2011G09_11_R2R_การเผยแพร่งานวิจัยด้วยละครเวที


ละครสอนใจ สอนให้ใช้แนวทาง

  

การเผยแพร่ผลการวิจัยอาจทำในรูป การแสดงละครเวทีเลยก็ได้นะคะ ซึ่งทำให้เราได้ทั้งการเผยแพร่และการสอนวิธีการนำผลการวิจัยไปใช้ในสถานการณ์จริงไปด้วย การแสดงละครเวทีจะทำให้ทั้งผู้แสดงและผู้ที่ได้ชมเกิดความเข้าใจ เห็นภาพและจำเรื่องนั้นได้นาน

  

ยกตัวอย่างจากการนำผลที่ได้จากงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย” ใน http://www.gotoknow.org/blog/goygood/459758

เรานำเหตุการณ์จริงมาจัดแสดง เขียนบท และฝึกซ้อม เป็นเรื่อง “เด็กนักเรียนกินกรดกัดแก้ว” Hydrofluoric Acid Toxicity

  

เรื่องมีอยู่ว่าเด็กคนหนึ่งมีการบ้านให้ทำงานศิลปะกัดลายกระจก จึงนำกรดกัดแก้วแบ่งใส่ขวดน้ำพลาสติกกลับมาบ้าน พอมาถึงบ้านก็วางไว้แล้วไปวิ่งเล่นนอกบ้าน แต่แม่ไม่รู้นึกว่าขวดที่วางไว้นี้เป็นขวดน้ำเปล่าจึงนำใส่ตู้เย็น ..พอเด็กกลับมาจากเล่น ด้วยความกระหายน้ำเปิดตู้เย็นกินน้ำนั้นไป แต่ขณะเข้าปากและกลืนก็รู้แล้วว่าเป็นกรดที่ตนเองใส่ขวดแบ่งมา คนไข้ทรมานมาก และเป็นกรณีตัวอย่างที่แม่ไม่สามารถทำใจได้เลย

  

เหตุการณ์แบบนี้เป็นอุทาหรณ์สอนใจ และสอนอะไรได้หลายอย่าง ตั้งแต่ความจำเป็นที่เราต้องรู้เรื่องพยาธิสภาพโรค การแยกให้ได้ว่าเป็นภาวะที่เราสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ได้ การตัดสินใจว่าผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ระยะสุดท้ายแล้วหรือยัง การสื่อสาร การแจ้งข่าวร้าย การดูแลไม่ให้ทรมาน การเตรียมตัวผู้ป่วยและญาติ ให้ผู้ป่วยจากไปด้วยดีเมื่อพร้อม และอีกเยอะแยะค่ะ การแสดงเหตุการณ์จำลองแบบนี้นั้นช่วยได้ดี  นอกจากนี้ผลการวิจัย (ในที่นี้คือแนวทางการดูแล) ก็ได้รับการเผยแพร่ได้รับการทดลองฝึกใช้ไปด้วย อย่าลืมหาจังหวะและหาทีมช่วยนะคะ

  

สุดท้ายวันนี้ต้องขอโทษที่นำเรื่องเครียดๆ มาเล่าให้ฟัง แต่หวังว่ามันคงเป็นประโยชน์ได้บ้าง

ขอบคุณค่ะ

หมายเลขบันทึก: 459761เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2011 09:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

Large_zen_pics_007 
นี่คือ...การสื่อสารงานวิจัยค่ะ

น่าจะมีภาพมาให้ดูด้วยนะคะ เพิ่มสีสรร...ค่ะ...

ก้าวหน้าไปอีกขั้นนะคะนี่

ช่างมีแนวคิดริเริ่มสร้างสรรค์

ดีจังนะคะคนฟังจะได้ไม่เบื่อ...การนำเสนอตามรูปแบบเดิมๆ

 

เขียนเล่าเรื่อยๆนะคะ...จะรอติดตาม...

ที่ป่าติ้วเปิดเรือน R2R...เพื่อช่วยเหลือกันและกันในการเขียนงานวิจัยหรือหาทางออกร่วมกับคนหน้างาน...ขณะนี้ มี 3  รายแล้วที่มาสั่นกระดิ่งหน้าเรือน...ชมแนวคิดได้ที่ ช่วยกันสร้างเรือน

ลองนำไปประยุกต์ใช้ได้นะคะเราไม่สงวนสิทธิ์

เรียน อ.กะปุ๋ม

เรื่องนี้มีบันทึกภาพและเสียงลงแผ่น DVD ไว้ค่ะ แต่ตอนนี้ไม่ถนัดการลงอะไรต่ออะไรในBlog เลยค่ะ อาจารย์รอ (นาน)หน่อยนะคะ

ขอบคุณอาจารย์ค่ะ

เรียน คุณอุ้มบุญ

ชอบ "เปิดเรือน R2R...ค่ะ" เพราะส่วนใหญ่ตอนนี้ชื่อจะฮิตแค่ Corner มุมเล็กๆ แต่คราวนี้เป็นบ้านทั้งหลังเลยนะคะ

ผู้ป่วยเด็ก ที่เสียชีวิตกรณีนี้ พ่อแม่คงรู้สึกผิดรุนแรง

Palliative ในผู้ป่วยเด็กยากคะ ตัวเองไม่มีประสบการณ์ จึงมาขอเรียนรู้ด้วยคน :-)

เป็นศิลปะแห่งการประยุกต์จริง ๆ ค่ะ

  • เยี่ยมมากเลยครับ
  • มาเชียร์ด้วยคน
  • สมาชิกสบายดีไหมครับ
  • คิดถึงทุกๆคนครับ

เรียน อ.หมอ CMUpal

กุมารแพทย์ของโรงพยาบาลน่ารักทุกท่าน หมอจะเข้าใจเด็ก เข้าใจครอบครัวเด็ก และที่สำคัญหมอรักเด็กๆมากค่ะ คงเป็นพื้นฐานแรกของการดูแล ท่านฝากบอกมาว่าเอาใจเขามาใส่ใจเรา ร่วมกับฝึกเรียนรู้จากประสบการณ์หน้างานค่ะ

สวัสดี คุณน้องใบไม้ร้องเพลง

พวกเราโชคดีที่ได้ทำงานร่วมกันค่ะ มีหมอเป็นนักแสดงด้วย หมอจะหัวไวมากเลยซ้อมละครครั้งเดียว ที่เหลือใช้ไหวพริบค่ะ

เรียน อ.ดร.ขจิต

- พวกเราสบายดี มีงานสนุกทำกันตลอดกาล

- ขอบคุณอาจารย์+ขอให้มีความสุข (แบบเรียบๆ) บ้างนะคะ

พี่โอ...เปิดเรือน R2R ถ้างั้นกะปุ๋มเปิด "จักรวาล R2R" ดีไหมคะ...5555

และแล้วหนุ่มสุดหล่ออย่างแอ็ดก็มา...ร่วมเชียร์อีกคน

Large_zen_pics_007 
เครือข่าย R2R ภาคกลางที่ อ.หมอสุธีจัด จะได้เจอกันไหมคะ

...

เรียน อ.กะปุ๋ม

ขอให้สนุกกับการทำงานนะคะ มุม Relax ออกแบบใหม่รึยัง

ส่วนงาน R2R ที่ อ.หมอสุธี จัดนั้น คงไม่ได้ไปค่ะ

ไว้โอกาสหน้านะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท