เมื่อวาน....
ผมทำร้าน....ได้รับคนไข้เป็นผู้หญิง หน้าตาค่อนข้างดี....ต้องการมาอุดฟัน
จากการตรวจในช่องปาก พบว่าซี่#36 พบรอบแตกของวัสดุอุดเดิม คือ อะมัลกัม ที่ด้านบดเคี้ยว
แตกค่อนข้างมาก ซึ่งน่าจะต้องอุดใหม่
จึงอธิบายทางเลือกในการรักษาให้แก่คนไข้ว่าต้องการจะเลือกวัสดุบูรณะชนิดใดระหว่าง
อะมัลกัม ซึ่งเป็นวัสดุอุดฟันชนิดเดิม
หรือคอมโพสิต ซึ่งเป็นวัสดุสีเหมือนฟัน
โดยผมก็อธิบายข้อดีและข้อเสียของวัสดุอุดแต่ละชนิดให้คนไข้ฟัง
ซึ่งตอนแรกผมคาดว่าคนไข้น่าจะเลือกอุดคอมโพสิต เนื่องจากเธอเป็นผู้หญิงและไม่น่ามีปัญหาด้านค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด แต่ผิดคาดครับ+++
เธอเลือกอะมัลกัม ก็ยังงงนิดๆ แต่ก็เข้าใจได้......ว่า....ในผู้ป่วยแต่ละรายก็มีบริบทที่แตกต่างกัน normของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน จะเอาความรู้สึกเรามาเป็นที่ตั้งก็คงไม่ถูกนัก
ผมจึงเริ่มทำการรักษา
โดยเริ่มต้นที่การ remove เอาอะมัลกัมเดิมออก....พอเอาอะมัลกัมเดิมออกก็ถึงบางอ้อ++เลยครับว่าทำไมวัสดุอุดเดิมถึงแตก..
ทั้งนี้เนื่องจากว่าcavity ของคนไข้รายนี้ตื้นมากเลยครับ บางบริเวณลึกประมาณครึ่งมิลลิเมตรเอง....ซึ่งเนื้อที่ดังกล่าวคงไม่เพียงพอให้วัสดุบูรณะอย่างอะมัลกัมไปนอนเกลือกกลิ้งได้เป็นแน่แท้..
ผมจึงตัดสินใจ...กรอเนื้อฟันเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้รูปร่างของโพรงฟันที่เหมาะสมประมาณ 1.5มม. เมื่อตกแต่งขอบของ cavity เรียบร้อยแล้ว ก็จึงทำการอุดด้วยอะมัลกัม ...
ซึ่งเทคนิกส่วนตัวของผม...หลังจากอุดฟันคลาส1 ดังเช่นในคนไข้รายนี้แล้ว ผมจะให้คนไข้เคี้ยวๆๆๆๆหลังจากอุดฟันเสร็จ เพื่อจะให้ได้ลักษะของการสบฟีน และincline ต่างๆตามธรรมชาติของคนไข้ จากนั้นก็จะมาเช็คสูงซ้ำอีกทีซึ่งจะทำให้การเช็คสูงเสียเวลาในคลินิกไม่มาก..
หลังจากเช็คสูงเรียบร้อยแล้ว...ผมก็จะ post-burnished รอยอุดอีครั้งเพื่อความเงางามและทำให้เนื้ออะมัลกัมแน่น...มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น....และที่ลืมไม่ได้ในกรณีอุดฟันด้วยอะมัลกัม...คือเตือนคนไข้..อย่าเพิ่งไปเคี้ยวอาหารแข็งๆใน 24ชม.แรก เนื่องจากอะมัลกัมยังไม่ set ตัวเต้มที่ อาจทำให้แตกภายหลังได้...
สุดท้ายผมก็นัดคนไข้มาทำการขัดฟันอีกครั้งในสัปดาห์หน้า ...ซึ่งผมอยากให้ทุกคนที่จบเป็นทันตแพทย์แล้วอย่าลืมสิ่งที่อาจารย์พร่ำสอนในตอนที่เป็นนิสิตนะ...ยังไง..อะมัลกัมก็ควรได้รับการขัด (ถ้าผู้ป่วยสะดวกมาขัดอะมัลกัมได้..ก็ควรนัดคนไข้มาขัดด้วย) อย่าเห็นว่าหมอคนอื่นไม่ทำ...เราก็ไม่ทำนะครับ..สิ่งนี้เราเลือกได้ว่า....เราจะเป็นแค่หมอคนหนึ่ง...หรือหมอที่ดีคนหนึ่ง...
แถมนิดนึง...ผมขอแถมเทคนิกส่วนตัวของผมในการเลือกจะอุด...หรือไม่อุดฟันซี่ไหนๆนะครับ.....ดังนี้.....
กรณีที่ผุเล็กน้อย
จะประเมินตามอายุและการดูแลรักษาความสะอาดฟันของผู้ป่วย
- กรณีที่เป็นเด็กอายุน้อย ฟันเพิ่งขึ้นไม่นาน ร่องฟันจะลึก
แล้วตรวจพบว่าเป็นรอยดำไม่ลึก
การรักษา..จะกรอส่วนที่ผุออกให้เสียเนื้อฟันดีน้อยที่สุด
แล้วจะอุดปิดทับด้วยวัสดุเคลือบร่องฟัน หรือถ้ากรอฟันผุออกไปมาก
ก็จะอุดก่อนด้วยวัสดุอุดฟัน แล้วปิดทับด้วยวัสดุเคลือบร่องฟัน
กรณีผู้ใหญ่
หากรอยสีดำ ยังไม่ถึงกับเป็นรูผุลงไป หรือผุเฉพาะชั้นเคลือบฟันตื้นๆ
จะใช้วิธีสังเกตุอาการ(observe) ทุก 6 เดือน ถ้าไม่มีการผุเพิ่ม
ก็ยังไม่ต้องอุดฟัน เนื่องจากการกรอฟันเพื่อการกำจัดรอยผุนั้น
จะมีการสูญเสียเนื้อฟันดีไปด้วย ทำให้สูญเสียเนื้อฟันโดยไม่จำเป็น
และวัสดุอุดฟันนั้น ความแข็งแรงจะไม่ดีพอให้อยู่ได้ตลอดไป
จะต้องมีวันชำรุด ต้องมารื้อเพื่ออุดใหม่
ซึ่งก็จะเกิดการสูญเสียเนื้อฟันเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นอีก
ถ้าผุลึกถึงชั้นเนื้อฟัน (dentine) ก็จะต้องมีการอุดฟัน
วัสดุอุดฟัน จะมีอยู่ 2 แบบ
1 . อะมัลกัม เป็นวัสดุที่ใช้กันมานาน
และมีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ ถึงแม้สีจะเป็นสีเงิน
แต่การอุดฟันกรามจะต้องใช้วัสดุที่แข็งแรง เพื่อรองรับแรงบดเคี้ยว
วิธีการอุดก็ไม่ยุ่งยากเท่าวัสดุสีเหมือนฟัน
2 . วัสดุสีเหมือนฟัน ( composite
resin) ทุกวันนี้ มีการพัฒนาจนนำมาใช้อุดฟันหลัง
เพื่อรองรับการบดเคี้ยว แต่ความแข็งแรง ก็ยังไม่เท่าอมัลกัม
ถึงแม้จะมีการพัฒนาเพื่อใช้ในการอุดฟันหลัง
แต่ก็ยังมีการนำมาใช้ไม่นาน เท่าอมัลกัม
และวิธีการอุดก็มีขั้นตอนมากกว่า
รวมทั้งค่าใช้จ่ายก็สูงกว่าอมัลกัมด้วยเช่นกัน
แต่ในปัจจุบันผมก็พบว่ามีหลายคนนิยมการอุดด้วยวัสดุชนิดนี้มากขึ้น
ซึ่งถ้าเราควบคุมความชื้นได้ดี
ใช้ระบบสารยึดติดที่มีประสิทธิภาพ
การเลือกใช้วัสดุชนิดนี้ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งครับ...
ทั้งนี้จะใช้วัสดุประเภทอะไรนั้น
คงต้องพิจารณาเป็นกรณีๆไปครับ
เพราะวัสดุแต่ละชนิดก็มีข้อจำกัดและข้อดี
ที่แตกต่างกันครับ ซึ่งควรให้หมอฟัันของคุณ
พิจารณาในแต่ละกรณีๆไปครับ (^_^)
ก็ร่ายยาวมาพอสมควร...วันนี้ก็ขอพอเท่านี้ก่อนละกันนะครับ
หมอบอล,29 ก.ย.2548