ร่วมประชุมภาคี KM ภาคราชการ (2)


ดูงานเรื่อง KM / เห็นตัวอย่างดีน่าศึกษา / ประยุกต์ใช้ต้องเข้าใจ

ต่อเนื่องจากบันทึกที่ผ่านมา...

2. จะนำมาใช้ต้องเข้าใจบริบทของภาคธุรกิจที่แตกต่างกับภาครัฐและประชาสังคม

ธรรมชาติของแต่ละองค์กรทำให้ผมเชื่อว่า ทั้ง 4 บริษัทมียุทธศาสตร์สำคัญอย่างอื่นที่แตกต่างกันออกไป หลาย ๆ เรื่องยังไม่ได้นำ KM มาประยุกต์ใช้ เพราะยังไม่ถึงเวลา แต่ในอนาคตอาจจะต้องนำมาใช้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ กาละ-เทศะ

ที่บริษัท Eisai ซึ่งผลิตยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นจุดสนใจ (Focus) ไปที่ ลูกค้า (Customer) สมการธุรกิจจึงออกมาเป็น

HHC Products = Good Medicine + Knowledge + Care

มี Knowledge ผูก และ พัน อยู่ระหว่าง Good Medicine กับ Care และสามารถนำแนวคิดออกมาสู่การปฏิบัติได้จริง เกิดเป็นความสำเร็จในเรื่องที่ดูเหมือนว่าเล็กน้อย เช่น การเพิ่มฉลากที่ลอกได้บนขวดบรรจุยา ให้นำไปติดบนกระบอกฉีดยา เพื่อป้องกันการหยิบผิด, การลดขนาดฉลาก เปลี่ยนขวดยาเป็นขวดใส มีขีดและตัวเลขบอกปริมาณเพื่อให้คนไข้ทราบได้ว่ายาใกล้จะหมดหรือยัง ฯลฯ

เรื่องพวกนี้ถูกหยิบยกไปพูดที่ไหน ก็จะทำให้เกิดผลทางใจเป็นภาพพจน์ที่ดีของบริษัทฯ ที่มีต่อลูกค้า คือ ผู้ป่วย

แต่ถ้ามองย้อนกลับไปให้เห็นและเข้าใจใน Business Model ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ผมเชื่อว่าสมการธุรกิจของบริษัท Eisai คงเป็นอย่างอื่น คิดเดาเล่นน่าจะออกมาคล้าย ๆ อย่างนี้

HHC (Max) Benefit = Trade Marketing + Corporate Buyer + Commission

ความคิดมันแตกออกไปแบบนี้ได้ เป็นเพราะคำบรรยายท่อนหนึ่งของคุณพรทิพย์ สุวานิโซ ที่ว่า คนซื้อ (ยา) ไม่ได้ใช้ คนใช้ (ยา) ไม่ได้ซื้อ นั่นเอง

บริบททางธุรกิจในลักษณะเดียวกันนี้เมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับ แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map) จึงอ่านได้ว่า KM ที่เกิดขึ้นในแต่ละบริษัทเกิดขึ้นใน มิติที่ 4 : Learning & Growth โดยใช้ 3 ทุนหลัก คือ Human Capital, Information Capital และ Organization Capital เป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนกระบวนการ KM โดยมีจุดมุ่งเน้นต่างกันออกไปตามเหตุปัจจัย และกาละ-เทศะ ของแต่ละองค์กร ดังตัวอย่างของความสำเร็จที่หยิบยกขึ้นมานำเสนอ คือ

  • บริษัท Eisai ใช้ Human Capital เป็นหลักในการทำ KM และประสบความสำเร็จในด้าน Functionality ที่ตัวลูกค้า (Customer)
  • บริษัท Fukoku ใช้ทั้ง 3 ทุนหลัก เน้นหนักที่ Human & Information Capital ในการทำ KM และประสบความสำเร็จในกระบวนการภายใน (internal Process) โดยเฉพาะงานบริการ (Service) ลูกค้า
  • บริษัท Sony ใช้ Human & Information Capital เป็นหลักในการทำ KM และประสบความสำเร็จในเรื่อง การออกแบบผลิตภัณฑ์, การลดความเสี่ยงจากข้อผิดพลาด, กระบวนการผลิต ฯลฯ
  • บริษัท Nissan เคลื่อนทัพทั้ง 3 ทุนหลัก มุ่งเน้นใช้ KM แสวงหาหนทางของการเพิ่มยอดขายในภูมิภาคต่าง ๆ

 

มีภาพมาประกอบการทำความเข้าใจ หรือถ้าจะ Download ไฟล์ PowerPoint เอาไปศึกษาให้ชัดเจนก็ขอเชิญตรงนี้ได้เลยครับ

http://gotoknow.org/file/aisune/4KMinJapan.ppt

จะเห็นได้ว่า บริบท และ เป้าหมาย ของภาคธุรกิจต่างจากภาครัฐและประชาสังคมมาก ในการประชุมวันนั้น ผมนึกอยู่ในใจว่า สงสัยสถาบันเพิ่มฯ คงจะต้องจูงมือ ก.พ.ร. กลับไปดูงานใหม่อีกหนึ่งรอบ (ชวน สคส. ไปด้วยก็ดีครับ) เลือกดู KM ภาครัฐและประชาสังคมก็น่าจะดี จะได้เห็นตัวอย่างกันชัด ๆ ในการใช้ KM มุ่งเข้าสู่ เป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่พูดกันว่า เป้าหมายของภาครัฐและประชาสังคม คือ ประชาชน (+ ชาติ + ศาสนา + พระมหากษัตริย์ + สังคม + ฯลฯ) รู้สึกว่าจะอยู่ในระดับ อุดมการณ์ มากไปสักหน่อย ถ้าพูดตามภาษา KM น่าจะสรุปได้ว่า Interest แต่ยังไม่ใช่ Passion (ยกเว้นสำหรับบางคน และบางกรณี)

จบตอนที่ 2 แบบ Anti-Climax อย่างนี้ก็แล้วกัน.

 

คำสำคัญ (Tags): #ภาคีราชการ
หมายเลขบันทึก: 45532เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2006 01:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท