“วาดต้นไม้” กับหมอนักกิจกรรมบำบัดทางจิตสังคม


Reference: Gunnarsson, A.B., Jansson, J-A., & Eklund, M. (In press). The Tree Themem Method in Psychosocial Occupational Therapy-A Case Study. Scandinavian Journal of Occupational Therapy.
  

ผมกำลังจะนำวิชาการทางกิจกรรมบำบัดทางจิตสังคมไปพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพในเมืองไทย ตามความต้องการของรัฐบาลที่ได้มอบทุนศึกษาต่อเมื่อสี่ปีที่ผ่านมา แม้ว่าผมได้ผ่านหลักสูตรเฉพาะทางในการเป็นหมอนักกิจกรรมบำบัดทางจิตสังคม (Psychosocial Occupational Therapist) แต่ปัจจุบันผมกำลังเขียนวิทยานิพนธ์ในเชิงลึกของการศึกษาเรื่องการใช้กิจกรรมยามว่างในผู้ป่วยที่มีความล้าจากโรคเรื้อรัง (Leisure Participation in Fatigue Secondary to Chronic Illness) ผมยอมรับว่า “กลัว ไม่มั่นใจเลย ที่จะต้องเดินทางกลับไปเปลี่ยนทัศนคติของผู้ร่วมงานในสาขาอื่นๆทางการแพทย์ เพื่อปรับปรุงระบบการรักษาทางสุขภาพจิตสังคมในคนไทย” มีอีกหลากหลายความรู้ที่ผมจะต้องค่อยๆศึกษาทั้งเชิงลึกและเชิงกว้าง รวมทั้งต้องพัฒนาความเชื่อมั่นและทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นๆ ทันทีที่กลับถึงเมืองไทย ผมกำลังคิดอีกว่าไม่ใช้ผมคนเดียวที่รู้สึกเช่นนี้ นักเรียนทุนรัฐบาลหลายคนที่จากเมืองไทยมาใช้ชีวิตอย่างน้อยสี่ปี เพื่อสำเร็จการศึกษา แต่พอเดินทางกลับไปในหน่วยงานต่างๆในเมืองไทย เค้าเหล่านั้นยังต้องใช้เวลาเรียนรู้ในการทำงานร่วมกับผู้คนที่หลากหลายความคิดและประสบการณ์ บางครั้งความคิดใหม่ๆก็ถูกกดดันและไม่ได้เกิดโอกาสนำความรู้ที่ได้จากต่างประเทศมาพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่ได้ ร้อยเปอร์เซ็นต์

 

ยิ่งเขียนยิ่งเป็นการบ่นให้ท่านผู้อ่านฟังเรื่อยๆ จริงๆผมอยากจะเสนองานของผู้วิจัยกลุ่มหนึ่งที่ศึกษากิจกรรมบำบัดทางจิตสังคมและกำลังเสนอความคิดที่เรียบง่ายแต่มีพลังสร้างสรรค์มากๆครับ ผมขออนุญาตคัดลอกงานดังกล่าวมาให้ผู้อ่านได้ลองคิดตามแบบภาษาอังกฤษ และถ้าต้องการสอบถามวิธีการ “วาดรูปต้นไม้” เพื่อติดตามพัฒนาการความคิดของเด็กที่กำลังมีความบกพร่องทางจิตสังคม ขอเชิญติดต่อ [email protected]

 

The intervention, the Tree Theme Method (TTM), including paintings of tree and the use of these for occupational story-telling and story making, began a process to help an individual to cope with daily life. The TTM comprises of five sessions. Symbolic trees, with specific themes, are painted, one on each occasion: Firstly a tree symbolising the present life situation, then one for childhood, one for adolescence, one for adulthood and, finally a tree representing the future. As a result of the case study, some important life themes were identified. The intervention may, by future research be evaluated for psychosocial occupational therapy.

 จากตัวอย่างดังกล่าวเพื่อให้ท่านผู้อ่านมองภาพ หมอนักกิจกรรมบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางสุขภาพจิต ได้ชัดเจน ผมจึงขอสรุปกลุ่มบุคคลทุกเพศทุกวัยที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวได้แก่1.   บุคคลที่ประกอบอาชีพจนไม่สามารถมีเวลาพักผ่อนและเวลาการทำกิจกรรมยามว่าง2.   บุคคลที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ3.   บุคคลที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังทางระบบประสาท4.   บุคคลที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม เช่น โรคเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า กลัว อารมณ์เศร้าอย่างรุนแรง บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมทางสังคมเปลี่ยนแปลง โรคจิตประสาทระยะแรก โรคใช้สารเสพติดมากผิดปกติ เป็นต้น  5.   บุคคลที่มีเวลาว่างมากจนเกินไปและมีความรู้สึกท้อแท้ต่อการประกอบอาชีพเสริม6.   บุคคลที่อยู่ในสภาวะการเจ็บป่วยขั้นสุดท้ายของชีวิต7.   ญาติหรือผู้แทนของชุมชนที่ต้องการรับคำปรึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาพจิตของบุคคลที่รู้จักหรืออยู่ในชุมชนและมีอาการต่างๆ ข้างต้น  
คำสำคัญ (Tags): #occupational#therapy#phd
หมายเลขบันทึก: 45555เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2006 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 16:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมว่า คงไม่ใช่ไปเปลี่ยนทัศนคติแพทย์ิเสียทีเดียว ประเด็นนี้สำคัญ และเคียงคู่กับการรักษาของแพทย์แผนปัจจุบัน จะเสริมกันในการรักษามากกว่า

ช่วงก่อนเรากลัวกันมากเรื่อง การแพทย์ทางเลือก ว่าแพทย์สมัยใหม่จะ ต่อต้าน หรือ Ignore แต่ปัจจุบันก็เห็นได้ชัดว่า ศาสตร์การแพทย์ทางเลือก เร่ิมเข้ามามีบทบาทเรื่อย

ด้วยตระหนักว่า "กาย" กับ "จิต" เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน

เวลานี้ บุคลากรสาธารณสุข หากมองแต่เพียงมิติเดียว ถือว่า ล้าหลังเต็มทน

 โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มที่อาจารย์เขียนในบันทึก เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องใช้ "ศาสตร์" ที่อาจารย์ศึกษามาโดยตรงเลย

และผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์ดังกล่าว..เราก็มีน้อยมาก บุคลากรสาธารณสุขเอง ก็ทำตามที่ตนเองถนัดและเข้าใจ..


ผมเห็นว่าในอนาคต จะมีการพัฒนาในเรื่องนี้ยิ่งๆขึ้นไปครับ

หากมีกิจกรรมจัดขึ้นที่ไหน...ขอเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยนะคะ...สำรองที่นั่งไว้แต่เนิ่นๆ...(ฮา...)

กะปุ๋ม

Thank you for your informative note. "Physical and mental capacity related to self-efficacy" is one issue that no medical profession has realized its potential development in all clients.

Have a nice day krab, Khun Aek-my dear friend in Pai...

Thank you krab Khun Ka-Poom,

I am hoping to share an experience with your working with clients at there, too.

If I got an interesting information to update your knowledge of treating the clients, I will post in the blog then.

Have a nice day krab....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท