การคิดต้นทุนในการตั้งราคาขายสินค้าและดอกเบี้ยเงินกู้ของสหกรณ์การเกษตร


การตั้งราคาขายสินค้าและดอกเบี้ยเงินกู้ของสหกรณ์การเกษตร

            วิธีการสหกรณ์ เป็นวิธีการที่แตกต่างจากทุนนิยม คือไม่แข่งขันกับใคร เป็นวิธีการที่เริ่มต้นมาจากลัทธิเฟเบียน ของสมาคมเฟเบียน ในอังกฤษ   เป็นลัทธิทางสังคมนิยมประชาธิปไตย มีหลักการที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคมอย่างช้า ๆ  เป็นลัทธิสืบเผ่าพันธุ์มาจาก สังคมยูโทเปีย ของ เซอร์โทมัส มอร์ (ยุคกรีก)ที่เป็นเมืองในอุดมคติ เป็นการจิตนาการที่จะพยายามสร้างคนให้มีความรักความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกันและอยู่ด้วยกันอย่างมีเหตุผล ต่อมาได้วิวัฒนาการมาเป็น สังคมนิยมประชาธิปไตย ของนายโรเบิร์ต โอเวน และกลายมาเป็น สหกรณ์ผู้ผลิต โดยยึดหลักการปฎิบัติที่ว่า  "ขายสินค้าดีมีคุณภาพ ในราคาต่ำพอคุ้มทุน"  ซึ่งต่อมานายชาร์ล ฮาวัตต์   ลูกศิษย์ของโรเบิร์ตโอเวน ก็ได้นำแนวคิดนี้มาจัดตั้งเป็น   ร้านสหกรณ์รอชเดลผู้นำอันเที่ยงธรรม ซึ่งเป็นต้นแบบของสหกรณ์ทั่วโลก   จากประสบการณ์ที่ผ่านมีสหกรณ์การเกษตรแห่งหนึ่งที่ผมได้ใกล้ชิดมาเป็นเวลาประมาณ 30 ปี   พยายามที่จะทำธุรกิจแบบสหกรณ์ที่แท้จริง คือ จะคิด จะขาย จะให้กู้ สหกรณ์ใช้วิธีการสอบถามสมาชิกก่อนเสมอ โดยวิธีการ 2 แบบ คือ 1. สหกรณ์ทำแบบสำรวจสอบถามความต้องการของสมาชิกให้สมาชิกเป็นผู้ตอบ(ปัจจุบันปีละประมาณ 3,000 ชุด) และ 2.การนำเสนอโดยฝ่ายจัดการสหกรณ์และคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์  ที่เห็นว่าธุรกิจและสินค้านั้นเป็นประโยชน์กับสมาชิกสหกรณ์ โดยนำเสนอในที่ประชุมกลุ่มให้สมาชิกช่วยกันพิจารณา (สหกรณ์มีจุดนัดพบในพื้นที่ ทำกิจกรรมกับสมาชิกเป็นประจำทุกเดือนและทุกกลุ่มเดือนละ 1 ครั้ง ตามที่สมาชิกตกลงกับสหกรร์) นำความต้องการของสมาชิกทั้งที่เป็นแบบสอบถามและที่ได้จากที่ประชุมกลุ่มสมาชิก มาวิเคราะห์สังเคราะห์โดยคณะทำงาน แล้วจัดทำเป็นแผนกลยุทธ์ แผนงาน โครงการ  เสร็จแล้วนำไปบรรจุในแผนปฏิบัติงานประจำปีโดยจัดพิมพ์ในรายงานประจำปีเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สามัญของสหกรณ์    แล้วนำไปปฏิบัติ     ดังนั้นสหกรณ์จะทำธุรกิจอะไรต้องมาจากความต้องการของสมาชิก มิใช่มาจากความต้องการของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ หรือคณะกรรมการฯ ชี้นำหรือสั่งให้ทำ   วิธีการตั้งราคาของสหกรณ์ใช้วิธี การคำนวณต้นทุน  ดังนี้

           1.ทุนเรือนหุ้น เป็นการรวมทุนเพื่อทำธุรกิจรวมซื้อ รวมขาย เพื่อให้ได้ิสินค้าและบริการที่ราคาต่ำ  จึงไม่นำเอาเงินปันผลมาเป็นต้นทุน  โดยยึดหลักปฏิบัติของสหกรณ์ คือ มีกำไรจึงจะปันผล ถ้าไม่มีกำไรก็จะไม่มีการปันผล  (วิธีการของทุนนิยม มักเอาเงินปันผลบวกเข้าเป็นต้นทุนของสินค้าหรือดอกเบี้ยเป็นการล่วงหน้า เพื่อจูงใจให้คนมาลงทุนถือหุ้นแต่สหกรณ์ใช้วิธีการสมัครใจเข้ามาถือหุ้น) และเงินเฉลี่ยคืนตามส่วนธุรกิจที่สมาชิกได้ทำกับสหกรณ์ก็เช่นกัน สหกรณ์จะไม่นำไปคิดเป็นต้นทุนขายสินค้า    2. เงินสำรองและเงินสะสมอื่น ๆ ก็ไม่นำมาคิดเป็นต้นทุน3.เงินรับฝากจากสมาชิก  จะคิดต้นทุนคือดอกเบี้ยเงินฝากที่จะคืนให้ผู้ฝาก จะเพิ่มหรือลดต้องสอดคล้องมีส่วนเหลื่อมที่เป็นธรรมกับสมาชิก4.เงินกู้ มีต้นทุนคือ ดอกเบี้ยเงินกู้ เพราะสหกรณ์บางสหกรณ์ไปกู้ยืมผู้อื่นมาลงทุน 5.สินค้าที่นำมาจำหน่าย  ต้นทุนคือค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้ามาขาย และค่าใช้จ่ายเฉพาะธุรกิจซ์อ โดยการคำนวณรายได้และค่าใช้จ่ายอย่างรอบคอบจากการทำงบกระแสเงินสดล่วงหน้า คิดค่าใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นและให้มีส่วนเหลือไว้บ้าง แล้วทั้งราคาพอคุ้มทุน คือยังพอมีเงินเหลือเพื่อมิให้สหกรณ์ขาดทุน แต่มิใช้มุ่งหวังค้ากำไรจากสมาชิก ดังนั้น ดอกเบี้ยเงินกู้ของสหกรณ์จึงต่ำกว่าปกติ  คือ สหกรณ์แห่งนี้สามารถลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงจากร้อยละ 8,7 และ6 เป็น ร้อยละ 5,4 และ 3 ตามลำดับ  ราคาขายข้าวสารที่สมาชิกจำเป็นต้องซื้อไปบริโภค จากสหกรณ์ก็จะถูกกว่าปกติ เพราะต้องการให้สมาชิกบริโภคข้าวที่มีคุณภาพดี ในราคาต่ำพอคุ้มทุน  ตั้งแต่ใช้วิธีการนี้แล้วสหกรณ์ก็ไม่เคยขาดทุน และมีกำไรเพิ่มขึ้นทุกปี สหกรณ์แห่งนี้เริ่มต้นด้วยทุนแรกตั้งเมื่อปี พ.ศ.2524  ด้วยทุนเรือนหุ้นเพียง 8,100 บาท  ปัจจุบันมีทุนดำเนินงาน 1,500 กว่าล้านบาท ปีล่าสุดสหกรณ์มีกำไร 28 ล้านกว่าบาท สิ่งที่ปรากฎให้เห็นคือ โบนัสกรรมการและพนักงานสหกรณ์ไม่เคยลด สวัสดิการของทุกฝ่ายเพิ่มขึ้น   สมาชิกได้ปันผลอยู่ในระดับร้อยละ 6 เงินเฉลี่ยคืนร้อยละ 20 ความร่วมมือของสมาชิกเพิ่มขึ้น   สิ่งที่ลดคือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และราคาสินค้า   
           ด้วยเหตุผลดังกล่าว  สหกรณ์จะทำธุรกิจอะไร อย่างไร ขึ้นอยู่กับความต้องการของสมาชิกผู้เป็นเจ้าของ  คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ และพนักงานฝ่ายจัดการสหกรณ์  เป็นเพียงผู้ที่นำความต้องการของสมาชิกมาบริหารจัดการให้บรรลุเป้าหมาย       ตามที่เขาต้องการและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสหกรณ์  ภายใต้อุดมการณ์ หลักการ ค่านิยม และวิธีการสหกรณ์ โดยนำเอาวิธีการบริหารจัดการที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือ เช่น การทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติงาน โครงการ  เครื่องมือการติดตามและประเมินผลงาน การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของสหกรณ์ ฯลฯ  เพื่อความสำเร็จของงานสหกรณ์ในการบริการสมาชิกเป็นสำคัญ

หมายเลขบันทึก: 472656เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2011 14:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท