ฝีไม้ลายมือศิลป์ถิ่นแม่กลอง : บิดาข้ามอบรอบรู้จากทำเอง


เมื่อถามว่า ความรู้มาจากไหน...ไม่ตอบ ต่อเมื่อถามว่า “ความรู้นี้ท่านได้แต่ใดมา” พี่มะโหนกจึงยอมตอบว่า “บิดาข้านั้นไซร้มอบให้” แล้วค่อยขยายความต่อ
คนแม่กลองร่ำรวยทรัพยากรมาตั้งแต่โบราณที่ยังไม่มีเขื่อนต้นน้ำ  เพราะรู้จักใช้ให้เกิดประโยชน์  จากการสังเกตเหตุการณ์ธรรมชาติ  ฤดูกาล  คลื่น  ลมในทะเล  ห่างฝั่ง  ริมทะเล  ริมคลอง  ลึกจากคลอง  ป่าชายเลน  โกงกาง  แสม  ลำพู  ลักษณะเลน  ตะกอนปากแม่น้ำ  ดินชายคลอง  น้ำในคลอง  ความสว่าง  การขึ้นของดวงจันทร์  บอกเวลาน้ำขึ้นน้ำลงได้แม่นยำ  น้ำเช้า  น้ำเย็น  น้ำเกิด  น้ำตาย  ในแต่ละช่วงของวัน  สัมพันธ์กับข้างขึ้นข้างแรม  แต่ละเดือนของปี  ปีไหนจะมีเดือนแปดสองหน  ชดเชยระยะรอบการหมุนของดวงจันทร์ให้พอดีกับที่เป็นจริง  สั่งสมบทวิเคราะห์  แล้วใช้ชีวิตอย่างสอดคล้องธรรมชาติรอบ ๆ ใกล้ตัว  คนที่สั่งสมไว้มาก  ทำความเข้าใจความเชื่อมโยงที่อยู่ไกลออกไปได้  ทำนายความเป็นไปล่วงหน้าได้ใกล้เคียงกับสิ่งที่จะเกิดจริง  ย่อมลุ่มลึกและเตรียมชีวิตพร้อมเสมอ 

 

ช่วงตุลาคมถึงมกราคม  ลมอุกาจะพัดมาแบบแรง  คลื่นโต  ทะเลพิโรธ  ก็คว่ำเรือพักขึ้นคาน ม่ายช่าย...ไม่ใช่ขึ้นคานแบบนั้น  (เอาเรือประมงขึ้นฝั่ง  วางคว่ำบนขาตั้ง)  เตรียมการซ่อมแซม  ตอกหมันปิดชันทาสีใหม่  ให้พร้อมใช้งาน  เมื่อทะเลเริ่มสงบ  ฟ้าฝนเป็นใจ  เมฆใสขาวนวล  เปิดทัศนวิสัยให้กว้างไกล  เห็นฝูงนก  ลักษณะฟองคลื่น  พรายน้ำ  ที่รู้ว่าฝูงปลาจะอยู่ตำแหน่งใด  ฝูงปลาอะไร  คืนนี้จะได้ปลาใหญ่น้อยจำนวนมากน้อย....โชคลางก็ส่วนหนึ่ง  ด้วยความเคารพพระแม่คงคา  มีเวลาให้ท่านพัก  ช่วงที่ปลาวางไข่  ปูเด็กยังเปลี่ยนกระดองไม่เสร็จ  ก็ยังไม่จับ  แต่ส่วนใหญ่ก็คือ การสั่งสมจากประสบการณ์  เก็บสถิติส่วนตัวล้วน ๆ ....สั่งสมความเชี่ยวชาญในอาชีพ   

 

การถ่ายทอดวิชาทำมาหากินในโรงเรียนประถมศึกษา  จึงมีน้อยกว่าโรงเรียนชีวิตจริง  หัดว่ายน้ำในลำประโดง  ว่ายเกาะเรือโยง  เรือแพในคลอง  สังเกตอุณหภูมิน้ำอุ่นเย็น (เตรียมหัดงมกุ้ง)  รวมทั้ง โรงเรียนบิดาของข้าพเจ้า  เช่น การถ่ายทอดฝีมือเชิงช่าง  ซึ่งทำชิ้นงานขึ้นเพื่อรับใช้งานออกทะเล  งานสวนหรืองานทำนา  หรือร่วมแรงร่วมใจซ่อมแซมวัดวา  ทรัพย์สินสาธารณะ  ส่วนใครที่บ่มเพาะอารมณ์ศิลป์ได้ถึงขีด  นอกจากงานที่ออกมาจะเป็นรูปธรรมเพื่อใช้งานได้จริงแล้ว  ความประณีต  บรรจง  ค่อย ๆ ทำ  ยังสื่อออกมาเป็นงานศิลปะสวยงาม  ให้เรารับรู้ได้ถึงความงามในจิตใจของศิลปินผู้สร้าง    

เช่นเดียวกับพี่มะโหนก  เมื่อถามว่า  ความรู้มาจากไหน...ไม่ตอบ  ต่อเมื่อถามว่า  “ความรู้นี้ท่านได้แต่ใดมา”  พี่มะโหนกจึงยอมตอบว่า  “บิดาข้านั้นไซร้มอบให้”  แล้วค่อยขยายความต่อ  ได้มากขึ้นจากที่พ่อและเครือญาติเป็นกำลังสำคัญในการช่วยกันยกบ้าน  สร้างวัด  ก่อโบสถ์  ลวดลายไทยไม่รู้ว่าเรียนช่วงใด  รู้ตัวจำความได้ก็เขียนเป็นแล้ว

นี่คือ  สิ่งที่พี่มะโหนกเรียกว่า...กระท่อม  เรือนเครื่องผูกจากไม้ไผ่ปลูก  ไม่ใช้ตะปูแม้แต่ตัวเดียว  และทำคนเดียวตั้งแต่วางแผนลำดับการสร้าง  จนถึงมุงหลังคา  ต้นจากใบจากเป็นพืชสารพัดประโยชน์  แล้วแต่การบอกต่อและเคยใช้ในครัวเรือน  ที่เพิ่มให้แข็งแรงหนาแน่นและความคิดสร้างสรรค์ คือ ศิลปะที่คิดเองโดยศิลปิน....อย่างมีเอกลักษณ์และภูมิปัญญา  ยากจะเลียนแบบ  ไม่ไปทำให้ที่อื่นด้วย 
อ.สุรจิต  อยากมีกระท่อมไม้ไผ่บ้าง  จึงต้องย้ายมาอยู่ใกล้ ๆ ให้พี่มะโหนกเดินไปสร้างได้  จึงใช้  2  คนสร้าง  สุรจิตคิดมะโหนกทำ  แต่พี่มะโหนกไม่อนุญาตให้เรียกกระท่อม....น่าจะเรียกว่าบ้านได้นะ  "บ้านสุรจิต"....ยังอยู่ในกระดาษ  ล้อมรอบด้วยน้ำ
 
ถนนทางเข้าหน้ากระท่อม  เชื่อมต่อกับบ้าน อ.สุรจิต  โรยกรวดเรียบ  โล่ง  สดชื่นด้วยดอกดาวกระจาย  บานชื่นหลากสี  ไม้ใบ  ไม้ดอกสวยงาม  ประตูทางเข้า  รั้วไม้ไผ่เป็นระเบียบ
บริเวณสะอาด  ร่มรื่น  การจัดวางพื้นที่ใช้สอยเหมาะเจาะกับเจ้าของบ้าน  ศาลาทรงเห็ด  กระท่อมเครื่องผูก  การออกแบบตกแต่งจุดเล็กจุดน้อย.....ด้วยฝีมือ  ตั้งใจ  จุดยืน  แนวคิด  มันสมอง  และสองมือ
อุดมการณ์ของศิลปิน  อิสระ  คือ พึ่งตนเอง
นายอุมา  ศิลาวงศ์  ต.แพรกหนามแดง  อ.อัมพวา  จ.สมุทรสงคราม
(โปรดติดตามตอนต่อไป  ฝีมือการออกแบบประตูน้ำของพี่มะโหนก....น้ำจืดน้ำเค็มอยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติสุข)
หมายเลขบันทึก: 452698เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2011 14:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:05 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

นอกจากชอบเรื่องราวแล้ว ผมทึ่งในการสังเกตและนำมาเล่าถ่ายทอดของคุณหมอมากเลยละครับ 

สวัสดีค่ะคุณหมอ

  • นี่แหละที่เรียกกันว่า "ปราชญ์" ตัวจริงค่ะ
  • ชื่นชมๆๆมากค่ะ

สวัสดีค่ะ ท่าน อ.วิรัตน์

  • ขอบพระคุณนะคะ
  • พยายามเรียบเรียงไม่ให้ยาวมากค่ะ
  • อยู่ที่บ้านพี่มะโหนกครึ่งวัน (24 กค. 54) เรื่องราวจากชีวิตเท่าที่พี่เขาเล่าให้ฟัง...น่าสนใจมาก
  • เต็มไปด้วยวิธีคิดที่กลั่นจากประสบการณ์มาแล้ว
  • พอกลับมาอำเภอตัวเอง...ก็ต้องไปค้นหาผู้ที่มีภูมิปัญญาแบบนี้ล่ะค่ะ
  • เพื่อสืบค้นรากเหง้าของตนเอง  ทำความเข้าใจชุมชนที่ตัวเองอยู่...ไม่ใช่แค่ฉาบฉวย
  • เอาใจช่วยด้วยนะคะ

สวัสดีค่ะ...คุณยาย

  • ใช่ค่ะคุณยาย  "ปราชญ์" ตัวจริงเสียงจริงเลยล่ะค่ะ
  • ถามภาษาพูดธรรมดา...ท่านไม่ตอบ
  • สงสัยท่านจะฝึกความอดทนและไหวพริบของเรา
  • เหมือนโบราณที่กว่าจะได้วิชาอะไรมา
  • ต้องไปเฝ้าท่านอาจารย์ที่สำนักตักศิลา...ผ่านบททดสอบมากมาย

ภูมิปัญญา ในการสร้างบ้านแต่โราณ เรือนสี่ภาค บ่งบอกถึงการป้องภัยไม่ต้องอพยพ

เรือนเครื่องผูก เรือนเคื่องสับ ใช้ไม้เหลาลูกสักแทนตะปู ตามวัดบางยังมีให้เห็น แต่เสียบางรื้อออกสร้างรูอยู่แทนกุฎิ

การเรียนรู้นอกตำราจากสมองของคนเรา  บางครั้งก็ฉลาดยิ่งกว่าที่เขาเขียนไว้ใน

ตำราอีกนะคะ.....

เหมือนกับว่าลงมือปฏิบัติได้ผลดีกว่าเรียนจากทฤษฎีอะไรทำนองนั้นนะ

ท่านลุงบังคะ

ใช่ค่ะ..โครงสร้าง หลังคาต้องทนแดด ทนฝน ลมแรง ๆ ได้

ว่าแต่ไม่เข้าใจ....สร้างรูอยู่แทนกุฏิ เป็นอย่างไรคะ ?

ทึ่งกับชีวิต...การดำเนินชีวิต....ที่นำมาเล่า

และทึ่งกับคนที่เขียนเรื่องเล่ามากนะครับ

จะรออ่านตอนต่อไปนะครับ

เอ้า ก็รื้อกุฎเก่าที่มีประตุหน้าตางรอบทั้งสี่ด้าน ลมพัพัดสบายไม่ต้องพึ่งพัดลม มาสร้างกุฎก่ออิฐฉาบปูน หากไม่มีหน้าต่างมีประตูบานเดียว ก็คล้ายรูดีๆนี้เอง

คุณภาพชีวิตในสุขภาพของคนลดลง คงต้องสำรวจวิจัยเรื่องที่อยู่อาศัยด้วย

บ้านยกพื้นมีหน้าต่างรอบ ปลูกโมก แก้ว กระดังงา ราตรี ไว้รอบบ้าน แล้วถ้าต้องแลกกับแอร์ ยังเอามั้ย ต้องมีคำถามแล้วในชุมชน

สวัสดีค่ะ Krugui Chutima

กำลังหัดเรียนรู้ชุมชน...จากสมองผู้รู้จริง...จากการปฏิบัติจริง

ความเป็นชุมชน...เชื่อมโยงกันไปหมดทุกเรื่อง

แค่เริ่มก็สนุกแล้วล่ะค่ะ

ขอบคุณ...คุณทิมดาบมากนะคะที่ติดตาม

เป็นวาสนา...พักหลังมาเนี่ย พบเจอแต่กัลยาณมิตรดี ๆ

เหนี่ยวนำไปพบคนดี ๆ ที่น่าทึ่ง ต่อ ๆ กันไป

สักวัน...คงได้โคจรพบตัวจริง คุณพ่อของทิมดาบ นะคะ

เข้าใจแล้วค่ะท่านลุงบัง

วันใดศึกษาไปถึงการสร้างบ้านของคนอำเภอสระใคร

จะขอปรึกษาเชิงเปรียบเทียบกับการสร้างบ้านคนใต้นะคะ

โอ้โฮ...บังคะ...ไม้ดอกที่ยกตัวอย่างมา ชื่นชอบทุกต้นเลย

ปลูกเองอย่างละหลายต้น...

จนต้องขุด "ราตรี" ไปให้คนอื่นด้วย

ฉุนจัดเกินไป...เก็บไว้ต้นเดียวก็พอ

สวัสดีค่ะคุณหมออ้อ

วันนี้แวะมาทักทายยามเย็น คุณหมอสบายดีนะค่ะ

ฝีมือเขาเยี่ยมมากเลย สวยค่ะ เรือนเครื่องผูก ภูมิปัญญาไทย หาดูยากนะค่ะ

ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันค่ะ

เรื่องพี่มะโหนกน่าสนใจมาก ชอบบ้านสุรจิตด้วย ขนาดอยู่ในกระดาษยังงามขนาด เอามาฝากเผื่อคุณหมอไปทำบ้างเย้ๆๆๆ

http://www.gotoknow.org/blog/yahoo/452990

เข้ามาอ่านแล้วนะอ้อ อ่านสนุกเหมือนเดิม อ้อเก็บความได้ละเอียดจริงๆ

สุดยอดค่ะพี่อ้อ

เก็บทุกเม็ด เด็ดทุกคำ

ชื่นชมการเล่าเรื่องจริงๆค่ะ

ไปด้วยกันแท้ๆ เล่าไม่ได้อย่างนี้ดอกเด้อ

ยอมคร๊าบยอมคนสุนทรีย์เลย..ชิมิ..ชิมิ

สวัสดีค่ะ...พี่อุ้ม

สวยจริง ๆ ค่ะ...ยิ่งทึ่งมากขึ้น เมื่อนั่งคุยกับพี่มะโหนกคนสร้างน่ะค่ะ

ขอบคุณค่ะ อ.ขจิตที่ติดตาม

ตามไปอ่านแล้วนะคะ

เล็ง "ปมมนุษย์" เตรียมไว้ใช้ในโอกาสที่เหมาะสม

ขออนุญาตนะคะ

สวัสดีค่ะพี่ฝน...วรางคณา

อันนี้มีสาระแล้วใช่ไหมคะ ?

จะได้ไม่ผิด Concept "ท่องเที่ยวอย่างมีสาระ"

คราวหน้าอย่าลืมชวนไปร่วมเฮฮาอีกนะคะ

คุณน้อง..."หัวแหลม แนมลึก"

เมื่อไหร่จะยุขึ้นเนี่ย

คนต่าง...คนละมุม

เขียน "ความคิด" ออกมา

ยังไงก็ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว

อยากอ่าน ๆ ๆ จากคมความคิด

"ตกผลึกนามธรรม"

รออ่าน ๆ ๆ ๆ ๆ

เขียนอะไรก็จะรออ่าน

อย่าให้รอเก้อ....เด้อจ้า

จาก....สุนทรีย์ ชิมิ ชิมิ

พี่้อ้อเขียนดีจังเลย

เรียบเรียงรูปก็น่ารัก

คิดถึงค่ะ

โอ

ขอบคุณค่ะ...คุณหมอน้องโอ

เสียดายโอไม่ได้ไปด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท