การวิจัยประเมินผล


ทำไมต้องสนใจการวิจัยประเมินผล
                   การบริการต่างๆในโรงพยาบาลสามารถสร้างเป็นงานวิจัยเชิงประเมินหรือการวิจัยประเมินผลได้มากมาย (สิริอร สินธุ, 2548) บุคลากรทางการแพทย์จึงควรสนใจในการวิจัยเชิงประเมินซึ่งจัดอยู่ในประเภทของการวิจัยประยุกต์เพราะการวิจัยประยุกต์มีวัตถุประสงค์ที่จะนำผลของการวิจัยหรือข้อค้นพบไปใช้ในการปฎิบัติ  เช่น   นำไปแก้ปัญหา    เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจ   เพื่อนำไปพัฒนาโครงการ กระบวนการและวิธีการดำเนินงาน   และเพื่อประเมินผลโครงการ ( ชัยวัฒน์ ปัญจพงษ์, 2544: 3) จากลักษณะดังกล่าวที่ว่า “ผลของการวิจัยหรือข้อค้นพบนำไปใช้ในการปฎิบัติ ” สอดคล้องกับงานประจำของบุคลากรทางการแพทย์ในยุคแห่งการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลเนื่องจากมีโครงการพัฒนาปรับปรุงงานในบทบาทแห่งวิชาชีพมากมายในการทำงานประจำวัน แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่าบุคลากรทางการแพทย์จำนวนมากยังขาดความรู้ความเข้าใจในการวิจัยประยุกต์ หรืองานวิจัยประเมินผลนี้ อาจเป็นเพราะศาสตร์ทางการวิจัยมีหลากหลายสาขา และมีความแตกต่างกันไปในด้านของข้อความคิด  มีความแตกต่างระหว่างศาสตร์ ต่างๆ ซึ่งขึ้นกับปรากฏการณ์ที่เป็นเป้าหมายสำคัญของการศึกษาวิจัย นั้นๆ ( Neil, J.S.,1968:4-6 )
                   ปัจจุบันนี้การสนับสนุนการทำวิจัยแบบสหสาขาวิชาชีพและแบบพหุสาขาวิขาวิชาชีพ เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ผู้มีส่วนร่วมทุกท่านจึงจำเป็นต้องใจกว้าง ยอมรับองค์ความรู้ในศาสตร์ของการวิจัยของสาขาอื่นๆด้วย บุคลากรทางกาแพทย์ยุคใหม่ไม่ควรมีลักษณะ ดังที่สถาบันพระบรมราชชนก กล่าวไว้ คือ  บุคลากรทางการแพทย์มีศักยภาพความสามารถเชิงสติปัญญาสูงแต่ว่าคับแคบ  มีความรู้ดีแต่ไม่เพียงพอ (สุวิทย์ วิบูลย์ผลประเสริฐ, 2542 , บทนำ) ผู้ที่สร้างงานวิจัย ทีมผู้ให้คำแนะนำ  กรรมการตรวจงานวิจัย  สถาบันที่ให้ทุนทำวิจัย  และ คณะกรรมการจริยธรรมในคน  จึงต้องร่วมมือกันในการแสวงจุดร่วมสงวนจุดต่างและใจกว้างยอมรับความต่างระหว่างศาสตร์สาขา-ต่างๆ  เพื่อนำมาสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่มิใช่กล่าวกันไปเพียงเป็นนามธรรมเท่านั้น
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 4680เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2005 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 06:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เนื่องจากต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินผลงานวิจัยเพื่อประกอบการทำวิจัย จึงต้องการรายละเอียดของบุคคลต่างๆที่อ้างอิงเช่น สิริอร,ปุระชัย,สุวิทย์ เพื่อนำมาเขียนในเอกสารอ้างอิงค่ะ

 

ขอบคุณค่ะ

ทำงานประจำและโครงการพิเศษต่างๆ ใน รพ.  ยึดหลักว่า  งานคู่การวิจัย  จึงสนใจเรื่องนี้  น่าจะเห็นภาพชัด 

ขอบคุณค่ะ

ก่อนจะสร้างงานวิจัยเชิงประเมิน ควรทราบวัตถุประสงค์การวิจัยประเภทนี้ก่อน

ดังนี้ - การวิจัยเชิงประเมิน 1ช่วยให้การออกเเบบโครงการต่างๆสมบูรณืขึ้น เพื่อการพัฒนาปรับปรุง

- เพื่อการบริหารจักการทรัพยากร ของโครงการ ให้เหมาะสมและมีความเป็นไปได้

- เพื่อสร้างองค์ความรู้ในด้านการวิจัย จากการประเมิน( ไม่แนะนำให้เรียกว่าการวิจัยประเมินผล น่าจะเรียกว่าการวิจัยเชิงประเมินจะเหมาะสมที่สุด )

- เพื่อทำตามบทบาทความเป็นวิชาชีพ เนื่องจากแทบทุกวิชาชชีพกำหนดให้ประเมินผลการทำงาน หากนำมาสร้างงานวิจัยเชิงประเมินจะเป็นการสร้างหลักฐานทางวิชาการที่แกร่งขึ้น)

lสาระสำคัญแผนพัฒนาการเศรษกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ10มีข้อกำหนดที่สำคัญ ในด้านการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฎิบัติและการติดตามและประเมินผลอย่างเป็นระบบ

ดังนั้นทุกหน่วยงานควรให้ความสำคัญกับการประเมินผล สู่การวิจัยเชิงประเมินก็จะมีหลักฐานเชิงวิชาการที่ดีต่อไป

เรียน อ.ชนากาน

มีรูปแบบประเมินผลกระบวนการด้านสอนโปรแกรมต่าง ๆ

และการประเมินการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ นิเทศงานการสอนงานบ้างไหมคะ

รูปแบบประเมิน กระบวนการสอน ที่น่าสนใจ มีหลากหลายมาก เช่น ของ Gagne's 9 events of good instruction process ของไทยก็ทัศนา แขมณี เป็นCIPPO ก็มี เป็นต้น

การประเมินการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ เช่น Reg Revans =communication+collaboration + commitment ต่อมาวิรุณ บุญนุช ประยุกต์ เป็น 5 C และได้เผยเเพร่ในงานประชุมของ พรพ. เมื่อ พ.ศ.2549 ประกอบด้วย Caring + Continuing +communication+collaboration + commitment เป็นต้น

ทั้ง3 นักวิชาการ ที่เอ่ยมา สามารถ ค้นหาได้ โดย Online หรือ www ต่างๆมากมาย

หากไม่พบก็ถามมาใหม่ได้ จะนำมา Postให้ตรงนี้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท