ความเข้มแข็งของวิชาการด้านเคมีของไทย


ที่น่าภูมิใจคือ ความเข้มแข็งของวิชาการสาขาเคมีของ Asia-Pacific ดีขึ้นเรื่อยๆ ใน ๓๐ ปีที่ผ่านมา ตอนนี้ผลงานตีพิมพ์ของภูมิภาคนี้เป็นถึงร้อยละ ๔๓ ของโลก

ความเข้มแข็งของวิชาการด้านเคมีของไทย

รศ. ดร. มงคล รายะนาคร ส่งข้อมูลนี้ให้ผมมานานแล้ว   แต่ผมพลาดไป   จึงขอนำมาลงบันทึกเผยแพร่ไว้   ตาม อีเมล์ ของท่านดังต่อไปนี้

 

เรียน ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช ที่นับถือ

วันนี้ผมพบข้อมูลที่เป็นข่าวที่น่าสนใจใน Times Higher Education ฉบับ 24 March 2011 นี้เอง ในหัวข้อ Asia-Pacific Nations in Chemistry, 2000-2010 เป็นการวิเคราะห์ผลงานวิจัยในรูปบทความรายงานวิจัยเต็มรูปแบบ ในสาขาวิชาเคมี ช่วงปี ค.ศ. 2000-2010 เมื่อพิจารณาจากดัชนีจำนวนการอ้างอิงต่อบทความ (citations/paper) ซึ่งเป็นดัชนีที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์ (Essential Science Indicator) ตามเกณฑ์ของสำนัก Thompson Reuters ปรากฏว่า Top 10 ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกตามลำดับประเทศและค่าดัชนีการอ้างอิง เป็นดังนี้

1.             สิงคโปร์ 12.83

2.             ออสเตรเลีย 12.44

3.             ญี่ปุ่น 11.78

4.             นิวซีแลนด์ 10.67

5.             เกาหลีใต้ 9.86

6.             ไต้หวัน 9.32

7.             ไทย 7.01

8         อินเดีย 6.96

9.              จีน 6.86

10.       มาเลเซีย 4.19

นับว่าประเทศไทยมีความเข้มแข็งในสาขาเคมีในรอบศตวรรษที่ผ่านมาค่อนข้างมากทีเดียว ดังมีรายละเอียดในไฟล์ที่แนบ อนึ่งถ้าใช้เกณฑ์นี้ในระดับโลกแล้ว ประเทศไทยจะอยู่ในอันดับที่ 37 โดยอินเดีย จีน และมาเลเซีย จะอยู่ในอันดับที่ 38, 39 และ 45 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ถ้าคุณภาพผลงานวิจัยทางด้านเคมีของไทยอยู่ในระดับปกติไม่เข้มข้นขึ้นอีก ก็คงมีโอกาสตามหลังทั้งอินเดียและจีนใน 1-2 ปีแน่นอน

หากอาจารย์จะกรุณาพิจารณาเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวนี้ในวงการที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยต่อไป ตามที่อาจารย์จะเห็นสมควร ก็จะขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ

ด้วยความเคารพและนับถือ

รศ. ดร. มงคล รายะนาคร

Home in Park อ. หางดง จ. เชียงใหม่

         หากท่านที่สนใจเอาชื่อหัวข้อข้างบนไปค้นด้วย Google จะเข้าไปอ่านรายละเอียดในต้นฉบับได้ที่นี่    จะเห็นว่าไทยได้อันดับ ๗ ตามน้ำหนักดัชนีการอ้างอิง   ซึ่งถือเป็นเกณฑ์คุณภาพ    แต่ถ้าดูที่จำนวนบทความ ตีพิมพ์ ไทยเราแพ้อันดับ ๘ และ ๙ คืออินเดียและจีนชนิดไม่เห็นฝุ่นที่เดียว

             ที่น่าภูมิใจคือ ความเข้มแข็งของวิชาการสาขาเคมีของ Asia-Pacific ดีขึ้นเรื่อยๆ ใน ๓๐ ปีที่ผ่านมา    ตอนนี้ผลงานตีพิมพ์ของภูมิภาคนี้เป็นถึงร้อยละ ๔๓ ของโลก

วิจารณ์ พานิช

๔ ธ.ค. ๕๔ 

หมายเลขบันทึก: 470318เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2011 07:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท