอง เพราะจะมีความรู้ ความเข้าใจในสถานการณ์ซึ่งจะทำให้การเปลี่ยนแปลงมีความเหมาะสมมากขึ้น การเตรียมตัวสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่ทำงาน การเปลี่ยนแปลงในองค์การ เราควรจะเรียนรู้และเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลาเพื่อความอยู่รอด การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในองค์การ วัฒนธรรมองค์การถูกสร้างขึ้นจากความสัมพันธ์ภายในองค์การที่มั่นคงถาวรซึ่งเป็นสิ่งที่เคยปฏิบัติอยู่เป็นประจำ ดังนั้นจึงเป็นการยากที่พนักงานในองค์การจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากเป็นสิ่งที่ฝังแน่นจนกลายเป็นความยึดมั่นแล้ว จึงเป็นสิ่งที่ยากมากในการเปลี่ยนแปลง แต่อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมในองค์การอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเห็นว่าการเปลี่ยนบางอย่างที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการบริหารงาน ก็ทำให้ผู้บริหารปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อยในช่วงระยะสั้นๆ การทำความเข้าใจกับสถานการณ์ต่างๆ  เหตุการณ์/วิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน เช่นเมื่อภาวะทางการเงินทรุดอย่างกระทันหัน สูญเสีย ลูกค้ารายใหม่ หรือบริษัทคู่แข่งมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหนือกว่า  การเปลี่ยนมือผู้นำ ผู้นำระดับสูงชุดใหม่ให้ทางเลือกที่มีคุณค่าที่ดีกว่า เนื่องจากมองเห็นการณ์ไกลในการใช้ความสามารถแก้ไขปัญหาวิกฤตได้มากกว่าผู้นำชุดเก่า  องค์การที่เกิดขึ้นใหม่ และมีขนาดเล็ก ยิ่งหน่วยงานที่เป็นหน่วยงานใหม่เท่าไรการยึดมั่นหรือก้าวร้าวยิ่งน้อยลง ทำให้ง่ายต่อการบริหารจัดการและการติดต่อประสานงาน  วัฒนธรรมที่อ่อนไหว การยึดถือวัฒนธรรม และการยอมรับของสมาชิกในองค์การมีมากเท่าไร การเปลี่ยนแปลงก็ยากมากขึ้นเท่านั้น การปรับรื้อระบบ (Reenglineering) แนวคิดของการรื้อระบบ แท้จริงแล้วมันคือการพัฒนาองค์การนั้นๆ การปรับรื้อระบบจะต้องมีการจัดเตรียมรูปแบบการทำงานเพื่อการเปลี่ยนแปลงเมื่อไรที่สภาพการตลาดเปลี่ยน บรรยากาศการลงทุนเปลี่ยน หรือการเปลี่ยนแปลงแผนการภายในองค์การ ทำให้องค์การต้องทำการปรับรื้อระบบตามสภาพที่เปลี่ยนแปลง ประการแรกที่องค์การที่ตัดสินใจจะทำการรื้อระบบ ควรจะให้ความสนใจ คือ วิธีการทำงานของคนในองค์การ และปฏิกิริยาของคนในองค์การ เมื่อใดก็ตามที่ขั้นตอนการทำงานได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์เมื่อนั้นผู้บริหารและพนักงานต้องร่วมกันหาวิธี ทำให้มันดีขึ้น การทำให้มันดีขึ้น หมายถึง การริเริ่มที่มีคุณภาพหรือประสิทธิภาพ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การหรือการเปลี่ยนแปลงที่ได้กล่าวมานี้ คือการเปลี่ยนแปลงองค์การจากรูปแบบเก่าๆ และค้นหาวิธีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนา ดังตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยการบริหารกิจการให้อยู่รอดจากภาระความเปลี่ยนแปลงวิกฤติเศรษฐกิจของ บริษัทซี.ซี.ออโตพาร์ท จำกัด บริษัทซี.ซี.ออโตพาร์ท จำกัด ระยะเวลาเพียง 6 ปีกว่าๆ ที่บริษัท ซี.ซี. ออโตพาร์ท จำกัด เริ่มทำธุรกิจในปี 2533 ด้วยเงินทุนเพียง 2 แสนกว่าบาท และคนงานเพียง 2 คน ทุกอย่างเดินตามกระแสเศรษฐกิจของไทยและการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในปี 2539 บริษัทมีทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท คนงานกว่า 200 คน พร้อมภาระหนี้กว่า 50 ล้านบาทที่กู้มาเพื่อซื้อที่ดินและก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ ที่อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ความผิดพลาดเกิดขึ้นจากการมองโลกในแง่ดี ไม่ได้วางแผนรองรับภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ที่ล่มสลาย การรับจ้างผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์และรถยนต์เกือบหยุดลงในทันที เมื่อโรงงานประกอบรถยนต์หลายแห่งชะลอการผลิตลงในปลายปี 2540 บริษัทฯ เป็นลูกหนี้ NPL อันเป็นผลมาจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 จนต้องหยุดพักชำระหนี้กับสถาบันการเงิน ด้วยพื้นความรู้ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ช่างกลโรงงาน คุณบุญเลิศ ชดช้อย ได้พลิกฟื้น กิจการจากผู้รับจ้างผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์ของรถจักรยานยนต์และสายไฟในรถยนต์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจรุนแรง ไปสู่การเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ทางการแพทย์เพราะเห็นช่องทางจำหน่ายสินค้าว่า สินค้าเหล่านี้ประเทศไทยยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศในราคาที่แพงมาก และน่าจะผลิตได้เองภายในประเทศ คุณบุญเลิศได้รับบทเรียนจากการเป็นผู้รับจ้างผลิตชิ้นส่วนเพียงอย่างเดียว ทำให้อนาคตของตนเองถูกกำหนดโดยผู้อื่น จึงตั้งเป้าหมายว่า จะต้องมีผลิตภัณฑ์เป็นของตนเอง งานชิ้นแรกเป็น รีโมทคอนโทรลเครื่องปรับอากาศ และไม่ได้หยุดนิ่งเพียงแค่นี้ แต่รุกเข้าสู่การผลิตเก้าอี้ทันตแพทย์และเก้าอี้ผู้ช่วยทันตแพทย์ที่มีการใช้เทคโนโลยีไม่ซับซ้อน จนสามารถผลิตเครื่องเอ็กซเลย์ฟัน เครื่องอบฆ่าเชื้อโรค เป็นสินค้าที่ทดแทนการนำเข้า ประหยัดเงินตราต่างประเทศได้ ช่วยชาติได้ ณ วันนี้ ซี.ซี. ออโตพาร์ท ได้กลับมายืนอย่างเข้มแข็งอีกครั้งหนึ่งพร้อมสินค้าที่เป็นแบรนด์ของตนเอง อย่างเช่น WINSURE รีโมทคอนโทรล เครื่องปรับอากาศ JET CLAVE เครื่องอบฆ่าเชื้อ SMART-1 เก้าอี้ ทันตแพทย์และเก้าอี้ผู้ช่วยทันตแพทย์ สรุปจากการศึกษากรณีตัวอย่าง จากการบริหารงานของผู้บริหารบริษัท ซี.ซี. ออโตพาร์ท จำกัด จะเห็นได้ว่าภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสภาพการตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้บริษัทต้องปรับเปลี่ยนแผนการผลิตและจำหน่ายสินค้าของบริษัทจากการเป็นผู้รับจ้างผลิตเป็นผู้ผลิตสินค้าที่มีแบรนต์ของตนเอง และมองช่องทางการผลิตสินค้าที่ฉลาดและใช้ช่วงวิกฤตทางเศรษฐกิจให้เป็นโอกาสในการทำธุรกิจ ซึ่งจะเป็นได้ว่าผู้บริหารได้พยายามทำให้ดีขึ้นโดยการ ริเริ่มผลิตสินค้าที่ดีมีคุณภาพ หรือมีประสิทธิภาพ มีการรื้อระบบการผลิต เดิมๆ เปลี่ยนแปลงองค์การจากรูปแบบเก่าๆ หาวิธีการเพื่อพัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ โดยการรับเทคโนโลยีเพื่อให้องค์การนั้นประสบผลสำเร็จ และหาช่องทางทางการตลาดใหม่ จนประสบความสำเร็จ
คำสำคัญ (Tags): #หนึ่งกำลังใจ
หมายเลขบันทึก: 47630เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2006 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ยอดเยี่ยมครับผม ขอบคุณครับ

ความรู้เนื้อๆเลย เป็นประโยชน์มาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท