มาพัฒนาโปรแกรมสุขภาพเพื่อคนไทยกันเถอะ....!!!


บันทึกนี้ผมได้นำตัวอย่างการออกแบบโปรแกรมสุขภาพและศึกษาแบบโครงการนำร่องในรูปงานวิจัย เป็นการทำงานระหว่างนักวิชาการในมหาวิทยาลัย ผู้ให้บริการทางสุขภาพ และประชาชนที่มีความต้องการการให้บริการทางสุขภาพแบบเฉพาะทางในชุมชนหนึ่ง

References: Bethea, D.P. (2006). Emphasizing Wellness in a Health Disparity Environment. Winston-Salem State Univerisity, North Carolina, USA.  

ตัวอย่างแรกริเริ่มศึกษาความสนใจของการทำกิจกรรมยามว่างและสังคม (Leisure and social activities) ในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายูและผู้ที่มีความพิการ โดยใช้แบบสอบถาม Activity Self-Interest Checklist แล้วมาวิเคราะห์ทางสถิติพบว่ากลุ่มผู้สูงอายุและผู้ที่มีความพิการกำลังได้รับความเจ็บป่วยอื่นๆเพิ่มเติมได้แก่ Hypertension, Diabetes, Arthritis, Cardiac Problems และผู้ร่วมให้ข้อมูลวิจัยมีความต้องการเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างและสังคม แต่มีอุปสรรคความบกพร่องทางร่างกายอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วยดังกล่าว จากข้อมูลนี้จึงเป็นจุดสำคัญให้ผู้วิจัยสร้าง Creative Exercise Program มุ่งให้คนในชุมชนมาร่วมทำกิจกรรมยามว่างและสังคม เช่น การออกกำลังกายแบบไม่หนักจนเกินไป (Low Impact & Conditioning Exercise) และให้ความรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วยดังกล่าวรวมถึงข้อควรปฏิบัติเพื่อลดอาการเจ็บป่วยขณะเข้าร่วมกิจกรรมยามว่างและสังคมในแต่ละวัน โปรแกรมนี้ใช้เวลารวมหกครั้งๆละหนึ่งชั่วโมง แล้วมีการประเมินผลเพื่อปรับปรุงโปรแกรมจากคนในชุมชนก่อนนำไปใช้ในอีกหลายๆชุมชนที่ต้องการ โดยสรุปกระบวนการของการพัฒนาโปรแกรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Program Development Process) คือ Preplanning, Needs Assessment & Analysis, Program Implemention, และ Evaluation

 

Reference:  McLearnon, K. (2006). A Client-centered Perspective on Stress-related Illness in a Primary-care Setting: A study of “doing”, “Meaning” and “Health.”

 

ตัวอย่างที่สองริเริ่มศึกษาการปรับตัวของพฤติกรรมและความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการดำเนินชีวิต (Occupational Performance and Satisfaction) ด้วยการเข้าไปสัมภาษณ์พร้อมใช้แบบฟอร์มมาตรฐาน (Semi-structured Interview) ในกลุ่มคนที่เพิ่งออกจากโรงพยาบาลและยังคงมีอาการความเครียดที่เกิดขึ้นจากโรคอื่นๆ (Stress-related Illness) จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพบว่ากลุ่มคนดังกล่าวมีความต้องการในการเข้าร่วมกิจกรรมการดำเนินชีวิตในระดับที่แตกต่างกัน แล้วแต่ประสบการณ์การเรียนรู้จากการได้เข้ารับการรักษาอาการของโรคจากโรงพยาบาล กลุ่มคนดังกล่าวต้องการการรักษาในระดับฟื้นฟูสภาพเพื่อให้ตนเองสามารถเข้าร่วมกิจกรรมการดำเนินชีวิตโดยมีความเครียดน้อยลงและพบปะผู้คนในสังคมได้ในระดับปกติสุข ข้อคิดที่ได้รับจากการสัมภาษณ์ทำให้ผู้วิจัยต้องพัฒนาโปรแกรมการปรับกิจกรรมการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคลโดยเน้นการให้ความรู้และสร้างความพึงพอใจในกิจกรรมการดำเนินชีวิตอยู่สามระดับความรู้สึก ได้แก่ คุณต้องการทำอะไร (Want to Do) คุณต้องทำอะไร (Have to Do) และคุณคาดว่าจะทำอะไร (Expect to Do)

 

ผมลองสังเกตผลงานวิจัยสองชิ้นนี้ แล้วกำลังนึกว่านักวิชาการไทยที่คลุกคลีอยู่กับการบริการสุขภาพชุมชน ที่มีความแตกต่างกันทั้งความรู้สึก ความต้องการ และการตอบสนองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำลังมีแนวคิดที่จะพัฒนาระบบงานวิจัยเพื่อสร้างสรรค์โปรแกรมการให้บริการทางสุขภาพมากน้อยเพียงใด แต่ก็ภาวนาให้ทุกๆท่านที่กำลังพัฒนาระบบการบริการสุขภาพชุมชนในหลายๆพื้นที่มีความสุขและสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตให้กับชุมชนของท่านมากๆที่สุดครับ

 
คำสำคัญ (Tags): #occupational#therapy#health
หมายเลขบันทึก: 45556เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2006 10:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 09:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท