ทบทวนมาตรการป้องกันการผ่าตัดผิดคน ผิดอวัยวะและผิดตำแหน่ง


จากการทบทวนตัวชี้วัดมาตรการการป้องกันการผ่าตัดผิดคน ผิดอวัยวะและผิดตำแหน่ง ซึ่งเป็นผลลัพท์การพยาบาลห้องผ่าตัดเป็นสิ่งที่จะสะท้อนให้เห็นถึงผลการปฏิบัติงานในห้องผ่าตัดอันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดอย่างต่อเนื่อง

หัวใจสำคัญของการผ่าตัดมีหลายประการ ซึ่งได้แก่ ผู้ป่วยจะต้องได้รับการผ่าตัดถูกต้องได้มาตรฐาน ผู้ป่วยปลอดภัยหายจากโรคหรือภาวะคุกคาม และต้องไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด

ความหมายของคำว่าถูกต้องครอบคลุมตั้งแต่ ผ่าตัดถูกคน ถูกวิธี ถูกตำแหน่ง ถูกอวัยวะ  และอีกหลาย ๆ ถูกตามแต่ท่านจะนึกออกยกเว้นถูกอกถูกใจนะ ตัวชี้วัดตัวหนึ่งที่ห้องผ่าตัดทุกแห่งต้องใช้อันเนื่องจากมาตรฐานของห้องผ่าตัด คือ KPI สำหรับการป้องกันการผ่าตัดผิดตำแหน่ง ผิดวิธีและผิดคน (The Universal Protocal for Prevention Wrong Site, Wrong Procedure , and Wrong Person Surgery) ซึ่งห้องผ่าตัดที่พวกเราชาวชุมชนคนชุดเขียวก็มี ดัชนีชี้วัดในการปฏิบัติเพื่อป้องกันการผ่าตัดผิดตำแหน่ง ผิดวิธีและผิดคน และได้ปฏิบัติมาตั้งแต่ม.ค. 2549 จนถึง ก.ค. 49 เป็นเวลา 8 เดือน เราได้ทบทวนการปฏิบัติมาตรการดังกล่าว ได้ดังนี้

1. การตรวจสอบความถูกต้องก่อนการผ่าตัด (Preoperative verification process)

วัตถุประสงค์  เพื่อยืนยันว่าข้อมูลเอกสารต่าง ๆ มีการตรวจสอบและมีความเข้าใจตรงกันของทีมผ่าตัดเกี่ยวกับชนิดของการผ่าตัด ตำแหน่งของการผ่าตัด ดังนั้นข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนหรือข้อมูลที่มีความขัดแย้งกันจะต้องทำให้ถูกต้องก่อนการผ่าตัดจะเริ่มขึ้น

กระบวนการตรวจสอบความถูกต้องก่อนการผ่าตัด มีดังนี้

1.1  ช่วงเวลาการทำตารางการผ่าตัด

1.2  ช่วงเวลาที่ผู้ป่วยเข้าสู่บริเวณรอผ่าตัด

1.3  ช่วงเวลาที่ผู้ป่วยออกจากห้องรอผ่าตัดเข้าสู่ห้องผ่าตัด

ผลการทบทวน

  • ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบพบความผิดพลาดบ้าง ซึ่งเกิดจากหอผู้ป่วยและหน่วยงานผู้ป่วยนอก แต่ห้องผ่าตัดตรวจพบความผิดพลาดก่อนซึ่งได้แจ้งข้อมูลย้อนกลับให้กับหน่วยงานเพื่อปรับปรุงต่อไป
  • ขั้นตอนที่  2และ 3เจ้าหน้าที่ห้องผ่าตัดมีการตรวจสอบครบถ้วนเพียงร้อยละ 80 ยังต้องปรับปรุงต่อไป

2. การทำเครื่องหมายบริเวณที่จะทำผ่าตัด (Marking the operative site)

วัตถุประสงค์  เพื่อเป็นการระบุบริเวณที่จะทำผ่าตัดให้ชัดเจน มีวิธีการดังนี้

2.1  ติดป้ายข้อมือระบุการผ่าตัด ตำแหน่ง อวัยวะให้ชัดเจน

2.2  ทำเครื่องหมายบริเวณที่จะทำผ่าตัด

2.3  ศัลยแพทย์ผู้ที่จะทำผ่าตัดเป็นผู้ทำเครื่องหมายที่ตัวผู้ป่วย

2.4  ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการรับรู้ในการทำเครื่องหมายบริเวณที่จะทำผ่าตัด

จะผ่าตัดหนูตรงหนาย?

ข้อยกเว้นกรณีไม่ต้องทำเครื่องหมายบริเวณที่จะทำผ่าตัดได้แก่

  • อวัยวะที่มีอันเดียว (Single organ)  เช่น ผ่าตัดอวัยวะภายในช่องท้องเช่น กระพาะอาหาร (ใครมีกระเพาะ 2 กระเพาะ ยกมือขึ้น)  ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น

ผลการทบทวน

ขั้นตอนนี้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติได้ดีคิดเป็นร้อยละ 100

3. ช่วงสุดท้ายก่อนเริ่มการผ่าตัด ( "Time out" immediately before starting the procedure)

วัตถุประสงค์  เพื่อเป็นการยืนยันครั้งสุดท้ายว่า จะผ่าตัดถูกคน ถูกวิธี ถูกตำแหน่ง ถูกอวัยวะ ทั้งนี้พยาบาลช่วยรอบนอกจะเป็นผู้ขอเวลานอก "Time out" ทีมผ่าตัดทุกคนจะหยุดกิจกรรมเพื่อรับฟังการสื่อสาร และมีการใช้ Checklist เพื่อยืนยัน ดังนี้

3.1  การระบุผู้ป่วยถูกต้อง

3.2  การระบุข้างและตำแหน่งที่จะผ่าตัดถูกต้อง

3.3  การเลือกใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์พิเศษอื่น ๆ ถูกต้องและพร้อมใช้

ผลการทบทวน

เจ้าหน้าที่ยังละเลยในการที่จะ Time out  ปฏิบัติได้เพียงร้อยละ 70 อาจเนื่องจากความไม่เคยในการที่ต้องเป็นผู้ Lead และเกรงใจแพทย์เจ้าของไข้  ต้องหาวิธีพัฒนาต่อไป

ห้องผ่าตัดได้ดำเนินการมาตรการป้องกันการผ่าตัดผิดตำแหน่ง ผิดวิธีและผิดคน มาตั้งแต่ ต้นปี 2549 จนถึงปัจจุบัน อัตราการผ่าตัดผิดคน ผิดอวัยวะ และผิดตำแหน่งยังไม่เคยมีเลย เจ้าหน้าที่ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันการผ่าตัดผิดตำแหน่ง ผิดวิธีและผิดคนเป็นอย่างยิ่ง เรารู้ว่าหากเกิดการผ่าตัดผิดผลกระทบ ความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้มีเพียงตัวผู้ป่วยเท่านั้นแต่จะกระทบต่อชื่อเสียงของสถาบันด้วย จากการทบทวนการปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว พบว่า

  • การทำเครื่องหมายบริเวณที่จะทำผ่าตัด (Marking the operative site)เจ้าหน้าที่ปฏิบัติได้ดีร้อยละ 100

 

  • การตรวจสอบความถูกต้องก่อนการผ่าตัด (Preoperative verification process) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติมีการตรวจสอบครบถ้วนเพียงร้อยละ 80 ยังต้องปรับปรุงต่อไป

 

  • เจ้าหน้าที่ยังละเลยในการที่จะ Time out  ปฏิบัติได้เพียงร้อยละ 70 ต้องหาวิธีพัฒนาต่อไป

 

จากการทบทวนตัวชี้วัดมาตรการการป้องกันการผ่าตัดผิดคน ผิดอวัยวะและผิดตำแหน่ง ซึ่งเป็นผลลัพท์การพยาบาลห้องผ่าตัดเป็นสิ่งที่จะสะท้อนให้เห็นถึงผลการปฏิบัติงานในห้องผ่าตัดอันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดอย่างต่อเนื่อง

หมายเลขบันทึก: 45526เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2006 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
    บันทึกนี้พูดเรื่องผ่า ๆ ใคร ๆ เลยหนีหายไปหมด ผมก็ใช่จะกล้าอะไรมากมาย แต่ถือว่าพี่สาวใจดี คงไม่หาเรื่องผ่าผมหรอก...ใช่ไหมครับ
ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่จะถูกผ่าเป็นรายต่อไปครับ
  • จะบอกว้า...เมื่อถึงคราที่คุณชายขอบต้องมาผ่าตัดก็ไม่ต้องต๊กใจ...รับรองว่าผ่าตัดถูกต้องปลอดภัย....กลับบ้านไป...ได้ของแถม...ถูกหวยเพราะตอนผ่าตัดหลับ...ฝันถึงเลขเด็ด...ฮิ
  • อ.บวรอยากเป็นผู้โชคดีรายต่อไปมั๊ยคะ
  • รับรองค่ะว่าบริการประทับใจอาจารย์แน่ ๆ

 

เล็กรวมไว้เป็นCQIของORก็ดีนะคะ
  • ขอบพระคุณผ.อ. ค่ะที่ชี้แนะ
  • เล็กและทีมงานกำลังพิจารณาว่าจะทำเป็น Report เพื่อจะตีพิมพ์ในวารสารอยู่ค่ะ คงต้องขอให้หน่วยประสานงานวิจัยร่วมด้วยช่วยชชคชข. หน่อยค่ะ
  • ใกล้จะมีงานมหกรรมคุณภาพอีกครั้งแล้วนะคะ ในปีนี้กะประมาณปลายปี คิดว่าครั้งนี้ต้องมีเรื่องเด็ดๆ ของ "น้องเล็กและทีมงาน" หลายเรื่องทีเดียว
  • งานประสานงานวิจัย ยินดีกับผลงานลงในวารสารแน่นอนค่ะ
  • ขอบคุณพี่มอมล่วงหน้าที่ได้เปิดทางให้ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท