เข้าระบบ
สมัครสมาชิก
หน้าแรก
สมาชิก
Dr. Phichet Banyati
สมุด
PracticalKM
กิจกรรมโรงทาน : ด...
Dr. Phichet Banyati
สมุด
บันทึก
อนุทิน
ความเห็น
ติดต่อ
กิจกรรมโรงทาน : ดูแลนอกเหนือจากบริการสุขภาพ
แม้สิ่งที่เรานำไปมอบให้อาจจะเป็นข้าวสาร 1 ถัง หรือเสื้อผ้า 1-2 ตัว แต่สำหรับคนไม่มีแล้วมีค่ามาก ได้คุยกับทีมที่เขาออกไปแล้วเมื่อเราได้นำสิ่งของเหล่านี้ไปให้เขาจะสามารถรับสัมผัสถึงความขอบคุณได้ไม่ใช่จากปากของผู้รับเท่านั้นแต่เป็นทั้งแววตาและการกระทำ
เมื่อประมาณปี 2539 สมัยคุณหมออนุเวช วงศ์มีเกียรติ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านตาก คุณหมอบุญส่ง เมธาวีกุลชาติ(แพทย์ประจำ)และทีมงานโรงพยาบาลบ้านตากส่วนหนึ่งอาทิคุณเจี๊ยบ(จารุวรรณ) พี่ดุง(คุณสิรภัทร) ได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มที่จะออกช่วยเหลือสงเคราะห์คนยากจนและคนด้วยโอกาสโดยการบริจาคสิ่งของเสื้อผ้า ข้าวสารอาหารต่างๆ พอปี 2540 ผมมาอยู่ที่บ้านตากก็ได้สนับสนุนกิจกรรมนี้อย่างต่อเนื่องแม้ทุกวันนี้คุณหมอบุญส่งหัวแรงหลักได้ย้ายไปแล้วแต่ทีมงานก็ยังคงสานงานอย่างต่อเนื่อง เมื่อปี 2541 ผมได้เรียนให้ท่านฮึกหาญ โตมรศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตากในขณะนั้นได้ทราบท่านได้เห็นความสำคัญจึงได้บริจาคเงิน 50,000 บาทร่วมจัดทำกิจกรรมดังกล่าว มาถึงทุกวันนี้ก็เกือบ 10 ปีโครงการกิจกรรมนี้ก็ยังคงอยู่และออกปฏิบัติภารกิจอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีเงินสนับสนุนไม่มากนักแต่ก็สามารถจัดทำกิจกรรมได้ตลอด แม้สิ่งที่เรานำไปมอบให้อาจจะเป็นข้าวสาร 1 ถัง หรือเสื้อผ้า 1-2 ตัว แต่สำหรับคนไม่มีแล้วมีค่ามาก ได้คุยกับทีมที่เขาออกไปแล้วเมื่อเราได้นำสิ่งของเหล่านี้ไปให้เขาจะสามารถรับสัมผัสถึงความขอบคุณได้ไม่ใช่จากปากของผู้รับเท่านั้นแต่เป็นทั้งแววตาและการกระทำ บางทีในโลกแห่งความฟุมเฟือยแบบทุนนิยมที่ในงานเลี้ยงต่างๆจะมีอาหารมากมายที่แทบจะเรียกว่ากินทิ้งกินขว้างแต่อีกบางมุมบางส่วนของประเทศยังมีคนจนที่แม้แต่อาหารจะกินยังไม่มี ซึ่งในปีนี้ผมคิดว่าเราจะต้องสนับสนุนกิจกรรมนี้เป็นโครงการหนึ่งของโรงพยาบาลโดยใช้เงินบำรุงโรงพยาบาลเพราะเงินบริจาคที่ได้มานั้นจะน้อยมาก แต่เราก็มีหลายช่องทางที่จะช่วยโดยการแจ้งไปยังท้องถิ่นเมื่อมีคนยากจน คนถูกทอดทิ้งมาหาเราที่โรงพยาบาลเราจะแจ้งไปยังนายอำเภอ อบต./เทศบาล รวมทั้งเราเองก็จะออกเยี่ยมHome Health Care ด้วย การสงเคราะห์ในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นเครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค หรืออาหารล้วนเป็นปัจจัยเบื้องต้นหรือปัจจัย 4 สำหรับการยังชีวิตให้อยู่ได้ สิ่งเหล่านี้จึงมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนโดยตรง นอกจากนี้หากเจ็บป่วยแล้วไม่มีค่ารถ ค่าเดินทาง เราก็มีกองทุนสงเคราะห์ผู้ป่วยยากจนในสมเด็จพระเทพฯซึ่งพระองค์ได้พระราชทานให้จัดตั้งขึ้นและมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคสมทบเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยากจนด้วย เมื่อวานนี้(28กันยายน)ผมได้ตรวจผู้ป่วยในหอผู้ป่วยตั้งแต่ 06.30 น.เพราะต้องไปร่วมประชุมเกี่ยวกับการจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความยุติธรรมในจังหวัดตาก มีคนไข้ 30 เตียง ใช้เวลาตรวจจนถึง 9 โมงเช้า จึงได้ไปประชุมที่ตัวจังหวัด ขณะตรวจผู้ป่วยนั้นผมได้ตรวจถึงเตียงที่ 15 ก็พบเหตุการณ์ที่น่าประทับใจคือผู้ชายไทยแท้อายุราว30ปี กำลังป้อนข้าวผู้ป่วยหญิงอายุราว 70 ปี ที่นั่งทานอาหารดูแล้วน่าจะเอร็ดอร่อย ผมก็คิดในใจว่าผู้ชายคนนี้ช่างเป็นลูกชายยอดกตัญญูดีแท้ เมื่อแม่ป่วยก็มาคอยป้อนข้าวป้อนน้ำให้อย่างเอาใจใส่ ทำให้คุณยายดูท่าทางมีความสุขมาก แต่สิ่งที่ผมประหลาดใจและประทับใจไปมากกว่านั้นก็คือทราบว่าผู้ชายคนนี้ไม่ใช่ลูกชายของคุณยายและไม่ได้เป็นญาติพี่น้องกัน เป็นเพียงแต่สามีของผู้ป่วยหญิงคนหนึ่งในตึกเท่านั้น เห็นคุณยายทานอาหารเองไม่ค่อยสะดวกจึงมาช่วยป้อนให้ ผมงี้ทึ่งมากนี่แหละครับสุภาพบุรุษตัวจริง สังคมไทยยังคงมีคนดีๆอยู่อีกมากเพียงแต่ไม่ได้เป็นข่าวโด่งดัง เหมือนบรรดาดาราลูกกตัญญูทั้งหลายเท่านั้น ผมว่าหน่วยงานที่แจกรางวัลดีเด่นต่างๆน่าจะมามองหาคนธรรมดาที่ใจไม่ธรรมดาแบบนี้แล้วนำไปยกย่องบ้าง เพราะยังมีอีกเยอะมาก พอคุณยายทานข้าวเสร็จผมก็ได้พูดคุยกับคุณยายเพื่อซักถามประวัติเจ็บป่วยตามสไตล์ของหมอแล้วก็ต่อด้วยสรรทุกข์สุกดิบอื่นๆ คุณยายก็ฑุดเบาๆ ฟังก็ไม่ค่อยได้ยินแต่ก็พอจับใจความได้ว่าเป็นโสด ตัวคนเดียวอยู่คนเดียว อาศัยข้าวปลาอาหารจากคนข้างบ้านกินประทังชีวิต ที่มาโรงพยาบาลนี่ก็มีคนข้างบ้านไปพบนอนหมดสติอยู่จึงพามาส่ง ผมพบว่าโรคที่คุณยายเป็นก็เป็นลักษณะของโรคผู้สูงอายุ เช่นปวดหลัง ปวดเอว และมีกระดูกเสื่อม แต่พอคุยกันนานๆก็เริ่มพบว่าคุณยายน่าจะเริ่มมีสมองเสื่อมด้วย จากนั้นก็ได้ให้พยาบาลแจ้งให้ทำหนังสือไปที่อำเภอเรื่องคนจนและอบต.เพื่อขอสนับสนุนเงินเลี้ยงชีพก็ทราบว่าได้รับเดือนละ 300 บาทอยุ่แล้ว ผมก็แจ้งทีมโรงทานๆก็บอกว่าเป็นคนไข้ในโครงการอยุ่แล้วและก็ให้ทีมHome health careมาวางแผนและประเมินการดูแลที่จะต้องตามไปดูเมื่อผู้ป่วยต้องกลับบ้านด้วย แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะให้คุณยายกลับบ้านได้เมื่อไหร่ หรืออาจจะต้องให้อยู่ดูแลที่โรงพยาบาลเลย พอตรวจไปถึงเตียงที่ 20 ก็เป็นคุณป้าวัยประมาณ 60 ปีเป็นถุงลมโป่งพอมาก็พูดคุยก็ทราบว่าคุณยายไม่อยากกลับบ้านเช่นกันเพราะตัวคนเดียวไม่มีลูกหลาน ผมก็แจ้งแบบเดิมอีกและก็ได้พูดคุยกับคุณป้าและได้บอกไปว่าถาหายแล้วคุณป้ายังไม่สบายใจที่จะกลับบ้านก็ให้อยู่โรงพยาบาลไปก่อนได้ และในตึกมีผู้ป่วยถุงลมโป่งพองอยุ่ 5 คน ผมก็เลยให้คุณป้าทั้ง 5 คนนี้ได้พูดคุยปรับทุกข์แลกสุขกันว่าทำยังไงถึงไม่หอบไม่เหนื่อยก็คงจะเป็นKnowledge sharingได้กระมัง
เขียนใน
GotoKnow
โดย
Dr. Phichet Banyati
ใน
PracticalKM
คำสำคัญ (Tags):
#kmกับการดูแลผู้ป่วย
หมายเลขบันทึก: 4670
เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2005 12:12 น. (
)
แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 15:47 น. (
)
สัญญาอนุญาต:
จำนวนที่อ่าน
ความเห็น
ไม่มีความเห็น
หน้าแรก
สมาชิก
Dr. Phichet Banyati
สมุด
PracticalKM
กิจกรรมโรงทาน : ด...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID
@gotoknow
สงวนลิขสิทธิ์ © 2005-2024 บจก. ปิยะวัฒนา
และผู้เขียนเนื้อหาทุกท่าน
นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท