เกร็ดประวัติพระวิสัยทัศน์ เจ้าฟ้านักศึกษาแพทย์


เดือนกันยายนที่ผ่านมาเป็น "วันมหิดล"  ในฐานะผู้หนี่งที่ได้รับผลจากพระกรุณาธิคุณ ข้าพเจ้ายังไม่มีโอกาสได้ร่วมเทิดพระเกียรติ 

ช่วงนี้มีโอกาสดี ที่จะนำเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ที่แสดงถึงพระวิสัยทัศน์อันทันสมัยอย่างน่าทึ่ง ของสมเด็จพระราชบิดา มาเล่าสู่กันฟังคะ
.
1. สถานที่สำคัญเกี่ยวข้องกับที่ประสูติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
แหล่งที่มา Longfellow house bulletine: June 2010
.
ในเอกสารนี้ได้เล่าถึง ทัศนคติสมเด็จพระราชบิดาต่อการมีคู่ครองว่า
When I marry, it will be to one wife and to no more, and she shall be the one queen of my heart....
ในปี 2463 พระองค์ได้กับเสกสมรส สามัญชน นาม สังวาลย์ ตะละภัฎ ซึ่งเป็นนักเรียนทุนในสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า มาศึกษาวิชาพยาบาล 
.
A. บ้านเลขที่ 15 ถนน Burkeley สถานที่พำนัก นส.สังวาลย์ ตะละภัฎ (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) 
.
ในระหว่างพำนัก ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สมเด็จพระราชบิดาและสมเด็จพระราชชนนี เคยเสด็จเยี่ยมเยียน บ้านของนักการศึกษา/นักประวัติศาสตร์/กวีคนสำคัญ Henry Wadsworth Longfellow ภายหลังบ้านหลังนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ ค้นคว้าวิจัย เรื่องราว ความสัมพันธ์อเมริกา และสยาม..เปิดให้ชม พร้อมไกด์ 3 ชั่วโมง ในอัตราประมาณ 90 บาทเท่านั้น - น่าเสียดาย ที่สถานแห่งนี้ ยังมีคนไทยรู้จักและไปเยี่ยมเยียนน้อย 
B. บ้านประวัติศาสตร์ Longfellow แต่ละรอบการนำชม จะมีไกด์ผู้เชี่ยวชาญออกมายืนรอหน้าบ้านเพื่อพาเข้าไป
.
สมเด็จพระราชชนนีมีพระประสูติกาล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ณ โรงพยาบาลเมาท์ ออร์บอร์น  ว่ากันว่า เหตุที่ทรงเลือกโรงพยาบาลนี้ แม้ในบริเวณนั้นมีโรงพยาบาลที่ดีหลายแห่ง เนื่องจาก โรงพยาบาลแห่งนี้ ติดกับบ้านพักของพระยากัลยาณไมตรี (ฟรานซิส บี. แซร์) เพื่อจะได้ช่วยดูแลธุระต่างๆ ให้อย่างใกล้ชิด
C. โรงพยาล Mount Auburn สถานที่ประสูติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
.
หลายท่านอาจทราบแล้วว่า ใกล้กับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มีจตุรัส และป้าย "King bhumibol adulyadej of thailand" 
D. จตุรัส King Bhumibol Adulyadej square เป็นมุมเล็กๆ จุดสังเกตที่เห็นแต่ไกลคือ ยอดอาคาร Charles Hotel 
.
ในป้ายจารึก ข้าพเจ้าขอแปลดังนี้
"จตุรัส กษัตริย์ภูมิพลอดุลยเดช 
จตุรัสนี้ เป็นที่ระลึกสถานที่ประสูติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช แห่งประเทศไทย ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออร์บอร์น ใน เคมบริดจ์ แมสซาชุเสต วันที่ 5 ธันวาคม พศ. 2471 ในขณะ เจ้าฟ้ามหิดล พระราชบิดา เป็นนักศึกษา ณ โรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด
จตุรัสนี้ เปิดอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 8 เมษายน พศ.2533 โดยสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ พระราชธิดาองค์เล็ก ใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินี 
อนุสรณ์นี้ จะเป็นที่ระลึกถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่าง เคมบริดจ์และประชาชนชาวไทย
ป้ายสลักนี้ ได้รับการเปิด ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2535 โดยสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงมหาจักรี สิรินธร องค์ตัวแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และประชาชนชาวไทย"
.
ภาพแสดงที่ตั้งจุดสำคัญต่างๆ ที่กล่าวมา
.
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่คะ
1.บทความนี้ของ ท่าน อ.เหม่ง
2.บล็อกของมูลนิธิ King of Thailand birthplace foundation 
.
.
2.บทสัมภาษณ์ สมเด็จพระราชบิดา 
แหล่งที่มา
The Harvard illustrated magazine, Volume 18
บทสัมภาษณ์ในปี 1918  ( รัชสมัยสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว 1910-1925)
ขณะสมเด็จพระราชบิดา ยังทรงเป็นพระราชอนุชา และศึกษาวิชาสาธารณสุขที่ มหาวิทยาลัยฮาว์วาร์ด
เจ้าฟ้า ในรูปภาพ มีพระเนตรสีน้ำตาล และค่อนข้างเฉียง (oblique?) พระเกศาดำ พระฉวีออกน้ำตาล
"ภาษาอังกฤษ ที่พระองค์ใช้ ดีกว่า อเมริกันโดยเฉลี่ย และการออกสำเนียงสมบูรณ์แบบ"..
พระองค์ไม่ทรงพระโอสถ (ไม่สูบบุหรี่) แต่ มีกล่องซีกาเร็ตศิลปะตุรกี  "สำหรับให้เพื่อน" พระองค์ตรัส..พระองค์เชื่อว่าบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ "Hygiene สอนว่าเช่นนั้น" 
( ก่อนปี 1950  บุหรี่ยังเป็นของธรรมดา น้อยคนรู้ว่าบุหรี่เป็นต้นเหตุของมะเร็งปอด และโรคหลอดเลือดซึ่งได้รับการยืนยันชัดเจนในปัจจุบัน)
.
ทรงชื่นชมบุคคลสองคน คือ Carnegie และ Rockefeller
( Andrew Carnegie มอบทุนสำหรับก่อตั้งหอสมุดสาธารณะในพื้นที่ต่างๆ 
ส่วน John D. Rockefeller ก่อตั้งมูลนิธิการกุศลต่างๆ รวมทั้งมูลนิธี Rockefeller ซึ่งสมเด็จพระราชบิดา ได้ใช้พระวิริยะอุตสาหะ
เจรจาต่อรอง ในการให้ความช่วยเหลือวางรากฐานแพทยศาสตร์ศึกษาของไทย เป็นเวลา 12 ปี ในช่วง 2466-2477 )
.
พระองค์ยังทรงแสดงความเห็นเกี่ยวกับ "ประชาธิปไตย-Democracy" ไว้ว่า
 All people are equal in heart, in certain emotions that come from there.
They are unequal in intellct due to difference in opportunities and development.
Unequal development is the keynote of inequaility, which is apt to lead to lack of democracy
...
บทนี้ ข้าพเจ้า ขอแปลตามความเข้าใจดังนี้
" ประชาชนทุกคน ต่างมีความเท่าเทียมกัน ในด้านจิตใจ
ความแตกต่างทางการศึกษา เกิดจาก ความแตกต่างทางโอกาส และการพัฒนา
ดังนั้น การพัฒนาที่ไม่เท่าเทียม นำมาซึ่งความไร้ประชาธิปไตย.."
เกร็ดประวัติเหล่านี้ ทำให้ข้าพเจ้านึกภาพตัวหนังสือ ใต้หอพัก ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น

.."ฉันไม่ได้ต้องการให้เธอเป็นเพียงหมออย่างเดียวเท่านั้น แต่ฉันต้องการให้เธอเป็นคนด้วย"

####

 

หมายเลขบันทึก: 465168เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2011 08:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
  • ได้ข้อมูลพระบิดาละเอียดมากเลยครับ
  • ดร.ประภาพรรณ
  • ชือพี่เหม่งครับ
  • ไม่ใช่เหน่ง
  • 555

ขอบคุณคะ อาจารย์ แก้ไขเรียบร้อยคะ :-)

ขอบพระคุณยิ่ง สำหรับดอกไม้ครับ

สวัสดีค่ะ

แวะมาศึกษาประวัติพระองค์ท่านด้วยคนค่ะ

ขอบคุณมากนะค่ะ

ที่นำความรู้ดีๆมาให้อ่าน

*ขอร่วมน้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณของสองพระองค์ที่ทรงมีต่อประชาชนชาวไทยอย่างเปรียบประมาณมิได้..

*ได้ไปเยือนสถานที่ประวัติศาสตร์นี้เสมอๆ เมื่อไปเรียนต่อกับสามีที่นั่นค่ะ..เป็นความภาคภูมิใจของพวกเรานะคะ..

 

อาจารย์ครับผมหอบเอาความรักมาให้นะครับ

"...สังวาย์เป็นกำพร้า แต่งงานแล้วก็มาใช้นามสกุลหม่อมฉัน

หม่อมฉันไม่ได้เลือกเมียด้วยสกุลรุนชาติ ต้องเกิดมาเป็นอย่างนั้น...ต้องเกิดมาเป็นอย่างนี้

คนเราเลือกเกิดไม่ได้  หม่อมฉันเลือกคนดี

ทุกข์สุขเป็นเรื่องของหม่อมฉันเอง..."

 

"...มีน้อยคนนักในบอสตันที่คิดว่า...

บุรุษผู้มีทรวดทรงระหงมีนิสัยขึมผู้นี้  จะมีอิสริยยศ เป็นถึงขนาดเจ้าฟ้าในพระราชวงศ์จักรีแห่งประเทศไทย

เพราะเหตุว่า...ใคร ๆ ก็รู้จักพระองค์ในนามเพียงมิสเตอร์มหิดลสงขลาเท่านั้น

นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีอีกน้อยคนขึ้นไปอีกที่จะทราบว่า

ทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าทรงเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยทรัพย์ศฤงคารบริวาร

เพราะทรงประทับอยู่กับหม่อม (สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์)

ในห้องเช้าตึกแถวค่าเช่าถูก ๆ แห้งหนึ่งที่ถนนลองวู้ด ในบรูคลีน

ชานเมืองบอสตัน โดยปกติปริ๊นซ์สงขลา

มักจะเสด็จโดยรถยนต์ส่วนพระองค์..."

(จากหนังสือ ความรักของเจ้าฟ้า, เวนิสา  เสนีวงศ์ (2541) )

 

คนเราเลือกเกิดไม่ได้...เลือกที่จะไปไหนไม่ได้

แต่เลือกที่จะเข้ามาอ่าน "เกร็ดประวัติพระราชวิสัยทัศน์ เจ้าฟ้านักศึกษาแพทย์"

ของอาจารย์ได้นะครับ...ชอบครับ...............

 

ขอบคุณคะ เป็นกำลังใจให้ "ธรรมชาติค้ำจุนโลก" เช่นกันคะ

ขอบคุณคะคุณครู

พระราชประวัติการศึกษาของสมเด็จพระราชบิดา น่าสนใจมากคะ
ท่านศึกษาแขนงที่ไม่เกี่ยวข้องกันนัก อย่างวิชาการทหารเรือ และ วิชาการแพทย์
ทั้งสองแขนงทรงมุมานะศึกษา จนแม้ในช่วงใกล้สิ้นพระชนม์
เป็นตัวอย่างผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นที่น่าภูมิใจของเราชาวไทยคะ

นับเป็นความภูมิใจที่มีคนไทยได้ไปศึกษาสาขาวิชาต่างๆ และนำความรู้เหล่านั้นกลับมาพัฒนาบ้านเกิดคะ

น่าชื่นชมว่า บ้านเรือนในประวัติศาสตร์ ได้ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี มีคุณค่าทางจิตใจต่อผู้มาเยือนมากคะ

 

ขอบคุณที่ช่วยเติมเต็มอย่างมากคะ

เป็นหนังสืออีกเล่มที่น่าอ่าน

เมื่อได้อ่านพระดำริแล้วรู้สึกได้ว่า พระราชบิดา ทรงให้ความสำคัญ กับ ความเสมอภาค เท่าเทียมในสังคม เห็นได้ชัดจาก โปรดให้ใช้คำธรรมดากับพระองค์

###

การใช้คำราชาศัพท์ในบทความนี้ พยายามระมัดระวัง แต่หากมีข้อผิดพลาดประการใด รบกวนแจ้งด้วย จะขอบคุณมากคะ

เป็นเรื่องราวที่แสดงถึงความทรงมีพระเมตตา-กรุณาอย่างยิ่งต่อทุกคนนับตั้งแต่ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดอย่างสมเด็จพระราชชนนีฯ ไปจนถึงพสกนิกรชาวไทยทุกคน

อ่านแล้วซาบซึ้งประทับใจค่ะ

ขอบคุณคะอาจารย์
มีผู้สืบทอดความเมตตา กรุณา และเจตนารมณ์ "การเป็นคนด้วย" ที่ชัดเจนบุคคลหนึ่ง คือ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ได้เขียนบทความเรื่อง 'น้ำท่วม รวมน้ำใจ ไทยพ้นวิบัติ' 

"...

ความโกรธความเกลียดที่คนในชาติมีต่อกันล้างออกไม่ได้ด้วยความคิดและทฤษฎีใดๆ ความคิดและทฤษฎีส่วนใหญ่อยู่ในโมหภูมิ ซึ่งยิ่งทำให้แตกร้าวกันมากขึ้น

ความโกรธความเกลียด และการยึดมั่นในความคิดและทฤษฎีกำลังขับเคลื่อนสังคมไทยเข้าไปสู่จุดพลิกผัน (tipping point) ที่คนไทยจะฆ่ากันตายเป็นหมื่นเป็นแสน

ถ้ามหาอุทกภัยคราวนี้มาล้างพิษในจิตใจของคนไทย ให้ละทิ้งความโกรธ ความเกลียด หันมารวมใจกัน สร้างสังคมที่คนไทยไม่ทอดทิ้งกัน ประเทศไทยจะพ้นวิบัติ..."

ให้กำลังใจมาหลายวัน เพราะไม่รู้จะตอบอะไรครับ ;)...

บังเอิญวันนี้พบสิ่งนี้ครับ

...................................................................................

"ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัว เป็นที่สอง

ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เป็นกิจที่หนึ่ง

ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ จะตกแก่ท่านเอง

ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์"

 

พระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก

...................................................................................

 สวัสดีค่ะIco48 แวเข้ามาอ่าน "เกร็ดประวัติพระราชวิสัยทัศน์ เจ้าฟ้านักศึกษาแพทย์" สมเด็จพระราชบิดา 'แห่งการแพทย์ไทย' ในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่ง ขอน้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณของพระองค์... คุณงามความดีของพระองค์จารึกไว้เป็นอนุสรณ์แห่งการสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างเคมบริดจ์และประชาชนชาวไทย...ความสัมพันธ์ระหว่างอเมริกา และสยาม เป็นประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าอย่างยิ่งค่ะ

เป็นอีกบทพระดำรัสหนึ่ง ที่ปรากฎในของที่ระลึกวันมหิดล บ่อยครั้งคะ :-)

ขอบคุณคะอาจารย์  สถานที่ประวัติศาสตร์นี้ หากถามฝรั่งในพื้นที่จริงๆ มิสู้มีใครรู้จักนัก
คงต้องให้กำลังกลุ่มคนไทยในอเมริกา ซึ่งกำลังพยายามค้นคว้า เผยแพร่ความรู้ กันต่อไปคะ

ขอบคุณมากๆ ครับ สำหรับข้อมูล/เกร็ดความรู้ที่ยอดเยี่ยมเรื่องนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท