หลักธรรมเตือนใจชาวNeo-Liberalism


ธรรมะเปรียบเสมือนสายน้ำไหลเย็นที่หล่อเลี้ยงจิตใจมนุษย์ให้ตั้งมั่นอยู่ในความดี การมีโภคทรัพย์มากมายไม่ใช่สิ่งผิด แต่อยากให้ท่านผู้อ่านได้อ่านเรื่อง"ต้นหาย กำไรสูญ" จากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตแล้วนำกลับมาพิจารณาตัวท่านเองว่าท่านเลือกที่จะสะสมโภคทรัพย์ไว้มากมายอย่างไม่หยุดหย่อนเพื่อสนองความอยากอันไม่มีสิ้นสุดหรือท่านเลือกที่จะหยุดเพื่อที่พิจารณากาย วาจาและใจของท่านเองให้บริสุทธิ์โดยการสร้าง "อริยทรัพย์" ให้แก่ชีวิตของท่านเองบ้าง??

                                   

      ดิฉันได้บทความนี้จากวัดแห่งหนึ่งที่จังหวัดศรีสะเกษ(บ้านเกิดของดิฉันเอง) ตอนที่ดิฉันและครอบครัวไปทำบุญ-ตักบาตรในวันพระเมื่อประมาณปีสองปีที่แล้ว..

     ทางวัดที่ดิฉันไปทำบุญได้จัดพิมพ์เอกสารซึ่งเป็นธรรมะของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตแจกแก่ประชาชนที่ไปทำบุญ  แม้ร่างของกายของหลวงปู่มั่นผู้ซึ่งเป็นพระอริยสงฆ์จะได้แตกดับไปแล้ว แต่ธรรมและคำสอนของท่านยังคงไม่จางหายไป ดังนั้นดิฉันจึงตั้งใจที่จะนำข้อคิดที่น่าสนใจและเหมาะกับสภาพสังคมในปัจจุบันนี้มานำเสนอแก่ท่านผู้อ่านที่ทำงานหนักเพื่อนำเงินไปแลกกับวัตถุนิยมจนลืมไปว่าสิ่งที่ลงเเรงไปนั้น อาจบั่นทอนสุขภาพจิตในเวลาต่อมาได้ กลายเป็นว่าสิ่งที่เคยหามาได้แต่ไม่ได้ใช้เมื่อตนตายไป บุญกุศลก็ไม่เคยจะทำจึงเป็นที่มาของต้นหาย กำไรสูญ

     บทความนี้มีชื่อว่า"ต้นหาย กำไรสูญ"   ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้

     "ต้นหาย กำไรสูญ เปรียบเสมือนคนเราบางคนที่ตั้งอกตั้งใจทำการทำงานจะประกอบการค้าขายหรือทำกิจการงานอะไรก็ดี ตั้งแต่เยาว์วัยจนกระทั่งเป็นหนุ่มเป็นสาวและแก่เฒ่าแก่ชราในที่สุด และถึงพร้อมด้วยความร่ำรวยสมบูรณ์พูนสุข สร้างบ้านสร้างเรือน สร้างหลักสร้างฐานได้อย่างมั่นคง ตลอดจนสร้างเกียรติยศ สร้างชื่อเสียง จนได้ลาภ ได้ยศ ได้สรรเสริญ ประสบความสำเร็จในชีวิตทางโลก ทุกสิ่งทุกอย่าง

     แต่คนบางคนที่กล่าวมาเหล่านี้ เมื่อถึงกาลอันสมควร ซึ่งที่จริงก็เป็นการเพียงพอแล้ว สำหรับทรัพย์สมบัติในทางโลกที่สร้างสมมานานมากแล้ว ก็ควรจะหยุด เพื่อรีบสร้างสมสิ่งที่เป็น"อริยทรัพย์" ในบั้นปลายของชีวิตให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้บ้าง

     แต่เขาเหล่านั้นก็หาได้มีความหยุด ความยั้ง ความละ ความปล่อย ความวาง ในทรัพย์สมบัติที่หามาได้เหล่านั้นไม่ มุ่งหน้าที่จะคิดอ่านประกอบกิจการงานให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปเรื่อยๆ โดยไม่คำนึงถึงว่า สักวันหนึ่งไม่ช้าก็เร็ว "ความตาย" ก็ต้องมาถึงเข้าอย่างแน่นอน

                                     

    ในที่สุดร่างกายของเขาก็ถึงซึ่งความแตกดับจริงๆ และย่อยยับสูญหายไป ละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนหามาได้ไว้ในโลกนี้ให้กับคนอื่นทั้งหมด ไม่สามารถที่จะนำเอาทรัพย์สมบัติเหล่านั้นติดตามตนไปด้วยได้แม้แต่นิดเดียว โดยที่ตนเองมิได้ประกอบคุณงามความดีในทางสร้างสมในสิ่งที่เป็นอริยทรัพย์ให้มากเท่าที่ควรเลย ซึ่งตนเองก็มีโอกาสและโชคดีอย่างดีที่สุดแล้ว แต่ก็มิได้กระทำลงไป จึงเป็นสิ่งที่น่าเสียดายที่สุดในชีวิตของเขาจึงเปรียบเสมือน"ต้นหาย กำไรสูญ"

     ต้น ก็คือ ร่างกายและทรัพย์สมบัติที่หามาได้ทั้งหมด

     กำไร ก็คือบุญกุศลหรือสิ่งที่เป็นอริยทรัพย์

     แทนที่จะได้ก็ไม่ได้ และถ้าใช้ทรัพย์สมบัติเหล่านั้นไปในทางที่ไม่ดี ผิดศีลผิดธรรมอีกด้วยแล้ว หรือยึดในทรัพย์สมบัติที่หามาได้นั้นมากเกินไป ก็ยิ่งจะขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ต้นก็หาย กำไรก็สูญ ชีวิตนี้ก็ขาดทุน"

      เมื่อได้อ่านธรรมะของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตแล้ว...ตัวของท่านผู้อ่านเองเป็นบุคคลประเภทใด สะสมทรัพย์สมบัติ หรือสะสมอริยทรัพย์ คงต้องนำไปพิจาณาตัวเองแล้วค่ะ....ว่าท่านจะเลือกใช้ชีวิตแบบใดให้คุ้มค่าที่สุด

     

หมายเลขบันทึก: 47507เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2006 00:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • พบว่าได้ความรู้ธรรมะเพิ่มขึ้น
  • รู้สึกว่าจิตใจแจ่มใสมากขึ้น ชอบรูปพระมากครับ
  • ขอบคุณค่ะคุณขจิต...
  • ภาพสวยๆเหล่านี้จะเกิดมีไม่ได้ หากไม่ใช่คำแนะนำจากคุณหมอวัลลภค่ะ ที่ช่วยติชมให้มีเพื่อประกอบบทความ เพิ่มความน่าสนใจยิ่งขึ้น
  • และจะขาดเสียไม่ได้คือชาวบ้านใน gotoknow ที่จะเข้ามาแสดงความคิดเห็นค่ะ...

มาอ่านแล้วค่ะ รู้สึกว่า นักศึกษาในวิชากฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศอย่างดวงเด่น ใช้ประโยชน์โกทูโนได้อย่างคุ้มค่าจริงๆ ค่ะ

  • ขอบคุณอาจารย์แหววมากค่ะ ที่แนะนำให้รู้จักบ้านหลังนี้ที่มีคุณอนันต์ในการฝึกคิดและเขียนค่ะ...จากแต่เดิมเขียนไม่ได้เรื่องเลย...
น้องดวงเด่นเป็นคนที่รอบรู้ในหลายทักษะ ขอชื่นชมค่ะ
  • ขอบคุณมากค่ะพี่ลิ
  • กิ๊กเองก็ชอบบทกลอนของพี่เหมือนกันค่ะ

ขอบคุณบทความดีๆ อ่านแล้วใจอิ่มค่ะ

  • ยินดีค่ะที่ชอบ และสุขใจที่อิ่มบุญค่ะ

พระองค์หนึ่งถามว่า "สุขจริงหรือ เก่งจริงหรือ ดีจริงหรือ"

ท่านเห็นอย่างไร

คำตอบจากผู้เขียน

ความจริงความเก่ง ความสุข ความดี นั้น เป็นสิ่งสมมติ ไม่แน่นอน และมีความพร่องอยู่เป็นนิตย์

การจะเข้าถึงแก่นความจริงที่บางศาสนาเรียกว่าสวรรค์ บางศาสนาเรียกว่าพระเจ้า บางศานาเรียกว่าการหลุดพ้น(นิวารณะ)นั้น

เห็นว่าต้อง ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่เก่ง ไม่โง่ ไม่ดี ไม่เลว ไม่มีความรู้สึกใดๆ ต่อผัสสะที่มากระทบ

แล้วจะพบกับความว่าง สงบเรียบง่าย ร่มเย็นในจิต ไม่หวั่นในภพหน้า ไม่ย้อนหวนสู่อดี

(ยืมมาคับ)

พุทธเจ้าสอนว่าทุกสิ่งในโลกนี้คือสิ่งที่สมมุติขึ้นมาเท่านั้นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกนี้คือการว่างเปล่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท