ผลวิจัย: อะไรคืออุปสรรคของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน GotoKnow


จากการทำวิจัยของมะปรางเปรี้ยว ดิฉันขอนำผลสรุปการวิจัยเรื่องอุปสรรคการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน GotoKnow มานำเสนอสั้นๆ ก่อนค่ะ เนื่องจากเป็นประเด็นสำคัญและน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับวงการการจัดการความรู้ของไทยค่ะ 

จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิก GotoKnow จำนวนประมาณสองพันคนพบว่า สาเหตุสำคัญที่เป็นอุปสรรคของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน GotoKnow คือ ไม่มีเวลา และ มีภาระงานมาก

ดังนั้น ระบบการจัดการความรู้ที่ดีจะต้องสามารถทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่า ระบบเนียนเป็นหนึ่งเดียวกับการทำงานและมีประโยชน์ต่อการพัฒนางานผ่านการจัดการความรู้

GotoKnow ขอยึดมั่นในเป้าหมายหรือหัวปลา (Knowledge Vision) นี้ และจะค่อยๆ ทำหัวปลาให้สำเร็จอย่างยั่งยืนตลอดไปค่ะ

ขอความร่วมมือจากสมาชิกทุกท่านด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

หมายเหตุ สามารถติดตามผลการวิจัยโดยละเอียดได้ที่ http://www.gotoknow.org/blogs/books/view/tutorial4u

หมายเลขบันทึก: 469746เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2011 20:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2015 12:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

อาจารย์ขา ตอนนี้การเข้ามาลำบากนี่ก็เป็นอุปสรรคอยู่นะคะ

ผมเขียนอนุทินและบันทึกเกือบทุกวัน ก็หมายถึง ผมว่าง ???

มุมในข้อ ๗ ... น่าคิดดีครับ ;)...

.................................................................................

อาจารย์จันครับ

เด็กหญิงมะปรางจะเรียนจบตามกำหนดไหมครับ ?

..................................................................................

พี่หนุ่ยค่ะ

ไม่ทราบว่าใช้ Browser อะไร เวอร์ชันอะไร ข้อความที่ระบบบอกคืออะไรค่ะ และเกิดขึ้นตอนกำลังใช้ระบบอย่างไรค่ะ ถ้าส่ง screenshot มาด้วยได้ก็ดีนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

จันทวรรณ

มะปรางน่าจะจบได้ในเทอมนี้ค่ะอาจารย์พร้อมการนำเสนอผลงานลงวารสารทางวิชาการค่ะ

เรียนอาจารย์จัน

ตามที่เคยแจ้งอาจารย์แล้วว่าการเขียนบันทึกแต่ละบันทึก ต้องใช้เวลานับชั่วโมง การ Upload รูปภาพได้ทีละรูป แต่ละรูปใช้เวลาหลายนาที เพราะต้องกรอกข้อมูลเกี่ยวกับรูป ใส่ keyword

สมัยก่อน keyword ที่เราเคยใส่แล้ว พอเราพิมพ์ครั้งใหม่ แค่ใส่ตัวอักษรแรก คำก็ขึ้นมาแล้ว ประหยัดเวลาได้ค่ะ

ไม่อยากให้อาจารย์และทีมงานเสียกำลังใจนะคะ แต่ก็อยากบอกว่าการปรับระบบบ่อยๆ บางทีก็ทำให้เรามีปัญหาทั้งกับบันทึกเก่าๆ และการเขียนบันทึกใหม่

ความจริงเราไม่ต้องการเทคนิควิธีการอะไรมากหรอกค่ะ (คงเพราะไม่ทันสมัยและไม่มีความรู้ทางด้านนี้)ขอให้ระบบทำงานได้เร็วๆ ตกแต่งได้เองง่ายๆ และสวยงามได้อย่างที่ต้องการเท่านั้น

ตอนนี้จะไปสอนใครสร้างบล็อก ก็ไม่แน่ใจว่าจะสอนได้หรือเปล่า เพราะไล่ตามความเปลี่ยนแปลงไม่ทัน รู้ไม่พอค่ะ

สมาชิกเครือข่ายเบาหวานหายหน้าจาก GotoKnow ไปบ้างแล้ว จะพยายามติดตามและกระตุ้นให้กลับมาเขียนต่อค่ะ

  1. การ upload รูปหรือไฟล์ จะทำให้สามารถ upload ได้ทีละหลายไฟล์ค่ะ
  2. Keywords จะไม่บังคับใส่ในการ upload รูปอีกต่อไปค่ะ จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ค่ะ
  3. การใส่ Keywords จะทำให้ง่ายขึ้น โดยพิมพ์หนึ่งคำก็จะกรองคำที่เกี่ยวข้องมาให้ค่ะ

อันที่จริงการปรับระบบใหญ่เกิดขึ้นเพียงสองถึงสามครั้งเท่านั้นค่ะ โดยในครั้งล่าสุดนี้เป็นความจำเป็นที่ต้องปรับอย่างยิ่งค่ะเพราะมีปัญหาจากการปรับเมื่อปีที่แล้วในช่วงที่ดิฉันกับอ.ธวัชชัยประสบปัญหาสุขภาพค่ะ

ทีมงานที่ไม่มีประสบการณ์ในการพัฒนาระบบจึงจำต้องเร่งปล่อยระบบออกมาภายใต้การดูแลอย่างหละหลวมของดิฉันและอ.ธวัชชัยในช่วงนั้นค่ะ

ดังนั้นการปรับในครั้งนี้จึงเป็นการต้องเคลียร์ของเก่าทิ้งค่ะและทำใหม่ค่ะ แต่ก็ต้องค่อยๆ ทำค่ะ เพราะระบบใหญ่และซับซ้อนมากไม่เหมือนแต่ก่อนตอนสมัยเริ่มแรกแล้วค่ะ

อีกทั้งทีมงานที่สามารถพัฒนาได้อย่างมืออาชีพในภาษาโปรแกรมมิ่งที่ GotoKnow ใช้อยู่ (Ruby on Rails) ก็ค่อนข้างหายากค่ะ ปัจจุบันงานพัฒนาระบบจะมี ดิฉัน อ.ธวัชชัย และ โปรแกรมเมอร์ต่างชาติใจจิตอาสาอีกสองท่านเท่านั้นค่ะ ซึ่งต้องพัฒนาทั้ง GotoKnow และ ClassStart.org หรือ Class.in.th เดิมค่ะ

ดิฉันเข้าใจดีค่ะถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในการใช้งานของผู้ใช้ ซึ่งต้องขอโทษไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ แต่ก็จะพยายามทำให้ระบบสามารถใช้งานได้ง่ายสะดวกและรวดเร็วขึ้นค่ะ 

หากอาจารย์พบปัญหาอะไรก็สามารถแจ้งได้ตลอดค่ะ ดิฉันและทีมงานจะพยายามปรับปรุงให้เร็วที่สุดค่ะ

ส่วนปัญหาเรื่องการบันทึกต้องใช้เวลานานนั้นเป็นอย่างไรค่ะ ไม่ทราบว่าข้อความที่ระบบบอกคืออะไรค่ะ และเกิดขึ้นตอนกำลังใช้ระบบอย่างไรค่ะ ถ้าส่ง screenshot มาด้วยได้ก็ดีนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

จันทวรรณ

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ เป็นตัวอย่างวิจัยจากปัญหาหน้างาน และเป็นกำลังใจให้น้องมะปรางเปรี้ยวอีกคนค่ะ

ขออนุญาตเสนอมุมมองส่วนตัวต่อ เมื่ออ่านข้อมูลชุดนี้นะค่ะ

ขอแบ่งคำถามเป็นสามประเภท การสร้างความรู้สึกหากตอบว่า"เห็นด้วย" ในขณะตอบ ดังนี้คะ

1. ลบต่อ Self esteem ตนเอง ได้แก่ ข้อ 2,3,6,8,9,12,14,17,19,29

2. ลบต่อ gotoknow ได้แก่ 5,6,10,11,15,19

3. เป็นผลจากปัจจัยอื่น เป็นเรื่อง ความชอบส่วนตัว (ข้อ 1,18) ภาระงาน (7)

บางทีอาจมีปัจจัย คำถามประเภทที่สามเป็น comfort zone ที่จะตอบว่า "เห็นด้วย" ค่ะ

...

อย่างไรก็ตาม ขออนุญาตซึมซับ AI ของ อ.ภิญโญ นิดหนึ่งค่ะ

หากมีวิจัยต่อไป ถามปัจจัยที่ทำให้บันทึกอย่างสม่ำเสมอ..น่าสนใจว่าคำตอบจะเหมือนหรือต่าง

เปรียบเทียบกับวิจัยนี้อีกครั้งค่ะ

* ขอบคุณมากค่ะที่เปิดโอกาสให้ตอบแบบสอบถามเช่นนี้ เพื่อการพัฒนางานต่อไป

* สำหรับพี่ใหญ่นั้น การเขียนและอ่านบันทึกในบ้าน G2K กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันที่ให้ความสุขอย่างมีสาระมากๆค่ะ

* ชื่นชมความตั้งใจดีและความอุตสาหะของน้องดร.จันทวรรณ-น้องดร.ธวัชชัย และทีมงาน ที่ปรับปรุงคุณภาพงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้และรูปแบบอย่างต่อเนื่อง พี่ใหญ่ได้เรียนรู้และฝึกการเข้าถึงไปด้วยความสนใจมากๆค่ะ

* ขอเป็นกำลังใจ และอวยพรให้ประสบความสุขจากความสำเร็จที่มุ่งหวังไว้ร่วมกันค่ะ

ขอบคุณอาจารย์จันที่ให้ความกระจ่าง ยังไงก็ขอเป็นกำลังใจให้อาจารย์ทำงานได้สำเร็จตามที่ตั้งใจนะคะ คนใช้งานก็ชอบเรียกร้องเพราะไม่รู้เบื้องหลังและเบื้องหน้า

การใช้เวลานานในการบันทึกนั้น ต้องการเรียนให้อาจารย์ทราบถึง effort ของผู้เขียนค่ะ ในการเขียนบันทึก ดิฉันต้องพิมพ์ต้นฉบับไว้ก่อนใน Word/ Notepad แล้วจึงมาจัดการรูปภาพ การใช้เวลาอยู่ที่การ Upload รูปมากกว่าส่วนอื่น เพราะใส่หลายรูปค่ะ

เมื่อ paste เนื้อหาแล้วก็ต้องจัด/ตกแต่ง ใส่รูปให้สัมพันธ์กับเนื้อหา ไม่รู้ว่าใช้วิธีการที่เหมาะสมหรือเปล่า

ระบบใหม่อีกส่วนหนึ่งคือhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/469746 ถ้าใส่ชื่อบล็อกแบบเดิมจะบอกคนอื่นง่ายกว่าว่าให้ไปค้นที่ไหน

หากทำให้อาจารย์ต้องวุ่นวายก็ต้องขอโทษด้วยนะคะ

  • ขอบคุณมากนะคะ ที่ "ดร.จันทวรรณ ปิยะวัฒน์" ได้เสนอผลการวิจัยให้ผู้ตอบแบบสอบถาม และสมาชิก GTK ได้รับทราบ ซึ่งอาจารย์แม่ก็ได้ขอหนูมะปรางเปรี้ยวในเรื่องนี้ไว้ด้วยค่ะ
  • สิ่งที่สำคัญก็คือการนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนางาน (การให้บริการ) ซึ่ง ดร.จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ ก็ได้สรุปผลการตอบแบบสอบถามไว้ว่า "จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิก GotoKnow จำนวนประมาณสองพันคนพบว่า สาเหตุสำคัญที่เป็นอุปสรรคของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน GotoKnow คือ ไม่มีเวลา และ มีภาระงานมาก"  และได้กล่าวถึงการนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนางาน (การให้บริการ) ไว้ว่า "ดังนั้น ระบบการจัดการความรู้ที่ดีจะต้องสามารถทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่า ระบบเป็นหนึ่งเดียวกับการทำงานและมีประโยชน์ต่อการพัฒนางานผ่านการจัดการความรู้"
  • การกล่าวถึงการนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนางาน (การให้บริการ) ดังกล่าว เป็นการบอกในแง่ของ  "หลักการ"  ส่วน "รายละเอียดในข้อปฏิบัติ" ว่า จะ "ทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่า ระบบเป็นหนึ่งเดียวกับการทำงานและมีประโยชน์ต่อการพัฒนางานผ่านการจัดการความรู้" ได้อย่างไร คงจะต้องเป็นหน้าที่ของหนูมะปรางเปรี้ยวซึ่งเป็นผู้ทำวิจัย ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นว่า อาจารย์ที่ปรึกษาทำวิจัยส่วนนี้แทน ก็จะรออ่านรายละเอียดส่วนนี้จากหนูมะปรางเปรี้ยวนะคะ
  • สำหรับอาจารย์แม่เอง ได้มองว่า "GTK เป็นหนึ่งเดียวกับการทำงานและมีประโยชน์ต่อการพัฒนางานผ่านการจัดการความรู้"อยู่แล้ว ดังจะเห็นได้จากการที่ได้สร้าง Blog "Learntoknow" เพื่อเขียนบันทึกที่เป็นเรื่องของการพัฒนางานผ่านการจัดการความรู้ โดยตรง ค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์ครับ อ่านผ่านที่อาจารย์ปัทมาเขียนว่า "ปัจจัยอะไรที่ทำให้บันทึกอย่างสมำ่เสมอ"

1. เวลาเขียน ลูกศิษย์พูดว่า เหมือนอาจารย์พูดเลย..เลยรู้ว่า..เวลาเขียนเราก็เหมือนคุยกับคนๆหนึ่ง..ประมาณว่า "พูด" เฉยๆ แต่เขียนตามที่จะพูด..เลยเขียนได้เรื่อยๆ..

2. ทุกอย่างที่เขียนอยู่ในงานประจำ ไม่ได้แยกส่วนครับ..เกิดจากการคุยกับนักศึกษา เขาถามมาก็ตอบ แต่ละคนก็โจทย์ไม่เหมือนกันครับ..ตอนนี้เวลานักศึกษา มาเจอก็จะบอกว่า ก่อนกลับถามอาจารย์ให้ได้สามคำถาม..แค่นี้ก็มีวัตถุดิบเขียนได้ไม่จบแล้วครับ..

3. งานประจำที่ทำคือสอน วิจัย และ "หายใจ" เป็น Appreciative Inquiry ครับ..เลยทำอย่างมีความสุข..เขียนมาเรื่อย..

4. แล้วก็ค้นพบได้ว่า..มีความสุขมาก เขียนได้ เลยตั้งเป้าจะเขียนปีละ 100 เรื่อง ทำได้มาถึง 400 แล้ว กำลังก้าวสู่เรื่องที่ 500 ครับ..

5. พอเข้ามา gotoknow เอง เช่นอ่านงานของอาจารย์ปัทมา ก็จะเกิดจุดประกาย..อะฮ้า..เรื่องนี้น่าเขียนต่อ..น่าต่อยอดนะ..

6.ถ้าเขียนไปเรื่อยๆ..ในแนว AI หรือแนวที่ถนัด เราจะอยากรวมเล่มครับ..เพราะคนค้นหาไม่เจอ..ถ้าคุณทำชุมชนนักปฏิบัติ..การรวมเล่มนี่ช่วยได้เยอะครับ.กลายเป็น CoP ที่มีเนื้อหสเป็นของตนเอง คนเข้ามาใหม่ก็ง่ายขึ้น เราก็ง่ายขึ้น...

ก็สรุปได้หกประเด็นครับ..และจะเขียนไปเรื่อยๆ..เพราะมีความสุขมากๆ..

  • ความเห็น JJ อุปสรรค ในการ ลปรร คือ
  • "การถอดบทเรียนของตัวเจ้าของ ไม่เป็น/ไม่ได้/ไม่มีสาระ"
  • เลยทำให้
  • "กลัว/ไม่กล้า/เขิน"ในการ ลปรร หรือ เขียน ลงใน G2K ครับ

ผมใช้ Why why analysis ร่วมแชร์ความคิดเห็นครับ

ข้อแรก

Q:ทำไมถึงชอบอ่านแต่ไม่ชอบเขียน?

A:การอ่านอาจใช้เวลาน้อยกว่าการเขียน

Q:ทำไมการอ่านใช้เวลาน้อยกว่าการเขียน?

A:ไม่ต้องเสียเวลาเรียบเรียงประโยค แค่คิดตามและทำความเข้าใจในสิ่งที่อ่าน

ดังนั้นการเขียนจึงเป็นทักษะที่ต้องใช้ความสามารถอื่นๆเข้ามาผสมผสาน มากกว่าการอ่าน

อ่านเพื่อ "ทำความเข้าใจให้กับตนเอง"

เขียนเพื่อ "ให้คนมากกว่าหนึ่งคน (ตัวเรา) เข้าใจ"

ข้อต่อมา

Q:ทำไมภาระงานมากจึงไม่มีเวลาเขียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้

A:การทำงานมีความต่อเนื่อง

Q:ทำไมถึงต่อเนื่อง?

A:เพราะเป็นงานประจำ และมีภาวะที่ควบคุมไม่ได้

Q:ทำไมถึงควบคุมไม่ได้?

A:เพราะไม่มีการควบคุม ขาดการจัดลำดับความสำคัญของงาน ไม่มีแผนงาน

ดังนั้นเรื่องนี้ผมมองว่าเป็นเรื่องส่วนบุคคล ในการจัดตารางเวลาให้กับตนเอง เพราะทุกคนผมเชื่อว่าไม่ได้ทำงานตลอด ๘ ชั่วโมง เป็นไปไม่ได้ด้วย อย่างน้อย เวลาพักทานข้าว เบรคกาแฟ เข้าห้องน้ำ อย่างน้อยทุกคนต้องมีแน่นอน

ถึงอย่างไรก็ตามผมก็ยังเชื่อว่า ทักษะการเขียนเพื่อสื่อความต้องอาศัยเวลาในการบ่มเพาะฝึกฝน จากประสบการณ์ตรงของบุคคลเท่านั้น ทำให้ย้อนกลับไปคิดถึงสิ่งที่ครูอาจารย์ท่านสอนเรื่องของ "หัวใจนักปราชญ์" ขึ้นมาทันทีครับ

สุ (สุต) : การฟัง

จิ (จิตต) : การคิดตาม

ปุ (ปุจฉา) : การซักถาม

ลิ (ลิขิต) : การเขียน จดบันทึก

กว่าจะเขียนได้ ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนที่สำคัญต่างๆมากมาย แค่เรื่อง "การฟัง" ผมว่าก็มีนัยสำคัญแล้วครับผม

สำหรับงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยที่จะสะท้อนให้เห็นข้อเท็จจริงหลายสิ่งหลายอย่างที่เป็น "อุปสรรคของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้" ผมเชื่อว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งครับต่อการพัฒนาเพื่อการก้าวไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ต่อไปในอนาคต ขอเป็นกำลังให้ครับผม

วันนี้พี่แก้ว สรุปความก้าวหน้างานวิจัย

    งานแต่ละอย่างอาจไม่เป็นไปตามกำหนดเนื่องจาก มีภาระงานประจำมาก

ขอเป็นกำลังใจ ทั้งผู้พัฒนาระบบ และผู้ใช้นะครับ ผมจะเกาะติด และพัฒนาตัวเองไปพร้อม ๆ กับทุกคนครับ

  • ผมคิดว่า ไม่มีกระบวนวิธีการเรียนรู้ใดที่ ดีที่สุดสำหรับทุกคน แต่ดีมากๆสำหรับบางคนและไม่ดีสำหรับบางคน แต่การศึกษาเพื่อให้เห็นข้อบกพร่องและหาทางยกระดับ พัฒนาขึ้น เป็นความตั้งใจ พยายามที่ต้องปรบมือให้ดังๆครับ
  • G2K เป็นเวทีที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในปัจจุบัน เพราะพัฒนาการทางบรรยากาศได้สร้างสังคมนี้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ blog ที่พยายามทำและไม่ได้เรื่องมีมากมายกลายเป็นขยะนับไม่ถ้วน
  • ทำไมในชีวิตจริงจึงมี sub group ก็เพราะ ความชอบ บุคลิก นิสัยส่วนตัว ความสนใจ ท่าที ฯลฯ มีส่วนที่เกิดการจับกลุ่ม "คนคอเดียวกัน" ซึ่งมีทั้งกลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่ แรกๆก็ไปทั้วทุกภูมิภาค นานเข้าก็ไปแต่สงขลาไม่ไปเชียงใหม่ หรือไปแต่ไม่แสดงความเห็นเป็นต้น
  • จากข้อดังกล่าวหากมีการพัฒนาเครื่องมือที่ search ใครไปกลุ่มไหนประจำ บางครั้ง ก็อาจจะได้ตัวเลข และ sub group นี้ออกมาด้วย สำรวจด้วยสายตาก็พอมองเห็นบ้าง ก็เป็นปกติของพฤติกรรมคนในสังคมปัจจุบัน
  • G2K น่าที่จะมีผู้อยู่เบื้องหลังที่ดีที่สุดนะครับ และตั้งอกตั้งใจพัฒนาสถานที่แห่งนี้ให้ดีที่สุด ส่วนสาระที่ออกมานั้นก็สะท้อนความเป็นจริงในสังคมปกติ และที่ผมชอบมากคือ เสริมมุมปิดของคนในสังคมปกติ เพราะในสังคมปกติ เช่นผมชอบถ่ายรูป แต่ในสังคมทำงานปกตินั้นยากที่จะหาคนคอเดียวกัน และมาแลกเปลี่ยนกัน เพราะความเป็นส่วนตัวในระยะเวลาที่ตัวเองสดวกที่สุดนั้นไม่มี แต่สังคมแห่งนี้ เราสามารถหาเวลาส่วนตัวไปในสิ่งที่ตัวเองชอบได้ตลอดโอกาสที่มี แม้เพียงสั้นๆ เข้าไปอ่าน ก็ได้ประโยชน์มากมายแล้ว
  • ผมสรุปมานานแล้วว่า ไม่สนใจจำนวนคนมาแลกเปลี่ยน แค่ได้แปะไว้ในสังคม ออนไลน์ ก็มีประโยชน์แล้ว เพราะคนทำงานพัฒนาชนบทอย่างผมนั้นเป็นกลุ่มเล็กๆในสังคม
  • G2K เป็นเวทีที่ดีที่สุดในปัจจุบันในทัศนผมนะครับ แม้ว่าจะมีอุปสรรค มีปัญหาบ้างก็เป็นปกติ
  • ขอให้กำลังใจทุกท่านครับ

ขอบคุณทุกท่านสำหรับความเห็นต่อยอดค่ะทำให้เข้าใจผลสำรวจมากยิ่งขึ้นค่ะ

เรียนท่านอาจารย์

  • คุณยายก็มีปัญหาเรื่องภาระงานค่ะ ทำให้งานเขียนขาดช่วงไป ถึงยังไงก็ยังแวะมาอ่านอยู่เรื่อยๆ แว๊บๆ ค่ะ แต่ไม่ได้เม้นท์เท่านั้นเองค่ะ
  • ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ดูแลทุกท่าน ทำงานต่อไปอย่างมีความสุขนะคะ

มาอ่านและเป็นกำลังใจให้ค่ะ

 

เวลาบันทึกแต่ละบันทึกหรืออัพโหลดไฟล์ รู้สึกช้ากว่าเดิมก่อนโน้น..เล็กน้อยค่ะ

และปัญหาของสัญญาณหรืออะไรไม่ทราบนะคะ กดให้โพสต์จากที่นี่ อังกฤษ บันทึกจะมาช้าค่ะ

เข้ามา.............แต่บางครั้งในภาวะอารมณ์ในห้วงนั้น  ก็ไม่สามารถก่อให้เกิดความรู้สึก อยากเขียนได้

เป็นปัจจัยด้านความรู้สึกส่วนบุคคลจริงๆ คะ

 

เช้ามาชม

เป็นผลงานวิจัยที่จับต้องได้นะครับ

มีประโยชน์ต่อแวดวงวิชาการนะครับผม

มาเชียร์...

ขอบคุณครับ งานวิจัยทำให้เราเห็นว่าสังคมปัจจุบัน

ทุกคนมุ่งไปที่ทำงาน ๆ และก็งาน การอ่านมีเวลา

แต่การเขียนได้เปลี่ยนรูปไปเป็นการพิมพ์มากขึ้น

การร่างหนังสือ ก็ในคอมพิวเตอร์มาทดแทนการเขียน

ทำให้การเขียนโดยใช้ปากกา ดินสอ มีน้อยลง แต่การบันทึกยังมีอยู่

เป็นกำลังใจให้ครับ และที่นี่ผมได้อะไรมากจริงๆ

จากแต่ก่อนการแลกเปลี่ยนมีอยู่ในวงจำกัด เช่นนักวิชาการ

หรือสาขาอาชีพเดียวกัน แต่ที่นี่ครับดีมาก ๆ ครับ

ดีใจมากที่ได้เป็นสมาชิกที่นี่ และจะมาแลกเปลี่ยนความรู้ต่อไปครับ

ภาระงานที่มากเป็นอุปสรรคจริงๆ

แต่ยังคงแวะเวียนและมีบันทึกบ้าง จริงๆแล้วอยากแลกเปลี่ยนกับคนที่ทำงานเดียวกัน

แต่ก็มีคนเขียนน้อยคน

อย่างไรก็ตาม การเขียนบันทึกก็เป็นแหล่งเก็บข้อมูลที่ดี เมื่อเวลาอยากใช้ในการพัฒนางานหรือทำผลงานพัฒนาคุณภาพก็หาได้จาก G2K

เวทีนี้ยังเป็นเวทีที่ดีในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ดีทีเดียว

ขอให้กำลังใจในการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นค่ะ

สวัสดีค่ะ ทุกท่าน

ข้อคิดเห็นที่ทุกท่านได้แลกเปลี่ยนเพิ่มเติมในบันทึกนี้ มีประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมากเลยค่ะ

หากท่านใดแวะเข้ามาอ่านแล้วมีประเด็นที่อยากจะแลกเปลี่ยน รบกวนแสดงความคิดเห็นกันไว้ได้เลยนะคะ

ขอบคุณทุกท่านมากค่ะ ^^

มาอ่านสาระประโยชน์ยามเช้าครับผม

น่าสนใจครับ ... ได้ข้อคิด ที่จะต้องศึกษา ประเด็นต่างๆ ไป

จัดการ พัฒนา ระบบงาน KM และการจูงใจ ในองค์กร เราบ้าง

การกระตุ้นการทำ KM องค์กรต้องกัดไม่ปล่อยค่ะ กำหนดหัวปลาให้ชัด หาเครื่องมือ ICT เข้าช่วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างคลังความรู้และชุมชนนักปฏิบัติค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท