ผู้เชี่ยวชาญที่ไม่เชี่ยวชาญ


วันนี้ตอนบ่าย 3 ผมนัดเจอครูท่านหนึ่ง ที่ท่านกำลังเรียนระดับปริญญาโท ด้านจิตวิทยา ท่านสนใจเรื่อง จิตตปัญญาศึกษา มีผู้หวังดีไปบอกท่านว่า ผมเชี่ยวชาญเรื่องนี้ หลายอาทิตย์ก่อนท่านเลยโทรศัพท์มาหาผม ขอให้ผมรับเป็นผู้เชี่ยวชาญอ่านเครื่องมือวิจัยงานปริญญานิพนธ์ของท่าน หลังจากคุยโทรศัพท์เกือบครึ่งชั่วโมง เพื่อเช็คให้มั่นใจว่า ท่านเชื่อว่าผม "เชี่ยวชาญ" แบบที่ท่านต้องการจริงๆ ผมจึงรับปากท่าน อาทิตย์ที่แล้ว ท่านเอาต้นฉบับเครื่องมือวิจัย ที่ท่านบอกว่า กว่าจะผ่านอาจารย์ที่ปรึกษามา ต้องใช้ "วงจร" ถึง 4 รอบ มาให้ผมอ่าน ผมนัดท่านวันนี้บ่าย แน่นอนว่า ผมจะไม่ดูและ "ติ๊ก" แล้วส่งกลับ เหมือนกับที่คนอื่นเขาทำกัน เพราะผมเชื่อว่าการทำแบบนั้น มีโอกาสสูงมากที่จะสื่อสารผิดพลาด และไม่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ไม่เกิดเครือข่ายซึ่งกันและกัน และที่สำคัญ ผมจะให้ท่านรู้และตัดสินเองอีกครั้งหนึ่งว่า ผม "เชี่ยวชาญ" แบบที่ท่านให้คำนิยามไว้ในใจหรือไม่

พอเริ่มเปิดอ่านคำนิยามศัพท์ ใจผมก็เริ่มแย้งแล้วตั้งแต่ต้น แต่ผมค่อนข้างชินกับวิธีคิดของตัวเองแบบนี้ อาจจะเป็นเพราะใช้สมองด้านขวามากไป ผมวางใจปล่อยไปได้ไม่ยากนัก เพราะขั้นตอนนั้นวันนี้ผมไม่สามารถเปลี่ยนแปลงนิยามศัพท์ได้ ตามหลักการออกแบบเครื่องมือจะต้องออกแบบให้สอดรับกับนิยามศัพท์ ถ้าผมไปเปลี่ยนนิยามศัพท์ ก็เท่ากับบอกให้ครูท่านไปรื้อใหม่นั่นเอง

หลังจากอ่านข้อคำถามต่างๆ ผมพบหลายประเด็นมากที่ "ยังไม่ใช่" ตามที่ใจและประสบการณ์ผมตัดสิน สรุปดังพอสังเขปจากการสังเคราะห์ต่อไปนี้

1) ครูท่าน ยังเป็นนักจิตวิทยา ยังไม่ใช่ นักจิตตปัญญาศึกษา

2) ข้อคำถามยังไม่สอดรับกับวัตถุประสงค์และคำนิยาม ที่ท่านตั้งมาโดยภาพรวมอาจจะ "ใช่" แต่โดย "ฐานใจ" ของผมแล้ว ยังไม่ครบ ไม่ครอบคลุม เรื่องนี้เราอภิปรายกันนาน ดูเหมือนท่านก็จะยอมรับที่ผมพูดอยู่บ้าง 

3) ข้อคำถามยังไม่ชัดเจน ความเป็นปรนัยยังขาดเยอะ หรือบางทีผมอาจจะ "เฟอะ" ไปเองก็ได้

4) ครูท่าน ยังอยู่ในกรอบอยู่มาก จึงยากและลำบากที่จะเข้าถึง จิตตปัญญาของตัวเอง

5) ถึงอย่างไรก็แล้วแต่ ผมค่อนข้างมั่นใจว่า ครูท่านคนนี้เป็น "ครูเพื่อศิษย์" ที่ผมมองหาอยู่คนหนึ่ง

ขอจบเท่านี้นะครับ

ขอหลับเอาแรงก่อน

หมายเลขบันทึก: 471284เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2011 01:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 12:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • อยากจะ Share เรื่องผู้เชี่ยวชาญที่ไม่เชียวชาญค่ะ
  • 
  • มีประสบการณ์การทำหน้าที่เป็นกรรมการ เป็นประธานกรรมการควบคุมปริญญานิพนธ์สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา และเป็นผู้เชียวชาญตรวจแก้ไขเครื่องมือวิจัยที่ศึกษาตัวแปรทางจิตวิทยา มา 10 ปี ค่ะ และได้อบรมหลักสูตรจิตตปัญญาศึกษามา 1 หลักสูตรโดยชุดวิทยากรจากมหิดล และได้อบรมอีกประปราย แต่ไม่ใช่ผู้เชียวชาญเรื่อง จิตตปัญญาศึกษา จึงจะไม่แลกเปลี่ยนในประเด็นนี้ แต่จะแลกเปลี่ยนใประเด็น "ผู้เชี่ยวชาญที่ไม่เชียวชาญ" ทั่วๆไปค่ะ  
  • ปัญหาที่พบในการเป็นกรรมการ/ประธานกรรมการควบคุมปริญญานิพนธ์และเป็นผู้เชียวชาญตรวจแก้ไขเครื่องมือวิจัย คือ

          1) อาจารย์ที่ทำหน้าที่เป็กรรมการ/ประธานกรรมการควบคุมปริญญานิพนธ์ ไม่เชี่ยวชาญในตัวแปรที่นิสิตนักศึกษา ศึกษาวิจัย ทำให้นักศึกษาเลือกใช้กรอบทฤษฎีที่ไม่ทันสมัย เช่น ทฤษฎีเขามีการศึกษาวิจัยและปรับเปลี่ยนไปแล้ว แต่ยังไปใช้ทฤษฏีที่สร้างขึ้นในครั้งแรก

         2) ใช้ทฤษฎีที่ทันสมัย แต่กำหนดนิยามศัพท์ไว้ไม่ครอบคลุม บางครั้งก็ครอบคลุมแต่ไม่ชัดเจนในองค์ประกอบต่างๆ ทำให้นิสิตนักศึกษาสร้างข้อคำถามเดียวกันแต่นำไปใช้กับการวัดหลายด้าน ในการวัดครั้งเดียวกัน ผู้เชียวชาญได้รับมอบหน้าที่แค่ดูว่า ข้อคำถามวัดตามนิยามที่กำหนดไว้หรือไม่ แต่เมื่อนิยามไม่ถูกต้อง หรือไม่ทันสมัย หรือไม่ครอบคลุม อยากจะรื้อนิยามใหม่แต่ก็ไมใช่หน้าที่ เลยทำให่เกิดข้อขัดแย้ง

          3) ผู้เชี่ยวชาญไม่เชี่ยวชาญจริง และหรือไม่สละเวลาในการทำหน้าที่ ใช้เวลาไม่กี่นาที Tick โดยไม่มีความเห็นประกอบ และไม่เปิดโอกาสให้ผู้ทำวิจัยเข้าพบ

           4) นักศึกษาต้องการแค่ ค่า IOC ที่ผ่านเกณฑ์ จึงไม่สนใจความเห็นที่เป็นรายละเอียด สนใจแค่ ผลการประเมินว่า 1 หรือ +1 และใช้ค่าเฉลี่ย เมื่อผู้เชียวชาญคนเดียวชัดเจน แต่อีก 4 คนไม่ชัดเจน ค่าเฉลี่ยก็จะเป็นไปตามผลการประเมินที่ไม่มีความชัดเจน

           ปัญหาต่างๆ ดังกล่าว ทำให้เกิดความอึดอัดใจ ที่เห็นปริญญานิพนธ์จำนวนมาก ขาดคุณค่าทางวิชาการ

           ถ้ามีผู้เชี่ยวชาญแบบอาจารย์มากกว่าอีกแบบ ก็คงจะได้ปริญญานิพนธ์ที่มีคุณค่าในเปอร์เซ็นต์ที่มากขึ้นนะคะ

          

  • ขอแก้ไขข้อความในข้อ 4) เป็น "...สนใจแค่ ผลการประเมินว่า 1 หรือ      -1 " ค่ะ
  • 

ดีครับ ทุกวันนี้ความเข้มข้นทางวิชาการค่อนข้างจะไม่ใช่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท