กิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติ มพ.54


เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษาก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน

วันภาษาไทยแห่งชาติ

  มีความภาคภูมิใจอีกวันหนึ่งของไทย ที่ให้ได้ระลึกถึงภาษาที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้นะคะ...เป็นภาษาที่คนต่างชาติจะบอกว่าเขียนยาก เรียนยากมากๆๆๆๆๆๆ...เพราะมีสระ วรรณยุกต์ ตั้งมากมาย..และมีคำที่อ่านออกเสียงเหมือนกันมากที่สุด  เช่น การ  การณ์ กานต์ กานแต่นี่คือเอกลักษณ์ของภาษาไทย ดังนั้น คณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย และมีความห่วงใยในปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อภาษาไทย รวมถึงเพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยทั้งชาติได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือกันทำนุบำรุง ส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป จึงได้เสนอขอให้รัฐบาลประกาศให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เป็น วันภาษาไทยแห่งชาติ เช่นเดียวกับวันสำคัญอื่นๆ ที่รัฐบาลได้จัดให้มีมาก่อนแล้ว เช่น วันวิทยาศาสตร์,วันสื่อสารแห่งชาติ เป็นต้น และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 เห็นชอบให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ 

          สำหรับเหตุผลที่เลือกวันที่ 29 กรกฎาคม เป็น วันภาษาไทยแห่งชาติ นั้นเพราะวันดังกล่าว ตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธาน และทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ทรงเปิดอภิปรายในหัวข้อ "ปัญหาการใช้คำไทย" โดยพระองค์ทรงดำเนินการอภิปรายและทรงสรุปการอภิปราย ที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยรวมถึงความห่วงใยในภาษาไทย ซึ่งเป็นที่ประทับใจกับผู้ร่วมเข้าประชุมในครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง


          สำหรับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งนั้น มีใจความตอนหนึ่งว่า "เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษาก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้... สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก..."


          นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ซึ่งในโอกาสต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัยและความห่วงใยในภาษาไทยอีกหลายโอกาส อย่างในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ที่ได้ทรงมีพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า "ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ได้มีการใช้คำออกจะฟุ่มเฟือย และไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงอยู่เนืองๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคนจึงมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้ ฉะนั้นจึงขอให้บรรดานิสิตและบัณฑิต ตลอดจนครูบาอาจารย์ได้ช่วยกันรักษาและส่งเสริมภาษาไทย ซึ่งเป็นอุปกรณ์และหลักประกันเพื่อความเจริญวัฒนาของประเทศชาติ"


          นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังมีพระปรีชาญาณและพระอัจฉริยะภาพในการใช้ภาษาไทย ทรงรอบรู้ปราดเปรื่องถึงรากศัพท์ของคำไทย คือ ภาษาบาลีและสันสกฤต ทรงพระอุตสาหะวิริยะแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยที่สมบูรณ์ด้วยลักษณะวรรณศิลป์ มีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่า เป็นคติในการเสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทย ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระราชนิพนธ์แปลบทความเรื่องสั้นๆ หลายบท และพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก เป็นต้น

 

 นำมาจากที่นี่ค่ะ  http://hilight.kapook.com/view/26275

 

                 ขอบคุณมากค่ะขอนำมาเผยแพร่เพื่อชาติไทยนะคะ

 

 วันนี้นำเอาภาพกิจกรรมที่จัดขึ้นในโรงเรียนปีนี้มาฝากค่ะ

     ในการเปิดงานวันภาษาไทยแห่งชาติ  "ระบำกราวเงาะ"

 นักเรียน ม. 3 เล่านิทาน คำเมือง มาในเรื่อง

    กะต๋ำป๋าค่ำตุ๊  "เซียงเมี้ยงค่ำพญา"

         นักเรียน ม. 3 งามอย่างไทยในการโชว์ความสามารถ "ฟ้อนจ้อง"

  กิจกรรมงามอย่างไทย โชว์ความสามารถพิเศษ

    

หมายเลขบันทึก: 451314เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2011 00:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2015 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

ปี้ตูมเจ้า มาส่งสาส์นแห่งความคิดถึง

ร่วมรักษ์ภาษาไทย ให้ซึ้งพอ จากใจเจ้า

Ico48

 ขอบคุณเจ้า น้องปู..ที่ยังไม่นอนนะคะ วันนี้สุขใจมาร่วมกันรำลึกถึงมรดกของไทย..ด้วยความภาคภูมิใจที่มีภาษาใช้เป็นของตนเอง...คิดถึงนะคะ

สงสัยจะเตรียมข้อมูลไว้ตั้งแต่เมื่อวาน เพิ่งตื่นก็เลยมาเขียนใช่ไหมครับ ;)...

Ico48

ค่ะ อาจารย์พยายามหาข้อมูลเพื่อบันทึกไว้...แต่แล้วก็หาในเว็ปอยู่ดีนะคะ  ฮา ตื่นจริงๆ

  • สวัสดีค่ะ
  • เรารักษ์รักภาษาไทย
  • ขอบคุณที่นำความรู้มาให้
  • ทำให้รักภาษาไทยมากยิ่งขึ้นค่ะ

เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ทรงเปิดอภิปรายในหัวข้อ "ปัญหาการใช้คำไทย" โดยพระองค์ทรงดำเนินการอภิปรายและทรงสรุปการอภิปราย ที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยรวมถึงความห่วงใยในภาษาไทย ซึ่งเป็นที่ประทับใจกับผู้ร่วมเข้าประชุมในครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง

ข้อความตรงนี้พี่ใช้ประกอบงานวิจัยการแก้ปัญหาภาษาไทยนะ  พระองค์ท่านทรงเห็นปัญหามา 50 ปี  ทุกวันนี้เรายังแก้ปัญหากันไม่ได้เลย 

  • ขอบคุณค่ะ คุณครู Rinda ที่แบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับวันภาษาไทยแห่งชาติ 
  • ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ "ภาคภูมิใจในภาษาไทยภาษาชาติ" และได้รณรงค์ให้คนไทยใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ดังตัวอย่างความเห็น 2 ในประมาณ 5 ครั้งในเรื่องนี้ ที่ได้แสดงใน Web.Blog นี้...19 เม.ย 54… ขอบคุณ คุณปณิธิ ภูศรีเทศที่ช่วยสะกิดเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยที่ผิดๆ เพิ่งรู้ว่าแต่งกลอนได้ทั้ง "ไพเราะในเสียงภาษา และเฉียบคมในเนื้อหา" ที่อ่านแล้วรู้สึกซาบซึ้งและภาคภูมิใจในความงดงามของภาษาไทย ดิฉันเองเรียนป.ตรีวิชาเอกภาษาอังกฤษ วิชาโทภาษาไทย เคยแต่งกลอนให้เพื่อนวิชาเอกภาษาไทย พอทำได้แต่ไม่เก่ง ดิฉันรู้สึกอึดอัดใจทุกครั้งที่เห็นการเขียน พูด อ่านภาษาไทยผิดๆ โดยเฉพาะอย่างที่เผยแพร่ทางสื่อมวลชน ซึ่งเห็น/ได้ยินแทบทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้วรรณยุกต์ไม่ถูกต้องที่พบได้ทั่วไป ใน Blog "Gotonow" ของเรานี่ก็ด้วย เปิดมาหน้าแรกก็เจอเลย ชำเลืองดูทีไรก็อึดอัดอยากให้แก้ไขให้ถูกต้อง ไม่รู้ใครจะช่วยได้ วันนี้ขอแค่คำเดียว คือคำว่า "นะคะ" ทำไมจึงชอบเขียนผิดเป็น "นะค่ะ"...23 เมษายน 2554 กราบนมัสการท่านพระมหาวินัย โยมขอกราบขอบพระคุณ ที่ท่านพระมหาได้เขียนบันทึกแสดงความห่วงใยในการใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง ของทั้งเด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่ในสังคมของเรา ซึ่งนับวันแต่จะมีมากขึ้น การที่มีผู้ช่วยกันสะกิดน่าจะส่งผลให้ผู้ที่ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมออนไลน์ มีความระมัดระวังและพิถีพิถันในการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องมากขึ้น โยมเองได้ย้ำเตือนและฝึกฝนให้นักศึกษาใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องทั้งในการพูด การอ่านและการเขียน ซึ่งเป็นเป้าหมายหนึ่งในการพัฒนาตนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนในรายวิชาพฤติกรรมมนุษย์และการพัฒนาตน  ขณะเดียวกัน โยมเองก็ได้พยายามใช้ภาษาให้ถูกต้องเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับนักศึกษา จะได้ไม่เข้าทำนองที่ว่า "จงทำอย่างที่ครูสอน อย่าทำอย่างที่ครูทำ" จนในการทดสอบพื้นฐานทักษะการวิเคราะห์คนและการให้เหตุผล พอให้วิเคราะห์ว่า คิดว่าอาจารย์เรียนวิชาเอกอะไรในระดับอนุปริญญา เพราะเหตุใด โดยมี 5 วิชาเอกให้เลือก คือ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา นักศึกษาส่วนใหญ่ในทุกรุ่นและทุกหมู่เรียน จะทายว่า เรียนวิชาเอกภาษาไทย โดยให้เหตุผลว่า เพราะอาจารย์พูดภาษาไทยได้ถูกต้อง ชัดเจนดีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัว "ร" และคำควบกล้ำ และอาจารย์เน้นให้นักศึกษาใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ทั้งที่จริงๆ แล้ว โยมเรียนวิชาเอกภาษาอังกฤษทั้งในระดับอนุปริญญา และระดับปริญญาตรี...
  • เมื่อวานนี้ (28 ก.ค. 54) อบรมครูแนะแนวรุ่นที่ 5 จากจังหวัดอุบลฯ ก็เห็นลูกศิษย์ (ครูแนะแนวในโรงเรียนมัธยม)ที่ร่วมเป็นวิทยากรในโมดูลเดียวกัน ใช้วรรณยุกต์ผิด คือ "สนู๊ปปี้" ถามว่าพิมพ์เองหรือ Download มา เธอตอบว่า Download มา ก็เลยบอกว่า สื่อมักจะใช้วรรณยุกต์ผิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ไม้ตรีกับอักษรต่ำซึ่งใช้ไม่ได้ ต้องใช้วรรณยุกต์โทแล้วจะออกเสียงเป็นเสียงตรี เช่น คำว่า น้า น้อง นั้น นี้ เป็นต้น ฉะนั้น จะต้องเขียน "สนู้ปปี้" ถ้าDownload ภาพและได้ภาษาที่เขียนผิดมาก็ต้องชี้แจงให้ครูทราบ  

          

 

 

ขอบคุณค่ะ รักและภูมิใจใภาษาไทยของเราค่ะ

ตามมาอ่านครับพี่ ชอบภาษาไทย รักษาไทย แต่อยากมีแฟนครูภาษาอังกฤษ หักมุมซะงั้น ฮ่าๆๆๆ

รักษ์ภาษาไทย ต้องเขียนภาษาไทยให้เป็น และพูดไทยใหชัดครับ

เดี๋ยวมีภาษาไทยวัยรุ่นมาก ฟังแล้วไม่ค่อยเข้าใจ และไม่ชอบด้วยครับ

Ico48

ค่ะพี่ศน. ภาคภูมิใจในการมีภาษาใช้เป็นไทกันทุกวันนี้นะคะ

 

Ico48

  ขอบคุณพี่ครูที่นำไปแก้ปัญหาเรื่องการใช้ภาษาไทย เยี่ยมค่ะ

Ico48

เป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่าน ผศ. มาเยี่ยมและฝากข้อคิดในการใช้ภาษาไทย ขอบคุณมากค่ะ

Ico48

 ภาคภูมิใจจริงๆค่ะพี่ใหญ่ที่มีภาษาใช้ในวันนี้นะคะ

Ico48

อ่ะๆๆ..อาจารย์มาทีไรก็อารมณ์ดีนะคะ รีบมีเลยค่ะครูภาษาฯ มีเยอะนะคะ  อิอิ

Ico48

ค่ะคุณไข่ทุกวันนี้จะเขียนไม่ค่อยถูกกันค่ะ  และร้องเพลงแบบไม่ชัดนะคะ 

  • ขนาดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดำรัสขนาดนี้ หลายคน โดยเฉพาะคนในวงการสื่อ พิธีกรทางโทรทัศน์ ซึ่งน่าจะเป็นตัวอย่างที่สำคัญ ก็ยังอังกฤษคำไทยคำเลย และอาการอย่างนี้ปัจจุบันได้ระบาดไปทั่วแล้ว ยังสงสัยเลยครับว่าอีกสักสิบปีข้างหน้า ตัวเองจะฟังเขาพูดกันรู้เรื่องไหมหนอ..น่าเศร้าใจนะครับ
  • ขอบคุณกิจกรรมดีๆในวันภาษาไทยแห่งชาติที่นำมาแบ่งปันครับ

คุณครูคะ...ยากจริง ๆ นะคะ ภาษาไทย

เรียนในหลักสูตรมาตั้งแต่มัธยม....ลืม ๆ หลักการไปบ้างแล้ว

อาศัยอ่านบ่อย ๆ สังเกตไปเรื่อย ๆ

แต่อย่างไร...ก็ชอบค่ะ

Ico48

ขอบคุณ มากค่ะอาจารย์ที่มาเยี่ยมภาษาไทยสร้างชาติมานานอนุรักษ์กันให้จงได้ 

Ico48

นั่นสินะคุณหมอเราจะต้องเรียนรู้สานต่อไปเรื่อยๆ งั้นจะลืมกันไปหมด  อิอิ

 

ขอบคุณมากนะคะ พระรชดำรัสของพระองค์ น่าจะมีการบอกกล่าวกันให้มากๆนะคะ

เวลาเห็นคนเขียนภาษาไทยคำง่ายๆ  ตั้งใจให้ เพี้ยนผิด ไม่ชอบมากๆค่ะ  เมื่อผู้ใหญ่ยังเขียน การว่าเด็กๆย้อนได้เลย  ทำไมนะไม่คิดอะไรให้ยาวๆ.................................

 

 

สวัสดีค่ะคุณครู Rinda

  • คุณยายมาเยี่ยมด้วยความคิดถึงค่ะ

แวะมาชื่นชมกิจกรรมสร้างสรรค์ที่จะเป็นทุนอันยิ่งใหญ่ในการบ่มเพาะความเป็น "ชาติ" ให้กับเยาวชน

ล่าสุดคุยกับลูกทีมว่า ปีหน้าจะจัดสัปดาห์การอ่านในช่วงนี้เลย  เน้นให้นิสิตได้อ่านและเขียนอย่างสร้างสรรค์ มีเวลาหนังสือทำมือ มีการออกร้านจำหน่ายหนังสือทำมือของนิสิต และกิจกรรมขององค์กรต่างๆ

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะคุณครูIco48

  • คุณยายมาเยี่ยมด้วยความคิดถึงค่ะ

Ico48

ขอบคุณค่ะพี่ดาที่มาให้กำลังใจ ต้นบอนไซสวยมากเลย

 

Ico48

คุณยายมา 2 รอบ คิดถึงเสมอ ดอกไม้สวยมากค่ะ

Ico48

ขอบคุณอาจารย์นะคะที่มีให้กำลังใจ ที่ โรงเรียนเด็กๆก็ฝึกรักการอ่าน แล้วสรุปลงในสมุดเล่มเล็กๆคงจะช่วยให้ได้ประสบการณ์บ้างนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท