วัฒนธรรมการไหว้


เมื่อเรียนหนังสืออยู่ ได้มีโอกาสรู้จักชมรมพุทธศาสนา(จำชื่อไม่แม่น)ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง นักศึกษาที่เข้าร่วมชุมชนทุกคน เมื่อพบหน้ากันจะยกมือไหว้ทักทายกัน ตอนนั้น ไม่ได้คิดอะไรมาก ก็คิดว่าก็ดี เพราะเนื่องจากเดิมไม่ค่อยจะได้ไหว้บ่อย เพราะถูกสอนตั้งแต่เด็กตามประสาธรรมเนียมเชื้อสายจีนให้ทักทายผู้ใหญ่ด้วยการเรียกผู้ใหญ่ เช่น อาม่า อากู๋ ยาย น้า เป็นต้น ส่วนการทักทายเพื่อนก็จะยิ้ม เท่านั้น และเมื่อเข้ามาทำงานที่คณะทันตแพทยศาสตร์ เมื่อหลายปีก่อน คณะฯเคยจัด โครงการ ส่งเสริมการไหว้ ก็ทำให้ทุกคนได้ทักกันด้วยการไหว้ ผู้ใหญ่ก็รู้สึกดี หลังๆจะพบว่านักศึกษาคณะทันตแพทยศาสตร์ จะน่ารัก ยกมือไหว้กันจนเห็นชินตา เมื่อไปคณะแพทยศาสตร์ก็พบนักศึกษายกมือไหว้เหมือนกัน จึงคิดว่านักศึกษาทางคณะศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์คงเรียบร้อยหน่อย แต่เมื่อพักหลังได้ไปคณะวิศวกรรมศาสตร์ นักศึกษาก็ยกมือไหว้เหมือนกัน นี่แสดงว่าวัฒนธรรมการไหว้เหนียวแน่นขึ้น เป็นวัฒนธรรมที่ดีนะคะ
หมายเลขบันทึก: 45271เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2006 06:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
     ขอร่วมสนับสนุนด้วยคนหนึ่งครับ พี่ใบบุญ ดีจังเลยนะครับ ผมไปสอนที่ มรภ.สงขลา ก็มีเห็นครับ แต่เป็นเฉพาะกลุ่มคนที่เราเคยสอน หรือที่กำลังสอน หากเป็น นศ.อื่น ๆ แม้จะเดินสวนกันก็เฉย ๆ ครับ ผมก็มองว่าเฉย ๆ เพราะคนเยอะ ไม่ทราบใครเป็นใคร เขาคงเลือกไหว้เฉพาะคนที่เขารู้จัก
แต่ที่พบนั้น ทั้งที่คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มข. ถ้าเด็กเค้าเห็นว่าท่าทางอาวุโส ไม่รู้จักเค้าก็ไหว้นะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท