ประเมินเพื่อตรวจสอบและพัฒนาสร้างคุณค่าสู่คุณภาพ


กระจกสะท้อนภาพตัวเรา การประเมินสะท้อนภาพการทำงาน

 

   ประเมินเพื่อตรวจสอบและพัฒนาสร้างคุณค่าสู่คุณภาพ

           วันที่ ๒  ธันวาคม  ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา มูลนิธิไทยรัฐได้มาประเมินครูดีเด่น ตามโครงการคนดีศรีไทยรัฐ ซึ่งเป็นการประเมินที่มุ่งส่งเสริมให้บุคลากรในเครือโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ทั่วประเทศไทย ๑๐๑ โรงเรียน เพื่อคัดเลือกโรงเรียน ครู ผู้บริหาร ที่มีคุณภาพ ซึ่งการประเมินนั้นถือเป็นมาตรฐานที่เชื่อถือได้ โรงเรียนใช้เกณฑ์ประเมินโรงเรียนพระราชทาน ส่วนผู้บริหารและครูใช้เกณฑ์การประเมินของ สมศ. การประเมินจะมีการประเมินเป็นตัวแทนระดับภาค เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมตามบริบทของแต่ท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มน้ำโขง  กลุ่มลุ่มน้ำชีและกลุ่มลุ่มน้ำมูล ซึ่งแต่ละกลุ่มจะต้องคัดเลือกตัวแทนเข้ารับการประเมินจากกรรมการกลางที่ไม่ใช่คนในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นกรรมการจากภาคใต้และภาคกลาง
           โรงเรียนในกลุ่มลุ่มน้ำชีมี่ผู้ได้รับการคัดเลือก เข้ารับการประเมินดังนี้
            (๑)โรงเรียนดีเด่น  คือ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๘๔ (บ้านสำราญเพี้ยฟาน) จังหวัดขอนแก่น ผู้บริหาร นายเกษม  โสภา 
            (๒) ผู้บริหารดีเด่น นายธีระพันธุ์  จีระสมบัติ ผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๑๐๑ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดร้อยเอ็ด
            (๓) ครูดีเด่น นางสาวเด่นเดือน  ธิมาชัย ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๖๓(ชุมชนบ้านคำแดง) จังหวัดยโสธร
             บรรยากาศการประกวดนั้นชาวไทยรัฐวิทยา จะให้ความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการแสดงพลังให้เห็นศักยภาพของผู้บริหารและทีมงาน จึงต้องเตรียมการอย่างยาวนาน เพราะรางวัลที่ได้รับ ซึ่งเป็นรางวัลกำพล  วัชรพล นั้นบุคคลที่จะมามอบรางวัลนั้น เป็นบุคคลสำคัญระดับประเทศ เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี คนได้รับรางวัลจึงมีความภาคภูมิใจยิ่ง วันที่ ๒๗  ธันวาคม ของทุกปี จึงเป็นวันที่ชาวไทยรัฐวิทยา ต่างภาคภูมิใจในความสำเร็จของตนเอง
             การประเมินโดยทั่วไปมักจะเป็นการจัดทำเอกสาร หลักฐาน ไว้รองรับ แต่การประเมินของมูลนิธิไทยรัฐจะต่างไปจากการประเมินในระบบราชการ ที่มุ่งมองเชิงลึก เน้นที่ผลผลิต ผู้เรียน ชุมชน กลับมาเป็นพระเอกของงาน แม้จะประเมินบุคคลก็จะมองที่ภาพรวมขององค์การ โรงเรียนที่รับการประเมิน จึงต้องเตรียมสภาพแวดล้อม บริบท ครูต้องร่วมมือกันสร้างคุณภาพผู้เรียน ความพิเศษของโรงเรียนไทยรัฐวิทยา จึงมองดูเป็นโรงเรียนที่ตื่นตัวตลอดเวลา
             การประเมินจึงเป็นกระจกสะท้อนคุณภาพของโรงเรียนโดยรวม สำหรับคนที่ถูกประเมินบ่อยๆ อาจจะมองเป็นเรื่องน่าเบื่อ แต่สิ่งที่เป็นผลตามมาคือการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผลที่ได้รับคือเกิดการตื่นตัวที่จะทำงานของบุคลากรและผู้มีส่วนได้เสีย ผู้เขียนรู้สึกหดหู่ เมื่อแอบได้ยินชาวบ้านนินทาครูว่าขาดสามัญสำนึกที่จะสร้างคุณภาพผู้เรียน ทำงานแบบแล้วไปวันๆ ถึงเวลาที่ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญกับการประเมินคุณภาพภายในเสียที่        

หมายเลขบันทึก: 470322เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2011 08:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 14:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบพระคุณ ดร.ขจิต ฝอยทอง และพระคุณท่านธรรมหรรษา

สวัสดีปีใหม่ค่ะอาจารย์

ขอให้มีความสุขตลอดไปค่ะ

 

- ประเมินเพื่อตรวจสอบและพัฒนาสร้างคุณค่าสู่คุณภาพ

 

- มีคุณค่าจริงๆๆค่ะ

 

   แวะมาสวัสดีท่าน ผอ. ค่ะ   

.....ถึงเวลาที่ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญกับการประเมินคุณภาพภายในเสียที่.... อย่างนี้ซิค่ะ ถึงจะเรียกว่า....ผู้บริหารตัวจริง

ขอบพระคุณ

 ท่านผอ.ประจักษ์ คุณนานา คุณสามสักและคุณครูเล็กบ้านโป่ง ทำให้กลับมาโกทูโนแล้วอบอุ่น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท