ปิติกานต์ จันทร์แย้ม : อิสระทำให้โอกาสอยู่กับเรา
ปิติกานต์ จันทร์แย้ม : อิสระทำให้โอกาสอยู่กับเรา จันทร์แย้ม

หาย...คาใจกับการนำการจัดการความรู้มาใช้ในการพัฒนางาน


ด้วยยังน้อยด้วยประสบการณ์ ด้านการจัดการความรู้เกิดข้อสงสัย เก็บข้อสงสัยและวันนี้ก็ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้โล่งอก

เก็บความสงสัยมานาน วันนี้หายคาใจ
เรื่องมีอยู่ว่า..เมื่อวันที่ 19-20 สิงหาคม 2549 ที่ผ่านมา ดิฉันและทีมงานได้ไปให้การสนับสนุนเป็นวิทยากรแนะนำกระบวนการจัดการความรู้ให้กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยนครศรีธรรมราช(มทร.ศรีวิชัย นครศรีธรรมราช) ด้วยเมยังน้อยด้วยประสบการณ์ ด้านการจัดการความรู้เกิดข้อสงสัย เก็บข้อสงสัยและวันนี้ก็ได้แลกเปลี่ยนเพิ่มเติมกับพี่ติ๋ม(หัวหน้าส่วนพัสดุ/หัวหน้าคณะวิทยากร)นอกรอบ...เนื่องจากการสนับสนุนกิจกรรมครั้งนี้รับฟังถึง Tacit Knowledge เฉพาะด้านของคุณกิจของ มทร. ศรีวิชัย...ซึ่งที่ในวลัยลักษณ์เราไม่เห็นชัดเจนเช่นนี้ เช่น ทักษะความชำนาญการทำคลอดหมู การเลี้ยงวัว ทำไมที่วลัยลักษณ์ถึงไม่มีลักษณะเช่นนี้ และเราจะทำอย่างไรต่อ หรือขยายผลต่ออย่างไรดี....เกิดสงสัยจึงแลกเปลี่ยนกันตามประสาคนขี้สงสัย....ได้คำตอบเบื้องต้นดังนี้
1. ด้วยภารกิจของ มทร. ศรีวิชัย ที่เน้นทางด้านการเกษตร ทำให้บุคลากรในองค์กรมี Tacit Kn. ด้านความชำนาญเฉพาะด้านที่ชัดเจนโดยสังเกตจากเรื่องเล่าเร้าพลังที่แต่ละกลุ่มคัดเลือกมา เช่น การทำคลอดหมู และมี Tacit Kn. ด้านทัศนคติในงานที่ทำชัดเจน เช่นเรื่องเล่าการเลี้ยงวัวแบบเอาใจไปใส่เหมือนดูแลตัวเอง และจากการประเมินตนเองและจัดทำบันไดแห่งการเรียนรู้พบว่า...คุณกิจที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านอยู่ในระดับสูงจะมีทักษะการทำงาเป็นทีมในระดับที่น้อย...ทำไมต่างจากวลัยลักษณ์...วลัยลักษณ์เราเริ่มจากพนักงานสายปฏิบัติการหรือสายสนับสนุนทำให้วลัยลักษณ์ได้แก่นความรู้ที่เป็นทักษะที่ใช้ในการทำงานเพื่อการปฏิบัติงานที่ดีเป็นส่วนใหญ่ เช่น การวางแผนงานที่ดี การติดตามงาน การทำงานเป็นทีม เป็นต้น ทำให้รู้ว่าถึงแม้ว่าหัวปลาเดียวกันแต่ถ้าความสามารถเฉพาะของคนในองค์กรมีลักษณะแตกต่างกัน น้ำหนักหรือความชัดเจนแก่นของความรู้จะแตกต่างกันซึ่งจะบ่งบอกให้เห็นความสามารถหลักขององค์กรนั้นได้
2. ได้อะไร แล้วเราจะทำอะไรต่อ
สำหรับ มทร. ตนเองคิดว่าสามารถขยายผลโดยการตั้ง CoPs ตามความชำนาญเฉพาะด้าน เช่น CoPs คนเลี้ยงหมู , CoPs งานบริการ ฯลฯ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามความชำนาญเฉพาะด้าน
คิดต่อสำหรับวลัยลักษณ์...สามารถนำการจัดการความรู้มาขยายผลยังหน่วยงานที่มีแรงปรารถนาอยากจะนำการจัดการความรู้ไปใช้อย่างเต็มใจ...การนำกระบวนการจัดการความรู้ไปใช้ในหน่วยงาน พี่ติ๋มแนะนำว่าอาจจะหยิบยกแก่นที่หน่วยงานเราเห็นว่าเป็นแก่นหลักที่หน่วยงานเราต้องมีเพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานที่ดีมาแลกเปลี่ยน พี่ติ๋มยกตัวอย่างของส่วนพัสดุว่า คนพัสดุหรือผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานพัสดุต้องมีความเข้าใจ ความรู้ความสามารถในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญมาก พัสดุจึงจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงเทคนิคการทำ Spec หรือ TOR. .....ถึงบางอ้อขอบคุณพี่ติ๋มมากคะที่ไขข้อข้องใจในครั้งนี้...และยังช่วยพัฒนายกระดับแนวคิดในการนำการจัดการความรู้มาใช้ในมหาวิทยาลัย..ซึ่งจะนำไปแลกเปลี่ยนกับพี่ๆ หน่วยงานอื่นๆต่อไปและได้ทราบถึงวิธีที่จะทำให้นำการจัดการความมาใช้ในการปฏิบัติงานจริง...หรือถ้าท่านผู้อ่านมีแนวคิดจะแลกเปลี่ยนก็ยินดีคะ เพื่อต่อยอดให้สามารถนำการจัดการความรู้ไปในการพัฒนางาน พัฒนาคนและพัฒนาองค์กรได้..ขอขอบพระคุณล่วงหน้านะคะ

หมายเลขบันทึก: 46387เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2006 17:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท