vee


copy

มาตรฐานการปฏิบัติงาน(SOP) เรื่อง การให้บริการเครื่องแก้ว 1. วัตถุประสงค์ : เพื่อเป็นการให้บริการเครื่องแก้วในหน่วยปฏิบัติการและบริการวิชาการให้ได้รับความสะดวก รวดเร็วและ ถูกต้องต่อผู้ใช้บริการในการปฏิบัติงาน ดังกล่าวจำเป็นต้องมีแนวปฏิบัติเป็นมาตรฐานให้บริการแบบอย่างเดียวกัน 2. ผู้รับผิดชอบ : นักวิทยาศาสตร์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย 3. ขอบข่าย : ผู้ใช้บริการ นักศึกษา อาจารย์ ข้าราชการ อื่นๆ 4. สิ่งที่เกี่ยวข้อง : 4.1 แบบฟอร์มใบเบิก ใบยืม 4.2 แบบฟอร์มขอใช้ 4.3 แบบบันทึกการใช้งาน 4.4 สมุดรายการเครื่องแก้ว 5. นิยาม : ตรงเวลา บริการดี มีความถูกต้อง 6. แผนผังขั้นตอนการปฏิบัติงาน หัวข้อ ผังขั้นตอนการปฏิบัติงาน : การเบิกจ่าย เครื่องแก้ว ผู้รับผิดชอบ กิจกรรม ผู้เกี่ยวข้อง เอกสารที่เกี่ยวข้อง 6.1 6.2 6.3 นักวิทยาศาสตร์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย นักวิทยาศาสตร์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย นักวิทยาศาสตร์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย การสำรวจเครื่องแก้วประจำปี การสำรวจเครื่องแก้วชำรุดแต่ละภาคการศึกษา การสำรวจเครื่องแก้วเพิ่มเติมและทดแทน เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมาย- เจ้าหน้าที่รายวิชา อาจารย์ เจ้าหน้าที่ รายการ stock เดิม- เอกสารใบเบิก ,ใบยืม รายการเครื่องแก้วชารุดหรือเอกสารรายการปฏิบัติการทดลองวิธีใหม่ 7. รายละเอียด การปฏิบัติงาน: 7.1 การสำรวจเครื่องแก้วประจำปี นักวิทยาศาสตร์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้สำรวจเครื่องแก้วประจำปีว่ามีปริมาณคงเหลือ แตก ชำรุด สูญหาย เป็นจำนวนเท่าใด โดยให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบหรือได้รับมอบหมายสำรวจแล้วรายงานต่อผู้บังคับบัญชาต่อไป 7.2 การสำรวจเครื่องแก้วชำรุดแต่ละภาคการศึกษา นักวิทยาศาสตร์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายที่ได้รับมอบหมาย ทำการสำรวจแต่ละรายวิชาที่ใช้เครื่องแก้วว่ามีปริมาณเท่าใดที่แตกชำรุด และสูญหายโดยให้ผู้ที่ทำแตกชำรุดและสูญหายจัดหามาทดแทน 7.3 การสำรวจรายการเครื่องแก้วเพิ่มเติมหรือทดแทนประจำปี นักวิทยาศาสตร์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการขอข้อมูลจากอาจารย์เจ้าของวิชาแต่ละวิชาว่ามีการเปลี่ยนแปลงและหรือวิธีการเป็นแบบใหม่ที่ใช้เครื่องแก้วชนิดใหม่หรือไม่ และจัดหาเครื่องแก้วทดแทนกรณีที่เครื่องแก้วเสื่อมสภาพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน(SOP) การบำรุงรักษาการควบคุมเครื่องมือวัดเครื่องตรวจและเครื่องทดสอบ 1. วัตถุประสงค์ : เพื่อให้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในกระบวนการวิเคราะห์สามารถทำการวิเคราะห์ได้อย่างต่อเนื่อง 2. ผู้รับผิดชอบ : นักวิทยาศาสตร์ผู้รับผิดชอบเครื่อง 3. ขอบข่าย : เริ่มจากเมื่อมีการตั้งเครื่องจักรใหม่เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์หรือเครื่องมือที่มีใช้อยู่เดิมแต่ ต้องการเพิ่มรายการที่ต้องการบำรุงรักษา 4. สิ่งที่เกี่ยวข้อง : 4.1 แผนการบำรุงรักษาประจำปี 4.2 วิธีปฏิบัติงานเรื่องการบำรุงรักษา 4.3 รายงานผลการบำรุงรักษา 4.4 ใบรายงานการแจ้งซ่อมเครื่อง 4.5 ประวัติการบำรุงรักษาและการซ่อม หัวข้อ ผังขั้นตอนการปฏิบัติงาน : การบำรุงรักษา ผู้รับผิดชอบ กิจกรรม ผู้เกี่ยวข้อง เอกสารที่เกี่ยวข้อง 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 5.8 5.9 นักวิทยาศาสตร์ที่รับผิดชอบ นักวิทยาศาสตร์ที่รับผิดชอบ หัวหน้างานบริการทางวิชาการและวิจัย นักวิทยาศาสตร์ที่รับผิดชอบเครื่อง นักวิทยาศาสตร์ที่รับผิดชอบเครื่อง นักวิทยาศาสตร์ที่รับผิดชอบเครื่อง นักวิทยาศาสตร์ที่รับผิดชอบเครื่อง นักวิทยาศาสตร์ที่รับผิดชอบเครื่อง นักวิทยาศาสตร์ที่รับผิดชอบเครื่อง จัดทำรายงานเครื่องตรวจ เครื่องวัด และเครื่องทดสอบ จัดทำแผนการบำรุงรักษาเสนอหัวหน้างานบริการทางวิชาการและวิจัย อนุมัติแผนการบำรุงรักษา ดำเนินการตามแผน บันทึกผลและประเมินผล พบเครื่องมือเสียหายจดบันทึกแล้วแจ้งพัสดุ ติดตามการประสานงานของพัสดุ ควบคุมการซ่อมและตรวจสอบหลังการซ่อม เก็บบันทึกผลการซ่อม หัวหน้างานบริการทางวิชาการและวิจัย - - - - - - - แผนการบำรุงรักษา วิธีปฏิบัติงานเรื่องการบำรุงรักษา รายงานผลการบำรุงรักษา ใบรายงานการแจ้งซ่อมเครื่อง ประวัติการบำรุงรักษาและการซ่อม 5. รายละเอียดการบำรุงรักษา 5.1 นักวิทยาศาสตร์ จัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องตรวจ เครื่องวัดและเครื่องทดสอบ แล้วเสนอขออนุมัติจากหัวหน้างานบริการทางวิชาการและวิจัย 5.2 หัวหน้างานบริการทางวิชาการและวิจัยอนุมัติตามแผน 5.3 นักวิทยาศาสตร์ดำเนินการตามแผนการบำรุงรักษาเครื่องตรวจ เครื่องวัด และเครื่องทดสอบ ตามวิธีปฏิบัติงานเรื่องการบำรุงรักษา 5.4 นักวิทยาศาสตร์บันทึกผลและประเมินผลการบำรุงรักษาเครื่องตรวจ เครื่องวัด และเครื่องทดสอบ และรายงานผลการบำรุงรักษา 5.5 นักวิทยาศาสตร์ จดบันทึกผลการบำรุงรักษาเครื่องตรวจ เครื่องวัด และเครื่องทดสอบ ถ้าพบเครื่องมือเสียหาย แจ้งพัสดุ ตามใบรายงานการแจ้งซ่อม ในกรณีพบเครื่องมือเสียหายระหว่างการบำรุงรักษาหรือระหว่างการใช้งานให้ทำการแขวนป้าย “รอซ่อม” ที่ตัวเครื่องมือ แล้วเขียนรายงานในแบบรายงานผลการบำรุงรักษา แจ้งให้หน่วยงานพัสดุดำเนินการ 5.6 นักวิทยาศาสตร์ติดตามผลการแจ้งซ่อมเครื่องตรวจ เครื่องวัด และเครื่องทดสอบโดยการประสานงานกับหน่วยพัสดุ 5.7 นักวิทยาศาสตร์ควบคุมการซ่อมและตรวจสอบหลังการซ่อมเครื่องตรวจ เครื่องวัด และเครื่องทดสอบ และบันทึกลงใน แบบประวัติการบำรุงรักษาและการซ่อม 5.8 นักวิทยาศาสตร์เก็บบันทึกผลการซ่อมเครื่องตรวจ เครื่องวัด และเครื่องทดสอบ มาตรฐานการปฏิบัติงาน(SOP) เรื่อง การทบทวนโดยฝ่ายบริหาร 1. วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงทบทวนระบบบริหารคุณภาพตามระยะเวลาที่กำหนดเพื่อปรับปรุง ระบบบริหารคุณภาพให้เหมาะสมกับสถานการณ์ 2. ผู้รับผิดชอบ : ผู้ประสานงานรายวิชาปฏิบัติการ 3. ขอบข่าย : มีการทบทวนเกี่ยวกับนโยบายคุณภาพ วัตถุประสงค์ คุณภาพ ข้อร้องเรียนของลูกค้า การ ตรวจติดตามคุณภาพภายใน การรับรู้มิติการแก้ไขและป้องกันและอื่นๆ ตามความเหมาะสม 4. สิ่งที่เกี่ยวข้อง : 4.1 แผนการประชุม 4.2 หนังสือเชิญประชุม 4.3 บันทึกผลการประชุม หัวข้อ ผังขั้นตอนการปฏิบัติงาน : การทบทวนโดยฝ่ายบริหาร ผู้รับผิดชอบ กิจกรรม ผู้เกี่ยวข้อง เอกสารที่เกี่ยวข้อง 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 ตัวแทนฝ่ายบริหาร ผู้ที่ได้รับมอบหมาย คณะกรรมการทบทวนโดยฝ่ายบริหาร ตัวแทนฝ่ายบริหาร ตัวแทนฝ่ายบริหาร กำหนดการทบทวนของฝ่ายบริหารแล้วแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ รวบรวมข้อมูลและเตรียมเสนอในที่ประชุม ดำเนินการประชุม ทบทวนตามวาระมอบหมายผู้รับผิดชอบในกรณีที่มีการดำเนินการแก้ไข บันทึกผลการประชุม ติดตามผลการแก้ไข นักวิทยาศาสตร์ - - นักวิทยาศาสตร์ - - - - บันทึกผลการทบทวนของฝ่ายบริหาร - 6. รายละเอียด 6.1 ตัวแทนฝ่ายบริหาร กำหนดองค์ประชุมของการทบทวนโดยฝ่ายบริหาร คณะผู้เข้าร่วมประชุม จะประกอบด้วย หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการและบริการวิชาการ ประธาน นักวิทยาศาสตร์ทุกคน กรรมการ พนักงานวิทยาศาสตร์และลูกจ้างประจำ กรรมการ ผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการ กรรมการและเลขานุการ ธุรการหรือผู้ได้รับมอบหมาย กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องโดยได้รับเชิญจาก หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการและบริการวิชาการหรือ ผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการ (เลขานุการคณะฯ) 6.1 กำหนดความถี่ในการประชุม กำหนดไว้อย่างน้อย 1 เดือน/ครั้ง โดย ตัวแทนฝ่ายบริหาร จัดทำแผนประชุมประจำปี และส่งให้กับกรรมการทุกท่าน 6.2 เตรียมการประชุม วาระการประชุมจะประกอบด้วย เช่น 1. รับรองรายงานการประชุมในครั้งที่แล้ว 2. เรื่องแจ้งเพื่อทราบ 3. เรื่องสืบเนื่อง 4. เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา 4.1 นโยบาย วัตถุประสงค์คุณภาพ 4.2 ข้อร้องเรียนของลูกค้า(ผู้รับบริการ) 4.3 การตรวจติดตามคุณภาพภายใน 4.4 การรับรู้มิติการแก้ไขและป้องกัน 4.5 อื่นๆ ก่อนถึงวันประชุม ตัวแทนฝ่ายบริหาร ออกวาระการประชุมเพื่อส่งให้กรรมการทราบล่วงหน้า ถึงวัน-เวลา-สถานที่ และหัวข้อการประชุม 6.3 ดำเนินการประชุมตามวาระ 6.4 บันทึกผลการประชุม ตัวแทนฝ่ายบริหาร มีการบันทึกผลการประชุมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร นำเอกสารและข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการประชุม บันทึกแนบท้ายรายงานการประชุมให้แล้วเสร็จภายใน 1 สัปดาห์ ส่งสำเนาให้กรรมการประชุมแล้วนำต้นฉบับเก็บไว้ที่ ตัวแทนฝ่ายบริหาร 6.5 ติดตามผลการประชุม ตัวแทนฝ่ายบริหาร เป็นผู้ติดตามผลการประชุมตามมติที่ประชุมได้มอบหมาย และนำมารายงานในที่ประชุมครั้งต่อไป มาตรฐานการปฏิบัติงาน(SOP) เรื่องการเคลื่อนย้าย การเก็บการส่งมอบ 1. วัตถุประสงค์ - เพื่อป้องกันการเสื่อมสลาย ชำรุด ของสารเคมีและตัวอย่างซึ่งจะมีผลกระทบต่อคุณภาพของผลการวิเคราะห์โดยตรง - เพื่อป้องกันการชำรุดและเสียหายของวัตถุดิบและตัวอย่าง - เพื่อป้องกันการเสื่อนสภาพของวัตถุดิบและตัวอย่างรวมทั้งความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานใน ห้องปฏิบัติการด้วย 2. ผู้รับผิดชอบ นักวิทยาศาสตร์ เป็นผู้รับผิดชอบการควบคุมการเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ และการส่งมอบ 3. ขอบข่าย วัตถุดิบและตัวอย่างที่ใช้ ในกิจกรรมการเรียนการสอนและบริการวิชาการ 4. สิ่งที่เกี่ยวข้อง 1.1 วิธีปฏิบัติงานการควบคุมการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบและตัวอย่าง 1.2 วิธีปฏิบัติงานการควบคุมการจัดเก็บวัตถุดิบและตัวอย่าง 1.3 วิธีปฏิบัติงานการส่งมอบผลการวิเคราะห์ของตัวอย่าง 5. นิยาม ไม่มี หัวข้อ ผังขั้นตอนการปฏิบัติงาน : การเคลื่อนย้าย การเก็บ การส่งมอบ ผู้รับผิดชอบ กิจกรรม ผู้เกี่ยวข้อง เอกสารที่เกี่ยวข้อง 6.1 6.2 6.3 นักวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ ควบคุมการเคลื่อนย้าย วัตถุดิบ และตัวอย่าง ควบคุมการจัดเก็บวัตถุดิบ และตัวอย่าง การส่งผลการวิเคราะห์ - - - 6. รายละเอียด 6.1 นักวิทยาศาสตร์จะทำการควบคุมการเคลื่อนย้าย วัตถุดิบ และตัวอย่าง ที่ผ่านการตรวจรับแล้ว โดยทำตามวิธีปฏิบัติงานเรื่องการควบคุมการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบและตัวอย่าง 6.2 นักวิทยาศาสตร์ ควบคุมการจัดเก็บวัตถุดิบและตัวอย่าง เพื่อป้องกันอันจะเกิดความเสียหาย ชำรุด และเสื่อนสลาย ของวัตถุดิบและตัวอย่างโดยดำเนินการตามวิธีปฏิบัติงานเรื่องการควบคุมการจัดเก็บวัตถุดิบและตัวอย่าง 6.3 นักวิทยาศาสตร์ ทำการส่งผลการวิเคราะห์ แก่ลูกค้า ตามวิธีต่างๆ ตามวิธีปฏิบัติงานเรื่องการส่งผลการวิเคราะห์

คำสำคัญ (Tags): #sop
หมายเลขบันทึก: 44880เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2006 08:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 22:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ได้อ่านแล้ว และขอที่เป็นแนวปฏิบัติ เช่น การจัดการเครื่องแก้ว ก่อนจ่าย หลังจ่าย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท