The Way Forward...Thai Community Health!!!


ผมจึงขอนำข้อคิดหลังจากอ่านความคิดทั้งสี่ประเด็นมาเล่าสู่ท่านผู้อ่าน เพื่อสามารถถ่ายทอดไปสู่ผู้ที่เกี่ยวข้องต่อการเสนอนโยบายอันอาจนำมาซึ่งแนวทางพัฒนาระบบการให้บริการทางสาธารณสุขของเมืองไทยต่อไป

นับเวลาถอยหลังที่ผมจะต้องส่งวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกที่ออสเตรเลียแล้วเดินทางกลับเมืองไทย อีกเพียงไม่เกินสามเดือนเท่านั้น ว่าแล้วผมก็ค่อยๆเก็บสัมภาระบางส่วน จึงเหลือบเห็นหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ A New Strategy for Community Care: The Way Forward ของ Department of Health and Ageing, Australian Government (2004) โดยมีเนื้อหาที่น่าสนใจสำหรับการพัฒนาระบบสาธารณสุขที่ได้วางแผนอย่างเป็นระบบตั้งแต่งบประมาณปี 1995 และคาดการณ์จนถึงปี 2005 ขณะที่อ่านแล้วสรุปเนื้อหาลงในบันทึกนี้ ผมพยายามนึกถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบดังกล่าว หลังจากที่ได้เคยไปศึกษาดูงานทางการบริหารงานโรงพยาบาลและคลินิกเฉพาะทางกิจกรรมบำบัดและสุขภาพจิต ณ เมือง Fremental เมื่อสามปีที่แล้ว  

 

ในหนังสือเล่นนี้ได้สรุปเนื้อหาไว้ 4 ประเด็นเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุขให้มุ่งไปข้างหน้า ได้แก่

ประเด็นแรก การระดมความคิดหาปัญหาของการให้บริการทางสาธารณสุข

ประเด็นที่สอง การปรับระบบการให้บริการทางสาธารณสุขที่เข้าถึงง่ายขึ้น

ประเด็นที่สาม การจัดหางบประมาณของรัฐบาลเพื่อดำเนินระบบย่อยของการให้บริการทางสาธารณสุข

และประเด็นสุดท้าย การหาพันธมิตรเพื่อการจัดระบบการให้บริการทางสาธารณสุข

  

กลวิธีการดูแลสุขภาพของชุมชน ถูกวิเคราะห์เพื่อพัฒนาแนวทางใหม่ โดยให้ครอบคลุมทุกๆชุมชนทั้งในเขตเมืองและนอกเมือง เน้นเป้าหมายให้แยกระดับการดูแลสุขภาพอยู่ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับการให้ข้อมูลการบริการสุขภาพเบื้องต้น (Early Intervention & Information Tier) ระดับการประเมินและดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน (Basic Care Tier) และระดับการประเมินและดูแลสุขภาพหลายรูปแบบ (Packaged Care Tier) ระดับการดูแลสุขภาพเหล่านี้เน้นการประสานงานร่วมกับโรงพยาบาลชุมชน ศูนย์การดูแลในหมู่บ้าน ศูนย์สุขภาพชุมชนของกลุ่มวิชาชีพทางการแพทย์ต่างๆ กลุ่มประสานงานอื่นๆของผู้ที่มีความพิการ จะเห็นว่าประเทศออสเตรเลียได้มีระบบที่ไม่ยุ่งยากและมีการขยายงานออกสู่หน่วยงานต่างๆทั้งของรัฐและเอกชน

 

ระบบการดูแลสุขภาพดังกล่าว ต้องพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพในระดับชาติ (A National Intake Assessment and Quality System) เพื่อเปรียบเทียบการเข้าถึงของประชาชนในแต่ละระดับการให้บริการสุขภาพและในแต่ละระดับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือ ประชาชนได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องภายในชุมชนของตนเอง ในระบบที่มีคุณภาพเดียวกันทั้งประเทศ เมื่อใดก็ตามที่บางหน่วยงานต้องการใช้งบประมาณในการปรับปรุงระบบย่อยให้มีคุณภาพมากขึ้น ตามความต้องการของคนในชุมชน หน่วยงานนั้นสามารถเสนอของบประมาณทุกๆสี่เดือนในแต่ละหนึ่งปีงบประมาณ พร้อมทั้งเสนอโครงการวิจัยเพื่อศึกษาผลสำเร็จของการดำเนินงานพัฒนาระบบย่อยนั้นๆด้วย

 

จะเห็นว่ารัฐบาลออสเตรเลียเน้นความสำคัญของการบริหารงบประมาณอย่างเป็นระบบและเน้นงานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพระบบการดูแลสุขภาพได้อย่างมีหลักการทางวิชาการและสถิติ ตัวอย่างระบบย่อยที่ประสบความสำเร็จได้แก่ Carer Respite or Carelink Centres, Community Aged Care Packages and Extended Aged Care at Home, Dementia Education and Support Program, Aged Care Assessment Program, Continence Aids Assistance Scheme, Psychogeriatric Units, Day Therapy Centre Services, Safe at Home, Carers Information and Support Program, Community Sector Support Scheme และอีกหลายโปรแกรม จะเห็นว่าตัวอย่างดังกล่าวเน้นในหนึ่งชุมชนของผู้สูงอายุเท่านั้น ยังมีอีกหลายชุมชนที่รัฐบาลออสเตรเลียและหน่วยงานเอกชนให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่

 

และสุดท้ายที่ประเทศออสเตรเลียกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คือระบบการทำงานแบบคู่หู (A Partnership Approach) โดยตัวแทนจากรัฐบาลเข้ามาทำงานร่วมกับทีมงานในหน่วยงานของแต่ละชุมชน เพื่อให้คำปรึกษาและพัฒนาคุณภาพของระบบการให้บริการทางสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง (The Community Care Service Continum) ทั้งต่อประชาชนและผู้ให้การบริการทางสุขภาพ

     
คำสำคัญ (Tags): #health#activity
หมายเลขบันทึก: 45557เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2006 10:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

รอคอย...อีกสามเดือน อาจารย์กลับมาเมืองไทยครับ

..........

ขอให้วิทยานิพนธ์สำเร็จโดยเร็ว

เป็นกำลังใจให้ครับผม 

Time is running so quick krab!!!

I am working hard for correcting changes in the thesis, and it is difficult to understand the contenct in depth because of a comprehensive language skill.

Million thanks for your friendly support, always.

Keep in touch khun Aek...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท