กลุ่มประคับประคองจิตใจญาติผู้ป่วยจิตเวช


เนื้อหาในกลุ่มประคับประคองจิตใจญาติผู้ป่วยจิตเวช
     
 
 
      บันทึกนี้ขอถ่ายทอดเนื้อหาในการทำกลุ่มบำบัดเพื่อประคับประคองจิตใจญาติผู้ป่วยจิตเวชที่ผู้เขียนเป็นผู้นำกลุ่มค่ะ ทำหลายครั้ง เอาทั้งหมดมาประมวลรวบยอดค่ะ
 
คำพูดที่ญาติเล่าเรื่องของผู้ป่วยในกลุ่ม 
      มีอาการหวาดกลัว ซ่อนตัว มองหาคน ได้ยินเสียงวิทยุ หูแว่ว ถามคนรอบข้างว่าได้ยินหรือไม่
     อยากฆ่าตัวตาย ร้องไห้ ซึม ไม่พูดเห็นคนจะมาเอาชีวิต มีหงุดหงิดคิดมาก
      เขาเรียนก็ไม่จบเพราะป่วยก่อน
      ทุ่มเท  อดนอนจนเครียด โรคกำเริบ
      มีลูกชายคนเดียวก็มาป่วย เขามีอาการพูดมาก 
      ลูกป่วยครั้งแรก กำลังเรียน พาลูกมาพบหมอช้าไป  จนเขาเป็นมาก
     ลูกมาด้วยมีพฤติกรรมแปลกๆ  ไม่นอนกลางคืน ลุกมาตี3 อาบน้ำ พับผ้า
กระโดดจากหน้าต่างมาที่ครัว พูดคนเดียว 
      หวาดระแวงว่าสามีนอกใจ หงุดหงิด ด่าสามี พ่อแม่
      มีครั้งหนึ่งหาลูกไม่เห็น  ต่อมาพบรองเท้าอยู่ใต้ต้นไม้  มองขึ้นไปลูกขึ้นต้นไม้ ก็พยายามไม่เอะอะให้ลูกตกใจ เขาก็ลงมาเอง
      ลูกไปเที่ยวห้างคนเดียว  แม่ตามไปจนรู้จัก รปภ. หลังๆให้เบอร์โทรเขา  เขาก็โทรมา สามล้อก็ผูกมิตรกับเขาไว้ ให้เบอร์โทร ให้เขามาส่งบอกว่ามาเอาเงินที่บ้านก็ได้ เขาก็มาส่ง
     ลูกเป็นผู้หญิง  จะปล่อยไปก็ไม่ได้  เดินไปทั่ว พ่อแม่ต้องช่วยดูแล 
 

ความรู้สึกต่อการดูแลผู้ป่วย
       ไม่หนักใจสู้เพื่อเขา
       ไม่รู้เป็นโรคอะไร หนักใจไม่ชอบผลข้างเคียงยา ไม่รู้เมื่อไรจะหาย
       ไม่รู้ว่าป่วย มาทราบทีหลังก็พยายามปรับตัว  มั่นใจว่าหาย
       ลูกไปเรียนไม่ได้  จบม.6 ถ้าพ่อแม่ไม่อยู่จะเลี้ยงตนเองอย่างไร
       จากการที่ลูกป่วย  บางครั้งบรรยากาศในครอบครัวก็ตึงเครียด  พ่อแม่ก็ทะเลาะกันเรื่องลูกก็มี
     อยากให้เขาเรียน เขามีงานทำ พ่อแม่ก็แก่แล้วจะดูแลตลอดก็ไม่ได้
      ปกติก็หารายได้ดีพอป่วยก็ชะงัก
     ไม่อยากให้เป็น แต่ก็ทำใจได้ 
      เวลาเครียดฉันพาลูกไปวัด  
      พวกเราก็พาไปวัด แต่เขาก็ไม่มีสมาธิ ฟุบที่ตักเรา
      มานี่ถึงรู้ว่าการเจ็บป่วยไม่ได้มีแต่เราคนเดียว  ที่เรือนพักญาติมีคนหนึ่งลูกเขาอายุ 5 ปีป่วย เขาก็เหนื่อยเหมือนกัน
      ตนเองต่อสู้มามาก  เคยท้อเหมือนกัน ทำไมต้องมาเกิดกับลูกตนเอง
      เป็นห่วงการเรียน  เขาจะหายไหม  (ร้องไห้)  
      กังวลกับอาการของลูก  กลัวลูกหกล้มเวลาเข้าห้องน้ำ กลัวลูกช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ 


 

คำแนะนำและกำลังใจที่ญาติให้แก่กัน 
      ไม่ต้องคาดหวัง  ให้เขาอยู่ในสังคมได้ก็พอ
      อย่าอาย ต้องสู้ต่อ เราไม่ได้เป็นคนเดียว ต้องไม่ท้อ
      บางครั้งก็นึกว่ามันเป็นกรรมของเรา
      ถ้าทำงานไม่ไหว  สมองไปไม่ได้ ก็ให้กลับไปอยู่บ้าน  ทำนาหรืออาชีพอื่นๆที่ไม่ต้องใช้สมองมาก
      อย่าท้อ คิดว่าอะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด
      เป็นกรรมเก่าที่ต้องชดใช้ไป  เอาธรรมมะเข้าข่ม
      ไม่ควรเก็บไว้คนเดียว
     อาการจะกำเริบถ้าเลิกกินยา
     ขอให้กำลังใจคนอื่นให้สู้ต่อไป
     เขาอายุมากก็ต้องถึงเวลา แต่ก็ชื่นชมคุณทำดี 
     ถึงเวลาก็ต้องปล่อยวาง  มันไม่มีอะไรเป็นของเรา เราไปยึดติดไม่ได้
     พยายามทำดีที่สุด
     ต้องรู้จักปล่อยวาง ถ้าไม่ปล่อยวางจะเกิดความเครียด  ต้องทำใจและปล่อยวาง ถ้าเครียดต้องหาทางออกให้เหมาะสม
    ถ้าทำงานไม่ไหว  สมองไปไม่ได้ ก็ให้กลับไปอยู่บ้าน  ทำนาหรืออาชีพอื่นๆที่ไม่ต้องใช้สมองมาก
     ต้องกินยาตามแพทย์สั่ง ขาดไม่ได้
    ให้เอาใจใส่ อยู่ใกล้ชิดและพูดแต่คำเพราะๆ กับลูก ต้องกอดเขา ให้เขาดีใจ
    ปลง คนเราป่วยได้ ไม่ใช่แต่ญาติเรา    
    รักษาได้  ไม่คิดมาก กินยาต่อเนื่องปฏิบัติตามแพทย์สั่ง  
    การดูแลลูก อย่าตามใจเกินไป 

      ความรู้สึกจากการทำกลุ่ม
      รู้สึกดีที่ได้เข้ากลุ่ม ได้รู้จักกัน ได้ช่วยให้กำลังใจกัน
      รู้สึกดี  ทำให้ได้คิดว่าไม่ได้มีแต่เราที่ลูกป่วย คนอื่นเขาก็เป็น ปลงได้
      ทำใจคิดว่าไม่เป็นมาก
      ดี ได้มีโอกาสระบาย  ได้ฟังหลายๆคนพูด ไม่ได้เป็นแต่เรา การเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่ต้องเกิด
     สบายใจ
     ฟังจากที่คุณ.....พูดก็รู้สึกว่าตนเองต้องสู้ ตนเองจะท้อไม่ได้ เขายังสู้มาตั้งหลายปี
     ได้ปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิด
     ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น  มีหลักและวิธีการในการดูแลผู้ป่วย
      ได้ข้อเสนอแนะทางความคิดและประสบการณ์
      ได้กำลังใจจากเพื่อน
      รู้สึกดีใจมาก  ภูมิใจในการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน  ได้คุยและหาทางช่วยแก้ปัญหา
      ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันและได้คำแนะนำเพื่อจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องกับการดูแลผู้ป่วย
      ได้ความรู้เกี่ยวกับโรค  การรักษา ป้องกันในโรคที่มารักษา  เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
      ได้รับความรู้ด้านจิตเวชอื่นๆเพื่อจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  กับครอบครัวตนเองและกับผู้อื่น
     ได้รู้จักกับญาติผู้ป่วย  และได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลรักษาผู้ป่วยร่วมกัน
     ได้เข้าใจความรู้สึกของผู้ที่เป็นญาติผู้ป่วยและปรับใช้กับตนเอง 
 
 
 
 

เมื่อเราทุกข์ นึกถึงคนที่ทุกข์กว่า
เมื่อมีปัญหา การได้ระบายความรู้สึก พูดคุยกับผู้ที่ไว้ใจได้หรือมีปัญหาคล้ายๆกันก็ช่วยแบ่งเบาทุกข์ได้
ปัญหาทุกอย่างมีทางออกเสมอค่ะ
หมายเลขบันทึก: 466776เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2011 06:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • มีหลยอาการ
  • มาให้กำลังใจครับ
  • เย้ๆๆ

สวัสดีค่ะอาจารย์ดร.ขจิต

หลายอาการซึ่งอาจก่อความรู้สึกเป็นภาระ(Burden)ในญาติได้ค่ะ การมีกิจกรรมเหล่านี้ก็ช่วยลดความรู้สึกนี้ได้บ้างค่ะ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์โสภณ

น้ำยังมา น้ำดื่มนั้นหนาเริ่มขาดแคลน ภาวนาให้สถานการณ์คลี่คลายค่ะ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ

ขอเป็นกำลังใจให้ด้วยคนนะคะ

สวัสดีค่ะน้องต้นเฟิร์น

ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ

การดูแลผู้ป่วยจิตเภทของญาติต้องใช้ความอดทน ใช้เวลา อาศัยกำลังใจ หลายคนบอกว่ามีคนรับรู้ความรู้สึก ได้ระบายบ้างก็ผ่อนคลายความเหนื่อยใจลงได้บ้างค่ะ

สวัสดีค่ะคุณอักขณิช

ขอบคุณสำหรับดอกไม้ค่ะ

ผมมีพ่อป่วยเป็นจิตเภทครับ ยินดีรับความรู้และคำแนะนำจากทุกท่านครับ 

 แต่ผมยังไม่ได้สมัครสมาชิกนะครับ เพราะใช้ชื่อจริง กลัวมีปัญหาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท